Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่4 ตกเลือดหลังคลอด - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่4 ตกเลือดหลังคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
มารดามีภาวะตกเลือดหลังคลอดจากรก/เศษรกค้าง
ประเมินสภาพทั่วไป สัญญาณชีพ สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการผิดปกติเช่น หน้ามืดใจสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ชีด เพื่อประเมินการตอบสนองของร่างกายต่อปริมาณเลือดที่ลดลง
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและคลึง
มดลูกจนหดรัดตัวกลมแข็งและกดไล่ก้อนเลือด
ตรวจการฉีกขาดของช่องทางคลอด ตรวจ
ความสมบูรณ์ของรก
สังเกตลักษณะและ
จำนวนเลือดที่ออกทางช่องคลอดโดยสังเกตจากการชุ่มผ้าอนามัยประเมินปริมาณการเสียเลือด
จัดท่าให้ผู้คลอดนอนราบตะแคงหน้าและ
ให้ออกซิเจน
ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยใส่สาย
สวนปัสสาวะคาไว้เพื่อไม่ให้ขัดขวางการหดรัดตัวของ มดลูก และบันทึกปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมง เพื่อดูการทำงานของไต
ให้เลือดตามแผนการรักษาเพื่อช่วยเพิ่ม
ปริมาณเม็ดเลือดแดง
เจาะเลือดดูค่าฮีมาโตคริตตามแผนการ
รักษา
มารดาเสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อหลังคลอด เนื่องจากมีแผลในโพรงมดลูกจากการขูดมดลูกและมีการเสียเลือดมาก
ติดตามประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิร่างกายและสังเกตลักษณะแผลฝีเย็บ จำนวน สี ลักษณะ และกลิ่นของน้ำคาวปลาทุกวัน เพื่อประเมินการติดเชื้อ
ดูแลให้สารน้ำตามแผนการรักษา
ดูแลให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
แนะนำและสอนผู้ป่วยให้ดูแลตัวเองในเรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกวันละ 2 ครั้ง
เช้า-เย็น
วัดระดับยอดมดลูกและลงบันทึกทุกวัน
สนับสนุนให้มารดานอนคว่ำ ลุกจากเตียงโดยเร็ว เพื่อขับน้ำคาวปลา
จัดสิ่งแวดล้อม เตียงนอน ผ้าปูเตียงและข้างเตียงให้สะอาด ตลอดจนจัดให้พักผ่อนในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทดี เพื่อลดความหมักหมม ช่วยให้ร่างกายสดชื่น
มารดาอาจเกิดการอ่อนเพลียเนื่องจากการสูญเสียเลือด
ดูแลให้มารดานอนพักผ่อน รบกวนมารดาให้น้อยที่สุด
ดูแลให้ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มี
ประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลและแนะนำการรักษาความสะอาด
ร่างกายเพื่อให้รู้สึกสดชื่นขึ้น
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ 5% D/N/2 1,000 ml IV 100 ml/hr ตามแผนการรักษา
ดูแลให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย และดื่มน้ำหวานเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้น
ข้อมูลกรณีศึกษา
อาการสำคัญ
มีเลือดสดไหลออกทางช่องคลอด ปวดหน่วงอย่างรุนแรง 10 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล
อาการเจ็บป่วยปัจจุบัน
21 วันก่อนมาโรงพยาบาล เข้ารับการผ่าตัดคลอดจากสาเหตุทารกตัวใหญ่
2 วันก่อนมาโรงพยาบาลยังพบน้ำคาวปลาสีน้ำตาลอ่อนๆไหลออกมาทางช่องคลอด
9 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดท้องหน่วงมาก ปวดเหมือนเวลาเป็นประจำเดือน และมีเลือดสีแดงสดซึมออกมา
10 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล มีเลือดสดๆไหลออกทางช่องคลอดไม่หยุด ลักษณะการไหลเหมือนเวลาเราเปิดก๊อกน้ำ ประมาณ 10 นาที จึงเริ่มหยุดไป และหลังจากนั้นก็มีอาการ ปวดหน่วงอย่างรุนแรง ที่เท้าเริ่มมีสีเขียวคล้ำ เมื่อสามีมาถึงบ้านจึงโทรให้รถพยาบาลมารับ
หญิงไทย ไม่ทราบอายุ ให้ประวัติว่าเคยผ่าตัดคลอดลูกคนแรกเนื่องจากเด็กตัวใหญ่ในวันที่ วันที่ 6 มกราคม 2555
การวินิจฉัย
ภาวะตกเลือดหลังคลอดระยะหลัง (Late or Delayed or Secondary postpartum hemorrhage)
เนื่องจาก หญิงไทยรายนี้ คลอดบุตรมาแล้วเป็นระยะเวลาถึง 21 วัน แต่พบว่ามี เลือดสด ๆ ไหลออกทางช่องคลอดมากและมีอาการปวดหน่วงอย่างรุนแรง
ยังพบน้ำคาวปลาสีน้ำตาลอ่อนถึงแม้จะคลอดมามากว่า 10 วัน
กดหน้าท้องพบว่า มีอาการปวดหน่วงสลับกับเลือดไหลออกมาเป็นก้อนๆ
อัลตร้าซาวน์พบมีเลือดอยู่ในมดลูก
มีอาการแสดงของการเสียเลือด ได้แก่ แขนขาชา รู้สึกไม่มีแรง ใจสั่น หายใจลำบาก หน้ามืด เริ่มไม่รู้สึกตัว และเท้าเริ่มมีสีเขียวคล้ำ
สาเหตุ
ภาวะ Late or Delayed or Secondary postpartum hemorrhage
Tone ความผิดปกติของการหดรัดตัวของมดลูก
หญิงไทยรายนี้ก่อนคลอดมีความเสี่ยงต่อการตกเลือกหลังคลอดจากการที่ทารกตัวใหญ่ ทำให้มีความเสี่ยงในเรื่องมดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดีหลังคลอด
Trauma การฉีกขาดของช่องทางคลอดและมดลูก
หญิงไทยรายนี้มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการฉีกขาดของช่องทางคลอดแล้วตกเลือดหลังคลอดคือทารกตัวโต จึงทำให้หญิงไทยรายนี้ต้องได้รับการผ่าตัดคลอด ซึ่งการผ่าตัดก็เป็นหัตถการที่ทำให้มดลูกมีการฉีกขาด
แนวทางการป้องกัน
ระยะก่อนตั้งครรภ์
เน้นย้ำให้มาตรวจครรภ์ตรงตามแพทย์นัดทุกครั้ง
ระหว่างตั้งครรภ์
ประเมินหญิงตั้งครรภ์เพื่อหาความเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เช่น มดลูกขนาดใหญ่จากทารกตัวโต
ตรวจคัดกรองภาวะซีด ถ้าพบต้องหาสาเหตุและรักษา
แนะนำหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวเรื่องการดูแลตนเอง การเตรียมคลอด และเตรียมความพร้อมกับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
ระหว่างคลอด
ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงตกเลือดหลังคลอดสูงให้งดน้ำและอาหารทางปาก ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เตรียมให้เลือด
ติดตามสัญญาณชีพ ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยขณะทำหัตถการ
ประเมินปริมาณเลือดที่ออกขณะทำหัตถการ
ระยะหลังคลอด
ขณะอยู่โรงพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 15 นาที 4 ครั้ง ทุก 30 นาที 2 ครั้ง และทุก 1 ชั่วโมง จนอาการปกติ
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ปริมาณเลือดที่ออก และกระเพาะปัสสาวะ
จัดท่าให้นอนท่าที่สบาย ไม่แนะนำให้คลึงมดลูกเนื่องจากมีแผลผ่าตัดที่หน้าท้อง ถ้าความดันโลหิตต่ำแนะนำให้นอนราบไม่ต้องใช้หมอหนุนเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมอเพียงพอ
ดูแลการให้สารน้ำและยาช่วยการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสมเหตุสมผลและให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา
ในรายที่มีเศษรก หรือก้อนเลือดค้างอยู่ภายในโพรงมดลูกจะให้ Oxytocin แล้วทำการขูดมดลูกโดยแพทย์
ขณะกลับบ้าน
แนะนำเรื่องการตกเลือดถึงจะกลับบ้านแล้วแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด
สังเกตอาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์ คือ คอยสังเกตน้ำคาวปลาโดยปกติ ภายหลังคลอดบุตร 3-4วันแรก น้ำคาวปลาจะเป็นสีแดง (Lochia rubra) , ภายหลังคลอดบุตร 4-10 วัน น้ำคาวปลาจะเป็นสีแดงจางๆคล้ายสีน้ำล้างเนื้อ (lochia serosa) และภายหลังคลอดบุตร 10วันเป็นต้นไป น้ำคาวปลาจะเริ่มเป็นสีเหลือง-ขาว (Lochia alba)
โดยทั่วไปน้ำคาวปลาจะมีได้ถึงเฉลี่ยที่ 36วัน ภายหลังจากการคลอดบุตร และสังเกตอาการแสดงของภาวะตกเลือด ได้แก่ มีเลือดออกเป็นลิ่มๆ หน้ามืด วิงเวียน จะเป็นลม พบเลือดสดออกมาอาจจะเริ่มจากทีละน้อยและค่อยๆมากขึ้น มีไข้ ปวดท้องน้อย ปวดมดลูก