Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้, วัตถุหนี้ 3 ประเภท, 1.1 ทรัพย์ทั่วไป, 1.2…
ทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้
ความหมาย
วัตถุแห่งหนี้
การชำระหนี้ที่ผูกพันให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้อะไร นั้นขึ้นอยู่กับมูลแห่งหนี้ (ในกรณีมูลหนี้จากสัญญา) วัตถุแห่งนี้จะแตกต่างกันไปตามข้อตกลง
1.วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นทรัพย์ไม่แน่นอนอน
(ทรัพย์ทั่วไป)
วัตถุแห่งหนี้ที่มีทรัพย์ ที่จะต้องกระทำการส่งมอบทรัพย์ และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ เช่น กรณีสัญญาการซื้อขาย หรือสัญญาจ้างทำของ โดยหลักสำคัญคือ ทรัพย์นั้นต้องกำหนดไว้แน่นอน เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นทรัพย์ใดๆดังกล่าว
สังหาริมทรัพย์ ม.140 / อสังหาริมทรัพย์ ม.139 / สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
ตัวอย่าง
นายเอก ต้องการขายรถยนต์ให้กับ นายโท ตามราคาที่ตกลงกัน ดังนี้สัญญาซื้อขายได้เกิดขึ้นแล้ว
ผู้ขาย -นายเอก
มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ และโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้กับผู้ซื้อ
ผู้ซื้อ -นายโท
มีหน้าที่ชำระราคา
ปัญหา
ที่ต้องพิจจารณา เมื่อ...
1.ทรัพย์นั้นมีหลายคุณภาพ
2.ทรัพย์นั้นยังไม่แน่นอน
(เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ที่ต้องมีการระบุตัวทรัพย์ให้แน่นอนภายหลัง) เช่น ทรัพย์อุปโภค/บริโภค หรือ สินค้าอุตสาหกรรม ที่ผลิตทรัพย์เป็นปริมาณมาก แต่มาหลายคุณภาพ
ถ้าหาก ในการซื้อขายนั้น ผู้ซื้อได้ระบุเพียงประเภทของทรัพย์ แต่ไม่ได้ระบุคุณภาพของทรัพย์นั้น หรือตามสัญญานั้นไม่ได้ระบุว่าเป็นทรัพย์อันไหน ดังนี้
ตามมาตรา 195
นั้น ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์ที่
คุณภาพปานกลาง
ให้ผู้ซื้อ
ม.195 ว.2 วิธีทำทรัพย์ที่ยังไม่ได้กำหนดเฉพาะเจาะจง ให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง
สามารถทำได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1
ลูกหนี้ได้กระทำการเพื่ส่งมอบทรัพย์ ครบทุกประการตามหน้าที่ของตนแล้ว ตามที่ตกลงกันไว้ เหลือแต่เพียงรับการชำระหนี้เป็นเงินจากเจ้าหนี้เท่านั้น
ตัวอย่าง
นายโด่ง ตกลงว่าจะส่งข้าวสาร 2 กระสอบจนถึงหน้าบ้าน นายดัง วิธีการคือ นายโด่ง ชั่ง ตรวง ข้าวสาร 2 ประสอบ ปิดปากกระสอบ แล้วนำไปส่งถึงหน้าบ้านนายดัง เป็นอันจบหน้าที่
วิธีที่ 2
ลูกหนี้เลือกที่จะส่งมอบทรัพย์แล้ว ตามความยินยอมของเจ้าหนี้ (ตามใจเจ้าหนี้)
ตัวอย่าง
นายแดง ไปซื้อปลาร้าที่ร้านของนายดำ
-นายดำ ให้นายแดงทำการเลือกไหปลาร้า ตามความชอบใจของตนเองได้
-นายดำ ชี้นิ้วแนะนำไหปลาร้าให้นายแดง แล้วนายแดงเห็นแล้วก็ยินยอมตกลงรับ
2. วัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตรา
เงินตรานั้น ตามกฎหมายสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามปกติทั่วไป ไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ ว่าดี ปานกลาง หรือต่ำแต่อย่างใด
ไม่ต้องนำมาตรา 195 มาปรับ
แต่ เงินตรานั้น อาจมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้
ต้องใช้มาตรา 196-197 มาปรับ
2.1
กรณี ม.196 ว.1 หนี้เงินตราที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ
" ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ ท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้..."
2.3 กรณีที่คู่สัญญาตกลงกันไว้แน่นอนแล้ว
ว่า จะต้องใช้หนี้เป็นเงินตราสกุลเงินใด
ผล
ลูกหนี้จะต้องใช้เป็นเงินตราสลุลตามที่ตกลงกันไว้กับเจ้าหนี้ เท่านั้น
2.2 กรณี ม.169 ว.2 ค่าเงินตรา เกิดความเปลี่ยนแปลง
"...การเปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน"
ตัวอย่าง
นายดำ ไปซื้อรถของ นางขาวที่สปป.ลาว (ขณะนั้น 1 บาท มีค่า 25 กีบ) แล้ว นายดำไม่ชำระราคาตามสัญญา นายขาวจึงนำเรื่องไปฟ้องศาล (ขณะนั้น 1 บาท มีค่า 20 กีบ) ศาลจะตัดสินว่า ให้นายดำชดใช้ราคารถให้นายขาว ในราคาเงิน 1 บาท มีค่า 20 กีบ เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อนายขาวเห็นว่าตนขาดทุน
(1 บาท ต่อ 5 กีบ) สามารถอ้าง ม.222 ได้ ถ้าหากนายขาวพิสูจน์ให้ศาลฟังได้ว่า ตนคาดเห็น หรือควรคาดเห็นในพฤติการณ์ดังกล่าวได้
2.4 กรณีหนี้เงินตราที่เลิกใช้ไปแล้ว
ลูกหนี้ไม่สามารถนำเงินตราที่เลิกใช้ไปแล้ว มาทำการชำระหนี้ได้
ผล
ต้องหาเงินปัจจุบันที่ใช้จ่ายกันอยู่มาชำระหนี้
วัตถุหนี้ 3 ประเภท
1.หนี้กระทำการ
-ลูกหนี้กระทำการใดๆตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากับเจ้าหนี้
2.หนี้งดเว้นกระทำการ
-ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการใดๆที่ตกลงกันไว้ในสัญญากับเจ้าหนี้
3. หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน และ โอนกรรมสิทธิ์
1.1 ทรัพย์ทั่วไป
1.2 ทรัพย์เฉพาะสิ่ง
มูลหนี้ ส่งมอบทรัพย์สินและโอนกรรมสิทธิ
มูลหนี้กระทำการ