Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รกเกาะต่ำ (Placenta previa) - Coggle Diagram
รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
ความหมาย
การมีบางส่วนของรกหรือรกทั้งอันเกาะอยู่ที่บริเวณส่วนล่าง ของมดลูก (lower uterine segment) ในรายที่มีประวัติรก เกาะต่ำในครรภ์ก่อนและพบได้บ่อยขึ้นตามจํานวนครั้งของการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น
low lying placenta หรือ placenta previa type I ขอบรกอยู่เหนือปากมดลูกด้านใน
marginal placenta previa หรือ placenta previa type II
partial placenta previa หรือ placenta previa type III
total placenta previa หรือ placenta previa type IV
สาเหตุของการเกิดรกเกาะต่ำมักมีความสัมพันธ์กับปัจจัย
อายุพบมากในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
จํานวนครั้งของการคลอด พบว่ายิ่งมีจํานวนครั้งมากยิ่งมีโอกาสเกิดรกเกาะต่ำได้มาก
ความผิดปกติของหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุมดลูก
มารดาที่เคยเป็นรกเกาะต่ำในครรภ์ก่อน มีโอกาสเกิดได้อีก
ความผิดกติของรก เช่น รกมีขนาดใหญ่หรือรกแผ่กว้างมาก
พยาธิสภาพ
การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกส่วนล่างจะมีน้อยกว่าบริเวณยอดมดลูกทําให้รกต้องเกาะเป็น บริเวณกว้างขึ้น
ในระยะหลังของการตั้งครรภ์มดลูกจะมีการหดรัดตัวบ่อยขึ้น (Braxton Hicks contraction) ผนังมดลูกส่วนล่างจะถูกดึงให้ยืดขยายออกแต่ส่วนของรกไม่ได้ยืดขยายตามทําให้เกิดการฉีกขาดของ deciduas และหลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างรกกับผนังมดลูก
รกเกาะต่ำทําให้ส่งเสริมให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ
มีความผิดปกติของรกและสายสะดือ
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่เจ็บปวด (painless bleeding) ซึ่งส่วน ใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 28 – 30 สัปดาห์ขึ้นไป เลือดที่ออกมานี้ไม่มีอาการนําล่วงหน้ามาก่อน จํานวนที่ออกแต่ ละครั้งอาจไม่มากและหยุดไปเอง
การวินิจฉัย
การซักประวัติ จะพบอาการและอาการแสดงที่สําคัญ
การตรวจร่างกายทั่วไปพบว่าหน้าท้องไม่แข็งตึง คลําส่วนของทารกได้เสียงหัวใจทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ทารกมักอยู่ในท่าผิดปกติ
การตรวจภายในที่สงสัยว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะรกเกาะต่ำควรทํา double set-up
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging : MRI) เป็นวิธีการที่บอก ตําแหน่งรกได้ดี
แนวทางการรักษา
การรักษาตามอาการ เป็นการรักษาเพื่อให้การตั้งครรภ์ดําเนินต่อไปจนครบ 37 สัปดาห์
การรักษาแบบรีบด่วน (active treatment) เป็นการรักษาเพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
การคลอดทางช่องคลอด ทําในรายที่รกเกาะคลุมมดลูกเพียงบางส่วนหรือขอบมดลูกอยู่ใกล้ปากมดลูก ด้านใน เลือดออกน้อย สภาวะของหญิงตั้งครรภ์ดี มีความก้าวหน้าของการคลอดดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่น
การทําผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (caesarean section) เป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยแก่หญิงตั้งครรภ์ และทารกมากกว่าการคลอดทางช่องคลอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากมีรกเกาะต่ำและมีเลือดออกทางช่องคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
อธิบายให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวทราบถึงพยาธิสภาพและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพื่อลดความวิตกกังวลและความร่วมมือในการรักษา
จัดให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
ช่วยทําความสะอาดร่างกาย จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ลดกิจกรรมบางอย่างที่รบกวนหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้เกิดความสุขสบายและพักผ่อนได้
4.ใส่ผ้าอนามัยเพื่อประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง
งดน้ําและอาหารทางปาก ให้ได้สารน้ําทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษา
งดตรวจภายในทางช่องคลอด เพราะอาจเป็นการกระตุ้นให้รกมีการฉีกขาดพิ่มมากขึ้น
ฟังเสียงหัวใจทารกทุก 1 ชั่วโมง ระวังไม่ต้องกดและคลําหน้าท้องมากเพราะอาจกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที จนกว่าสัญญาณชีพจะปกติและไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อค
เสี่ยงต่อทารกในครรภ์พร่องออกซิเจน เนื่องจากมีเลือดออกทางช่องคลอดจากรกเกาะต่ำ
กิจกรรมการพยาบาล
จัดให้นอนในท่าตะแคงซ้าย ศีรษะต่ำไม่หนุนหมอนเพื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูกได้ดี
ให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําเพื่อช่วยให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์โดยใช้ continuous fetal monitor เพื่อประเมินสภาพของทารกในครรภ์
เตรียมการผ่าคลอดทางหน้าท้องให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยทําคลอดในทารกในครรภ์ที่มีภาวะขาดออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว
เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดให้พร้อม รวมทั้งเตรียมทีมช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด เพื่อเตรียมช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจน
เสี่ยงต่อเกิดการตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างหดรัดตัวไม่ดี หลอดเลือดจึงปิดไม่สนิท
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินชีพจร การหายใจ ความดันโลหิต การหดรัดตัวของมดลูกและเลือดท่ีออกทางช่องคลอด เพื่อประเมินภาวะตกเลือดและภาวะติดเชื้อหลังคลอด
ดูแลให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เช่น ออกซิโตซิน (oxytocin) ตามแผนการรักษา เพื่อช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดีป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
วัดระดับความสูงของยอดมดลูกวันละ 1 คร้ัง ซึ่งปกติมดลูกจะลดลงวันละ 1⁄2 - 1 นิ้ว
สังเกตลักษณะ สี และปริมาณของน้ำคาวปลา (lochia) เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ
ประเมินภาวะซีดและปริมาณเลือดที่ออก
ประเมินการติดเชื้อที่แผล ผ่าตัด ภายหลังผ่าตัดคลอด 24 ชั่วโมง เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อน มีสารคัดหลั่ง
ช่วยเหลือให้มีการปรับตัวในระยะหลังคลอด อย่างเหมาะสม ช่วยเหลือในการดูแลบุตรเพื่อลดความเครียด
ดูแลและแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน และธาตเหล็กเพื่อทดแทนการเสียเลือดของร่างกาย
ให้ข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป โดย มารดาหลงั คลอดที่เผชิญกับการมีเลือดออกก่อนคลอดจาก ภาวะรกเกาะต่ำจะมีความกลัวต่อการเกิดภาวะรกเกาะต่ำซ้ำอีกคร้ังในการตั้งครรภ์คร้ังต่อไป