Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงสร้างโลก :earth_asia:, image, image, image, image, image, image, image…
โครงสร้างโลก
:earth_asia:
ข้อมูลในการศึกษาและแบ่งชั้นโครงสร้างโลก
เซอร์ไอแซค นิวตัน
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาความโน้มถ่วงโลก
ต่อมานักวิทยาศาสตร์ใช้กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตัน
คำนวณหาความหนาแน่นเฉลี่ยของโลก
จึงสันนฺษฐานได้ว่าโลกไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด
ต่อมาได้สำรวจหินบนเปลือกโลกกับหินจากการระเบิดของภูเขาไฟพบว่าทั้งสองมีองค์ประกอบเหมือนกันแต่เมื่อนำมาเทียบกับหินแปลกปลอมที่ถูกพาขึ้นมาพร้อมลาวากลับมีองค์ประกอบต่างกัน
ทำให้ทราบว่าโลกมีอุณหภูมิและความดันเพิ่มขึ้นตามระดับความลึกและภายใต้ผิวโลกมีบางส่วนมีหินหลอมเหลว
คลื่นไหวสะเทือน
เป็นคลื่นที่ถ่ายทอดพลังงานผ่านภายในโลก อาจเกิดจากแผ่นดินไหว การระเบิด
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
คลื่นในตัวกลาง
และ
คลื่นพื้นผิว
ในการศึกษาโครางสร้างโลกใช้
คลื่นปฐมภูมิ
และ
คลื่นทุติยภูมิ
คลื่นปฐมภูมิ
เป็นคลื่นตามยาว ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะทำให้อนุภาคของตัวกลางเกิดการอัดและขยายในทิศทางเดียวกับการเคลื่นที่
คลื่นทุติยภูมิ
เป็นคลื่นตามขวาง เคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็ง ทำให้อนุภาคตัวกลางสั่นตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น
การแบ่งชั้นโครงสร้างโลก
เปลือกโลก
ชั้นนอกสุด เป็น
เปลือกโลกทวีป
และ
เปลือกโลกหมาสมุทร
เปลือกโลกทวีปเป็นพื้นทวีปและไหล่ทวีป มีหินจะพวกแกรนิตเป็นส่วนใหญ่ มีสารประกอบซิลิกอนและอะลูมีเนียม
เปลือกโลกมหาสมุทร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินบะซอลต์ มีสารประกอบหลักเป็นซิลิกอนและแมกนิเซียม
เนื้อโลก
ขอบเขตตั้งแต่ใต้เปลือกโลกถึงระดับความลึกประมาณ 2,900 km
มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิกอน แมกนิเซียมและเหล็ก
แก่นโลก
จากระดับความลึก 2,900 km ถึงใจกลางโลก
มีธาตุเหล็กเป็นส่วนใหญ่
การแบ่งโครงสร้างโลกตามสมบัติเชิงกล
แอนดริจา โมโฮโรวิซิก
ได้ศึกษาการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว พบว่ามีการหักเห สะท้อนและเคลื่อนที่ผ่านด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน จึงสรุปได้ว่า ภายในโลกไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกัน
ธรณีภาค
นอกสุดของโลก เปลือกโลกและเนื้อโลกตอนบน เป็นของเเข็งที่มีสภาพ
แข็งแกร่ง
คลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิผ่านด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ฐานธรณีภาค
ถัดลงมาจากธรณีภาค ส่วนของเนื้อโลกตอนบน เป็นของแข็งสภาพ
พลาสติก
พบการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือนไม่สม่ำเสมอ
เขตความเร็วต่ำ
เขตที่ P-wave และ S-wave มีความเร็วลดลง ความดันสูงไม่พอที่จะทำให้แร่คงสภาพเป็นของแข็ง เป็นแหล่งกำเนิดของแม็กม่า
เขตเปลี่ยนแปลง
เขตที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วเพิ่มขึ้นในอัตราไม่สม่ำเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแร่
มัชฌิมภาค
อยู่ใต้ฐานธรณีภาค เป็นส่วนของเนื่้อโลกตอนล่าง เป็นของแข็ง คลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
แก่นโลกชั้นนอก
อยู่ใต้มัชฌิมภาค มีสถานะเป็นของเหลว เป็นเขตที่คลื่นปฐมภูมิมีความเร็วลดลงอย่างเฉียบพลัน และความเร็วจะเพิ่มขึ้นในขณะที่คลื่นทุติยภูมิไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านได้
แก่นโลกชั้นใน
ใจกลางโลก เป็นของแข็ง มีเพียงคลื่นปฐมภูมิจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวเท่านั้นที่เดินทางมาถึงได้ ในชั้นนี้คลื่นทั้งสองเคลื่อนที่ด้วยความเร็วค่อนข้างคงที