Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Placenta previa :<3:, placenta-previa-1024x459, รกเกาะต่ำ (2),…
Placenta previa :<3:
รกเกาะต่ำ (Placenta previa) หมายถึง การมีบางส่วนของรกหรือรกทั้งอันเกาะอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก (lower uterine segment)
รกเกาะต่ําในครรภ์ก่อนและพบได้บ่อยขึ้นตามจํานวนครั้งของการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น แบ่งได้เป็น 4 ชนิด คือ
- marginal placenta previa หรือ placenta previa type II หมายถึง รกเกาะต่ําชนิดที่ขอบรกเกาะที่ขอบของ Internal os
- low lying placenta หรือ placenta previa type I ขอบรกอยู่เหนือปากมดลูกด้านใน หมายถึง รกที่ฝังตัวบริเวณ lower uterine segment ซึ่งขอบของรกยังมาไม่ถึง Internal os แต่อยู่ใกล้ชิดมาก
- partial placenta previa หรือ placenta previa type III หมายถึง รกเกาะต่ำขอบรกคลุมปิด Internal os เพียงบางส่วน
- total placenta previa หรือ placenta previa type IV หมายถึง รกเกาะต่ำขอบรกคลุมปิด Internal os ทั้งหมด
พยาธิสภาพ
1.การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกส่วนล่างจะมีน้อยกว่าบริเวณยอดมดลูกทําให้รกต้องเกาะเป็นบริเวณกว้างขึ้นเพื่อให้ได้อาหารและเลือดเพียงพอต่อความต้องการ
2.ในระยะหลังของการตั้งครรภ์มดลูกจะมีการหดรัดตัวบ่อยขึ้น (Braxton Hicks contraction) บ่อยขึ้นผนังมดลูกส่วนล่างจะถูกดึงให้ยืดขยายออกแต่ส่วนของรกไม่ได้ยืดขยายตามทําให้เกิดการฉีกขาดของ deciduas และหลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างรกกับผนังมดลูก มักให้มีเลือดออกทางช่องคลอดซึ่งมักไม่มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยและเลือดมักหยุดได้เอง
3.รกเกาะต่ำทําให้ส่งเสริมให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ ได้แก่ ท่าก้น (Breech presentation) ท่าขวาง (Transverse presentation) หรือท่าเฉียง (obligue presentation) นอกจากนี้ในรายที่ทารกใช้ศีรษะเป็นส่วนนํารกเกาะต่ำอาจจะขัดขวางต่อการเคลื่อนต่ำของศีรษะของทารกได้
4.มีความผิดปกติของรกและสายสะดือ เช่น รกแผ่กว้างและบาง สายสะดือติดอยู่ที่ริมรก หรือสายสะดือที่ติดเยื่อหุ้มทารก
สาเหตุ
มีการสร้างรก decidua บริเวณยอดมดลูกมีความสมบูรณ์ไม่เพียงพอรกจึงเปลี่ยนบริเวณที่ฝังตัวไปฝังที่บริเวณ lower uterine segmentซึ่งจะเห็นได้ว่ารกเกาะต่ำมักจะมีลักษณะบางและใหญ่มากกว่ารกปกติและลักษณะการเกาะของสายสะดือมักเป็นการเกาะแบบริมรกหรือเกาะบริเวณเยื่อหุ้มเด็ก จึงเชื่อวา่สาเหตุของการเกิดรกเกาะต่ำมักมีความสัมพันธ์กับปัจจัยดังนี้
อายุ พบมากในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีโดยพบมากเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี
-
ความผิดปกติของหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุมดลูกเป็นผลจากการติดเชื้อหรือขูดมดลูกมาก่อน การผ่าตัดมดลูกหรือการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
-
-
-
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ จะพบอาการและอาการแสดงที่สําคัญคือ มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์หรืออาการปวดร่วมด้วย(painless bleeding) เลือดที่ออกไม่มีอาการนํามาก่อน จํานวนเลือดที่ออกไม่มากนัก มักมีสีสดในรายที่เลือดออกมากมักมีอาการซีด
2.การตรวจร่างกายทั่วไป พบว่าหน้าท้องไม่แข็งตึง คลําส่วนของทารกได้เสียงหัวใจทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ทารกมักอยู่ในท่าผิดป
3.การตรวจภายในที่สงสัยว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะรกเกาะต่ำควรทํา double set-up หมายถึงการตรวจภายในพร้อมกับการเตรียมผ่าตัดในเวลาเดียวกัน
-
แนวทางการรักษา
1.การรักษาตามอาการ เป็นการรักษาเพื่อให้การตั้งครรภ์ดําเนินต่อไปจนครบ 37 สัปดาห์ แนวทางการรักษาเพื่อประคับประคองให้การตั้งครรภ์ดําเนินต่อไป
2.การรักษาแบบรีบด่วน (active treatment) เป็นการรักษาเพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงใช้ในกรณีต่อไปนี้ คือ อายุครรภ์เกิน 37 สัปดาห์ไปแล้ว ทารกหนักมากกว่า 2,500กรัม มีเลือดออกมาก ทารกตายในครรภ์เป็น placenta previa totalis และมีอาการเจ็บครรภ์ถึงแม้อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ วิธีการทําให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดมี 2 วิธี คือ
2.1การคลอดทางช่องคลอดทําในรายที่รกเกาะคลุมมดลูกเพียงบางส่วนหรือขอบมดลูกอยู่ใกล้ปากมดลูกด้านใน เลือดออกน้อยสภาวะของหญิงตั้งครรภ์ดี มีความก้าวหน้าของการคลอดดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่น
2.2การทําผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง (caesarean section) เป็นวิธีที่ให้ความปลอดภัยแก่หญิงตั้งครรภ์และทารกมากกว่าการคลอดทางช่องคลอด
-
-
นวัตกรรม :pencil2:
-
เพื่อศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมตุ๊กตาช่วยเตือนคลึงมดลูกต่อปริมาณการสูญเสียเลือด
และจํานวนมารดาที่คลึงมดลูกครบ 9 ครั้งในสองชั่วโมงแรกหลังคลอด
-
-
-
-
-
-
-
เอกสารอ้างอิง :pen:
จริยาพร ศรีสว่าง. (2555). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะ ตกเลือดในระยะตั้งครรภ์. ใน นันทพรแสนศิริพันธ์ และฉวีเบาทรวง (บรรณาธิการ), การพยาบาลผดุงครรภ์ เล่ม 3 สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน (หน้า 1-24). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นท์ติ้ง.
บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ. (2549). ภาวะรกเกาะต่ำ.ในสมชัย นิรุตติศาสน์ และคณะ (บรรณาธิการ)แนวทางเวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา(หน้า 9-17). กรุงเทพฯ: คอนเซ็พท์เมดิคัส.
-
-
-
-