Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น", ความหมาย, ความหมาย,…
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น"
โดยหลักการ คคลที่จะมีความรับผิดเพื่อละเมิดนั้นจะต้องมีความผิดในการกระทำละเมิดของตนเอง กล่าวคือคนที่กระทำละเมิดและคนที่รับผิดเป็นคนๆ เดียวกัน ซึ่งก็ชอบด้วยหลักการและเหตุผล เพราะบุคคลคนหนึ่งกระทำละเมิดแต่จะไปให้ยุดคลอื่นต้องรับผิดแทนก็คงจะไม่ถูกต้องดังนั้นความรับผิดในการทำละเมิดของตนเองจึงเป็นความรับผิดที่ต้องการความผิดหรือที่เรียกว่าเป็น Subjective Responsibility
แต่ด้วยพัฒนาการของกฎหมายซึ่งในบางกรณีหากใช้หลักการดังกล่าวข้างต้น บุคคลผู้กระทำละเมิดแม้มีความผิด และต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายแต่ผู้กระทำละเมิดนั้นอาจไม่อยู่ในฐานะที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้เสียหายได้ ซึ่งก็จะทำให้ผู้เสียหายก็จะไม่ได้รับการเยียวยา และไม่ยุติธรรมกับผู้เสียหายเช่นกัน ทั้งยังไม่เป็นไปตามวัดถุประสงค์ของกฎหมายลักษณะละเมิดที่มุ่งหมายจะเยียวยาผู้เสียหายให้อยู่ในฐานะเสมือนความเสียหายมิได้เกิดขึ้น จึงเกิดดวามคิดที่จะให้มีบุดคลอื่นที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์บางประการกับผู้กระทำละเมิดมาเป็นผู้รับผิดร่วมหรือแทนผู้กระทำละเมิด จึงเกิดความคิดของหลักความรับผิดโดยไม่ต้องมีความผิดหรือที่เรียกว่า Objcctive Responsibiliy ขึ้น ทำให้ผู้ที่ไม่ได้ทำละเมิดต้องมาร่วมรับผิดด้วย
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
กรณีของนายจ้างและลูกจ้างนั้น บุดคลที่ทำละเมิด โดยหลักการที่ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่จะต้องรับผิดเพื่อละเมิดนั้นก็คือบุคคลที่กระทำตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 420 คือลูกจ้างและโดยผลของมาตรา 420 ลูกจ้างต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตนได้กระทำด้วยการซดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แต่เนื่องจากการทำละเมิดของลูกจ้างนั้นเกิดในระหว่างการทำงานเพื่อนายจ้าง ด้วยความสัมพันธ์พิเศษและด้วย เหตุผลพิเศษที่จะได้กล่าวต่อไปทำให้กฎหมายกำหนดให้นายจ้างซึ่งมิได้เป็นผู้กระทำละเมิดต้องมาร่วมรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้างในลักษณะของลูกหนี้ร่วมคือผู้เสียหายสามารถที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากนายจ้างได้โดยตรงและเต็มจำนวน
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
เหตุผลหรือพื้นฐานความรับผิดของนายจ้าง โดยไม่ได้ทำละเมิด ซึ่งต้องมารับผิดในผลของการละเมิดที่ลูกจ้างทำ เพราะ
ก. นายจ้างทำงานโดยอาศัยการงานของลูกจ้าง จึงต้องรับผลที่ตามมา
ข. นายจ้างเป็นผู้ควบคุมดูแล กำหนดแนวทางการทำงานให้ลูกจ้าง นายจ้างจึงต้องยอมรับความเสี่ยงที่มาจากความผิดของลูกจ้าง
ค. หลักการช่วยเหลือซึ่งกันละหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
ง. นายจ้างเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าจึงอยู่ในฐานะที่จะต้องรับภาระในการชดใช้ค่าสินไหมทนแทนได้ดีกว่าลูกจ้าง
ฎ.4058/2560
จำเลยที่ 1 เริ่มต้นโดยการขับรถยนต์ตามหน้าที่ตราบใดที่ยังไม่นำรถเข้าเก็บถือว่าการปฏิบัติหน้าที่ยังไม่เสร็จสิ้น แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะขับรถไปเที่ยวดื่มสุรากับเพื่อนๆ ก็ต้องถือว่าอยู่ในระหว่างทำงานในทางการที่จ้าง การที่จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้พุ่งเข้าชนท้ายรถยนต์ของโจทก์อย่างแรง รถยนต์ของโจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างจะปัดความรับผิดชอบของตนโดยอ้างระเบียบข้อบังคับในการทำงานของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ฝ่าฝืนมาใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้ จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
1.2.1 หมายถึงลูกจ้างทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติเป็นประจำ
1.2.2 หมายถึงลูกจ้างทำละเมิดในขณะที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากการงานประจำ
ตัวอย่าง
นายจ้างจ้างลูกจ้างให้ขับรถ บขส. ประจำเส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี แต่วันหนึ่ง นายจ้างมอบหมายให้ขับรถยนต์ไปรับลูกค้าที่สนามบินดอนเมือง ระหว่างทางขับรถยนต์โดยประมาท ชนรถยนต์ของนาย ข. เสียหาย
1.2.3 หมายถึงลูกจ้างทำละเมิดในระหว่างเวลางาน
ตัวอย่าง
นาย ก. จ้างนาย ข. มาเป็นช่างทาสีประจำบริษัทรับจ้างทาสีโดยให้เงินเดือนๆ ละ 8000 บาท อยู่มาวันหนึ่งนาย ก. มอบหมายให้นาย ข. ไปทาสีบ้านของนาย ค. ในขณะที่นาย ข.ได้ทาสีอยู่บนนั่งร้าน นาย ข. ไม่ทันระวังทำกระป้องสีหกใส่นาย ด. ก็ดีหรือหกใส่รถยนต์ของนาย ค.ก็ดี กรณีถือว่านาย ข. ลูกจ้างทำละเมิดคือก่อความเสียหายแก่นาย ด. แล้ว และเป็นการทำละเมิดที่เกิดในระหว่างปฏิบัติงาน
1.2.4 หมายถึงลูกจ้างทำละเมิดในช่วงเวลาที่เป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิบัติงาน
ตัวอย่าง
นาย ก. จ้างนาย ข. เป็นคนขับรถยนต์ส่งของของบริษัทโดยให้เงินเดือนนาย ข.เดือนละ 8000บาท อยู่มาวันหนึ่ง นาย ก. มอบหมายให้นาย ข. ขับรถยนต์ไปส่งของที่นนทบุรีนาย ข. ก็ไปส่งของตามที่มอบหมายเรียบร้อยทุกประการ ในระหว่างขับรถกลับบริษัทนาย ข. ง่วงนอนเผลอหลับไป รถยนต์ที่นาย ข. ขับจึงไปชนนาย ค. ทำให้นาย ค. ได้รับบาดเจ็บนาย ข. ลูกจ้างทำละเมิดต่อนาย ค. ในเวลาที่สืบเนื่องจากการปฏิบัติงานซึ่งความจริงควรถือว่ายังอยู่ในเวลางาน
1.2.5 หมายถึงลูกจ้างทำละเมิดในระหว่างช่วงของการทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างไม่ว่า
อยู่ในเวลางานหรือไม่ ไม่ว่าจะออกนอกลู่นอกทางบ้างก็ตาม
ตัวอย่าง
นาย ก. จ้างนาย ข. เป็นคนขับรถยนต์ส่งของของบริษัทโดยให้เงินเดือน นาย ข. เดือนละ 8000 บาท อยู่มาวันหนึ่ง นาย ก. มอบหมายให้นาย ข. ขับรถยนต์ไปส่งของที่นนทบุรี นาย ข. ก็ไปส่งของตามที่มอบหมายเรียบร้อยทุกประการ ในระหว่างขับรถกลับ นาย ข. แวะกลับบ้านไปเปลี่ยนเสื้อผ้า ระหว่างเลี้ยวเข้าไปในซอยบ้านของนาย ข. ซึ่งเป็นซอยที่ไม่กว้างมากนัก นาย ข. เผลอไปชนรถเข็นขายส้มต่ำของนาย ด. เสียหาย ดังนี้ นาย ข. ทำละเมิดต่อนาย ค.แล้ว แต่เป็นการทำละเมิดในช่วงเวลาที่นาย ข. แวะไปทำธุระส่วนตัว ก็ยังต้องถือว่าอยู่ในช่วงของการทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างคือนาย ก. เพราะอยู่ในระหว่างที่จะเอารถยนต์กลับมาเก็บที่บริษัท
ตัวอย่างเช่น
นายจ้างจ้างลูกจ้างให้ขับรถ บขส. ประจำเส้นทางกรุงเทพฯ-ชลบุรี ลูกจ้างขับรถ บขส. ไปตามเส้นทางโดยประมาทชนรถดันอื่นเสียหาย ถือว่าลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4786/2558
ความหมายของคำว่า “ในทางการที่จ้าง” มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะในเวลาทำงานของนายจ้างหรือระหว่างเวลาที่ต่อเนื่องคาบเกี่ยวใกล้ชิดกันกับการปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างดังที่จำเลยที่ 3 กล่าวอ้างมาเท่านั้น หากแต่เมื่อลูกจ้างที่มีหน้าที่ขับรถและได้กระทำไปในทางการที่จ้างแล้ว หลังจากนั้นแม้ลูกจ้างจะได้ขับรถไปทำธุรกิจส่วนตัวหรือประการใดก็ตาม ตราบใดที่ลูกจ้างยังมิได้นำรถกลับคืนสู่ความครอบครองของนายจ้าง ก็ยังคงถือว่าอยู่ในระหว่างทางการที่จ้างหรือต่อเนื่องกับทางการที่จ้างซึ่งนายจ้างยังคงต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ดังนั้น แม้ขณะเกิดเหตุคดีนี้จะเป็นเวลา 2 นาฬิกา นอกเวลาทำงานปกติและ ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุออกไปเที่ยว ก็ถือได้ว่า ว. ขับรถยนต์กระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของ ว. นั้นด้วย
แม้ขณะลูกจ้างขับรถบรรทุกเฉี่ยวชนรถของผู้เสียหายเป็นเวลากลางคืน แต่ลูกจ้างยังคงสวมชุดทำงานและวันรุ่งขึ้นนายจ้างก็ไปพบพนักงานสอบสวนโดยไม่ปฏิเสธความรับผิดและร่วมเจรจาต่อรองค่าเสียหาย เป็นการยอมรับโดยปริยายว่าลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องรับผิด
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
หมายถึง การที่นายจ้างเรียกเก็บเงินคืนจากตัวลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างได้ทำละเมิด ส่งผลให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดในผลแห่งความเสียหายที่เกิดข้านกับบุคคลภายนอก ตามมาตรา 425
กฎหมายเปิดช่องให้ นายจ้างที่ชดใช้ค่าสินไหมแทนลูกจ้างไปแล้ว สามารถเรียกเก็บเงินคืนจากตัวลูกจ้างภายหลังได้ หรือ กรณีที่ลูกจ้างไม่มีเงินพอชดใช้คืนนายจ้าง ดังนี้ นายจ้างสามารถหักจากเงินเดือนลูกจ้างได้
ตัวอย่าง
นายโจ(นายจ้าง) ได้สั่งให้ นายจู(ลูกจ้าง) ขับรถไปส่งผลไม้ จากร้านค้าผลไม้ของตน นายจูนั้นก็ขับรถไปส่งตามคำสั่งนายโจ ปรากฎว่า นายจูขับรถปรัมาท ไปชนรั้วบ้าน นายจัก(คนนอก) ถือว่านายจูทำละเมิด ตามม.425 ทำให้นายโจต้องร่วมชดใช้ค่าสินไหมให้กับนายจัก // หลังจากนี้ นายโจมีสิทธิไล่เบี่ยกับนายจูได้
ปพพ. มาตรา 426
. “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวการซึ่งมิได้เป็นผู้ทำละเมิดจะต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของตัวแทนในลักษณะเดียวกับที่นายจ้างต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้างเพราะมาตรา ๔๒๗ ให้อนุโลมหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดของนายจ้างในการทำละเมิดของลูกจ้างมาใช้ ดังที่
มาตรา ๔๒๗ บัญญัติว่า "บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วย โดยอนุโลม"
ซึ่งหมายความว่าความรับผิดของตัวการในการทำละเมิดของตัวแทนนั้นให้อนุโลมใช้หลักเกณฑ์ความรับผิดของนายจ้างเพื่อการทำละเมิดของลูกจ้างและการใช้สิทธิไส่เบี้ยเท่าที่จะสามารถนำมาปรับได้กับเรื่องตัวการตัวแทน
1.4.1 ตัวแทนต้องทำตามคำสั่งที่ตัวการมอบหมาย
1.4.2 ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนไปดำเนินการติดต่อบุคคลภายนอกแทนตน ดังนั้นตัวการได้รับประโยชน์จากการดำเนินงานของตัวแทนคือมีคนไปทำแทนให้ ตัวการไม่ต้องไปทำเอง ตัวแทนทำละเมิดในระหว่างการดำเนินงานภายในกรอบอำนาจที่ได้รับมอบหมาย ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องที่ตัวการผู้ได้รับผลดีต้องรับผลเสียที่เกิดขึ้นในโอกาสเดียวกันด้วย
1.4.3 การทำงานของตัวแทนอาจเป็นการทำโดยไม่มีบำเหน็จ เมื่อทำผิดพลาดเกิดความ
เสียหายขึ้นก็ไม่ควรให้ตัวแทนต้องรับผิดชอบโดยลำพังเพราะตนมิได้รับประโยชน์ใดๆ
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา 428 ตอนต้น
ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง
ผู้รับจ้างทำของ เป็นนายของตนเอง
2.ไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของใคร
3.ใช้การตัดสินใจ ในการทำงานเอง
ตัวอย่าง
นายรัก ว่าจ้างให้ นายสม ทำโต๊ะไม้สักให้ตน ปรากฎว่า ขณะนายสมกำลังตัดไม้สักอยู่ กิ่งไม้สักได้หักทับรถยนต์นายอู๋ ดังนี้ นายรักผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับนายสมผู้รับจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
** มาตรา 428 ตอนท้าย
เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ผู้ว่าจ้างผิด 1. ส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ในคำสั่งที่ตนให้ไว้
ในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ตัวอย่าง
นายดำ ว่าจ้างให้ นายขาว ทำรั้วบ้านให้ โดยที่นายขาวนั้น ยังไม่มีประสบการณ์เลย ทำให้รั้วพังไปทับบ้านของนายเขียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2552
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้าง ท. ให้รับเหมาก่อสร้างบ้านโดยจำเลยที่ 2 เป็นคนมาติดต่อรับเงินค่าจ้างจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีสิทธิที่จะบอกกล่าวให้ ท. ทำงานตรงไหนก็ได้ตามที่ต้องการ จำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งให้ ท. เปลี่ยนแปลงขนาดเสาเข็มที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ราคาแพงกล่าวเดิม และเป็นคนเอาเงินให้ ท. ไปซื้อ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทน ดังนั้น แม้ ท. จะเป็นผู้ดำเนินการตอกเสาเข็ม แต่จำเลยที่ 1 ก็มีส่วนผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ และการที่ ท. ไม่ได้เรียนวิชาช่างมาโดยตรง เพิ่งรับเหมางานก่อสร้างให้จำเลยที่ 1 เป็นงานแรก ก็เกิดเหตุทำให้บ้านของโจทก์ทั้งสองเกิดรอยร้าว เสียหาย แสดงว่า ท. เป็นผู้ขาดความรู้ความสามารถ การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างให้ ท. เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างถือว่าเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ในการเลือกหาผู้รับจ้างมาก่อสร้างด้วย ทั้งเมื่อจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญา จำเลยที่ 1 ก็ให้การรับสารภาพ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสอง และแม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ฟ้อง ท. ก็ไม่เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 พ้นความรับผิด
ตัวอย่าง
นายดำ ว่าจ้างให้ นายขาว ทำรั้วบ้านให้ โดยแนะนำว่า ให้ตัดต้นไม้ของนายเขียวทิ้ง เพราะมันชิดรั้วของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2134/2532
การตอกเสาเข็มและการขุดดินทำห้องใต้ดินบริเวณก่อสร้างของจำเลยทำให้บ้านของโจทก์และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นได้รับความเสียหาย แม้จำเลยจะมิได้เป็นผู้ตอกเสาเข็มเอง แต่ก็ได้ว่าจ้างบริษัทอื่นทำและจำเลยควบคุมการตอกเสาเข็มให้ถูกต้องตามจำนวนและตอกตรงจุดที่กำหนดให้ตอก การตอกเสาเข็มดังกล่าวกระทำไปตามคำสั่งหรือคำบงการของจำเลย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการกระทำตามคำสั่งของจำเลยโดยตรง จำเลยหาพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428 ไม่
ตัวอย่าง
นายดำ ว่าจ้างให้ นายขาว ทำรั้วบ้านให้ โดยสั่งว่า ให้ทำรุกล้ำไปในที่ของนายเขียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2514
คำสั่งของจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้าง ที่สั่ง ส. ผู้รับจ้างว่าให้ ส. ทำการก่อสร้างอาคารไปตามแบบแปลนที่จำเลยที่ 1 ได้ยื่นไว้ต่อเทศบาลและเทศบาลได้อนุญาตแล้ว เป็นคำสั่งกำชับให้ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยผู้ว่าจ้างกับ ส. ผู้รับจ้าง ไม่เป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับการทำการก่อสร้างอาคารของ ส. ผู้รับจ้าง ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งให้ ส. ตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของ ส. ผู้รับจ้างเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429
บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
คนไร้ความสามารถ
ตามมาตรานี้ ได้แก่
1.ผู้เยาว์
(ในความดูแลของบิดามารดา)
2.คนวิกลจริต
(ในความดูแลของผู้อนุบาล)
3.บุตรบุญธรรม
(ในความดูแลของผู้รับบุตรบุญธรรม)
ไม่ว่าผู้ใดปรากฎในมาตรานี้ หากได้กระทำละเมิด ตามม.420 จะส่งผลให้ ผู้ดูแลของบุคคลนั้นๆต้องร่วมรับผิดในผลของการทำละเมิดไปด้วย เพราะ ผู้ดูแลต้องมีหน้าที่อบรมสั่งสอน/ให้ความรู้ผู้ไร้ความสามารถ
ตัวอย่าง
โด่ง เป็นลูกชาย นายดัง แล้ววันหนึ่ง โด่งไปโรงเรียน แล้วทำกระจกห้องเรียนแตก ดังนี้ นายดังต้องรับผิดร่วมกับลูกชายด้วย นั้นเอง
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430
"ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2511
เช้าวันเกิดเหตุ ครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียนเล่นมาทำลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไปตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอกห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอดพฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วเหตุที่เกิดละเมิดเป็นการนอกเหนืออำนาจและวิสัยที่ครูจะดูแลให้ปลอดภัยได้ครูจึงไม่ต้องรับผิด
ความหมาย
ความหมาย
ความหมาย