Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่มีความผิดปกติของปัจจัยการคลอด…
การใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาและทารกที่มีความผิดปกติของปัจจัยการคลอด
ความผิดปกติของทารกในครรภ์
การคลอดยาก (Shoulder dystocia)
หมายถึง
การติดแน่นของไหล่กับกระดูกหัวหน่าวภายหลังจากที่ศีรษะทารกคลอดแล้ว และไม่สามารถทำคลอดไหล่ได้ โดยการดึงศีรษะทารกลงล่างอย่างนุ่มนวลตามวิธีปกติ ระยะเวลาที่ใช้คลอดศีรษะจนถึงลําตัว ถ้านานกว่า 60 วินาที หรือใช้วิธีการช่วยคลอดไหล่ยากเพิ่มเติมจึงสามารถคลอดได้
สาเหตุ
มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้คลอดเป็นเบาหวาน ตั้งครรภ์เกินกําหนด ทารกตัวโต คาดคะเนน้ําหนักมากกว่า 4,000 กรัม ช่องเชิงกรานแคบ ทารกมีเนื้องอกหรือความพิการบริเวณคอไหล่ เป็นต้น
การวินิจฉัย
มักจะไม่มีการวินิจฉัยก่อนคลอด เพราะไม่สามารถคาดคะเนล่วงหน้าได้ จะทราบเมื่อ ศีรษะทารกคลอดออกมาแล้ว และพบว่าศีรษะและใบหน้าทารกมีขนาดใหญ่ คางทารกติดแน่นกับฝีเย็บมารดา หรือถูกดึงรั้งกลับเข้าไปในช่องคลอด เรียกว่า “turtle sign” มีความยากลําบากของการคลอดศีรษะทารกในการทําคลอดปกติ หรือไม่มีการหมุนของศีรษะทารก (restitution)
ผลกระทบ
ผลต่อมารดา
กระดูกหัวหน่าวแยก มดลูกแตก มีการฉีกขาดของปากมดลูก ช่องคลอด และ ฝีเย็บ เกิดรูรั่วระหว่างช่องคลอดและทวารหนัก มดลูกหดรัดตัวไม่ดี ตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด
ผลต่อทารก
กระดูกไหปลาร้าหัก กระดูกต้นแขนหัก กล้ามเนื้อบริเวณคอฉีกขาด มีการบาดเจ็บ brachial plexus เกิดภาวะ Erb-Duchenne palsy ทารกขาดออกซิเจน มีเลือดออกในสมอง และอาจ เสียชีวิตได้
การรักษา
เมื่อเกิดการคลอดไหล่ยากขึ้น ต้องรีบ ดูดสารคัดหลั่งออกจากปากและจมูกทารกให้มากที่สุด ตัดฝีเย็บให้กว้างพอ และให้การช่วยเหลือโดยทีมสุขภาพ ให้มารดาหยุดเบ่ง หลีกเลี่ยงการกดยอดมดลูกและการหมุนศีรษะทารก เพราะอาจทําให้แตก หรือมีการ บาดเจ็บของเส้นประสาท brachial plexus ได้ ให้ยาระงับปวดหรือระงับความรู้สึกที่เหมาะสมอย่างเพียงพอ ถ้ามีปัสสาวะคั่งสวนปัสสาวะออกให้หมด
การช่วยคลอดไหล่ยากด้วยวิธีต่าง ๆ
วิธี Suprapubic pressure
วิธี McRobert maneuver
วิธี Woods corkscrew maneuver
วิธี Rubin's maneuver
วิธี All-fours maneuvers หรือ Gaskin maneuver
การคลอดไหล่หลัง (Delivery of posterior shoulder)
วิธีการหักกระดูกไหปลาร้า (clavicle fracture)
การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะการคลอดไหล่ยาก
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน และสารละลายทางหลอดเลือดดำอย่างเพียงพอ
เตรียมเครื่องช่วยฟื้นคืนชีพของทารกให้พร้อมใช้ และรายงานกุมารแพทย์
ประเมินเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง
ตัดฝีเย็บในแนวเฉียงอย่างลึกให้เพียงพอ (deep mediolateral episiotomy)
7 .ติดตามผลการตรวจร่างกายทารก ให้การช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและส่งต่อทารกเพื่อให้ได้รับการ
ดูแลรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป
ให้ยาระงับปวดที่เหมาะสมและเพียงพอ
เฝ้าระวังและสังเกตอาการแสดงภาวะมดลูกแตก เช่น มดลูกหดรัดตัวไม่คลาย กดเจ็บที่หน้าท้องอย่างรุนแรง ตรวจพบ bandl's ring เป็นต้น
ถ้ามีปัสสาวะคั่งสวนออกให้หมด
การพยาบาลมารดาที่มีการคลอดยากตามกระบวนการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
ซักประวัติการคลอดยากของมารดาและครอบครัว
ประเมินปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของการคลอดยาก
ประเมินสภาพการคลอด
ประเมินลักษณะการคลอดผิดปกติ
ประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
ประเมินการตอบสนองของมารดาต่อการคลอด
ทบทวนผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่าง ๆ
กาปฏิบัติการพยาบาล
รายงานผลการประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกให้สูติแพทย์และบุคลากรทีมสุขภาพทราบ
ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่าง ๆ ตามแผนการรักษาของสูติแพทย์ เช่น การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การเจาะถุงน้ำคร่ำ การให้ยา Oxytocin หยดเข้าทางหลอดเลือดดำ และการช่วยคลอดโดยใช้สูติศาสตรหัตถการ เป็นต้น
ดูแลสนับสนุนและส่งเสริมมารดาระหว่างการเจ็บครรภ์และการคลอดให้มีความก้าวหน้าของการคลอดตามปกติ และเกิดความสุขสบาย
อธิบายเหตุผลการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลต่าง ๆ ให้มารดาและญาติทราบ และตอบ ข้อสงสัยต่าง ๆ ให้มารดาและญาติเข้าใจ
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มารดาได้รับการประเมินความก้าวหน้าของการคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่าง ถูกต้อง
เพื่อให้มารดาได้รับการช่วยคลอดด้วยวิธีที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันไม่ให้ทารกมีภาวะขาดออกซิเจน
เพื่อป้องกันไม่ให้มารดาเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดยาก
เพื่อให้มารดาเกิดความสุขสบาย และมีอาการเจ็บครรภ์น้อยลง
เพื่อให้มารดาคลายความกลัวและความวิตกกังวล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาโดยทั่วไปที่อาจขึ้นกับมารดาที่มีการคลอดยาก ม
มารดาเหนื่อยล้าเนื่องจากสูญเสียพลังงานจากการคลอดยาวนาน หรือการได้รับน้ำและอาหาร
ไม่เพียงพอ
ทารกเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนหรือมีภาวะเครียดเนื่องจากการคลอดยาก หรือการดูแล
รักษาการคลอดยาก
มารดาเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการคลอดยาก
มารดาไม่สุขสบายจากการเจ็บครรภ์รุนแรง
มารดาวิตกกังวลเนื่องจากการคลอดล่าช้า หรือรับรู้ภาวะคุกคามต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
การประเมินผลการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาลมารดาที่มีการคลอดยากขึ้นอยู่กับการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการพยาบาลตามที่ตั้งไว้หรือไม่ ตัวอย่างการประเมินผลการพยาบาล เช่น มารดาและทารกคลอดด้วยความปลอดภัย ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บครรภ์และการคลอดมารดาเกิดความสุขสบายและมีอาการเจ็บครรภ์น้อยลง มารดาคลายความกลัวและความวิตกกังวล เป็นต้น
ความผิดปกติของกำลังการคลอด (abnormal power)
ความผิดปกติของแรงเบ่ง (inadequate voluntary expulsive force)
การวินิจฉัย
ผู้คลอดเบ่งคลอดไม่ถูกวิธี เช่น เบ่งสั้น เบ่งนานเกินไป เบ่งแล้วหน้าแดง เบ่งออกเสียงท่าในการเบ่งไม่เหมาะสม เช่น ท่านอนหงายราบ บิดตัวไปมาขณะเบ่ง, ผู้คลอดมีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงเบ่ง เบ่งแล้วไม่มีการเปิดขยายของปากช่องคลอด หรือส่วนนำไม่มีการเคลื่อน
ผลกระทบ
ต่อมารดา
ระยะที่ ๒ ของการคลอดยาวนาน ผู้คลอดอ่อนเพลียหมดแรงเกิดความกลัวและวิตกกังวล เกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการคลอด
ต่อทารก
อาจมีภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนาน อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การเบ่งที่ไม่ถูกวิธี ท่าในการเบ่งคลอดไม่เหมาะสม ได้รับยาระงับปวดมากเกินไป ได้รับยาสลบ เหนื่อยล้า อ่อนเพลียจากการเจ็บครรภ์คลอดยาวนาน พักผ่อนหรือได้รับสารน้ำสารอาหารไม่เพียงพอ มีพยาธิสภาพหรือโรคประจำตัวที่อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ถ้าออกแรงเบ่งโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ซีด ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
แนวทางการรักษา
แก้ไขตามสาเหตุ ได้แก่ แนะนำการเบ่งที่ถูกวิธี เบ่งคลอดในท่าที่เหมาะสม ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และช่วยคลอดโดยการใช้สูติศาสตร์หัตถการ
ความหมาย
แรงเบ่งมีความสำคัญอย่างมากในระยะที่ ๒ ของการคลอด เนื่องจากทำให้ความดันในโพรงมดลูกเพิ่มขึ้นจากแรงจากการหดรัดตัวของ มดลูกอีก ๑-๒ เท่า ทำให้ส่วนนำมีการเคลื่อนอย่างรวดเร็ว และช่วยส่งเสริมกลไกการก้มและหมุนของศีรษะ ทารก ดังนั้นเมื่อผู้คลอดมีความผิดปกติของแรงเบ่งจึงทำให้เกิดการคลอดยาวนานได้
การพยาบาล
1.ระยะรอคลอด แนะนำการบรรเทาความเจ็บปวดโดยไม่ใช้ยา และพยายามผ่อนคลายหรือพักในช่วงมดลูกคลายตัว
ถ้าปากมดลูกยังเปิดไม่หมดไม่ควรให้ผู้คลอดเบ่งคลอด หากผู้คลอดรู้สึกอยากเบ่ง ควรให้ผู้คลอดหายใจตามระยะเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด
3.ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหาร รวมทั้งออกซิเจนอย่างเพียงพอ
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกตามระยะคลอด และดูแลความสุขสบายทั่วไป
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด และเสียงหัวใจของทารกในครรภ์เป็นระยะ หากพบความผิดปกติ รายงานแพทย์ทันที
6.ดูแลและส่งเสริมให้ผู้คลอดอยู่ในท่าที่เหมาะสมสำหรับการคลอด คือ ท่าศีรษะสูง (upright position) เช่น ท่านั่งยอง ๆ หรือนอนในท่าที่ทำให้ลำตัวโค้งเป็นรูปตัวซี (C) คือ นอนหงายโดยให้ลำตัวและศีรษะสูงจากแนวราบประมาณ ๓๐ องศา ชันขาขึ้น แยกหัวเข่าและเท้าออกให้กว้าง ขณะเบ่งให้สอดมือเข้าไปใต้ข้อพับเข่าแล้วดึงต้นขาขึ้นหาลำตัว พร้อมทั้งยกศีรษะขึ้นให้คางจรดหน้าอก
ระยะเบ่งคลอด สอนให้ผู้คลอดเบ่งคลอดอย่างถูกวิธี คือ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัวให้หายใจล้างปอดโดยหายใจเข้าลึก ๆ ทางจมูกและออกทางปากช้า ๆ ๑-๒ ครั้ง หลังจากนั้นเมื่อมดลูกหดรัดตัวเต็มที่ให้สูดลมหายใจให้เต็มที่ ปิดปากให้สนิท ยกศีรษะขึ้น ก้มหน้าให้คางชิดหน้าอก แล้วออกแรงเบ่งลงไปที่ช่องคลอดคล้ายกับการเบ่งถ่ายอุจจาระ เบ่งแต่ละครั้งนานประมาณ 5-6 วินาที ไม่เกิน ๑๐ วินาที เพื่อป้องกันการเกิด valsalva maneuver แล้วปล่อยลมหายใจออก หลังจากนั้นเบ่งต่ออีก ๑-๒ ครั้ง (เบ่งประมาณ ๓-๔ ครั้งต่อการหดรัดตัวของมดลูก ๑ ครั้ง) เมื่อมดลูกคลายตัวหายใจล้างปอดอีก ๑-๒ ครั้งกระตุ้นให้เบ่งเมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูก ควรให้คำชมเชยเมื่อผู้คลอดเบ่งถูกวิธี และอธิบายข้อบกพร่องให้ผู้คลอดทราบหากเบ่งไม่ถูกวิธี
รายที่มีข้อห้ามในการเบ่ง เตรียมผู้คลอด และช่วยแพทย์ทำสูติศาสตร์หัตถการ
ความผิดปกติของช่องทางคลอด (abnormal passage)
ช่องเชิงกรานแคบ (contracted pelvis or pelvic contraction)
ความหมาย
กระดูกเชิงกรานที่ตําแหน่งใดตําแหน่งหนึ่ง หรือหลายตําแหน่งร่วมกันมี เส้นผ่าศูนย์กลางสั้นกว่าปกติ ทําให้ทารกที่มีขนาดปกติไม่สามารถเคลื่อนผ่านหรือคลอดออกมาได้ ซึ่งเชิงกราน อาจแคบที่ช่องเข้า (inlet) ช่องกลาง (midpelvis) หรือช่องออก (outlet)
ชนิดของเชิงกราน
ช่องเข้าเชิงกรานแคบ (inlet contracture)
การวินิจฉัยว่าช่องเข้าเชิงกรานแคบ เมื่อ เส้นผ่าศูนย์กลางหน้า-หลัง (anteroposterior diameter) ของเชิงกรานน้อยกว่า ๑๐ เชนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางแนวขวาง (transverse diameter)ของเชิงกรานน้อยกว่า ๑๒ เชนติเมตร และ/หรือ diagonal conjugate น้อยกว่า ๑๑.๕ เชนติมตร ช่องเข้าเชิงกรานแคบมีความสัมพันธ์กับมารดาที่ผอมและ เชิงกรานแบน ซึ่งจะส่งผลให้หน้าและไหล่ของทารกเป็นส่วนนำทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสายสะดือย้อย และมดลูกหดรัดตัวไม่ดีในระยะที่ ๑ ของการคลอด
ช่องออกเชิงกรานแคบ (outlet contracture)
การวินิจฉัยช่องออกเชิงกรานแคบเมื่อระยะ ระหว่าง Ischial tuberosity น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๘ เซนติมตร มุมใต้กระดูกหัวเหน่าแคบน้อยกว่า ๘๕ องศา ถ้ามารดามีช่องกลางเชิงกรานแคบจะพบช่องออกเชิงกรานแคบด้วย มารดาที่มีช่องออกเชิงกรานแคบ มีเชิง กรานจะยาว ส่วนโค้งกระดูกหัวหน่าว (pubic arch) แคบ และมีเชิงกรานชนิด Android ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด การหยุดเคลื่อนต่ำของศีรษะทารก และระหว่างการคลอดจะส่งผลให้ฝีเย็บฉีกขาดมาก เพราะศีรษะทารกถูกดัน มาทางด้านหลัง
เชิงกรานแคบทุกส่วน (generally contracted pelvis)
ถ้าเกิดเชิงกรานแคบที่ช่องเข้า มักตรวจพบได้ในขณะมาฝากครรภ์ในระยะใกล้คลอด และอายุครรภ์มากกว่า ๓๖ สัปดาห์ ในครรภ์แรกที่ ทารกมีศีรษะเป็นส่วนนำ จะตรวจพบว่าระดับส่วนนำไม่มี engagement หรือไม่มีอาการเจ็บครรภ์ คลอดเมื่อ อายุครรภ์ครบกำหนด ตรวจหน้าท้องพบทารกมีขนาดใหญ่และสิ้นสุดการตั้งครรก็โดยวิธีผ่าตัดคลอด
เชิง กรานแคบที่ช่องกลาง มักจะพบว่าการคลอดล่าช้า ยาวนาน ในระยะที่หนึ่งหรือระยะที่สอง ของการคลอด ไม่มี การหมุนของศีรษะทารก ลักษณะที่ตรวจภายในพบ คือ sagittal suture จะอยู่ในแนวขวาง และสิ้นสุดการ คลอดด้วยวิธีสูติศาสตร์หัตถการ
เชิงกรานแคบในช่องออก เมื่อปากมดลูกเปิดหมด และเบ่งคลอด ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลง มาต่ำ มองเห็นศีรษะทารกได้ชัดเจน และศีรษะของทารกจะถอยกลับขึ้นไปทุกครั้งที่หยุดเบ่ง บางรายอาจจะ คลอดปกติได้ บางรายอาจจะช่วยเหลือการคลอดด้วยวิธีสูติศาสตร์หัตถการ
ช่องกลางเชิงกรานแคบ (midpelvic contracture)
เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด การวินิจฉัยว่า กลางเชิงกรานแคบเมื่อผลรวมของ interischial spinous และ posterior sagittal diamet หรือเท่ากับ ๑๓.๕ เชนติเมตร หรือระยะห่างระหว่าง ischial spine น้อยกว่า ๑o เชนติเมตร
มารดาที่มีช่องกลางเชิงกรานแคบจะทำให้เกิดการหยุดเคลื่อนต่ำของส่วนนำ หรือการหยุดชะงักในท่าท้ายทอยอยู่แนวขวาง (transverse arrest of the fetal head) เพราะศีรษะทารกไม่สามารถหมุนภายในช่องเชิงกราน ทำให้ต้อง คลอดด้วยวิธีผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หรือคลอดโดยใช้เครื่องดูดสูญญากาศ ถ้าปากมดลูกเปิดหมด
ผลกระทบของช่องทางคลอดส่วน bony passage ผิดปกติต่อมารดาและทารก
ผลต่อทารก
จากการที่ทารกพยายามมี molding ของศีรษะ เพื่อให้ผ่านช่องเชิงกราน อาจทำให้มีการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือมีเลือดออกในสมองได้
เสี่ยงต่อภาวะสายสะดือย้อย และแขน ขา ยื่น มากกว่าปกติ ๔-๖ เท่า
มีส่วนนำหรือท่าผิดปกติ เช่น ท่ากัน ท่าหน้า หรือท่าไหล่ มากกว่าปกติ ๒-๓ เท่า
อาจได้รับอันตรายจากการคลอดล่าช้า หรือการใช้สูติศาสตร์หัตถการ
ผลต่อมารดา
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนที่จะมี อาการเจ็บครรภ์คลอด
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
อ่อนเพลีย หรือมีอาการขาดน้ำจากการคลอดยาวนาน
ได้แก่ การคลอดล่าช้า จากการที่ส่วนนำของทารกไม่สามารถเคลื่อนผ่านลงมาใน ช่อง เชิงกราน
เกิดภาวะ pathological ring หรือ bandl's ring เสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกแตก
การพยาบาลผู้คลอดที่มีช่องทางคลอดแคบ
ประเมินติดตามความก้าวหน้าของการคลอด เสียงหัวใจของทารก
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ประเมินลักษณะช่องเชิงกรานของมารดา หากพบว่าการคลอดสามารถดำเนินต่อไปใต้ เช่น เชิง กรานแคบเพียงเล็กน้อย ทารกตัวเล็ก เป็นรรภ์หลัง เป็นต้น อาจพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
ดูแลจัดท่าให้ผู้ คลอดเพื่อเพิ่มเส้นผ่าศูนย์กลางของเชิงกราน เช่น ท่านั่ง (sitting position) ทำนั่งยอง (squatting posttion)
ดูแลการ ได้รับยา กระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก
เมื่อปากมดลูกเปิดหมดแต่การคลอดไม่ก้าวหน้า ควรเตรียมผู้คลอด และช่วยแพทย์ในการทำสูติ ศาสตร์หัตถการ เช่น ใช้เครื่องดูดสูญญากาศ หรือเตรียมผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
หลังคลอดให้ประเมินการ หดรัดตัวของมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และการตกเลือด
ช่องทางคลอดอ่อนผิดปกติ (abnormal soft passages)
ความหมาย
ช่องทางคลอดอ่อนเป็นส่วนที่ยืดขยาย ได้ ได้แก่ ปากช่องคลอดและผีเย็บ ช่องคลอด และปากมดลูก รวมไปถึงความผิดปกติของอวัยวะอื่น ๆ ใน ระบบ อวัยวะสืบพันธุ์ เช่น มดลูก เป็นต้น หากมีความผิดปกติอาจทำให้เกิดการคลอดผิดปกติได้
ชนิดของช่องทางคลอดอ่อนที่ผิดปกติ
ปากมดลูก
ปากมดลูกบวม (cervical edema) ในรายที่เบ่งก่อน ปากมดลูกเปิดหมด ส่วนนำของทารกเคลื่อนมากดทับปากมดลูกส่วนที่ยังเปิด ไม่หมด ทำให้การไหลเวียนเลือดผ่านปากมดลูกกลับสู่หลอดเลือดของมดลูกไม่สะดวก เกิดอาการบวม
มะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจทำให้ปากมลูกเปิดขย่ายชักว่าปกติในขณะสูบครรภ์คลอด จะพิจารณาผ่าตัดคลอด ทารกทางหน้าท้อง
มดลูก
มดลูกคว่ำหน้า (antellexion)
เกิดจากผนังหน้าท้องหย่อน (pendulous abdomen) เมื่อมีการ หดรัดตัวของมดลูกขณะคลอด แรงดันจะไม่ลงตรงไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกเปิดขยายช้าหรือไม่เปิด ส่วนนำจึงไม่เคลื่อนต่ำลงไป
มดลูกคว่ำหลัง (retroflexion)
เมื่อมีการหดรัดตัวของมดลูกขณะคลอด ปากมดลูกจะไม่ค่อยเปิด ขยาย หรือเปิดขยายช้า มดลูกหย่อน
เนื้องอกมดลูก (myoma)
ทำให้เกิดการแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ในกรณีตั้งครรภ์ครบกำหนดเมื่อเข้าสู่ระยะคลอดการหดรัดตัวของมดลูกอาจ ไม่ปกติส่งผลให้ส่วนนำไม่เคลื่อนต่ำ ปากมดลูกจึงเปิดขยายข้าหรือไม่เปิด
ช่องคลอด
ช่องคลอดแคบหรือตีบมาแต่กำเนิด (vaginal stenosis) หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น เคยผ่าตัดและเกิดพังผืดในช่องคลอด
รังไข่
ถ้าก้อนเนื้องอกนั้นลงมาอยู่ในอุ้งเชิงกราน อาจทำให้เกิดการคลอดติดขัด รักษาด้วยการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง ร่วมกับตัดเนื้องอกออกไปพร้อมกัน
ปากช่องคลอดและฝีเย็บ
การตีบแคบของปากช่องคลอด ผีเย็บแข็ง ตึง (rigid perineum)
ผลกระทบของช่องทางคลอดอ่อนผิดปกติ
การคลอดยาวนาน และถ้าเป็นมากอาจคลอดทาง ช่องคลอดไม่ได้
การพยาบาลผู้คลอดที่มีช่องทางคลอดอ่อนผิดปกติ
ประเมินและติดตามความก้าวหน้าของการคลอด หากไม่ก้าวหน้าหาสาเหตุและรายงานแพทย์
ให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด เน้นเรื่องการเบ่งที่ถูกต้องและเบ่งในเวลาที่เหมาะสม
รายที่มดลูกคว่ำหน้า ส่วนนำไม่เคลื่อนลงช่องเชิงกราน แนะนำให้ใช้ผ้าพันหน้าท้องเพื่อช่วย ประคองมดลูกให้กลับสู่ตำแหน่งปกติ
รายที่ปากมดลูกบวม แนะนำให้นอนตะแคง หรือนอนยกปลายเท้าสูงเพื่อลดการกดทับของศีรษะกับปากมดลูก
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
หลังคลอดให้การพยาบาลเพื่อป้องกันการตกเลือดเช่นเดียวกับรายปกติ เน้นเรื่องประเมินการหด รัดตัวของมดลูก กระเพาะปัสสาวะ และการตกเลือดผ่าตัดคลอดทารกทาง
ความผิดปกติของแรงจากการหดรัดตัวของมดลูก (uterine dysfunction)
การหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่าปกติ (hypotonic uterine dysfunction of secondary uterine inertia)
ความหมาย
การหดรัดตัวของมดลูกเป็นจังหวะตามปกติ แต่หดรัดตัวไม่แรง มักเกิดในระยะ active phase โดยเฉพาะในระยะ phase of maximum stop และในระยะที่ ๒ ของการคลอด
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
กล้ามเนื้อมดลูกมีการยืดขยายมากกว่าปกติ เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์แฝด ทารกตัวโต หรือผ่านการคลอดบุตรมาหลายครั้ง ส่วนนำไม่กระชับกับช่องเชิงกราน เช่น ภาวะผิดสัดส่วนระหว่างขนาดของศีรษะทารกกับช่องเชิงกรานมารดา ทารกมีส่วนนำหรือท่าผิดปกติ ทารกตัวเล็ก และมีการหดรัดตัวของมดลูกไม่ดีจากการได้รับยาระงับความเจ็บปวดในระยะเวลาที่ไม่เหมาะสม หรือได้รับยาในปริมาณมาก เจ็บครรภ์คลอดยาวนาน อ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ กระเพาะปัสสาวะเต็ม เป็นต้น
การวินิจฉัย
แรงดันในมดลูกเฉลี่ยน้อยกว่า ๒๕ มิลลิเมตรปรอท จะตรวจพบความนาน (duration) น้อยกว่า ๔๐ วินาที ระยะห่าง (intervat) มากกว่า ๓ นาที ความถี่ (Frequency) มีการหดรัดตัวน้อยกว่า ๓ ครั้งใน ๑๐ นาที ความแรง (intensity) น้อยถึงปานกลาง
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
การคลอดยาวนาน มารดาอ่อนเพลีย มีภาวะขาดน้ำ ตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด ส่วนทารกอาจมีภาวะขาดออกซิเจนจากการคลอดยาวนาน เกิดอันตรายจากการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ ติดเชื้อและเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษา
ให้สารน้ำเพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ ให้ยาระงับปวดในเวลาและขนาดที่เหมาะสมประเมินให้แน่ชัดว่าไม่มีภาวะผิดสัดส่วนระหว่างขนาดของศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน เจาะถุงน้ำคร่ำในรายที่ถุงน้ำคร่ำยังไม่แตก และพิจารณาให้ยา oxytocin ถ้าไม่มีข้อห้าม ดูแลไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม ให้กำลังใจปลอบโยนให้ผู้คลอดคลายความกลัวและวิตกกังวล พิจารณาการคลอดด้วยวิธีที่เหมาะสม และเฝ้าระวังการตกเลือดในระยะหลังคลอด
การพยาบาล
๒. รายที่ปากมดลูกยังเปิดไม่หมด ถุงน้ําคร่ำยังไม่แตก และส่วนนําลงช่องเชิงกรานแล้ว ควรกระตุ้นให้ผู้คลอดลุกเดินหรือนอนในท่าศีรษะสูง เพื่อกระตุ้นเฟอร์กูสันรีเฟลกซ์ช่วยให้มดลูกหดรัดตัวดีขึ้น
๓. ดูแลให้ผู้คลอดได้รับสารน้ําและอาหารอย่างเพียงพอ
๔. ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก ๒-๔ ชั่วโมง เพราะกระเพาะปัสสาวะ เต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก และถ้าผู้คลอดถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ ดูแลสวนปัสสาวะให้
๕. ดูแลช่วยเหลือการเจาะถุงน้ําเพื่อกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัวดีติดตามประเมินการหดรัดตัวของ มดลูกภายหลังเจาะถุงน้ําคร่ำ
๖. ดูแลการได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา และประเมินภาวะแทรกซ้อน จากการได้รับยา เช่น tetanic contraction
๗. ติดตามและประเมินเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง หากพบผิดปกติ จัดให้นอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจน และรายงานแพทย์
๘. ตรวจภายในเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการคลอดทุก ๒-๔ ชั่วโมงหรือเมื่อมี probable signs
๙. เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสําหรับการช่วยคลอดการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ หรือการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องในกรณีฉุกเฉิน
๑๐. หลังคลอดเน้นเรื่องการเฝ้าระวังและป้องกันภาวะตกเลือดเช่นเดียวกับรายปกติ
๑. อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดยาวนาน แผนการรักษาและการปฏิบัติตัวพร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึกเพื่อลดความกลัวและความวิตกกังวล
การหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติ (hypertonic uterine dysfunction of primary uterine inertia)
ชนิด
๑.๑.๒ มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน (incoordinated contraction)
ความหมาย
มดลูกหดรัดตัวถี่และแรงแต่ไม่สม่ำเสมอ ใยกล้ามเนื้อมดลูกทํางานไม่ประสานกัน โดยมดลูกมีการหดรัดตัวแรงบริเวณส่วนกลางและล่างมากกว่าส่วนบน ทําให้มดลูกหดรัดตัวไม่มีประสิทธิภาพ การคลอดไม่ก้าวหน้า
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ร้อยละ ๕๐ ไม่ทราบสาเหตุ แต่มักพบในผู้คลอดที่มีความกลัว และวิตกกังวลสูง ครรภ์แรก ตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ทารกท่าผิดปกติ และ ภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน
การวินิจฉัย
กล้ามเนื้อมดลูกมีการหดรัดตัวแรงบริเวณส่วนกลางและล่างมากกว่าส่วนบนแรงดันในมดลูกเฉลี่ยมากกว่า ๖๐ มิลลิเมตรปรอท และในระยะพักมดลูกคลายตัวไม่เต็มที่ ผู้คลอดเจ็บครรภ์ตลอดเวลา ไม่มีความก้าวหน้าของการคลอด
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
เช่นเดียวกับภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่คลาย
แนวทางการรักษา
รักษาตามสาเหตุ โดยถ้าผู้คลอดมีความกลัวหรือวิตกกังวลสูง ควรดูแลให้ยาระงับปวด เพื่อให้ผู้คลอดบรรเทาปวดและได้พักผ่อน ให้สารละลายทางหลอดเลือดดําเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำอาจช่วยให้การหดรัดตัวของมดลูกกลับมาเป็นปกติ และสามารถคลอดเองได้ทางช่องคลอด แต่รายที่มีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ได้สัดส่วนกัน ทารกในครรภ์มีภาวะคับขัน หรือ มดลูกยังหดรัดตัวผิดปกติแม้ได้รับการช่วยเหลือแล้ว อาจพิจารณาการผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง
๑.๑.๓ มดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวน (constriction ring)
ความหมาย
กล้ามเนื้อมดลูกชั้นกลางชนิดวงกลม (circular muscle) หดรัดตัวแรงแต่ไม่สม่ำเสมอ และหดรัดตัวไม่คลายเฉพาะที่ เกิดเป็นวงแหวนพบบริเวณรอยต่อระหว่างมดลูกส่วนบนและส่วนล่าง ทําให้เกิดวงแหวนรัดรอบส่วนของทารก
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ส่วนใหญ่พบในรายที่มีภาวะน้ำคร่ำน้อยภายหลังจากทารกแฝดคนแรกคลอด การได้รับยากระตุ้นการเจ็บครรภ์คลอดมากเกินไป หรือภายหลังการทําหัตถการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายใน
การวินิจฉัย
มดลูกหดรัดตัวแรงแต่ไม่สม่ำเสมอ ผู้คลอดเจ็บครรภ์
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
เช่นเดียวกับภาวะมดลูกหดรัดตัวไม่คลาย และถ้าเกิดในระยะแรก ปากมดลูกอาจจะปิด ทําให้รกค้างและตกเลือดหลังคลอดได้
แนวทางการรักษา
ถ้าเกิดในระยะรอคลอดควรให้ยาระงับปวด เพื่อช่วยให้วงแหวนที่รัดอยู่คลายตัวออกได้ แต่ถ้าวงแหวนไม่คลาย และทารกมีภาวะขาดออกซิเจน แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง ถ้าเกิดในระยะคลอดให้ยาสลบเพื่อให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว แล้วใช้สูติศาสตร์หัตถการช่วยคลอดทารก แต่ถ้าเกิดในระยะรกควรทําหัตถการล้วงรก
๑.๑.๑ มดลูกหดรัดตัวไม่คลาย (tetanic contraction)
ความหมาย
มดลูกหดรัดตัวแข็งตึงตลอดเวลา มีความตึงตัวมากกว่าปกติ หดรัดตัวนานและถี่ ระยะพักสั้น หรือ แทบไม่มีระยะพัก
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
การคลอดติดขัดจากทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติ หรือมีภาวะศีรษะทารกและช่องเชิงกรานไม่ดัสัดส่วนกัน การได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวในอัตราที่เร็วเกิน หรือได้รับในปริมาณมากเกิน และเกิดจากภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด มี เลือดไปขังอยู่บริเวณใต้เนื้อรก ทําให้มดลูกหดรัดตัวแรงและบ่อย เพื่อขับไล่ก้อนเลือดนั้นออกมา
การวินิจฉัย
ผู้คลอดรู้สึกเจ็บครรภ์มาก มดลูกหดรัดตัวนานกว่า ๙๐ วินาที และระยะห่างน้อยกว่า ๒ นาที และถ้ามีการคลอดติดขัด จะพบว่าไม่มีการเคลื่อนต่ำของส่วนนํา
ผลกระทบต่อมารดา
เจ็บครรภ์มากกว่าปกติ เจ็บครรภ์ตลอดเวลา
การคลอดล่าช้า เสี่ยงต่อภาวะมดลูกแตก อ่อนเพลีย และอาจมีภาวะขาดน้ำ รวมทั้งเกิดความเครียด กลัว และวิตกกังวลและถ้าเกิดจากการลอกตัวของรกอาจทําให้ผู้คลอดมีภาวะตกเลือดและเสียชีวิตได้
แนวทางการรักษา
รายที่ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกมากเกินไป ควรปรับลดหรือ หยุดการให้ยา หากวินิจฉัยพบการคลอดติดขัด หรือมีภาวะรกลอกตัวก่อนกําหนด อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด ทารกทางหน้าท้อง
ผลกระทบต่อทารก
ทารกอาจมีภาวะขาดออกซิเจนหรือเสียชีวิต
ความหมาย
การที่มดลูกหดรัดตัวแรง หดรัดตัวบ่อย แต่ไม่สม่ำเสมอ และมดลูกแต่ละส่วนหดรัดตัวไม่สัมพันธ์กัน (asynchronous) ทําให้ปากมดลูกไม่ขยายเพิ่มและส่วนนําทารกไม่เคลื่อนต่ำ ขณะมดลูกหดรัดตัวตรวจพบแรงดันในมดลูกเฉลี่ยมากกว่า ๕๐ มิลลิเมตรปรอท ระยะห่าง (interval) น้อยกว่า ๒ นาที ความตึงตัวของมดลูกในระยะพัก (basal tone) มากกว่าปกติ คือ แรงดันในมดลูกเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ ๑๕ มิลลิเมตรปรอท ผู้คลอดจะรู้สึกเจ็บปวดมาก มักพบในระยะปากมดลูกเปิดช้า (latent phase) ของ ระยะที่ ๑ ของการคลอด การหดรัดตัวของมดลูกมากกว่าปกติ
การพยาบาล
๑. อธิบายให้ผู้คลอดเข้าใจเกี่ยวกับการคลอดยาวนาน แผนการรักษา และการปฏิบัติตัวพร้อมทั้งเปิด
โอกาสให้ซักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึก เพื่อลดความกลัวและวิตกกังวล
๒. ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและเสียงหัวใจของทารกโดยประเมินทุก ๑ ชั่วโมงในระยะ ปากมดลูกเปิดช้า และทุก ๓๐ นาที ในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว
๓. ดูแลให้ได้รับยาระงับความเจ็บปวด หรือยานอนหลับตามแผนการรักษาเพื่อให้ผู้คลอดบรรเทาปวดและได้พักผ่อน โดยจัดให้นอนท่าตะแคงศีรษะสูง เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนเลือดไปที่รก พร้อมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดแสงและเสียงรบกวน เพื่อส่งเสริมให้ผู้คลอดได้พักอย่างเต็มที่
๔. ดูแลให้สารสะลายทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
๕. ดูแลให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยกระตุ้นให้ถ่ายปัสสาวะทุก ๒-๔ ชั่วโมง เพราะกระเพาะปัสสาวะ
เต็มจะขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก ถ้าผู้คลอดถ่ายปัสสาวะเองไม่ได้ ดูแลสวนปัสสาวะให้
๖. ติดตามและประเมินเสียงหัวใจทารกอย่างต่อเนื่อง หากพบเสียงหัวใจทารกผิดปกติหรือขี้เทาในน้ำคร่ำ จัดให้นอนตะแคงซ้าย ดูแลให้ได้รับออกซิเจน และรายงานแพทย์
๗. เตรียมผู้คลอดสำหรับการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ หรือการผ่าตัดเอาทารกออกทางหน้า
ท้องในกรณีฉุกเฉิน
๘. ผู้คลอดที่มดลูกหดรัดตัวไม่คลาย ควรประเมินสาเหตุ หากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกก็ให้หยุดยา และจัดนอนตะแคงซ้าย ให้ออกซิเจน และรายงานแพทย์ ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะมดลูกแตก เช่น มี bandl's ring
ผู้คลอดที่มดลูกหดรัดตัวไม่ประสานกัน หลังจากที่ผู้คลอดพักผ่อนเพียงพอแล้ว แต่การหดรัดตัวของมดลูกยังผิดปกติเหมือนเดิม ในรายที่ไม่มีข้อห้าม แพทย์อาจให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกอย่างใกล้ชิด ถ้าให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกแล้วไม่ได้ผล แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดคลอดทารกทางหน้าท้อง
10.ผู้คลอดทีมดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวน หากได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกอยู่ให้หยุดยาและให้ยาระงับปวดเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อวงแหวนคลายตัว ประเมินการหดรัดตัวอย่างใกล้ชิด ถ้าปากมดลูกเปิดหมดเตรียมช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ ถ้าวงแหวนไม่คลายและปากมดลูกเปิดไม่หมด เตรียมผ่าตัดคลอด หากมดลูกหดรัดตัวเป็นวงแหวนเกิดในระยะที่ ๓ ของการคลอด เตรียมผู้คลอดสำหรับล้วงรก