Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงระบบรับความรู้สึก - Coggle Diagram
การเปลี่ยนแปลงระบบรับความรู้สึก
การมองเห็น
ไขมันรอบดวงตาหนังตามีปริมาณลดลง ทำให้ตาลึก หนังตาตก (ptosis) หนังตาเป็นถุงเหี่ยวย่น
ขอบตาม้วนเข้าด้านใน (entropion) และม้วนออก (extropion) เนื่องจากชั้นไขมันรอบดวงตาฝ่อลงและกล้ามเนื้อรอบดวงตาเสียความยืดหยุ่น
มีวงสีขาวรอบตาดำ (arcus senilis) ที่เกิดจากการสะสมของไขมัน
เลนส์ตาขุ่นเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หนาตัว แข็งขึ้น เนื่องจากมีการสร้างเส้นใยโปรตีนมาหุ้มเลนส์เพิ่มขึ้น ความโค้งของเลนส์ลดลงมีผลต่อการปรับระดับสายตา เรียกว่าสายตาผู้สูงอายุ (presbyopia) จะมองสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ไม่ชัด เลนส์ขุ่นขึ้น ความยืดหยุ่นลดลง สายตาเอียง (astigmatism) เนื่องจาก cornea หนาตัวและมีความโค้งน้อยลงความสามารถในการปรับความคมชัดลดลง ทำให้ตามัวมองเห็นไม่ชัดเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
รูม่านตาเล็กลง (senile miosis) เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อส่วนขยายรูม่านตา (pupil) ของม่านตา (iris) ลดลงทำให้ความสามารถในการมองเห็นในที่มืดลดลงและการปรับตัวต่อความมืดลดลง
เซลล์รับแสงลดลงโดยเฉพาะ rod cell สารสีใน cone cell ลดลง ทําให้ความไวต่อแสงในจอตาลดลง บกพร่องในการมองเห็นสี การรับรู้สีลดลง โดยเฉพาะสีน้ำเงิน เขียว สามารถแยกสีแดง สีส้ม สีเหลืองได้ดีกว่าสีม่วง เขียว น้ำเงิน
การได้ยิน
หูชั้นนอกสร้างขี้หู (cerumen) มากขึ้น เนื่องจากเยื่อบุรูหูบางลงและแห้ง
การขับขี้หูออกจะลดลงเนื่องจากต่อมเหงื่อทำงานลดลง
ขนในรูหูแข็งขึ้น
กระดูกอ่อนในหูมีความยืดหยุ่นลดลงทำให้รูหูคดเคี้ยวขึ้น
หูชั้นกลาง แก้วหูจะมีคอลลาเจนมาแทนเนื้อเยื่อ elastin tissue ทำให้แก้วหูบางลง ความยืดหยุ่นลดลง มีแคลเซียมมาเกาะกระดูกค้อน ทั่งโกลน ทำให้การส่งผ่านความดังของเสียงลดลง การได้ยินลดลง มีการเสื่อมของกล้ามเนื้อพังผืดรอบๆแก้วหู ทำให้ความสามารถในการหดตัวของแก้วหูลดลงทําให้ acoustic reflex ลดลง
หูชั้นในเกิดภาวะหูตึง (presbycusis) เนื่องจากเซลล์ขนที่อยู่ใน organ of corti ซึ่งมีหน้าที่แปลงความหนาแน่นและความถี่ของเสียงส่งไปยังเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 Acoustic nerve มีจำนวนลดลงเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในลดลง การสร้างน้ำเหลืองลดลง ความยืดหยุ่นเยื่อบุผนังลดลง มีการสูญเสียเซลล์ประสาทใน cochlea duct โดยมีการสูญเสียความสามารถในการรับฟังเสียงความถี่สูงและการแยกคำการหาตำแหน่งที่มาของเสียงทำได้ยากขึ้น การทำงานของ vestibular ลดลงทำให้การทรงตัวไม่มั่นคง มีอาการมึนงง (dizziness) หรือวิงเวียนเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งศีรษะหรือหมุนศีรษะ (vertigo)
การรับรส การดมกลิ่น การสัมผัส
การหลั่งน้ำลายลดลงต่อมรับรส (taste bud) มีจำนวนลดลงความไวในการรับรสลดลง
การับรสเค็มหวานเปรี้ยวขมลดลงการรับรสเค็มกับหวานจะเสียก่อนเปรี้ยวกับขม
เซลล์ประสาทในการดมกลิ่นและความสามารถในการแยกกลิ่นลดลง ส่งผลให้ไม่สามารถกระตุ้นน้ำลายและความอยากอาหาร
จำนวนปลายประสาทที่รับความรู้สึกเจ็บปวดลดลง ทำให้รู้สึกปวดน้อยลงและไม่สามารถระบุตำแหน่งจุดที่ปวดได้ชัดเจน
คำแนะนำ/การพยาบาล
ตรวจหูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สังเกตอาการของการได้ยินลดลง หากมีความผิดปกติในหูหรือมีการได้ยินลดลง ควรปรึกษาแพทย์แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยฟัง
หากมีขี้หูมากให้ใช้สารละลายที่มีฤทธิ์อ่อน เช่น น้ำมันมะกอกหรือไอโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หยอดหูสัปดาห์ละ 2 ครั้งจนถึงเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยให้ขี้หูไม่อุดตันในช่องหู