Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่1 ภาวะรกเกาะต่ำ - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่1
ภาวะรกเกาะต่ำ
การวินิจฉัย
ภาวะที่เกิดขึ้น
คือ ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) หมายถึง ภาวะที่รกเกาะต่ำกว่าปกติ โดยเกาะลงมาถึงส่วนล่างของมดลูก ปกติรกจะเกาะที่ส่วนบนของมดลูก อาจจะเป็นด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลังของโพรงมดลูก ในภาวะที่รกเกาะต่ำ รกบางส่วนหรือทั้งหมดเกาะที่ส่วนล่างของมดลูกและอาจคลุมลงมาเพียงบางส่วนหรือคลุมทั้งหมดบริเวณปากมดลูก มักพบเมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ส่วนมากพบในไตรมาสที่สาม โดยเฉพาะเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 8 เดือน
อาการและอาการแสดง
จากการตรวจทางหน้าท้อง ทารกมักอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่ากัน ท่าขวาง ส่วนนำไม่ลงอุ้งเชิงกราน เลือดออกโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์ มักเกิดในไตรมาสที่ 3 เลือดที่ออกแต่ละครั้งมีจำนวนไม่มากและหยุดได้เอง แต่เกิดขึ้นได้อีกในเวลาต่อมา โดยปริมาณจะมากขึ้น เลือดที่ออกจะมีสีสดกว่าเลือดประจำเดือน หรือเลือดจากภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เนื่องจากการเกาะต่ำของรก
จากกรณีศึกษา ผู้คลอดรายนี้เป็นผู้คลอด G3P2A0L2 มีอาการเลือดออก ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ และหยุดไหลได้เองใน 2 สัปดาห์
มีอาการเป็นตะคริวที่บริเวณท้อง
มีการเจ็บถี่มากขึ้นจึงไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล และขณะที่รับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลก็มีอาการเลือดออกอีกครั้ง แพทย์จึงมีความจำเป็นต้องทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงโดยการผ่าตัดคลอด จึงคิดว่าผู้คลอดรายนี้มีภาวะรกเกาะต่ำ
วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะผิดปกติ
จากกรณีศึกษา หญิงตั้งครรภ์รายนี้มีภาวะรกเกาะต่ำ เนื่องจากเป็นมารดา G3P2A0L2
ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดภาวะผิดปกติหรือการเกาะต่ำของรกนั้นอาจเกิดจาก จำนวนครั้งของการคลอดและการตั้งครรภ์ ยิ่งมากยิ่งมีโอกาสสูงขึ้น การผ่าตัดทางหน้าท้อง เนื่องจากการกระทำดังกล่าวส่งผลให้มีแผลเป็นบริเวณผนังมดลูก ทำให้รกไม่สามารถเกาะในตำแหน่งที่เหมาะสมได้ จึงมาเกาะด้านล่างหรือตำแหน่งอื่นๆแทน
แนวทางการป้องกันภาวะผิดปกติ
หากเป็นช่วงแรกๆหรือพบช่วงแรกที่ยังไม่มีอาการรุนแรง แนะนำให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
ต้องนอนนิ่งๆเพื่อไม่ให้เกิดการเปิดขยายของปากมดลูก และประเมินการสูญเสียเลือด หากมีเลือดออกเป็นจำนวนมาก หรือซีด อาจต้องพิจารณาให้ยุติการตั้งครรภ์
หากไม่จำเป็นต้องยุติการตั้งครรภ์ จะได้รับยาบำรุงเลือดมารับประทานและติดตามระดับค่าฮีมาโตคริตเป็นระยะ ซึ่งจะมีการปฏิบัติตนต่างๆที่ไม่เหมาะสมอีก เช่น การสวนล้างช่องคลอด การร่วมเพศ การทำงานหนัก หรือแม้กระทั่งการสวนอุจจาระเป็นต้น
การวางแผนการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมีภาวะรกเกาะต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “ฉันเสียเลือดไป 5 ลิตรขณะผ่าตัด หมอขออนุญาตสามี เพื่อตัดมดลูกฉัน เพราะหากไม่ตัดออก ฉันเองอาจเสียชีวิตได้”
O : แพทย์วินิจฉัยว่ามารดามีภาวะรกเกาะต่ำ
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะตกเลือด เช่น หน้ามืด ใจสั่น มือเย็น ซีด เวียนศีรษะ
2.แผลไม่มี Bleeding หรือ Discharge ซึม
3.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
T = 36.5-37.5 C
P = 60-100 ครั้ง/นาที
R = 16-24 ครั้ง/นาที
BP = 90/60-140/90 mmHg
4.กระเพาะปัสสาวะไม่โป่งตึง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมิน ติดตามวัดสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้งและทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่ว โมงจนกว่าจะคงที่เพื่อประเมินภาวะช็อค
2.ประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด โดยตรวจดูจากผ้าอนามัยว่ามีเลือดมากหรือไม่ ใน 2 ชม.แรกหลังคลอด ไม่ควรมีเลือดออกมากกว่าผ้าอนามัย 2 ผืน เพื่อประเมินการตกเลือด
3.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และระดับของยอดมดลูกหลังคลอด โดยคลึงมดลูกให้หดรัดตัวก่อนการประเมิน เพื่อดูการหดรัดตัวของมดลูก และประเมินปัจจัยเสี่ยงในการตกเลือด
4.คลึงมดลูกให้กลมแข็งทุก 30 นาที นานครั้งละ 20 นาที และสอนมารดาในการคลึงมดลูกด้วยตนเอง เพื่อให้มดลูกเกิดการหดรัดตัว
5.ประเมินลักษณะของแผลตามหลัก REEDA SCORE พร้อมทั้งสังเกตอาการของการตกเลือดได้แก่ เหนื่อย หน้ามืด เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสั่น เป็นต้น เพื่อประเมินการเสียเลือดและป้องกันภาวะตกเลือด
6.ประเมินกระเพาะปัสสาวะ และให้มารดาปัสสาวะเองภายใน 4-6 ชั่วโมง หลังผ่าตัดคลอด หากพบว่ามีกระเพาะปัสสาวะเต็ม และมารดาไม่สามารถปัสสาวะเองได้ ให้ทำการสวนปัสสาวะทิ้ง เพื่อป้องกันภาวะตกเลือดจากการที่มดลูกหดรัดตัวไม่ดี เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะเบียด
7.กระตุ้นให้มารดานำลูกเข้าเต้า สนับสนุนให้ลูกดูดนม เมื่อลูกดูดนมร่างกายแม่จะสร้างฮอร์โมน Oxytocin เพื่อให้มดลูกหดตัว
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะซีดเนื่องจากมีภาวะรกเกาะต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาบอกว่า “สัปดาห์ที่ 31 เกิดอาการเลือดออก ผ่านไป 2 สัปดาห์เลือดหยุดไหล” : มารดาบอกว่า “สัปดาห์ที่ 31 ตะคริวที่ท้องเริ่มถี่มากขึ้น ไปหาหมอที่โรงพยาบาล หมอบอกใกล้คลอด จนผ่านไปเกิน 24 ชั่วโมง เลือดเริ่มไหลออกอีกรอบ”
O : เสียเลือดขณะผ่าตัดไป 5 ลิตร
วัตถุประสงค์
ไม่ให้หญิงตั้งครรภ์เกิดภาวะซีด
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีเลือดออกทางช่องคลอด
2.ไม่มีอาการและอาการแสดงของภาวะชัด เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตัวซีดเหลือง เยื่อบุตาซีด
สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
T = 36.5 37.5 องศาเซลเซียส
P = 60 100 ครั้ง/นาที
R = 16 24 ครั้ง/นาที
BP = 90/60 140/90 mmHg
02 sat = 95 100%
Hct. ≥ 33 %
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพและ 02 Sat ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
สังเกตอาการและอาการแสดง เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตัวซีดเหลือง เยื่อบุตาซีด เพื่อประเมินภาวะซีด
แนะนำให้นอนพัก ลดการเคลื่อนไหวของร่างกาย หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันเลือดออก
4.สังเกตจำนวนและลักษณะเลือดที่ออกจากช่องคลอดเพื่อประเมินการสูญเสียเลือด
5.แนะนำการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น ตับ เลือด เครื่องในสัตว์ เพื่อป้องกันภาวะโลหิตจาง
6.ติดตามค่า Hct. อย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะซีด
7.ตรวจหากลุ่มเลือดเพื่อเตรียมเลือดไว้ทดแทนเมื่อมารดามีการเสียเลือดมาก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะHypovolemic shock เนื่องจากสูญเสียเลือดขณะคลอดจากภาวะรกเกาะต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน
O : มารดามีภาวะรกเกาะต่ำ (Placenta previa)
O : เสียเลือดขณะผ่าตัด 5 ลิตร
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดภาวะช็อค
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อค เช่น มือเท้าเย็น หัวใจเต้นเร็ว ชัพจรเต้นเร็วแต่เบา ปัสสาวะออกน้อย หายใจหอบเหนื่อย ความดันโลหิตต่ำ
2.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
T= 36.5 37.5 องศาเซลเซียส
P = 60 100 ครั้ง/นาที
R = 16 24 ครั้ง/นาที
BP = 90/60 140/90 mmHg
02 sat = 95 100%
Hct. ≥ 33 %
3.ปัสสาวะออก ≥ 30 มล./ช.ม.
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินติดตามวัดสัญญาณชีพและประเมินระดับความรู้สึกตัวทุก 15 นาที 4 ครั้งและทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่ เพื่อประเมินภาวะช็อค
2.สังเกตอาการและอาการแสดง เช่น มือเท้าเย็น หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา ปัสสาวะออกน้อย หายใจหอบเหนื่อย ความดันโลหิตต่ำ เพื่อประเมินภาวะช็อค
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะช็อค
4.ให้มารดาหลังผ่าตัดใส่ผ้าอนามัย และเปลี่ยนผ้านามัยอย่างน้อย ทุก 8 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะตกเลือด
5.บันทึกสารน้ำเข้าออกร่างกายทุก 8 ชั่วโมง เพื่อดูการทำงานของไต
6.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับออกชิเจนอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ hypoxia
7.เจาะเลือดตรวจค่า Hct. ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะซีด