Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pregnancy Induced Hypertension - Coggle Diagram
Pregnancy Induced Hypertension
ความหมาย
ความดันโลหิตสูงในสตรีตั้งครรภ์อาจพบร่วมกับการมีโปรตีนใน ปัสสาวะและ/หรือมีอาการบวมร่วมด้วย มักเกิดภาวะนี้ในระยะครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ โดยทั่วไป หมายถึง ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ (Gestational hypertension) ครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (Preeclampsia) และครรภ์เป็นพิษระยะชัก (Eclampsia)
การวินิจฉัยความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
Preeclampsia หมายถึง ความดันโลหิต Systolic 140 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่าหรือ ความดันโลหิต Diastolic 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า เมื่ออายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ขึ้นไป ในสตรีที่ เคยมีความดันโลหิตปกติและพบ Proteinuria หรือในกรณีที่ไม่มี Proteinuria แต่ตรวจพบความดันโลหิต สูงในสตรีที่ความดันโลหิตปกติมาก่อน ร่วมกับการตรวจพบ New onset
Thrombocytopenia: เกล็ดเลือดต่ากว่า 100,000/ลูกบาศก์มิลลิเมตร
Renal insufficiency: ค่า serum creatinine มากกว่า 1.1 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของ serum creatinine เดิมในกรณีที่ไม่ได้มีโรคไตอื่น
Impaired liver function: มีการเพิ่มขึ้นของค่า liver transaminase เป็น 2 เท่าของค่าปกติ
Pulmonary edema
Cerebral หรือ Visual symptoms
2.Eclampsia หมายถึง การชักในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษโดยการชักนั้นไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น
Chronic hypertension หมายถึง ความดันโลหิตสูงที่ตรวจพบก่อนการตั้งครรภ์หรือให้การ วินิจฉัยก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์หรือความดันโลหิตสูงที่ให้การวินิจฉัยหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์และยังคงสูงอยู่หลังคลอดเกิน 12 สัปดาห์
Chronic hypertension with superimposed preeclampsia หมายถึง ความดันโลหิตสูง ที่ตรวจพบก่อนการตั้งครรภ์หรือให้การวินิจฉัยก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์หรือความดันโลหิตสูงที่ให้การ วินิจฉัยหลังอายุครรภ์ 20 สัปดาห์และยังคงสูงอยู่หลังคลอดเกิน 12 สัปดาห์ ร่วมกับภาวะPreeclampsia
Gestational hypertension หมายถึง ความดันโลหิต systolic 140 มิลลิเมตรปรอทหรือ มากกว่า หรือความดันโลหิต Diastolic 90 มิลลิเมตรปรอทหรือมากกว่า เมื่ออายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ ขึ้นไป ในสตรีที่เคยมีความดันโลหิตปกติและไม่มี Systemic finding ไม่พบ Proteinuria และระดับความดันโลหิตกลับสู่ค่าปกติภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด การวินิจฉัยจะทำได้หลังคลอดแล้วเท่านั้น
ปัจจัยเสี่ยง
1.ครรภ์แรกและอายุน้อยกว่า 20 ปี
หรืออายุมากกว่า 35 ปี
2.ประวัติคนในครอบครัวเคยมีภาวะความดันโลหิตสูง
3.มีประวัติ Preeclampsia หรือ Eclampsia ในครรภ์ก่อน
4.มีภาวะอ้วน
5.มีโรคทางอายุรกรรม เช่น ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคไต หรือโรคหลอดเลือดอื่นๆ
ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก ทารกบวมน้ำในครรภ์
ผลกระทบของภาวะความดันโลหิตสูงต่อสตรีตั้งครรภ์
1.เพิ่มอัตราการเสียชีวิต เนื่องจากมีภาวะ Shock เลือดออกง่ายหยุดยาก
2.เกิดอันตรายและภาวะแทรกซ้อนจากการชัก
3.ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะหลังคลอด จากภาวะ Preload ลดลง และ Afterload เพิ่มขึ้น
4.ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะ Severe Preeclampsia อาจเกิดภาวะ HELLP syndrome
5.ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute renal failure)
ผลกระทบของภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ต่อทารก
1.แท้ง (Spontaneous abortion)
2.คลอดก่อนกาหนด(Preterm labor)เกิดเนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงรกไม่เพียงพอ
3.ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Death Fetus in Utero) เนื่องจากภาวะรกเสื่อมหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
4.ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์และทารกมีน้ำหนักน้อยกว่าอายุครรภ์
5.ทารกที่คลอดมาอาจมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ขาดออกซิเจนเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกาหนด
บทบาทพยาบาลในการดูแลสตรีตั้งครรภ์
ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
บทบาทพยาบาลในระยะตั้งครรภ์
1.การประเมินสภาพสตรีตั้งครรภ์ในแผนกฝากครรภ์โดยการคัดกรองความเสี่ยง และอาการแสดงของโรค
การตรวจร่างกาย (Physical examination)
3.การประเมินอาการบวม โดยประเมินจากการใช้นิ้วกดบริเวณกระดูกหน้าแข้งนาน 10- 30 วินาที ภาวะบวมที่บ่งบอก Pathological edema
4.ประเมินน้าหนักตัว โดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์ที่มีน้าหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 กิโลกรัม ใน 1 สัปดาห์ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อบ่งชี้ของภาวะ Preeclampsia
การพยาบาลในระยะตั้งครรภ์
1.มีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดภาวะชัก
2.มีความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
3.คลอดทารกที่มีโอกาสรอดชีวิตได้สูงโดยมีภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาต่ำ
บทบาทพยาบาลในระยะคลอด
1.ป้องกันภาวะชักและป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น HELLP syndrome, ไตวาย, หลอดเลือดแตก ในสมอง หรือ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
2.ควบคุมและลดความดันโลหิต
พยาธิ
พยาธิสรีรวิทยา เกิดจากการหดเกร็งของหลอดเลือด (vasospasm) เป็นพยาธิสภาพประการแรกที่เกิดขึ้นในภาวะ ความดันโลหิตสูงในหญิงตั้งครรภ์ จากสภาวการณ์การหดเกร็งของหลอดเลือด จะมีผลทำให้แรงต้าน การไหลเวียนของโลหิตมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า angiotensin II ที่กระตุ้นให้หลอดเลือดหดรัดตัว ส่งผลทำให้ endothelial cell มีการหดตัวมากขึ้น จึงทำให้ endothelial ถูกทำลายจนกระทั่งเกร็ดเลือดและ fibrinogen ถูกทำลายจนมีจำนวนลดน้อยลง พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือดมากขึ้น
อาการและอาการแสดง
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
ความดันโลหิตสูง
ตาพร่ามัว
ปวดศีรษะ
เจ็บลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลจากกรณีศึกษา
1.มีโอกาสเกิดภาวะชักเนื่องจากมี
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
S : มารดาตั้งครรภ์บอกว่าเจ็บศีรษะ เจ็บครรภ์คลอด มีน้ำเดิน
O : BP 170/110 mmHg, pitting edema +1, Urine strip test Al = +3, diagnosis : Severe preeclampsia c pre- term labor (latent phase)
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอนตะแคงโดยเฉพาะท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกัน aspiration และเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่ทารกในครรภ์
2.ใส่ Oropharyngeal airway (oral airway) เพื่อป้องกันการอุดก้ันทางเดินหายใจ
3.ให้ออกซิเจนทาง face mask 10 ลิตรต่อนาที เพื่อป้องกันภาวะ hypoxia และป้องกันทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
4.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
5.ควบคุมอาการชักโดยการให้ยา Magnesium sulfate ทางหลอดเลือดดาตามแนวทางการรักษา
6.สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะ postical phase ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวเป็น
ลักษณะ semicoma
7.ประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด (FetalHeartRateMonitoring)โดย
ตรวจติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
8.วัดความดันโลหิตทุก 15 นาที เพื่อติดตามและประเมินความรุนแรงของโรค และ เฝ้าระวังไม่ให้เกิดภาวะชัก
9.ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นหรืออาการนำของภาวะชัก
10.เจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรค
2.มีโอกาสเกิด Hypermagnesemia และอาการข้างเคียงจากการได้รับยา MgSO4 Toxicity
ข้อมูลสนับสนุน
S: ปวดศีรษะ เจ็บครรภ์คลอดมีน้ำเดิน GA 36 wks, อายุ 39 ปีครรภ์แรก
O : Diagnosis Severe Preeclampsia ได้รับยา
Magnesium sulfate เพี่อป้องกันการชัก
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอนตะแคงซ้าย
2.ดูแลความสุขสบายของผู้ป่วย เช่น เช็ดตัว
3.Maintain electronic fetal monitoring เพื่อประเมิน fetal status
MonitorRR,DTR,BP
5.ประเมินอาการmagnesiumtoxicity เช่น หน้าแดง ร้อนวูบวาบ คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ
6.Monitor intake and output
7.เตรียม 10% Calcium gluconate กรณีฉุกเฉิน
8.เฝ้าติดตามอัตราการหายใจ, deep tendon reflex และ urine output ทุก 4 ชั่วโมง
ทารกมีโอกาสเกิดภาวะ birth asphyxia เนื่องจากผู้คลอดมีภาวะความด้นโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์และได้รับยา MgSO4
ข้อมูลสนับสนุน
O : ได้รับวินิจฉัยเป็นภาวะ severe preeclampsia ทำให้การไหลเสียนของเลือดไปเลี้ยงรกน้อยลง
กิจกรรมการพยาบาล
1.จัดท่านอนตะแคงโดยเฉพาะท่านอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกัน aspiration และเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่ทารกในครรภ์
2.ให้ออกซิเจนทาง face mask 10 ลิตรต่อนาที เพื่อป้องกันภาวะ hypoxia และป้องกันทารกในครรภ์ขาดออกซิเจน
3.ประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพทารกในครรภ์อย่างใกล้ชิด (FetalHeartRateMonitoring)โดย
ตรวจติดตามอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ อายุ39ปี G1P0GA36wks มาLRด้วยเจ็บครรภ์คลอดปวดหัว และมีน้ำเดิน แรกรับ v/sT=37.5 P =90/m R=22/m BP =170/110 mmHg. บวม +1 Urine strip test Al=+3, S= neg
PV พบCx. Dilate 2 cms. Eff. 50% Station -1 ML Vx. ประเมิน I = 5 นาทีD = 40 วนิ าทีFHS = 130 ครั้ง / นาที เด็กดิ้นดี และ on EFM ไว้
เฝ้าระวัง
อาการชัก
ภาวะ HELLP syndrome
การคลอดก่อนกำหนด
Diagnosis: PIH Severe Preeclampsia c pre-term labour (latent phase)
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
ปวดศรีษะ
BP 170/110 mmHg. GA 36 weeks
MAP 130 mmHg
Pitting edema +1
Proteinuria +3
มารดารอายุมากกว่า 35 ปีและเป็นครรภ์แรก
กิจกรรมการพยาบาล Preeclampsia
ประเมินอาการสู่ภาวะชัก ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด อาการปวด บริเวณใต้ลิ้นปี่หรืออาการเจ็บชายโครงขวา ปฏิกิริยาสะท้อน (Deep tendon reflex) เร็วเกินไป (เกรด 3+ขึ้นไป) หรือมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อข้อเท้า (Ankle clonus)
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ เตรียมอุปกรณ์การช่วยเหลือได้ทันทีที่มีอาการชัก ได้แก่ ยา MgSO4 ,Calcium gluconate, Valium, ออกซิเจน ไม้กดลิ้น เครื่อง Suction และเตรียมทีมช่วยฟื้นคืนชีพให้พร้อม
ดูแลให้สตรีตั้งครรภ์นอนพักในท่านอนตะแคงซ้าย ทำกิจกรรมต่างๆ บนเตียงเท่านั้น
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา ในการรักษา Severe Preeclampsia แพทย์จะพิจารณา ให้ MgSO4 ในการป้องกันการชักโดยระดับ MgSO4 ที่อยู่ในกระแสเลือดเพื่อป้องกันกันการชักคือ 4.8-8.4 mg/dl
4.1 ประเมินปฏิกิริยาสะท้อน (Deep tendon reflex) ควรยังมีอยู่ (ค่าปกติคือ 2+)
4.2 อัตราการหายใจควรมากกว่า 12 ครั้ง/นาที
4.3 ตรวจและบันทึกการได้รับน้าและปริมาณปัสสาวะร่วมกับการติดตามผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการโดยเฉพาะปัสสาวะ ตรวจสอบปริมาณน้าปัสสาวะทุกชั่วโมง ควรมีปัสสาวะออกอย่างน้อย ชั่วโมงละ 30 มล. หรือตลอด 4 ชั่วโมง ปัสสาวะควรออกมากกว่า 100 มล.
4.4 ฟังเสียงปอดทุก 2 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะปอดบวมน้า (Pulmonary edema)
4.5 ดูแลให้ออกซิเจน 8-12 ลิตร/นาที เพื่อให้ออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของรก
4.6 จัดเตรียมยา 10% calcium gluconate ซึ่งเป็น antidote โดยแพทย์มักสั่งให้ 10 ml ทางหลอดเลือดดาใน 5-10 นาที กรณีที่มีการกดการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นเท่านั้น
4.7 ในระยะหลังคลอดยังคงประเมินอาการนาสู่ภาวะชักอย่างต่อเนื่อง และระยะหลังคลอดที่ ยังคงให้ยา MgSO4 ต่อยังคงต้องประเมิน และ เฝ้าระวังภาวะตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดีร่วม ด้วย
ชื่อผลงานนวัตกรรม: รวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย ด้วย “PIH BOX”
ชื่อผู้จัดทำ : นางสาว จุฑาภรณ์ หลักเพชร พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
เป้าหมาย : เพื่อผู้ป่วย Severe Pre-eclampsia ได้รับการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและปลอดภัยลดระยะเวลาและภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการเตรียมอุปกรณ์และยา
การประเมินผล : ระยะเวลาที่ใช้ในการเตรียมวัสดุ/อุปกรณ์และการให้ยาใช้เวลาเฉลี่ย 7 นาที (ลดลง10 นาที) ไม่พบอุบัติการณ์การบริหารยาผิดพลาด