Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 9 บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพจิต - Coggle…
หน่วยที่ 9 บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพจิต
1.ระบบและการดูแลอย่างต่อเนื่อง
ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช
หลักการดูแลต่อเนื่องด้านสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นการบริการที่
จะให้กับผู้ป่วย ภายหลังออกจากโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยอาจจําเป็นต้องใช้แหล่งบริการผู้ป่วยนอก หรือแหล่งบริการท่ีมีอยู่ในชุมชน
แบ่งการดูแลเป็น 3 ระยะ
1 ระยะเฉียบพลัน (Acute Phase) เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย มีอาการทางจิตลดลง
2 ระยะควบคุมอาการให้คงที่ (Stabilization Phase) เพื่อลดอาการทางจิตต่อเนื่อง จนอาการหมดไปหรือหลงเหลือน้อยที่สุด
3 ระยะอาการคงที่ ( Stable Phase) ป้องกันการป่วยซ้ำ(Recurrence)
บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริม ป้องกัน
และฟื้นฟูสภาพจิต แก่บุคคล ครอบครัวและชุมชน
บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
จิตและจิตเวชการสร้างเสริมสุขภาพจิต
การสร้างเสริมสุขภาพจิต
1 สอนและให้คําแนะนํา
2 นิเทศผู้ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลสุขภาพจิตและ จิตเวช
3 ประสานงานกับครอบครัวผู้รับบริการ
4 ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพ
5 ดําเนินการวิจัย
การป้องกันปัญหา
สุขภาพจิต
การลดความวิตกกังวล การเผชิญปัญหา การลดความเครียด
การช่วยเหลือในภาวะวิกฤติ
การดูแลช่วยเหลือและบําบัด
ให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ให้มีอาการทางจิต
ดีขึ้น ดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ
การฟื้นฟูสภาพ
เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อการฟื้นฟูบุคลิกภาพของผู้ที่มีปัญหา สุขภาพจิตและจิตเวช ให้มีสุขภาพจิตที่ดี และดํารงภาวะปกติสุขหลังการเจ็บป่วย โดยการช่วยให้ผู้รับบริการพึ่งพาตนเองได้
หลักการบําบัดดูแลผู้ป่วย
จิตเวชอย่างต่อเนื่อง
1) การบําบัดรักษาด้วยยาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
2 การให้บริการที่ผสมผสานทั้งการบําบัด ฟื้นฟูสภาพ และการสนับสนุน ประคับประคองทางสังคม
3)การให้บริการที่เอื้ออํานวยและยืดหยุ่นตามปัญหา
และความต้องการของผู้ป่วย
4) การวางแผนการดูแลเป็นวงจรต่อเนื่อง
5) การประสานความร่วมมือ และติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยบริการสุขภาพ
6)การจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วย และส่งต่อข้อมูล ระหว่างสถานบริการเครือข่ายที่เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน
7) การสามารถเข้าถึงแหล่งบริการสุขภาพ แหล่งสนับสนุนทางสังคม
8)เป็นบริการที่คุ้มทุน มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยพึงพอใจกับบริการที่ได้รับ
กระบวนการดูแลต่อเนื่องด้าน
สุขภาพจิตและจิตเวช
การบําบัดในโรงพยาบาล (Hospital Based Care)
เป็น 2 ระยะ
1 ระยะเฉียบพลัน
( Acute phase )
เช่น มีอาการสับสน กระวนกระวายไม่อยู่นิ่ง มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง รื่นเริงมากผิดปกติ หรือแยกตัว ซึมเศร้า
2 ระยะควบคุมอาการให้คงที่
( Stabilization Phase or Continuation Phase)
ระยะเวลาในการบําบัดประมาณ 6 เดือน
ระยะนี้จะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยและครอบครัวก่อน
จําหน่ายออกจากโรงพยาบาล
ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนที่ผู้ป่วยจะถูกส่งต่อเพื่อการบําบัดแบบ
ผู้ป่วยนอกหรือในชุมชนต่อไป
สาเหตุหรือปัจจัย
กระตุ้น
-การขาดยา ขาดการรักษาที่ต่อเนื่อง
-ภาวะเครียดเรื้อรัง หรือรุนแรง
-มีการใช้สุรา สารเสพติด
การส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการบําบัด
ต่อเนื่อง (Continuum Care)
กระบวนการส่งต่อจะต้องมีการส่งต่อข้อมูลและส่งต่อผู้ป่วยที่ชัดเจน เช่น แจ้งให้หน่วยงาน ผู้รับการส่งต่อทราบ ในลักษณะ
-การแจ้งทางโทรศัพท์เป็นเบื้องต้น
-การติดต่ออย่างเป็นทางการ
-ส่งข้อมูลติดต่อทางจดหมาย หรือทางออนไลน์
การบําบัดดูแลระยะอาการคงที่
(Stable Phase)
-การสร้างเสริมแรงจูงใจและ ทักษะในการบริหารจัดการ
เพื่อปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง
-การส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้ป่วยและครอบครัว
-การสร้างแรงจูงใจในการฟื้นฟูสภาพ
-การบริการสนับสนุนประคับประคอง ( Support Services)
รูปแบบการบริการต่อเนื่อง
ของสถานบริการสุขภาพ
-การให้บริการแบบผู้ป่วยนอก (Outpatient Program)
-การให้บริการบางเวลา (Partial Hospital Program)
-การบําบัดภาวะวิกฤติจิตเวช (Psychiatric Crisis)
-การบําบัดดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้าน (Psychiatric Home Care)
-การบําบัดดูแลรายกรณี (Case Management)
-การบริการทางสังคม (Social Service)
บริการหลังจําหน่าย
จากแผนกผู้ป่วย
1.การบําบัดดูแลอย่างต่อเนื่องที่แผนกผู้ป่วยนอก
ทั้งการบําบัดด้วยยา และการบําบัด ทางจิตสังคม
2.การให้บริการเยี่ยมบ้าน โดยพยาบาลจิตเวชชุมชน
ของโรงพยาบาล