Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
รกเกาะต่ำ (Placenta previa) จักรพงษ์ เจริญพัน ุ64019508 - Coggle Diagram
รกเกาะต่ำ (Placenta previa) จักรพงษ์ เจริญพัน ุ64019508
หมายถึง การมีบางส่วนของรกหรือรกทั้งอันเกาะอยู่ที่บริเวณส่วนล่างของมดลูก (lower uterine segment) พบได้ร้อยละ 5 ของการตั้งครรภ์อุบัติการณ์จะสูงขึ้นในรายที่มีประวัติรกเกาะต่ำในครรภ์ก่อนและพบได้บ่อยขึ้นตามจํานวนครั้งของการตั้งครรภ์ที่เพิ่มขึ้น
สาเหตุ
1.อายุ พบมากในหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
2.จํานวนครั้งของการคลอด
3.ความผิดปกติของหลอดเลือด
4.มารดาที่เคยเป็นรกเกาะต่่ำในครรภ์ก่อน มีโอกาสเกิดได้อีก
5.ความผิดกติของรก
พยาธิสภาพ
1.การไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงที่มดลูกส่วนล่างจะมีน้อยกว่าบริเวณยอดมดลูกทําให้รกต้องเกาะเป็นบริเวณกว้างขึ้นเพื่อให้ได้อาหารและเลือดเพียงพอต่อความต้องการ
2.ในระยะหลังของการตั้งครรภ์มดลูกจะมีการหดรัดตัวบ่อยขึ้น (Braxton Hicks contraction) บ่อยขึ้นผนังมดลูกส่วนล่างจะถูกดึงให้ยืดขยายออกแต่ส่วนของรกไม่ได้ยืดขยายตามทําให้เกิดการฉีกขาดของ deciduas และหลอดเลือดที่เชื่อมระหว่างรกกับผนังมดลูก มัก
3.รกเกาะต่ําทําให้ส่งเสริมให้ทารกในครรภ์อยู่ในท่าที่ผิดปกติ ได้แก่ ท่าก้น (Breech presentation) ท่าขวาง (Transverse presentation) หรือท่าเฉียง (obligue presentation) นอกจากนี้ในรายที่ทารกใช้ศีรษะเป็นส่วนนํารกเกาะต่ำอาจจะขัดขวางต่อการเคลื่อนต่ําของศีรษะของทารกได้
4.มีความผิดปกติของรกและสายสะดือ
อาการและอาการแสดง
อาการแสดงที่สําคัญที่สุด คือ มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่เจ็บปวด (painless bleeding) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์ 28 – 30 สัปดาห์ขึ้นไป เลือดที่ออกมานี้ไม่มีอาการนําล่วงหน้ามาก่อน จํานวนที่ออกแต่ละครั้งอาจไม่มากและหยุดไปเอง
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ จะพบอาการและอาการแสดงที่สําคัญคือ มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์หรืออาการปวดร่วมด้วย(painless bleeding) เลือดที่ออกไม่มีอาการนํามาก่อน จํานวนเลือดที่ออกไม่มากนัก มักมีสีสด ในรายที่เลือดออกมากมักมีอาการซีด
2.การตรวจร่างกายทั่วไป พบว่าหน้าท้องไม่แข็งตึง คลําส่วนของทารกได้เสียงหัวใจทารกอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ทารกมักอยู่ในท่าผิดปกติ ระดับมดลูกมักอยู่สูงกว่าที่ควรจะเป็นเนื่องจากการฝังตัวของรกมักขัดขวางการเคลื่อนต่ําของส่วนนํา
3.การตรวจภายในที่สงสัยว่าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะรกเกาะต่ำ ควรทํา double set-up หมายถึงการตรวจภายในพร้อมกับการเตรียมผ่าตัดในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ ถ้าตรวจพบว่าเป็นรกเกาะต่ำ การตรวจภายในแม้จะกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อยก็อาจทําให้เกิดเลือดออกได้มาก อาจต้องทําการผ่าตัดเด็กออกทางหน้าท้องทันที
4.การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาตําแหน่งที่รกเกาะโดยใช้หัตถการ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อทารกในครรภ์พร่องออกซิเจน เนื่องจากมีเลือดออกทางช่องคลอดจากรกลอกตัวก่อนกําหนด
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ทารกในครรภ์ปลอดภัยจากภาวะขาดออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
1.เสียงหัวใจทารกอยู่ระหว่าง 120-160ครั้ง/นาที จังหวะสม่ําเสมอ
2.ผล NST reactive
3.หลังรับประทานอาหารทารกในครรภ์ดิ้นมากกว่า3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดให้นอนในท่าตะแคงซ็าย ศีรษะต่ํา ไม่หนุนหมอนเพื่อช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ดี และการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูกได้ดี ให้ออกซิเจนเพื่อช่วยเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือดป้องกันอวัยวะต่างๆขาดออกวิเขน ลดการทํางานของหัวใจ และช่วยเพิ่มปริมาณของออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ลดภาวะพร่องออกวิเจนของทารกในครรภ์
2.ให้สารน้ําทางหลอดเลือดดําเพื่อช่วยให้การไหลเวียนเลือดในร่างกายดีขึ้น
3.ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์โดยใช้ continuous fetal monitor เพื่อประเมินสภาพของทารกในครรภ์
4.เตรียมการผ่าคลอดทางหน้าท้องให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยทําคลอดในทารกในครรภ์ที่มีภาวะขาดออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว
5.เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดให้พร้อม รวมทั้งเตรียมทีมช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด เพื่อเตรียมช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจน
ข้อมูลสนับสนุน
S
ผู้ป่วยบอกมีเลือดออกทางช่องคลอด
O
เสียงหัวใจทารก 110 ครั้ง/นาที
เสื่ยงต่อภาวะช็อคเนื่องจากมีรกเกาะต่ำและมีเลือดออกทางช้องคลอด
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ปลอดภัยจากภาวะช็อค
เกณฑ์การประเมินผล
1.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.ไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อค คือไม่ซีด ใจสั่น กระสับกระส่าย
3.เลือดที่ออกทางช่องคลอดน้อยลง หรือหยุดไหล
4.ความเข้มข้นของเลือดไม่ต่ํากว่า 30%
กิจกรรมการพยาบาล
1.อธิบายให้สตรีมีครรภ์และครอบครัวทราบถึงพยาธิสภาพ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น แผนการรักษา การปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อลดความวิตกกังวลและความร่วมมือในการรักษา
2.จัดให้นอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เพราะการหดรัดตัวของมดลูกทําให้มีเลือดออกทางช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อลดการกดทับเส้นเลือด Inferior vena cava
3.ใส่ผ้าอนามัยเพื่อประเมินเลือดที่ออกทางช่องคลอด โดยคาดคะเนจากเลือดที่ชุ่มผ้าอนามัย ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกและเปลี่ยนผ้าอนามัยอย่างน้อยทุก 8 ชั่ วโมง ถ้าพบเลือดออกมากควรรายงานแพทย์
4.ให้งดน้ําและอาหารทางปาก ให้ได้สารน้ําทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษา เพราะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจต้องช่วยผ่าเอาทารกออกทางหน้าท้อง
5.งดตรวจภายในทางช่องคลอด เพราะอาจเปนกากระตุ้นให้รกมีการฉีกขาดพิ่มมากขึ้น ทําให้เลือดออกทางช่องคลอดมากขึ้น เกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
6.ฟังเสียงหัวใจทารกทุก 1 ชั่วโมง ระวังไม่ต้องกดและคลําหน้าท้องมากเพราะอาจกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทําให้รกฉีกขาดเพิ่มมากขึ้น ถ้าพบFHSผิดปกติรายงานแพทย์ทันทีเพื่อให้การรักษาป้องกันการเกิดภาวะ Fetal distress
7.ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที จนกว่าสัญญาณชีพจะปกติและไม่มีอาการแสดงของภาวะช็อค
8.ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์โดยใช้ continuous fetal monitor เพื่อประเมินสภาพของทารกในครรภ์
9.เตรียมการผ่าคลอดทางหน้าทองให้พร้อม เพื่อสามารถช่วยทําคลอดในทารกในครรภ์ที่มีภาวะขาดออกซิเจนได้อย่างรวดเร็ว
10.เตรียมอุปกรณ์ในการช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิดให้พร้อม รวมทั้งเตรียมทีมช่วยฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด เพื่อเตรียมช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีภาวะขาดออกซิเจน
ข้อมูลสนับสนุน
S
ให้ประวัติเคยมีรกเกาะต่ำในครรภ์ที่ผ่านมา
O
มีเลือดออกทางช่องคลอด
นวัตกรรม
นวัตกรรมการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด “Clock contraction”
นวัตกรรมการป้องกันการตกเลือดหลังคลอด “Clock contraction” จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มารดาหลังคลอดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกตระหนักและเห็นความสำคัญของการคลึงมดลูก โดยมีกระบวนการคือ การใช้นาฬิกาเตือนให้มารดาหลังคลอดคลึงมดลูกทุกครั้งที่มีเสียงเตือนจากนาฬิกา เพื่อกระตุ้นให้มดลูกมีการหดรัดตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลในการลดปริมาณการสูญเสียเลือด และลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอดจากการหดรัดตัวของมดลูกที่ไม่มีประสิทธิภาพ
อธิบายมารดาหลังคลอด โดยให้ทราบวัตถุประสงค์และประโยชน์ของการใช้นวัตกรรมการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด “Clock contraction”
หลังจากรกคลอดแล้ว พยาบาลห้องคลอดในเวรคลึงมดลูกไล่ก้อนเลือดออกให้หมด ตรวจสอบช่องทางคลอดให้เรียบร้อย และสอดถุงตวงเลือดไว้ใต้ก้นมารดาหลังคลอด เพื่อประเมินปริมาณเลือดที่ออก
จากช่องคลอด
พยาบาลให้คำแนะนำวิธีการคลึงมดลูกตามเสียงเตือนนาฬิกา โดยวางมือข้างที่ถนัด บริเวณยอดมดลูกและคลึงเบาๆด้วยปลายนิ้วจนกว่ามดลูกจะหดรัดตัวดี
เก็บนาฬิกาไว้กับมารดาหลังคลอดจนกว่าพยาบาลห้องคลอดจะเย็บแผลเสร็จ โดยนำนาฬิกามา
พยาบาลห้องคลอดในเวรประเมินการสูญเสียเลือดในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยดูจาก
สเกลถุงตวงเลือด แล้วลงบันทึก
แจกแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมการป้องกันภาวะตกเลือดหลังคลอด “Clock contraction”
อ้างอิง
นงลักษณ์ เฉลิมสุข(2565) การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีที่มีภาวะเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่ : โครงการตํารา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง. (2560). การพยาบาลสตรีระยะตั้งครรภ์ = Prenatal Nursing Care. กรุงเทพฯ : โครงการตําราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล