Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.4 ความสนใจหรือความตระหนักของชุมชนที่มีต่อปัญหา (Community Concern) -…
5.4 ความสนใจหรือความตระหนักของชุมชนที่มีต่อปัญหา (Community Concern)
ความหมาย
ประชาชนในชุมชนนั้นเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้นเพียงใด เขามีความวิตกกับปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นหรือไม่ เขาอยากแก้ไขปัญหานั้นหรืออยากได้รับความช่วยเหลือเพื่อแก้ปัญหานั้นหรืออยากช่วยเหลือ เพื่อแก้ไขปัญหานั้นหรือไม่
การรวมคะแนน มี 2 วิธี ดังนี้
วิธีบวก
นำคะแนนแต่ละหัวข้อมาบวกกัน
วิธีนี้ไม่ค่อยนิยม
เพราะว่าทำให้มองเห็นความแตกต่างของแต่ละปัญหาได้น้อย เนื่องจาก
มีความกว้าง(range) ของปัญหาแคบ
ความสำคัญของปัญหา = ก + ข + ค + ง
วิธีคูณ
นำคะแนนในแต่ละหัวข้อมาคูณกัน วิธีนี้จะทำให้เห็นความกว้างของปัญหาได้ชัดเจน ขึ้นแต่ถ้าคะแนนรวมเป็น 0 ซึ่งค่า 0 นี้ไม่ได้หมายความว่าปัญหานั้นไม่ได้เป็นปัญหาของชุมชนแต่หมายความว่าปัญหานั้นไม่อาจแก้ไขได้ในเวลาอันรวดเร็ว หรือปัญหานั้นแก้ไขยากมาก ดังนั้น การให้คะแนนองค์ประกอบใดเป็น 0 ควรคิดให้รอบคอบ เพราะว่าในการปฏิบัติงานจริงแล้ว หากปัญหาใดตกไปอยู่ในอันดับท้าย ๆ โดยไม่สมควร อาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของชุมชนได้
ความสำคัญของปัญหา = ก x ข x ค x ง
จากผลรวมคะแนนที่ได้จะทำให้ทราบปัญหาอันดับแรกและรองลงไปใน แต่ในกรณีที่ได้คะแนนรวมเท่ากันต้องนำปัญหาที่ได้คะแนนรวมเท่ากันนั้นมาพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งแล้ว จึงตัดสิน
วิธีนี้เป็นวิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่นิยมใช้กันมาก เพราะว่ามีองค์ประกอบ
เกณฑ์การให้คะแนน
ในด้านการประเมินความสนใจของชุมชนที่มีต่อปัญหานั้น ต้องใช้การสังเกตหลังจากที่ได้ปัญหาแล้วนำมาเสนอให้กับชุมชนได้รับทราบ ซึ่งต้องใช้วิธีการประชุมกลุ่ม การประชุมกลุ่มนี้อาจเป็นการประชุมกลุ่มผู้นำหมู่บ้านหรือผู้นำหมู่บ้านร่วมกับประชาชน ซึ่งการให้คะแนนมีเกณฑ์ดังนี้
ร้อยละของประชาชนที่วิตกกังวลและต้องการแก้ไขปัญหา
ไม่มีเลย 0 คะแนน
มากกว่า 0 ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ 1 คะแนน
26 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ 2 คะแนน
51 ถึง 75 เปอร์เซ็นต์ 3 คะแนน
76 ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ 4 คะแนน
ความสนใจ
ไม่มีความสนใจ 0 คะแนน
สนใจน้อย 1 คะแนน
สนใจปานกลาง 2 คะแนน
สนใจมาก 3 คะแนน
สนใจมากที่สุด 4 คะแนน
การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
1. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยการเริ่มจากการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก
โดยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาด้วยวิธีการนี้ส่วนใหญ่เริ่มด้วยการใช้กระบวนการกลุ่ม การจัดเวทีประชาคม เวทีรับฟังความคิดเห็น การสนทนากลุ่ม การประชุมชาวบ้าน เป็นต้น โดยกระบวนการดำเนินการนั้นจะยึดหลักการและขั้นตอนการมีส่วนร่วมเป็นหลัก ได้แก่ การให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนเก็บรวบรวมข้อมูล การตัดสินใจวางแผนการสำรวจปัญหา การวิคราะห์เพื่อระบุปัญหาหรือวินิจฉัยปัญหาพร้อมให้เหตุผลข้อมูลสนับสนุนปัญหาร่วมกัน จาก
นั้นนำปัญหามาวางแผนร่วมกัน หาทางออกด้วยกัน ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาและติดตามประเมินผลร่วมกันในระยะยาว
ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ปัญหาสุขภาพและปัญหาชุมชนทุกปัญหามีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเชื่อมโยงกัน ดังนั้นการแก้ไขปัญหาต้องดำเนินการไปพร้อมกัน โดยจัดให้มีภาพฝันร่วมและจัดตั้งทีมทำงานที่เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่แต่ละปัญหา มีการสร้างกระบวนการทำงานเชื่อมประสานกันอย่างเต็มพื้นที่
ชุมชนที่เรียกการดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหาแบบ "งานหน้าหมู่" คือการทำงานร่วมกันและทำงานที่เกิดประโยชน์แก่สาธารณะร่วมกัน
2.วิธีการอื่นๆที่ใช้ในปัจจุบัน
**วิธีกระบวนการกลุ่มตามปกติ(Normal group process)
วิธีนี้จะใช้กระบวนการกลุ่มหรือให้สมาชิกกลุ่มหรือทีมสุขภาพหรือทีมที่มีความรู้ความเข้าใจเชี่ยวชาญในปัญหาทุกปัญหาของชุมชน และเข้าใจปัญหาของชุมชนได้เป็นอย่างดี มีหลักแนวคิดวิชาการที่เป็นเหตุเป็นผล
ใช้กลวิธีให้ประชาชนในชุมชนชี้แจงประเด็นปัญหา(Problem identification) ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ลักษณะอย่างไร
กระบวนการ listing technique และranking technique จะใช้กระบวนการสนทนากลุ่มในการดำเนินการเพื่อสรุปปัญหา การหาแนวทางแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆกัน
บอกให้เป็นลำดับๆ(listing technique)โดยขั้นตอนนี้ใช้ทั้งจำแนกประเด็นปัญหา ระบุสาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อได้ประเด็นปัญหาที่ชัดเจน พร้อมสาเหตุของปัญหาอย่างครบถ้วน
ขั้นตอนการจัดลำดับโดยการให้คะแนน เรียกว่า(ranking technique) เพื่อให้ทุกคนเสนอความคิดเห็นว่าปัญหาไหนสำคัญที่สุด สาเหตุคืออะไร และวิธีการแก้ไขปัญหานั้นวิธีการใดสำคัญที่สุด