Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
หญิงตั้งครรภ์
วัตถุประสงค์การวิจัย
เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงต้ังครรภ์ในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์
เพื่อวิเคราะหองค์ประกอบเชิงยืนยันของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรง พยาบาลสิรินธร
กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ครรภ์แรก ที่มีอายุ ระหว่าง 20-35 ปี จำนวน 500 คน
เกณฑ์การคัดเข้าของกลุ่มตัวอย่าง: ฟัง พูด อ่าน และเขียน ภาษาไทยได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการ ตั้งครรภ์
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
และการตรวจสอบคุณภาพ
แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ อายุครรภ์ ศาสนา การศึกษา อาชีพ รายได้ และการวางแผน การตั้งครรภ์ เป็นแบบเลือกตอบ (check list)
แบบวัดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ตามแนวคิดของ Pender
ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.ทําหนังสือผ่านคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวิจัย และขออนุญาตเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่มา ฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสิรินธร
เมื่อได้รับหนังสืออนุมัติแล้ว ได้เข้าพบหัวหน้า พยาบาลและหัวหน้าแผนกฝากครรภ์ เพื่อแนะน่าตนเอง ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนในการทำวิจัย ขอความร่วมมือ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ี
ดำเนินการสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัด พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ วันที่กลุ่มตัวอย่าง มารับบริการฝากครรภ์ จำนวน 5 วัน (จันทร์-ศุกร์)
สรุปผลการวิจัย
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ใน ภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก (M=3.82, SD= .39)
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ใน แต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ พบว่ามีพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพในระยะตั้งครรภ์ไม่แตกต่างกัน
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ โมเดลพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ พบค่า Chi-square-1.977, df =6 และ p-value= .922 กล่าวคือ ค่า C แตกต่างจากศูนย์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งค่าดัชนี RMSEA = .000 และ RMR = .002 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 0 ค่าดัชนี GFI= .999 และ CFI = .995 ซึ่งเข้าใกล้ 1 และ c/df= 329 ซึ่งมี ค่าน้อยกว่า 2 แสดงว่าโมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
ความรู้ที่ได้จากวิจัย
หากหญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพที่ดี ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งมารดาและทารก หากมี พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่เหมาะสม อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอดได้
ได้รับรู้ถึงพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ของหญิงตั้งครรภ์อย่างชัดเจนมากขึ้น ใช้เป็นแนวทางในการ ส่งเสริมสุขภาพสำหรับหญิงตั้งครรภ์ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพ การพยาบาลที่ส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพในทางที่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ชีวิตที่ดีทั้งมารดาและทารกต่อไปในอนาคต
กาญจนา.พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์.(2561).สืบค้นจาก
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/download/132036/99186/348110