Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้สูงอายุชุมชนเทศบาลพัฒนา 2 - Coggle Diagram
ผู้สูงอายุชุมชนเทศบาลพัฒนา 2
ลักษณะครอบครัว
case 5
จำนวนสมาชิกภายในครอบครัวมี 9 คน หัวหน้าครอบครัว คือ บุตรสาว สถานภาพในครอบครัว อยู่กับครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดี สัมพันธภาพในครอบครัว ผู้สูงอายุมักมีปัญหากับหลานชายเพราะเมื่อผู้สูงอายุให้คำแนะนำ หลานชายมักจะไม่ฟังและโต้แย้ง รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ประมาณ 120,000 บาท/เดือน
case 4
จำนวนสมาชิกภายในครอบครัว มี 4 คน หัวหน้าครอบครัว คือ ลูกสาวคนเล็ก สถานภาพในครอบครัว รักใคร่กลมเกลียวกันดี รายได้เฉลี่ยของครอบครัว
ประมาณ 45000 บาท/เดือน แหล่งรายได้จาก ลูกสาวลูกสาวทำอาชีพค้าขาย
case 6
จำนวนสมาชิกในครอบครัว มี 2 คน หัวหน้าครอบครัวคือ ผู้สูงอายุและสามี สถานภาพในครอบครัวมีปัญหาด้านการเงิน รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ไม่แน่นอน แหล่งรายได้ จากเบี้ยผู้สูงอายุ, ค้าขาย, รับจ้างทั่วไป
case 3
มีสมาชิกภายในครอบครัว 7 คนคือ ตนเอง สามี บุตรชาย ลูกสะใภ้ และหลาน 3 คน หัวหน้าครอบครัวคือ ผู้สูงอายุเอง สถานภาพครอบครัว อยู่ด้วยกัน รักใคร่กันดี รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ประมาณ 32,000 บาท/เดือน แหล่งรายได้ ตนเองและลูกชาย
case 7
จำนวนสมาชิกในครอบครัว มี 5 คน หัวหน้าครอบครัวคือ ผู้สูงอายุ สถานภาพในครอบครัว ไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน มีสัมพันธภาพภายในครอบครัวที่ดี แหล่งรายได้ จากเบี้ยผู้สูงอายุ, ค้าขาย
case 2
มีจำนวนสมาชิกภายในครอบครัว 4 คน คือ ผู้สูงอายุ ภรรยา ลูก 2 คน หัวหน้าครอบครัว คือ ผู้สูงอายุเอง สถานภาพในครอบครัว : ผู้สูงอายุอยู่กับภรรยาสองคน ลูกแวะเวียนมาเยี่ยมเป็นประจำ มีความรักใคร่กันดีมีสัมพันธภาพกับสมาชิกในครอบครัวที่ดี ผู้สูงอายุไม่สะดวกบอกรายได้เฉลี่ยของครอบครัว แหล่งรายได้มาจากเบี้ยผู้สูงอายุ และจากลูก
case 8
จำนวนสมาชิกภายในครอบครัว มี 2 คน หัวหน้าครอบครัว คือ ลูกสาว สถานภาพในครอบครัว รักใคร่กันดี รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ประมาณ20,000 บาท/เดือน แหล่งรายได้ จากลูกสาว
case 1
จำนวนสมาชิกภายในครอบครัวมี 6 คน ได้แก่ พี่สาวคนรอง ผู้สูงอายุ หลาน 2 คน หลานเขย และลูกของหลาน หัวหน้าครอบครัวคือ พี่สาวคนรอง สถานภาพในครอบครัว น้องสาวคนเล็ก สัมพันธภาพในครอบครัว ไม่เคยมีปัญหาทะเลาะกัน พูดคุยกันได้ปกติ รักใคร่กลมเกลียว รายได้เฉลี่ยของครอบครัว ไม่สะดวกให้ข้อมูล แหล่งรายได้ เบี้ยผู้สูงอายุ และเงินเดือนของหลาน
11 แบบแผนกอร์ดอน
แบบแผนที่ 3
case 4
ขับบถ่ายทุกวัน วันละ 1-2 ครั้งถ่ายเหลว ปัสสาวะ 5-6 ครั้งต่อวัน ไม่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด/แสบขัด
ผลการประเมินการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ ผลคือ ผู้สูงอายุสามารถกั้นปัสสาวะได้
case 5
ผู้สูงอายุไม่มีการขับถ่าย3 วัน/สัปดาห์ จึงต้องพึ่งยาระบายมะขามแขกเป็นประจำ ปัสสาวะวันละ 5 ครั้ง/วัน มีสีเข้มมาก
ผลการประเมินการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ มีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ รุนแรงเล็กน้อย
case 3
ผู้สูงอายุขับถ่ายอุจจาระ 1 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะ 3-4 ครั้งต่อวัน มีสีเหลืองถึงเหลืองเข้ม
ผลการประเมินการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ มีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่รุนแรงปานกลาง
case 2
ขับถ่ายอุจจาระ 2 ครั้งต่อวัน เช้า 1 ครั้ง และ เย็น 1 ครั้ง ลักษณะมีสีน้ำตาล นิ่ม ไม่มีท้องผูก ขับถ่ายปัสสาวะ 6 ครั้งต่อวัน ลักษณะสีเหลืองใส ปริมาณมาณแต่ละครั้งไม่มาก เช้า 1 ครั้ง กลางวัน 2 ครั้ง เย็น 1 ครั้ง เวลา 22.00 น. 1 ครั้ง และ 03.00 น. 1 ครั้ง กลั้นปัสสาวะได้ปกติ
ผลการประเมินการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ ไม่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ
case 6
ผู้สูงอายุขัะบถ่ายอุจจาระ 1 ครั้งต่อวัน ในช่วงตื่นนอน ลักษณะก้อนนิ่มสีน้ำตาล ขับถ่ายปัสสาวะ 5-6 ครั้งต่อวัน ลักษณะสีใส-เหลืองอ่อน ปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย
ผลการประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผลได้ว่า ไม่มีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
case 1
การขับถ่ายอุจจาระ 1 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้า
มีลักษณะอ่อนนุ่ม
การขับถ่ายปัสสาวะ 2 – 3 ครั้งต่อวัน ถ้าดื่มน้ำน้อยจะปัสสาวะ 1 ครั้งต่อวัน มีลักษณะสีเหลือง ใส ไม่มีกลิ่นฉุน ไม่มีปัสสาวะไม่สุด ไม่มีเจ็บแสบขณะปัสสาวะ
ผลการประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผลได้ว่า ไม่มีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
case 7
ขับบถ่ายอุจาระทุกเช้าวันละ 1 ครั้ง ลักษณะเป็นก้อนนิ่ม ปัสสาวะ 5-6 ครั้งต่อวัน ไม่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด/แสบขัด
ผลการประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผลได้ว่า ไม่มีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
case 8
ผู้สูงอายุ ขับถ่ายอุจารระ 2 ครั้ง/วัน ลักษณะ อ่อนนุ่ม ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป มีสีเหลืองปกติ ขับถ่ายปัสสาวะ 3-4 ครั้ง/วัน ลักษณะมีสีเหลืองใส
ผลการประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ แปลผลได้ว่า ไม่มีปัญหาเรื่องกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
แบบแผนที่ 5
case 4
นอนหลับพักผ่อนไม่เป็นเวลา มีอาการปวดเข่าก่อนนอน pain score 2-4 คะแนน เป็นๆหายๆ ส่วนมากจะหลับช่วงเช้ามืด ตื่นสายๆ หลับวันละ 4-5 ชั่วโมง ไม่มีลักมาเข้าห้องน้ำ หรือสดุ้งตื่นระหว่างการนอน ขณะนอนไม่หลับจะเล่นมือถือ
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 8 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี
case 5
ผู้สูงอายุนอนหลับวันละประมาณ 5-6 ชั่วโมง เข้านอนตอน21.30 น. ตื่น 04.00 น.ทุกวัน มักนอนหลับๆตื่นๆในช่วงกลางคืนลุกมาเข้าห้องน้ำ 2 ครั้ง และไม่ได้มีการปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายก่อนการนอนหลับ
บางครั้งเคยดูละครจนถึงเช้าและไม่ได้นอนมานอนตอนกลางวันหลังมื้อเที่ยงประมาณ 1 ชั่วโมง
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSIO 11 คะแนน คุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุไม่ดี
case 3
ผู้สูงอายุนอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง เข้านอนเวลา
00.00 น. ตื่นนอนเวลา 7.00 น.
มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับคือ หลับๆตื่นๆเนื่องจากมีอาการปวดเมื่อยร่างกาย
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 8 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี
case 6
ผู้สูงอายุนอนวันละ 7-8 ชั่วโมง สวดมนตร์ไหวพระก่อนนอนทุกคืน บางวันที่ดึกกลางดึกมาเข้าห้องน้ำจะมีอาการนอนหลับต่อยาก ใช้เวลา 1-2 ชั่วโมงจึงสามารถหลับต่อได้
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 0 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับด
case 2
ผู้สูงอายุเข้านอนเวลา 21.30 น. ตื่นนอน 05.00 น. ปกตินอนวันละ 6 ชั่วโมง ไม่มีการปฏิบัติเพื่อผ่อนคลายและส่งเสริมการนอนหลับ สามารถนอนหลับได้ง่าย เมื่อนอนแล้วไม่เกิน 5 นาทีก็จะหลับ
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 2 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับดี
case 7
นอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง/วัน ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ รู้สึกตัวกลางดึก
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 0 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับดี
case 1
ผู้สูงอายุนอนหลับวันละ 8 ชั่วโมง เข้านอนเวลา 22.00 น. ตื่นนอนเวลา 6.00 น. มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ มักตื่นมาตอนเที่ยงคืนมาเข้าห้องน้ำ และนอนต่อหลับได้สนิท ไม่ถึง 15 นาทีในการนอนหลับ การปฏิบัติตนเพื่อผ่อนคลายและส่งเสริมการนอนหลับ ดูละครทุกวันก่อนเข้านอน
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 3 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับดี
case 8
นอนหลับวันละ 7-8 ชั่วโมง/วัน โดยเข้านอนเวลา 21.00 น. ตื่นเวลา 05.30 น. ไม่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ สามารถนอนหลับได้จนถึงตอนเช้า ไม่มีรู้สึกัวตื่นกลางดึก
ผลการประเมินคุณภาพการนอนหลับ PSQI ได้ 0 คะแนน มีคุณภาพการนอนหลับดี
แบบแผนที่ 4
case 4
ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง ไม่ได้ออกกำลังกายเลย มีว่ายน้ำ 1 ครั้ง/สัปดาห์ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีใน 1 ครั้ง พักๆหลังๆมีอาการหายใจเหนื่อยขณะยกของ เมื่อนั่งพัก 10-15 นาทีอาการเหล่านี้จึงหายไป
ระบบทางเดินหายใจ หายใจเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม
ผลการประเมินการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวได้ 4 คะแนน มีความรับรู้ความสามารถในการทรงตัวที่ดี
ผลการประเมินแบบคัดกรองโรคเข่าเสื่อม ไม่พบอาการเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อม
ผลการประเมิน Chula ADL Index ได้ 9 คะแนน สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี ไม่ต้องมีคนช่วย
ผลการประเมิน Barthel ADL Index ได้ 19 คะแนน มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
ระบบทางเดินหายใจ หายใจเหนื่อยเมื่อทำกิจกรรม
case 5
ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ปกติ และมีการออกกำลังกายโดยการยืดแขนขาประมาณ 15-20 นาทีตามยูทูปในช่วงเย็น บางวันก็ประมาณ 30-45 นาทีแล้วแต่ความเหนื่อยจากการทำงานขายของ มีเข้าโครงการลดหวานกับ รพ.สต.เหมืองพัฒนา 2 ระบบทางเดินหายใจ มีอาการเหนื่อยขณะทำกิจกรรมต่างๆ นั่งพัก
10 – 15 นาทีอาการเหนื่อยจึงทุเลาลง
ผลการประเมิน Barthel ADL Index ได้ 19 คะแนน มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
ผลการประเมิน Chula ADL Index ได้ 9 คะแนน สามารถปฏิบัติกิจวัตระประจำวันได้ดี ไม่ต้องมีคนช่วย
ผลการประเมินการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวได้ 4 คะแนน มีความรับรู้ความสามารถในการทรงตัวที่ดี
ผลการประเมินแบบคัดกรองโรคเข่าเสื่อม ได้ 1 คะแนน เสี่ยงภาวะเป็นโรคเข่าเสื่อม
ระบบทางเดินหายใจ มีอาการการเหนื่อยขณะทำกิจกรรมต่างๆ นั่งพัก 10 – 15 นาทีอาการเหนื่อยจึงทุเลาลง
case 3
ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ด้วยตนเอง ไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ มีอาการปวดคอ หลังและเข่า
ผลการประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ (Barthel ADL Index) ได้ 20 คะแนน แปลผลได้ว่า มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย
ผลการประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล ได้ 9 คะแนน แปลผลได้ว่า สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเองได้ทั้งหมด
ผลการประเมินการรับรู้และการทรงตัว ได้ 5 คะแนน มีการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวดีมาก
ผลการประเมินแบบคัดกรองโรคเข่าเสื่อม ไม่พบอาการเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อม มีเพียงอากาปวดเข่า
ระบบทางเดินหายใจ เคยเป็น covid-19 ปัจจุบันรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรม
case 6
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐานได้ด้สวยตนเอง พฤติกรรมกาารออกกำลังกายปั่นจักรยานรอบบ้านเป็นเวลา 20 นาทีต่อครั้ง ออกกำลังกายประมาณ 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ได้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกาย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชนที่เข้าร่วม ได้แก่ การเต้นแอโรบิก แต่ช่วงนี้ติดภาระเลี้ยงหลานจึงไม่ค่อยได้เข้าร่วม
ผลการประเมิน Barthel ADL Index ได้ 22 คะแนน มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
ผลการประเมิน Chula ADL Index ได้ 9 คะแนน สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี ไม่ต้องมีคนช่วย
ผลกานประเมินการรับรู้และการทรงตัว ได้ ดีมาก 5 คะแนน มีการรับรู้การทรงตัวดีมาก
ผลการประเมินโรคข้อเข่าเสื่อม ได้ 0 คะแนน ไม่มีอาการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
case 2
ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ทุกอย่าง ออกกำลังกายโดยการเดินตอนเช้าทุกวัน วันละ 5,000 ก้าว ใช้เวลาในการออกกำลังกาย 45 นาที – 1 ชั่วโมง มีการวอร์มและคูดาวน์ก่อนและหลังออกกำลังกายตามลำดับ ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมเต้นบาสโลบกับคนในชุมชน
ผลการประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (Barthel ADL Index) ได้ 20 คะแนน มีภาวะพึ่งพิงเล็กน้อย
ผลการประเมินการรับรู้และการทรงตัว ได้ 5 คะแนน มีการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวดีมาก
ผลการประเมินแบบคัดกรองโรคเข่าเสื่อม ไม่พบอาการเสี่ยงเป็นโรคเข่าเสื่อม
แบบประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ ดัชนีจุฬาเอดีแอล ได้ 9 คะแนน ความสามารถปฏิบัติกิจวัตร ประจําวันมาก
case 7
สามารถทำกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานทุกอย่างได้ด้วยตนเอง ไม่มีการออกกำลังกายที่มีแบบแผนชัดเจน มีการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา
ผลการประเมิน Chula ADL Index ได้ 9 คะแนน สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี ไม่ต้องมีคนช่วย
ผลการประเมินการรับรูและการทรงตัว ได้ 5 คะแนน มีการรับรู้การทรงตัวดีมาก
ผลการประเมิน Barthel ADL Index ได้ 20 คะแนน มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
ผลการประเมินโรคข้อเข่าเสื่อม ได้ 0 คะแนน ไม่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
case 1
ผู้สูงอายุสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ด้วยตนเอง ออกกำลังกาย 5-6 วันต่อสัปดาห์ ในช่วงเช้าออกกำลังกายโดยการเดินเร็วรอบสนามสวนนันมหาวิทยาลัยบูรพา ประมาณ 30 นาที
ในช่วงเย็นจะมาเต้นแอโรบิคที่สวนนันประมาณ 45 นาที ถ้าไม่ว่างช่วงเช้าก็จะมาออกกำลังกายแค่ช่วงเย็น
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและกิจกรรมอื่น ๆ ในชุมชน ผู้สูงอายุไม่ได้เข้าร่วม เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดและบางครั้งไม่ได้ติดตามข่าวสารของกิจกรรมในชุมชน
ผลการประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติ (Barthel ADL Index) ได้ 22 คะแนน แปลผลได้ว่า พึ่งพาตนเองได้
ผลการประเมินความสามารถเชิงปฏิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล ได้ 9 คะแนน แปลผลได้ว่า ทำได้เองทั้งหมด
ผลการประเมินการรับรู้และการทรงตัว ได้ 5 คะแนน มีการรับรู้ความสามารถในการทรงตัวดี
ผลการประเมินแบบคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม แปลผลได้ว่า ไม่เป็นโรคเข่าเสื่อม
case 8
สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันพื้นฐานได้ด้วยตนเอง พฤติกรรมการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำ โดยการเล่นโยคะ3-5ครั้ง/สัปดาห์ หรือ ตีแบตกับลูกสาว 4-5 ครั้ง/สัปดาห์ โดยออกกำลังกายครั้งละ 1-2 ชั่วโมงโดยทุกครั้งที่ออกกำลังจะมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนและหลังการออกกำลังกายทุกครั้ง กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชนที่เข้าร่วม ได้แก่ ไปช่วยงานที่วัดในวัดพระ หรือในวันสำคัญทางศาสนา
ผลการประเมิน Chula ADL Index ได้ 9 คะแนน สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี ไม่ต้องมีคนช่วย
ผลการประเมินการรับรู้และการทรงตัว ได้ 4 คะแนน มีการรับรู้การทรงตัวดี
ผลการประเมิน Barthel ADL Index ได้ 23 คะแนน มีภาวะพึ่งพาเล็กน้อย
ผลการประเมินโรคข้อเข่าเสื่อม ได้ 0 คะแนน ไม่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
แบบแผนที่ 2
case 4
ซื้ออาหารอจากตลาดรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ เลือกรับประทานอาหารได้เหมาะสมกับการควบคุมโรคประจำตัว ไม่กิน หวาน มัน เค็ม หลีกเลี่ยงการกินกะทิ ดื่มน้ำน้อยประมาณ 500 ml/day ในช่วงพักนี้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 28 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
case 5
ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา รับประทาน2 มื้อและปริมาณน้อย ชอบรับประทานอาหารรสชาติหวานเติมน้ำตาลเพิ่ม ต้มจับฉ่าย ขนมหวาน รับประทานผลไม้หวานคือ มังคุด ละมุด ทุเรียน สัปะรด ดื่มน้ำจากขวดละ600 ml วันละประมาณ 1.8 ลิตร บางครั้งไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 21.5 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
case 3
รับประทานอาหารสองมื้อต่อวัน คือ มื้อบ่ายและมื้อเย็น โดยทำอาหารรับประทานเอง ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูปลาหรือหมู ช่วงเช้ามักจะรับประทานเป็นกาแฟ ดื่มน้ำวันละ 1-1.5 ลิตร ปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 13 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
case 6
รับประทานอาหาร 2 มื้อต่อวัน มื้อเที่ยงและมื้อเย็น ทำอาหารทรับประทานเอง(ทำรสไม่จัด) ดื่มน้ำในแต่ละวัน 2 ขวดใหญ่หรือประมาณ 3 ลิตร ปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 12 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
case 7
รับประทานอาหาร 2 มื้อต่อวัน มื้อกลางวันและมื้อดึก ตอนเช้าดื่มกาแฟ ชอบรับประทานแกงส้ม แกงป่า ผักผลไม้ต่างๆ หลีกเลี่ยงแกงกะทิ อาหารทะเล ดื่มน้ำ1.5-2 ลิตรต่อวัน ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้
case 8
รับประทานอาหารตรงเวลาและครบ 3 มื้อ รับปะทานอาหารุกอย่าง แต่ชอบรับประทานน้ำพริกผักต้ม โดยในแต่ละมื้อ ผู้สูงอายุจะรับประทานข้าวมื้อละ 1 ทัพพีหรือประมาณ 200 กรัม ผู้สงอายุดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตร มีปัญหาท้องอืดเล็กน้อย เนื่องจาก เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 24 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
case 1
รับประทานอาหาร 2 มื้อต่อวัน มื้อเช้าและมื้อเที่ยง มื้อเย็นทานบางครั้ง ในช่วงเย็นจะชอบทานเป็นขนมมากกว่า อาหารที่รับประทานส่วนใหญ่เป็นคนทำและปรุงเอง มักเป็นน้ำพริก ผักสด ซื้อกับข้าวจากตลาดบางครั้ง จำพวกแกง ต้ม ผัด รับประทานผลไม้ทุกวันเป็นประจำ ดื่มน้ำน้อยกว่า 1,000 ml ต่อวัน
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 13 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
case 2
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เน้นการควบคุมปริมาณอาหารและน้ำหนักให้อยู่ในช่วง 64-65 กิโลกรัม มื้อเช้า 07.30-08.00 น. ทานกาแฟและไข่กวนทุกเช้า มื้อกลางวันทานปกติ มื้อเย็น 15.00-16.00 น. ทานในปริมาณน้อย เน้นทานอาหารประเภทผักผลไม้ ปลา ไข่ เนื้อหมูไก่ เล็กน้อย ทานอาหารครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำวันละ 6 แก้วขึ้นไปต่อวัน
ผลการประเมินตามแบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA)ได้ 28 คะแนน แปลผลได้ว่า ภาวะโภชนาการปกติ
แบบแผนที่ 1
case 4
ผู้สูงอายุรับรู้การเจ็บป่วยของตนเอง มีโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันเลือดสูง ความดันโลหิตเมื่อ 3 มีนาคม 65 BP = 137/80 mmHg เข้ารับการรักษาสม่ำเสมอ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง เคยมีประวัติการดื่มสุราและสูบบุหรี่ ปัจจุบันเลิกแล้ว เมื่อเจ็บป่วยจะไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
case 5
การรับรู้ภาวะสุขภาพในปัจจุบัน ผู้สูงอายุเป็น DM เบาหวาน รับประทานยาตรงเวลาแต่ ชอบรับประทานอาหารรสชาติหวาน มีประวัติการแพ้หอยปากเป็ด คลื่นไส้อาเจียน
พฤติกรรมเสี่ยง ดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ 2-3 ครั้ง มีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วย ไปรับยามารับประทานที่รพ.สต.
case 3
ผู้สูงอายุไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี คิดว่า อายุมากแล้วก็เป็นแบบนี้ ไม่แข็งแรง ปวดเมื่อยตามร่างกาย เจ็บป่วยจะไปโรงพยาบาลพญาไท
case 6
รับรู้ภาวะสุขภาพดี ทานยาเป็นประจำรับยาและตรวจตามนัดที่รพสต. ทำอาหารทานเองรสไม่จัดหลีกเลี่ยงอาหารมัน ออกกำลังกายเป็นประจำ ปฏิเสธการแพ้ยาแพ้อาหาร ไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วยจะไปพบแพทย์หรือเจ็บป่วยเล็กน้อยจะซื้อยาจากเภสัชกร
case 2
ผู้สูงอายุรับรู้ภาวะสุขภาพว่าป่วยเป็นโรคปลายประสาทอักเสบ แอลกอฮอล์เฉพาะเวลาไปสังสรรค์ ปีละ 2 ครั้ง เลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เจ็บป่วยเป็นไข้หวัดจะไปซื้อยาที่ร้านขายยามารับประทาน
ไปหาหมอตามนัดทุกครั้ง ลิ้นรับรสเค็มได้ไม่แน่นอน
case 7
ผู้สูงอายุรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง ว่าป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง ดูแลตัวเองในเรื่องการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารหวาน มัน เค็ม และอาหารทะเล
case 1
ไขมันในเลือดสูงขึ้น แต่ไม่ทราบถึงวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อลดไขมันในเลือด เมื่อเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็จะให้หลานซื้อยาจากร้านขายยามาให้ ไม่รับประทานยาสมุนไพร
case 8
ผู้ป่วยรับรู้ว่าตนเองมีโรคประจำตัว รับประทานยาตรงเวลาตลอด และไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ ไปรับยาทุกเดือน ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้รับประทานสมุนไพร ดูแลตนเองโดยการรับประทานยาตรงเวลา ควบคุมอาหาร ลดอาหารทอดและเค็ม ออกกำลังกายอย่างส่ำเสมอ โดยการตีแบตกับลูกสาว
แบบแผนที่ 6
case 4
ผู้สูงอายุไม่ค่อยได้ยินเสียง พ.ศ.2550 มีประวัติน้ำในหูไม่เท่ากัน มีอาการบ้านหมุน จึงไปรับการรักษาที่
โรงพยาบาลชลบุรี สายตายาว มีพร่ามัวบางครั้ง
ต้องกระพริบตาบ่อยๆ สามารถอ่านหนังสือได้ตามปกติ
มีอาการปวดที่บริเวรเข่าซ้าย ไม่ได้กินยา ปวดบ่อยในช่วงก่อนจะนอน
ผลการประเมิน 6 CTI ได้ 6 คะแนน ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS ได้ 8 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลการประเมินความปวด VAS ได้ 2 คะแนน ปวดขาเล็กน้อย
case 5
ผู้สูงอายุการได้ยินและการมองเห็น อ่านหนังสือโดยไม่ใส่แว่น แต่มีตามพร่ามั่วในเวลากลางคืน รับสัมผัสความเจ็บปวดที่เอวและขาเวลาเข้านอนได้ สามารถระลึกความทรงจำในอดีตได้
ผลการประเมิน 6CTI ได้ 2 คะแนนไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS ได้ 8 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลประเมินความเจ็บปวด Numeric Scale ได้3 คะแนน เวลานอนมีปวดเอวและขาเล็กน้อย
case 3
ผู้สูงอายุมีการได้ยินปกติ การมองเห็นหากต้องอ่านตัวหนังสือตัวเล็กต้องใช้แว่นสายตายาว แต่ปกติไม่ได้ใส่ตลอดเวลา
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS ได้ 5 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลการประเมิน 6 CTI ได้ 4 คะแนน ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ผลการประเมินความปวด VAS ได้ 10 คะแนน ปวดมากที่สุด
case 6
ผู้สูงอายุมีการได้ยินปกติ การมองเห็นปกติ อ่านหนังสือเองได้ ไม่พึ่งแว่นสายตาการรับสัมผัสปกติ รับรู้กลิ่น รส สัมผัสได้ รับรู้เกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายได้เมื่อเดินเร็วบางครั้งจะมีอาการปวดขาเล็กน้อย นั่งพักอาการดีขึ้น, ความจำปกติ บอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆได้ ไม่ติดขัด
ผลการประเมินความผิดปกติทางการรับรู้ 6CIT ได้ 6 คะแนน ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS ได้ 9 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลการประเมินความปวด VAS ได้ 2 คะแนน ปวดเล็กน้อย (ปวดขา)
case 2
ผู้สูงอายุการได้ยิน การมองเห็น การรับสัมผัส ปกติ มีความจำระยะสั้นเริ่มเสื่อมถอยลง
ผลการประเมิน 6CTI ได้ 0 คะแนน ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ผลการประเมินความเจ็บปวด VAS ได้ 0 คะแนน ไม่มีอาการปวด
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS ได้ 3 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
case 7
ผู้สูงอายุการได้ยินปกติ ชัดเจน สายตายาว มีอาการปวดบริเวณสะโพกทั้ง 2 ข้าง มีความจำปกติ
ผลการประเมิน 6CTI ได้ 4 คะแนน แปลผลได้ว่า ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้า TGDS ได้ 0 คะแนน แปลผลได้ว่า ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลการประเมินความปวด NRS ได้ 7 คะแนนแปลผลได้ว่า อาการปวดบริเวณสะโพก เวลาเดินเยอะๆ ไม่มีปัญหาปวดเข่า ไม่มีเสียงเข่าดังกรอบแกร
case 1
ผู้สูงอายุมีการได้ยินและการมองเห็นปกติ ไม่พบปัญหาขณะซักประวัติ ในด้านความจำสามารถตอบคำถามของผู้ตรวจได้ถูกต้องทุกข้อ สามารถตอบถึงอดีตของตัวเองได้และไม่มีปัญหาในด้านความจำระยะสั้น
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย TGDS ได้ 3 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลการประเมินความเจ็บปวด VAS ได้ 0 คะแนน ไม่มีอาการปวด
ผลการประเมิน 6CTI ได้ 2 คะแนน ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
case 8
ผู้สูงอายุมีการได้ยินและการมองเห็นปกติ ไม่พบปัญหาขณะซักประวัติ ในด้านความจำสามารถตอบคำถามของผู้ตรวจได้ถูกต้องทุกข้อ สามารถตอบถึงอดีตของตัวเองได้
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้า TGDS ได้ 0 คะแนน ไม่มีภาวะซึมเศร้า
ผลการประเมินความปวด VAS ได้ 0 คะแนน ไม่มีอาการปวด
ผลการประเมิน 6CTI ได้ 6 คะแนน ไม่มีความผิดปกติทางการรับรู้
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไม่เหมาะสม
S : ผู้ป่วยบ่น ปวดศีรษะ ปวดท้ายทอย
O :-
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) หมายถึง ระดับความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic blood pressure,SBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 140 มม.ปรอท และ/หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิค (distolic blood pressure, DBP) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 มม.ปรอท เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูง ด้วยอายุและพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วย ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะมีภาวะแทรกซ้อน
จากทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory) ความแก่เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเองเมื่ออวัยวะมีการใช้งานมากย่อมเสื่อมได้ง่ายและเร็วขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คืออวัยวะส่วนใดของร่างกายที่ไม่ค่อยได้ทำงาน จะเสื่อมสภาพไปก่อนในขณะที่อวัยวะส่วนอื่นๆ ที่ทำงานกลับขยายใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ดีทฤษฎีสนับสนุนด้วยว่า ขณะที่ cell ถูกใช้งานจะเกิดการผลิตสารแล้วใช้เช่น Lipofuscin สะสมไว้สารนี้เอง เป็นโปรตีนที่เหลือใช้จากการเผาผลาญอาหาร (lipoprotein) ซึ่งจะมีคุณสมบัติไม่ละลาย หน้าที่ไม่ทราบชัดเจน ในวัยสูงอายุจะมีสารนี้สะสมมากบริเวณตับ, หัวใจ, รังไข่, cell ประสาท และเมื่อมีสารนี้มากถึงระดับหนึ่ง อวัยวะจะไม่สามารถทำงานได้และมีการเสื่อมถอยเนื่องจากผู้ป่วยมีความ ดันที่ค่อนข้างสูง ด้วย อายุและพฤติกรรมการ ดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ของผู้ป่วย ทำให้มีโอกาส เสี่ยงที่จะเกิด ภาวะแทรกซ้อนตามมา ได้แก่
หัวใจ ส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหนานปริมาณ เลือดเลี้ยงหัวใจลดลงหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักมากขึ้นต้องบีบตัวเพิ่มขึ้นเพื่อต้านแรงดันเลือดใน หลอดเลือดแดงที่เพิ่มขึ้นดังนั้นในระยะแรกกล้ามเนื้อหัวใจจะปรับตัวจากภาวะความดันโลหิตสูงโดยหัวใจ บีบตัวเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถด้านกับแรงต้านทานที่เพิ่มมากขึ้นและมีการขยายตัวทำให้เพิ่มความหนา ของผนังหัวใจห้องล่างซ้ายทําให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายโต หากยังไม่ได้รับการรักษาและเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจ ไม่สามารถขยายตัวได้อีกจะทำให้การทำงานของหัวใจไม่มี ประสิทธิภาพเกิดภาวะหัวใจวายกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว และเสียชีวิตได้
ไต ระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรังมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตหนา ตัวและแข็งตัวขึ้นหลอดเลือดตีบแคบลงส่งผลให้หลอดเลือดแดงเสื่อมจากการไหลเวียนของปริมาณ เลือดไปเลี้ยงไตน้อยลงประสิทธิภาพการกรองของเสียลดลงและทำให้เกิดการคั่งของเสียไตเสื่อมสภาพ และเสียหน้าที่เกิดภาวะไตวายและมีโอกาสเสียชีวิตได้
สมอง ความดันโลหิตสูงจะทำให้ผนังหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองมีลักษณะหนาตัวและแข็งตัว ภายในหลอดเลือดตีบแคบรูของหลอดเลือดแดงแคบลงทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงและ ขาดเลือดไปเลี้ยงส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราวผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจึงมี โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ทำให้มีผลต่อระบบประสาทการรับรู้ความทรงจำ และอาจรุนแรงถึงชีวิต
ตา ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรงและเรื้อรังจะทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดที่ตาหนาตัวขึ้นมีแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงตา ตีบลงหลอดเลือดฝอยตีบแคบอย่างรวดเร็วมีการหดเกร็งเฉพาะที่อาจมีเลือดออกที่จอตาทำให้มีการบวมของ จอภาพ นัยย์ตาหรือจอประสาทตาบวม (papilledema) ทำให้การมองเห็นลดลงมีจุดบอดบางจุดที่ลาน ยา (scotomatis) ตามัวและมีโอกาสตาบอดได้
หลอดเลือดในร่างกาย ความดันโลหิตสูงจากแรงด้านหลอดเลือดส่วนปลายเพิ่มขึ้นผนังหลอดเลือดหนาตัวจากเซลล์กล้ามเนื้อ เรียบถูกกระตุ้นให้เจริญเพิ่มขึ้นหรืออาจเกิดจากมีไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแดง แข็งตัว (artherosclerosis) มีการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือดหนาและตีบแคบการไหลเวียนเลือดไป เลี้ยงสมองหัวใจไตและตาลดลงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะดังกล่าวตามมาได้แก่โรคหัวใจและ หลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและไตวายเป็นต้น จะเห็นได้ว่า ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง ซึ่งมีผลต่ออวัยวะ เป้าหมาย ที่สำคัญต่างๆ ของร่างกายดังนั้นการรักษาและการควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในภาวะปกติ จึงเป็นที่จะสำคัญอย่างยิ่งของผู้ป่วยที่อุบัติการณ์การวัดและความพิการที่อาจเกิดขึ้นได้
วัตถุประสงค์ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูง
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่มีหรือลดอาการแสดงต่างๆ ได้แก่ ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอยโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนในช่วงเช้า ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้อาเจียน ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาชาอ่อนแรง เหนื่อยหอบขณะทำงานหรือขณะนอนราบ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจาก ความดันโลหิตสูง ได้แก่ 1.1 หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ 1.2 ไต อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง มีอาการขาบวม ซีด ผิวแห้ง 1.3 สมอง อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการที่แสดงออก คือ ปวดศีรษะ ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หรืออาจมีภาวะสมองเสื่อม 1.4 ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา ได้แก่ พร่ามัว ตาบวม มีจุดดำบนลานสายตา
แนะนำให้ผู้ป่วยประเมินวัดความดันตนเองหลังตื่นนอน ภายใน 1 ชม. และก่อนเข้านอน ภายใน 1 ชม. โดยวัดความดันโลหิตในที่เงียบสงบ นั่งวัดเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังและไม่นั่งไขว่ห้าง และนั่งพัก 1 - 2 นาทีก่อนวัดความดันโลหิต ประเมินค่าความดันโลหิต ค่าปกติจะต้องไม่เกิน 140/90 มม.ปรอท
ระหว่างวัดความดันโลหิต ไม่พูดหรือออกเสียงใด ๆ
ดูแลให้ได้ยาครบถ้วนและตรงเวลาตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต
และแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการข้างเคียงของยา
3.1 กลุ่มยาขับปัสสาวะ
ได้แก่ ยาไฮโดรคลอโรธัยอาไซด์ ยาฟูโรซีมายด์ ยาอะมิโลรายด์ เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยการขับเกลือออกจากร่างกาย ทำให้ปัสสาวะบ่อย ผลข้างเคียง คือ อาจจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ระดับโปแตสเซียมในเลือดผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง
3.2กลุ่มยาปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์ ได้แก่ ยาไนเฟดิปีน ยาแอมโลดิปีน เป็นต้น จากการปิดกั้นการไหลของแคลเซียมเข้าสู่เซลล์นี้เอง จะเป็นผลให้กล้ามเนื้อที่หลอดเลือดคลายตัวและนำไปสู่การขยายตัวของหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลงตามมา ผลข้างเคียง ได้แก่ ใจสั่น ปวดศีรษะ ข้อเท้าบวม ท้องผูก
3.3 กลุ่มยายับยั้งการสร้างแอนจิโอแทนซิน เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเอซีอีไอ (ACEI) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin converting enzyme ได้แก่ ยาอินาลาพริล ยาแคปโตพริล ยาไลสิโนพริล เป็นต้น ยาจะออกฤทธิ์โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สร้างแอนจิโอแทนซิน (angiotensin) ซึ่งมีผลทำให้หลอดเลือดหดตัว ดังนั้นเมื่อไม่มีแอนจิโอแทนซิน การหดตัวของหลอดเลือดจึงเกิดน้อยลง ทำให้ความดันโลหิตลดลงได้ ผลข้างเคียง ได้แก่ ไอแห้งๆ เกิดภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง
3.4 กลุ่มยาขัดขวางการจับตัวรับแอนจิโอแทนซิน เรียกย่อๆ ว่ากลุ่มยาเออาบี (#ARB) ซึ่งย่อมาจาก angiotensin receptor blocker ได้แก่ ยาลอซาร์แทน ยาเออบิซาร์แทน ยาวาลซาร์แทน ยาแคนดิซาร์แทน เป็นต้น ผลของการขัดขวางไม่ให้แอนจิโอแทนซินจับกับตัวรับนี้จะทำให้หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง
3.5กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า ได้แก่ ยาอะทีโนลอล ยาโปรปราโนลอล ยาเมโตโปรลอล เป็นต้น ยาจะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้หัวใจเต้นช้าลง ชีพจรช้าลง แล้วเกิดความดันโลหิตลดลงตามมา ผลข้างเคียง ที่พบบ่อยได้แก่ อาการอ่อนเพลียซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงแรกที่รับประทานยาแต่อาการจะลดลงเมื่อรับประทานยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ อาการซึมเศร้า ฝันร้าย เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ยากลุ่มนี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง เพราะอาจทำให้อาการของโรคปอดดังกล่าวกำเริบได้ง่ายขึ้น
3.6กลุ่มยาปิดกั้นแอลฟ่า ได้แก่ ยาปราโซสิน ยาด๊อกซาโสซิน เป็นต้น ยากลุ่มนี้จะปิดกั้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดขยายตัว และเป็นผลให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียง ที่พบบ่อยของยากลุ่มนี้คือ ความดันต่ำเวลาเปลี่ยนท่าซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหน้ามืดได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ควรระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างทันทีทันใดเช่น หากต้องการลุกขึ้นยืนเมื่ออยู่ในท่านอนมานานๆ ควรเปลี่ยนเป็นท่านั่งก่อน แทนที่จะลุกขึ้นยืนจากท่านอนทันที อาการข้างเคียง อื่นๆ ที่อาจพบได้แก่ ปวดศีรษะ ใจสั่น อ่อนแรง
3.7 กลุ่มยาขยายเส้นเลือดแดง ได้แก่ ยาไฮดราลาซีน (hydralazine) ยาไมนอกซีดิล (minoxidil) เป็นต้น ยามีฤทธิ์ขยายเส้นเลือดโดยตรง ทำให้ความดันโลหิตลดลง ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้ ได้แก่ หน้าแดง ใจสั่น ปวดหัว เป็นต้น
แนะนำอาหารที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรรับประทาน ได้แก่ - อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น เต้าหู้ ผักใบเขียว - นมพร่องมันเยน เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ - ผักสดทุกชนิด เช่น กะหล่ำปลี ผักกาดขาว - ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันงา น้ำมันดอกคำฝอยและแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหวาน มัน เค็ม ได้แก่ - อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู - อาหารหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม - อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม - ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู กะทิ
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใยมากขึ้นและดื่มน้ำมากๆอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันการเบ่งถ่ายอุจจาระจากอาการท้องผูก ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนะนำผู้ป่วยให้ระมัดระวังการเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะหากเปลี่ยนท่าเร็วอาจทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลงและเกิดอุบัติเหตุได้ ได้แก่ - หลังตื่นนอนให้นั่งพักสัก 3-5 นาที ก่อนจะลุกไปทำกิจกรรมอื่น - เมื่อนั่งนานๆแล้วจะลุกยืน เมื่อยืนขึ้นให้ยืนอยู่กับที่ นับ 1-10 ก่อนเดิน
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย ที่เหมาะกับตนเอง ปลอดภัยและช่วยลดความดันโลหิตสูง
8.1 หายใจ เข้า-ออก เล็กและยาว 5-10 ครั้ง ก่อนเริ่มออกกำาลังกายในท่าอื่น เผื่อไม่ให้เผลอกลั้นหายใจระหว่างออกกำลังกาย และยังช่วย พัฒนาเรื่องระบบไหลเวียนเลือด
8.2 ท่าเดินย่ำเท้าอยู่กับที่ 20-30 นาที ช่วยระบบการไหลเวียนเลือด ให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย โดยไม่หนักและหักโหม ทำให้ผนังหลอดเลือดของคุณแข็งแรง คำเตือน: ไม่เผลอกลั้นหายใจในระหว่างเดินย้ำเท่า
8.3 ท่าแกว่งแขน 300-500 ครั้ง เป็นท่าออกกำาลังที่จะได้ทั้งหลัง ไหล่ อก แกนลำตัว เป็นท่าผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนไปตามสภาพร่างกายของผู้ป่วยได้ แกว่งแขนไปข้างหลังและแรงมากเท่าไหร่แกนสาตัวจะทํางานหนักมากขึ้น เสมือนผู้ป่วยได้ออกกำลังกายหนัก ๆ แต่อยู่ในท่ายืนแกว่งแขนนี้ เท่านั้น
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์/งดการสูบบุหรี่หรือกรใช้สารเสพติดต่างๆ เป็นวิธีการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
แนะนำแนวทางวิธีการจัดการกับความเครียดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อลดและป้องกันความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น
แนะนำให้ผู้ป่วยไปเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี และไปโรงพยาบาลตามแพทย์นัด
กิจกรรมผู้สูงอายุ
หมั่นสังเกตอาการของตนเอง ที่อาจแสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่
1.1 หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการขาบวม
1.2 ไต อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง มีอาการขาบวม ซีด ผิวแห้ง
1.3 สมอง อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการที่แสดงออก คือ ปวดศีรษะ ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หรืออาจมีภาวะสมองเสื่อม
1.4 ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา ได้แก่ พร่ามัว ตาบวม มีจุดดำบนลานสายตา
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารดังต่อไปนี้
อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู
อาหารหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม
อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม
ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู กะทิ
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การออกกำลังกายที่หักโหม และความเครียด เพราะอาจส่งผลให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นได้
กิจกรรมญาติ
หมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยที่อาจแสดงถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง ได้แก่
1.1 หัวใจ อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว มีอาการหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ มีอาการขาบวม
1.2 ไต อาจเป็นโรคไตเรื้อรัง มีอาการขาบวม ซีด ผิวแห้ง
1.3 สมอง อาจเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการที่แสดงออก คือ ปวดศีรษะ ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก หรืออาจมีภาวะสมองเสื่อม
1.4 ตา อาจเกิดความผิดปกติที่จอประสาทตา ได้แก่ พร่ามัว ตาบวม มีจุดดำบนลานสายตา
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารดังต่อไปนี้
อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารรสเค็ม ควรงดการเติมเครื่องปรุงรส เช่น ผงชูรส ผงฟู
อาหารหมักดอง เช่น เต้าเจี้ยว กะปิ ปลาเค็ม
อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน หมูแฮม
ไขมันจากสัตว์และพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าวน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู กะทิ
กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกกำลัง เช่น ออกกำลังกายเป็นเพื่อนผู้สูงอายุ
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาล
สังเกตอาการความเครียดของผู้ป่วย หากิจกรรมยามว่างทำร่วมกับผู้ป่วยเพื่อคลายเครียด
2.ไม่สุขสบายและนอนไม่หลับเนื่องจากมีอาการปวดคอ หลัง เข่า จากการมีน้ำหนักมากและทำงานหนัก
S: case 3 ผู้สูงอายุบอกว่า”มีอาการปวดคอ หลังและเข่า”
case 3 ผู้สูงอายุบอกว่า”ก่อนนอนจะมีอาการปวดเข่ม ทำให้นอนไม่ได้”
O: แบบประเมินความเจ็บปวดด้วยตัวเลข (Numerical Scale, NRS): 10 ปวดมากที่สุด
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
สาเหตุของอาการปวดหลัง ปวดคอ มาจากทั้งปัจจัยภายในร่างกายของผู้ป่วยเอง และปัจจัยภายนอก โดยปัจจัยภายในได้แก่ ความผิดปกติทางพยาธิสภาพของกระดูกสันหลัง อาทิ หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังคดงอผิดปกติ หรือมีเนื้องอกที่กระดูกสันหลัง ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ กิจกรรมทางร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอก ยังอาจเกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การนั่งอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ การนั่งหลังไม่พิงพนัก หลังงอ ก้มคอทำงานเป็นเวลานาน กิจกรรมเหล่านี้สร้างความเครียดให้กับกระดูกหลังและคอ เมื่อเกิดขึ้นซ้ำ ๆก็ทำให้กระดูกเสื่อมลง จนมีอาการปวดหลัง ปวดคอเรื้อรังในที่สุด
การเปลี่ยนแปลงตามวัยของผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกและข้อมีการเสื่อมสลายและถูกทำลายตามอายุที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ การสูญเสียแคลเซียมของกระดูกทำให้กระดูกบางลง ความสามารถในการรับแรงกระแทกลดลง เนื่องจากปริมาณน้ำไขข้อกระดูกลดลง กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่างๆ บางลง
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and tear theory) การบาดเจ็บสะสมจากการใช้งานเป็นเวลาและ ต่อเนื่องของอวัยวะในร่างกาย เมื่ออายุมากขึ้นมีผลให้ระบบต่างๆในร่างกายทางานเสื่อมลง เมื่อมีการใช้งานมากๆก็จะเกิดความผิดปกติขึ้น แต่มีบางเซลล์สามารถที่จะซ่อมแซมตัวเองและใช้งานต่อไปได้โดย กระบวนการสร้างใหม่เพื่อทดแทน เช่น เซลล์ของผิวหนัง เซลล์เยื่อบุทางเดิน อาหาร เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เป็นต้น แต่มีเซลล์บางชนิดไม่สามารถแบ่งตัวได้อีก ได้แก่ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเซลล์ประสาท เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ก็จะเสื่อมลงและตาย ทําให้การทํางานของอวัยวะเหล่านี้ลดลง
เป้าประสงค์: ผู้สูงอายุสุขสบายมีอาการปวดลดลง
เกณฑ์การประเมิน: 1. มีอาการปวดคอ หลัง เข่าลดลงหรือไม่ปวดเลย 2. คะแนนแบบประเมินความเจ็บปวดด้วยตัวเลข<10 หรือ <5
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อมและประเมินการรุนแรงของความเจ็บปวดด้วยแบบประเมินความปวด
แนะนำการเคลื่อนไหวหรือการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างเหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการปวดหรือไม่ให้เกิดความปวด อธิบายถึงอิริยาบถต่างๆที่ไม่เหมาะสมได้แก่ การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยอง ๆ ควรหลีกเลี่ยงหรือปรับให้เหมาะสมกับการดําเนินชีวิตประจําวัน ไม่นั่งในท่าเดิมๆนานจนเกินไป
แนะนำการประคบร้อนเพื่อลดอาการปวดและเกร็งของกล้ามเนื้อรอบเข่าหากมีอาการปวดรุนแรงหรือปวดต่อเนื่องไม่หาย การประคบร้อน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในบริเวณที่เกิดอาการเจ็บปวด ตึง หรือเกร็ง เช่นกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หรือเส้นเอ็น การประคบร้อนจะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวให้ดีขึ้นโดยการช่วยให้ผ่อนคลาย เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อ หรือฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่ได้รับความเสียหาย หลักการประคอบร้อน คือ ใช้เจลสำหรับประคบร้อนแบบสำเร็จ, กระเป๋าน้ำร้อน หรือผ้าขนหนูชุบน้ำร้อน โดยให้อุณหภูมิไม่เกิน 45 องศาเซลเซียส แนะนำให้ทดสอบความร้อนก่อนประคบ ไม่ควรให้ร้อนมากจนเกินไป ใช้ผ้ารองตรงตำแหน่งที่จะประคบก่อน ไม่ประคบนานเกินไป โดยประคบครั้งละ 15-20 นาที วันละ 2-3 ครั้งและไม่ประคบร้อนหากมีบาดแผลเปิดหรือมีเลือดออก เพราะจะทำให้ยิ่งอักเสบมากขึ้น
แนะนำท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเข่าและกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้า ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ได้แก่ ท่าเหยียดเข่า ท่าเขย่งฝ่าเท้า ท่างอเข่า ท่าเหยียดขา ท่าเหยียดสะโพก และท่างอสะโพก
แนะนำวิธีเบี่ยงเบนความสนใจจากเรื่องที่ทำให้เกิดการนอนหลับ จัดสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ห้องนอนให้เงียบ เพราะเสียงจะกระตุ้นให้ตื่นตัว ขัดขวางการนอนปรับอุณหภูมิห้องให้สบายไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป การทำห้องนอนให้เงียบ เช่น ปิตประตูห้องนอน ลดเสียงโทรศัพท์ให้เบาลง พูดค่อย ๆ ปรับแสงให้ลดลง
6.แนะนำการส่งเสริมการนอนหลับ โดยให้ข้อมูลเรื่องหลัก 10 ประการ เพื่อสุขอนามัยการนอนหลับที่ดี นอนให้เป็นเวลาในแต่ละวัน นอน 22.00 ตื่น 06.00 น
กิจกรรมผู้สูงอายุ
เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนท่าทาง อิริยาบถอย่างเหมาะสม ไม่นั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดอาการปวด ได้แก่ การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิ นั่งยองๆ ควรหลีกเลี่ยงหรือปรับให้เหมาะสม ไม่นั่งในท่าเดิมนานๆ
เมื่อมีอาการปวดรุนแรงหรือปวดต่อเนื่องไม่หาย อาจใช้การประคบร้อนตามวิธีการที่แนะนำไปช่วยเพื่อบรรเทาอาการให้ดีขึ้น
ออกกำลังกายด้ ด้วยท่าทางที่เหมาะสมตามคำแนะนำ
นอนหลับครบ 8 ชั่วโมงต่อวัน
ภาวะโภชนาการการเกินเนื่องจากไม่มีการออกกำลังกาย
S: ผู้สูงอายุบอกว่า”ไม่ได้ออกกำลังกายเลย ไม่มีเวลา”
O: น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ส่วนสูง 150 เซนติเมตร
BMI = 24 อยู่ในเกณฑ์อ้วนระดับ 1
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ หมายถึง กิจกรรมที่ผู้สูงอายุปฏิบัติแล้วก่อเกิดความ แข็งแรงต่อร่างกายกิจกรรมเหล่านั้นต้องมีการวางแผนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน เช่น การ บริหารร่างกายด้วยท่าทางที่เป็นโปรแกรมมาตรฐาน การวิ่งจ็อกกิ่ง การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น และต้องทำกิจกรรมนั้นมากกว่า 30 นาที/ครั้ง โดยอาจมีการหยุดพักแต่พอเริ่มทำกิจกรรม ต่อให้นับเวลาต่อได้จนครบ 30 นาที ต้องปฏิบัติกิจกรรมตั้งแต่ 3 ครั้ง/สัปดาห์ขึ้นไป การออกกำลัง กายในผู้สูงอายุต้องเป็นไปโดยอิสระต้องงดการแข่งขันทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน กับผู้สูงอายุรายอื่น การแข่งขันกับตนเองและการแข่งขันกับเวลาที่มีจำกัด เพราะพฤติกรรมที่เกิด จากการแข่งขันจะไม่ก่อให้เกิดผลดีกับสุขภาพของผู้สูงอายุ นอกจากนี้อาจเกิดอุบัติเหตุและ บาดเจ็บได้ง่ายขึ้น (ชัชวาล วงค์สารี และจริยา กฤติยาวรรณ, 2561)
การออกกำลังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ เพราะทำให้เกิดความเพลิดเพลินร่างกายได้ผ่อนคลายและส่งผลต่อสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายที่จะส่งผลดีต่อสุขภาพนั้นจำเป็นต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง สำหรับผู้สูงอายุจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมให้ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง เนื่องจาก ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย
เป้าประสงค์: ผู้สูงอายุมีภาวะโภชนาการเหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน: 1. BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่มากกว่า 23 2. ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
กิจกรรมการพยาบาล
แนะนำการออกกำลังกายที่บ้าน ผู้สูงอายุควรออกกำลังกาย สัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 3ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที โดยแบ่งเป็นช่วงอบอุ่นร่างกาย ซึ่งรวมถึงการเหยียด ยืด กล้ามเนื้อประมาณ 5-10นาที ช่วงออกกำลังกาย ไม่ต่ำกว่า 12 นาที และช่วงฟื้นร่างกายสู่สภาพปกติประมาณ 5-10 นาที เวลาในแต่ละช่วงต่างๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม
แนะนำท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ โดยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุต้องยึดหลักของความปลอดภัยต่อร่างกายและการเสริมสร้างความแข็งแรงของอวัยวะหรือร่างกายในส่วนที่ต้องการ โดยจะเน้นที่การเพิ่มความมั่นคงในการยืน/เดิน เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่และการเดิน ใช้การฝึกการทรงตัว ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อเข่าและกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้า โดยท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้แก่ 1. ท่าเหยียดเข่า (Knee Extension) : เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง จากนั้นค่อย ๆ เหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับตั้งปลายเท้าค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ก่อนจะผ่อนปลายเท้าพร้อมกับลดขากลับสู่ท่าเดิมทำสลับไปมาทั้งสองข้าง เพื่อยืดเส้นและข้อ
2.ท่าเขย่งฝ่าเท้า (Plantar Flexion) : หาเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ใช้มือทั้งสองจับอุปกรณ์พร้อมกับยืนให้หลังตรง ค่อย ๆ เขย่งปลายเท้าอย่างช้า ๆ ให้สูงสุดเท่าที่จะสูงได้ โดยค้างทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อยลดส้นเท้าลง ทำสลับไปมา
3.ท่างอเข่า (Knee Flexion) : ยืดหลังให้ตรงเหมือนท่าเขย่งฝ่าเท้า จากนั้นค่อย ๆ งอเข่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ค้างไว้ 3 วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง
4.ท่าเหยียดขา (Side Leg Raise) : ยืนตรงชิดเก้าอี้ จากนั้นให้แยกเท้าประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ต่อด้วยค่อย ๆ เหยียดขาข้างขวาไปข้างหน้า ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อย ๆ ลดขาลง กลับสู่ท่าเดิม ให้ทำสลับกันทั้งขาซ้าย ขวา
5.ท่าเหยียดขาสะโพก (Hip Extension) : ให้ขยับออกมายืนห่างจากเก้าอี้ ประมาณ 1 ฟุต แล้วจึงยกขาขวาไปข้างหลัง โดยที่ขาอยู่ในลักษณะตรง ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จากนั้นค่อยๆ ทำสลับกับขาข้างซ้ายไปมา
6.ท่างอสะโพก (Hip Flexion) : ยืนตรงสองมือจับเก้าอี้ไว้เหมือนเดิม จากนั้นให้ค่อยๆ งอเข่าข้างใดข้างหนึ่งมาหาหน้าอก โดยที่เอวยังอยู่ในลักษณะตั้งตรง ค้างไว้สักประมาณ 3 วินาที แล้วค่อยลดหัวเข่าลง ทำสลับไปทั้งสองข้าง
บอกประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญและออกกำลังกาย ดังนี้
1.กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น ลดอัตราการเต้นของหัวใจทั้งในขณะพักและออกกำลังกายทำให้ไม่เหนื่อยง่าย
2.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของปอดให้ดีขึ้น
3.กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรงขึ้น
4.ช่วยลดอาการเจ็บปวดเมื่อยล้า มีอารมณ์ดี จิตแจ่มใส สบาย ไม่เครียด ทำให้ผู้สูงอายุสนุกสนานเพลิดเพลิน และหากมีการออกกำลังกายร่วมกับบุคคลอื่น จะช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นมากขึ้นลดภาวะซึมเศร้าและเพิ่มความสามารถในการจำได้ดีขึ้น
กิจกรรมผู้สูงอายุ
ออกกำลังกายออกกำลังกายสัปดาห์ละไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที ในท่าทางที่เหมาะสมตามคำแนะนำ
ตระหนัตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกายและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่รุนแรงปานกลาง
S: ผ้สูงอายุบอกว่า เมื่อปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำหากเข้าไม่ทันจะมีปัสสาวะราดเล็กน้อย
O: แบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุ : มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในระดับรุนแรงน้อย
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หมายถึง “การมีปัสสาวะรั่วไหลโดยไม่ได้ตั้งใจ” เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ในวัยผู้สูงอายุ สาเหตุของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่มีทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ จากกล้ามเนื้อพื้นเชิงกรานไม่แข็งแรง โรคทางระบบประสาท การใช้ยาบางตัว การติดเชื้อในระบบทางเดิน ปัสสาวะ ภาวะท้องผูก ความเครียด ทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ทางด้านร่างกาย เช่น ผิวหนังเกิดการ ระคายเคือง ซึ่งอาจนำให้เกิดแผลกดทับตามมาได้และเกิดผลกระทบด้านจิตใจ อับอาย จำกัดการเคลื่อนไหว เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านไม่ออกสังคม ซึมเศร้า และขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตลดลง (คัทรียา รัตนวิมล, 2552)
ปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ส่งผลกระทบกับ ผู้สูงอายุหลายอย่างทั้งทางด้านร่างกาย อันเป็นปัจจัยชักนำ ให้ผิวหนังเกิดผื่นคัน เป็นแผล แห้งแตก ติดเชื้อ และเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะได้ (Fader, Oneill, Cook & Brooks, 2003) นอกจากนี้ยังส่งผลต่อจิตใจ และสังคม จากอาการที่ก่อความรำคาญ รบกวนความผาสุก ทำให้ทุกข์ทรมาน รู้สึกอับอาย ไม่มั่นใจ ไม่ปลอดภัย รู้สึกต้องพึ่งพา เบื่อและซึมเศร้า รู้สึกสูญเสียความมีคุณค่าในตนเอง เป็นอุปสรรคในการมีเพศสัมพันธ์ และการดูแลด้านสุขอนามัย ทั้งยังมีผลต่อบุคคลข้างเคียงและครอบครัวทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลลดลงและมีคุณภาพชีวิตลดลง (Coffey, Carthy, Cormack & Wright, 2007)
เป้าประสงค์: เพื่อลดจำนวนครั้งของการมีปัสสาวะราด
เกณฑ์การประเมิน: 1. มีความบ่อยของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่น้อยกว่าเดือนละ 2 ครั้ง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้สูงอายุและประเมินถึงปัญหาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ว่าอยู่ในระดับใด
จัดตารางการขับถ่ายปัสสาวะ ให้ผู้สูงอายุปัสสาวะตรงเวลา (timed voiding) เพื่อเรียนรู้นิสัยการปัสสาวะ โดยกำหนดเวลาเข้าห้องน้ำ มักจะกำหนดทุก 2 ชั่วโมง ใช้สำหรับกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เล็ดเวลาไอจามหรือชนิดที่เกิดจากความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ปัสสาวะเล็ดแบบกลั้นไม่ทัน ปัสสาวะเล็ดเพราะขีดจำกัดของร่างกายและปัสสาวะไหลท้น
ส่งเสริมให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โดยแนะนำให้ดื่มน้ำให้มากกว่าวันละ 2,000 ml โดยอาจแบ่งใส่ขวด ขวดละ 500-600 ml 4 ขวด แล้วค่อยๆดื่มให้หมดภายใน 1 วัน
แนะนำเรื่องการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างน้อยวันละ10-20 ครั้ง โดย วิธีการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน (pelvic floor muscle exercise or Kegel exercise) ใช้ในผู้ที่มีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จากการเพิ่มแรงดันในช่องท้อง หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่แบบกลั้นไม่ทัน การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน จะลดการเกิดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เพราะเป็นการเพิ่มแรงต้านทานของท่อปัสสาวะให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น การปิดของหูรูดท่อปัสสาวะดีขึ้นและกล้ามเนื้อที่พยุงอวัยวะใน อุ้งเชิงกรานแข็งแรงขึ้น ซึ่งวิธีการนี้ต้องเน้นที่การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่ถูกต้อง ดังนี้
ท่าที่ 1) ให้ผู้สูงอายุนั่งหรือนอนก็ได้ ให้ทำการ ขมิบก้น ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อด้านหลัง (posterior
muscle) ของ pelvic muscle แข็งแรงขึ้น
ท่าที่ 2) ให้ผู้สูงอายุขมิบก้นและช่องคลอดช้าๆ ระหว่างขมิบให้นับ 1-4 ช้า ๆ แล้วคลายกล้ามเนื้อ
ลง ท่านี้จะช่วยควบคุมการทำงานของ pelvic muscle ทำให้ หูรูดคลายตัวลงขณะถ่ายปัสสาวะ
ท่าที่ 3) จัดท่าให้ผู้สูงอายุนอนหงายกับพื้นราบ ให้ชันเข่าสองข้างขึ้นให้ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
โดยให้มีความรู้สึกว่ากล้ามเนื้อยกห่างจากเก้าอี้หรือพื้น ข้อควรระวังคือขณะที่ขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ไม่ควรเกร็งกล้ามเหน้าท้อง กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อขาและไม่ควรกลั้นหายใจเพราะจะเป็นการเพิ่มความดันต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
มีโอกาสเกิดความเครียดเพิ่มขึ้นเนื่องจากการจัดการความเครียดไม่เหมาะสม
S: ผู้สูงอายุเล่าว่าตนมีความเครียดเกี่ยวกับสถานการณ์การเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน จนบางครั้งต้องยืมเงินจากเพื่อนร่วมงานสามีมาใช้จ่ายก่อน
O: ผลการประเมินแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต ST-5 ได้ 2 คะแนน แปลผลว่า มีภาวะเครียดเล็กน้อย
การวิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
ความเครียดตามแนวคิดตะวันตก คือการสูญเสียสมดุลทั้งร่างกายและจิตใจ เมื่อเผชิญกับสิ่งเร้าหรือเหตุการณ์ในชีวิต หากบุคคลสามารถปรับตัวหรือเผชิญกับสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ บุคคลนั้นก็จะกลับคืนสู่ภาวะสมดุลอีกครั้งทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ความเครียดตามแนวคิดตะวันออก คือความเครียดเกิดจากความทุกข์ที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก และการปรุงแต่งภายใจจิตใจและความคิดของบุคคล ก่อให้เกิดความไม่สบายใจ ขาดความสุขและความสงบในจิตใจ
ทฤษฎีความเครียดและการปรับตัว(Stress Adaptation Theory) เชื่อว่า ความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มีผลทำให้ Cell ตาย บุคคลเมื่อเผชิญกับความเครียดบ่อยๆ จะทำให้เข้าสู่วัยชราได้เร็วขึ้น เมื่อคนอยู่ในภาวะเครียดร่างกายจะตอบสนอง โดยไฮโปทาลามัส และพิทูอิตารี่ ถูกกระตุ้นให้หลั่ง Adreno corticotropic Hormone ไปกระตุ้น Adrenal Cortex และ Adrenal Medulla ให้หลั่งสาร Cortisol Aldosterone และ Epinephrine ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดสูงขึ้น ช่วยให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ในภาวะเครียดได้ แต่ถ้าร่างกายต้องเผชิญกับภาวะนี้มากๆ อาจเสื่อมและทำงานผิดปกติได้
(ภานุ อดกลั้น, 2551)
เป้าประสงค์ : ภาวะเครียดลดลงหรือไม่เกิดภาวะเครียด
เกณฑ์การประเมิน : 1.ไม่มีอาการของภาวะเครียด ได้แก่ อาการหน้ามืด, เป็นลม, เจ็บหน้าอก, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, หลอดเลือดอุดตัน, โรคอ้วน, แผลในกระเพาะอาหาร
2.ผลการประเมินภาวะเครียดกรมสุขภาพจิต ST-5 ไม่เกิน 4 คะแนน
3.สามารถบอกวิธีการจัดการความเครียดที่เหมาะสมได้ถูกต้อง 2 ใน 4 ข้อ
4.สามารบอกวิธีการจัดการรายและรายจ่ายได้ถูกต้องทั้งหมด 7 ข้อ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความเครียดของผู้สูงอายุ
-การซักประวัติและตรวจร่างกาย ได้แก่ การนอนหลับ การรับประทานอาหาร การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว การเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางเพศ
-แบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต ST-5
การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้ระบายอารมณ์ โดยเทคนิคการสร้างสัมพันธภาพบำบัด เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ระบายความกดดัน ความรู้สึกขับข้องใจที่เกิดขึ้น เป็นการลดระดับความเครียดให้กับผู้สูงอายุ
การปรับสภาพการรับรู้ต่อภาวะความเครียด ประเมินสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความเครียดและสาเหตุของความเครียด และการตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น เนื่องจากในขณะที่มีความเครียดจะมีการรับรู้ต่อสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียดมากเกินกว่าความเป็นจริง
การให้สุขภาพจิตศึกษา
-การตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด ได้แก่ อาการหน้ามืด, เป็นลม, เจ็บหน้าอก, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ, หลอดเลือดอุดตัน, โรคอ้วน, แผลในกระเพาะอาหาร
-แนวทางการจัดการความเครียดและกลยุทธ์ในการจัดการความเครียด เพื่อส่งเสริมการจัดการความเครียดที่เหมาะสม
การผ่อนคลายทางร่างกาย เช่น การหายใจลึกๆ การออกกำลังกาย การนวด การพักผ่อน การรับประทานอาหาร การอาบน้ำอุ่น
การลดความตึงเครียดทางจิตใจ เช่น การสร้างอารมณ์ขัน การคิดใทางบวก การดูภาพยนตร์ การฟังเพลง การหัวเราะ การหายใจลึกๆ การทำสมาธิ การใช้เทคนิคความเงียบ เพื่อหยุดความคิดของตัวเอง ในเรื่องที่ทำให้เครียด หรือวิธีการเฉพาะในการลดความเครียดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
4.1 การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อที่ควรฝึกมี 10 กลุ่มด้วยกัน คือ
1.แขนขวา 2.แขนซ้าย 3.หน้าผาก 4.ตา แก้มและจมูก 5.ขากรรไกร ริมฝีปากและลิ้น
6.คอ 7.อก หลังและไหล่ 8.หน้าท้องและก้น 9.ขาขวา 10.ขาซ้าย
วิธีการฝึกมีดังนี้
นั่งในท่าสบาย - เกร็งกล้ามเนื้อไปทีละกลุ่ม ค้างไว้สัก 10 วินาที แล้วคลายออก จากนั้นก็เกร็งใหม่สลับกันไปประมาณ 10 ครั้ง ค่อยๆ ทำไปจนครบทั้ง 10 กลุ่ม
เริ่มจากการกำมือ และเกร็งแขนทั้งซ้ายขวาแล้วปล่อย
บริเวณหน้าผาก ใช้วิธีเลิกคิ้วให้สูง หรือขมวดคิ้วจนชิดแล้วคลาย
ตา แก้ม และจมูก ใช้วิธีหลับตาปี๋ ย่นจมูกแล้วคลาย
ขากรรไกร ริมฝีปากและลิ้น ใช้วิธีกัดฟัน เม้มปากแน่นและใช้ลิ้นดันเพดานโดยหุบปากไว้แล้วคลาย - คอ โดยการก้มหน้าให้คางจรดคอ เงยหน้าให้มากที่สุดแล้วกลับสู่ท่าปกติ
อก หลัง และไหล่ โดยหายใจเข้าลึกๆ แล้วเกร็งไว้ ยกไหล่ให้สูงที่สุดแล้วคลาย
หน้าท้องและก้น ใช้วิธีแขม่วท้อง ขมิบกันแล้วคลาย
งอนิ้วเท้าเข้าหากัน กระดกปลายเท้าขึ้นสูง เกร็งขาซ้ายและขวาแล้วปล่อย
การฝึกเช่นนี้จะทำให้รับรู้ถึงความเครียดจากการเกร็งกล้ามเนื้อกลุ่มต่างๆ และรู้สึกสบายเมื่อคลายกล้ามเนื้อออกแล้ว ดังนั้น ครั้งต่อไปเมื่อเครียดและกล้ามเนื้อเกร็งจะได้รู้ตัว และรีบผ่อนคลายโดยเร็ว ก็จะช่วยได้มาก
4.2 การฝึกการหายใจ ฝึกการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก เมื่อหายใจเข้า หน้าท้องจะพองออก และเมื่อหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง ซึ่งจะรู้ได้โดยเอามือวางไว้ที่หน้าท้องแล้วคอยสังเกตเวลาหายใจเข้าและหายใจออก หายใจเข้าลึกๆ และช้าๆ กลั้นไว้ชั่วครู่แล้วจึงหายใจออก ลองฝึกเป็นประจำทุกวัน จนสามารถทำได้โดยอัตโนมัติ การหายใจแบบนี้จะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ทำให้สมองแจ่มใส ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ไม่ง่วงเหงาหาวนอน พร้อมเสมอสำหรับภารกิจต่างๆ ในแต่ละวัน
4.3 การทำสมาธิเบื้องต้น เลือกสถานที่ที่เงียบสงบ ไม่มีใครรบกวน เช่น ห้องพระ ห้องนอน ห้องทำงานที่ไม่มีคนพลุกพล่าน หรือมุมสงบในบ้าน นั่งขัดสมาธิ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือชนกันหรือมือขวาทับมือซ้ายตั้งตัวตรง หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ตามแต่จะถนัด กำหนดลมหายใจเข้าออก โดยสังเกตลมที่มากระทบปลายจมูก หรือริมฝีปากบน ให้รู้ว่าขณะนั้นหายใจเข้าหรือออก หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องยุบ หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 1
นับไปเรื่อยๆ จนถึง 5 เริ่มนับใหม่จาก 1-6 แล้วพอ กลับมานับใหม่จาก 1-7 แล้วพอ กลับมานับใหม่จาก 1-8 แล้วพอ กลับมานับใหม่จาก 1-9 แล้วพอ กลับมานับใหม่จาก 1-10 แล้วพอ ย้อนกลับมาเริ่ม 1-5 ใหม่ วนไปเรื่อยๆ ขอเพียงจิตใจจดจ่ออยู่กับลมหายใจเข้าออกเท่านั้น อย่าคิดฟุ้งซ่านเรื่องอื่น เมื่อจิตใจแน่วแน่จะช่วยขจัดความเครียด ความวิตกกังวล ความเศร้าหมอง เกิดปัญญาที่จะคิดแก้ไขปัญหาและเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ในชีวิตได้อย่างมีสติ มีเหตุมีผล และยังช่วยให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นด้วย
4.4 การใช้เทคนิคความเงียบ การจะสยบความวุ่นวายของจิตใจที่ได้ผล คงต้องอาศัยความเงียบเข้าช่วย โดยมีวิธีการดังนี้
เลือกสถานที่ที่สงบเงียบ มีความเป็นส่วนตัว และควรบอกผู้ใกล้ชิดว่าอย่าเพิ่งรบกวนสัก 15 นาที
เลือกเวลาที่เหมาะสม เช่น หลังตื่นนอน เวลาพักกลางวัน ก่อนเข้านอน ฯลฯ
นั่งหรือนอนในท่าที่สบาย ถ้านั่งควรเลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิงศีรษะอย่าไขว่ห้างหรือกอดอก
หลับตา เพื่อตัดสิ่งรบกวนจากภายนอก
หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ
ทำใจให้เป็นสมาธิ โดยท่องคาถาบทสั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมา เช่น พุทโธ พุทโธ หรือจะสวดมนต์บทยาวๆ ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เช่น สวดพระคาถาชินบัญชร 3-5 จบ เป็นต้น
ฝึกครั้งละ 10-15 นาที ทุกวัน วันละ 2 ครั้ง แรกๆ ให้เอานาฬิกามาวางตรงหน้า และลืมตาดูเวลาเป็นระยะๆ เมื่อฝึกบ่อยเข้าจะกะเวลาได้อย่างแม่นยำ ไม่ควรใช้นาฬิกาปลุก เพราะเสียงจากนาฬิกาจะทำให้ตกใจเสียสมาธิ และรู้สึกหงุดหงิดแทนที่จะสงบ (ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์, 2554)
การค้นหาและเพิ่มศักยภาพของแหล่งสนับสนุนทางสังคมในการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีความเครียด เช่น บุคคลในครอบครัว ผู้ดูแลหลัก และเพิ่มศักยภาพของแหล่งสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีความเครียด การดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ
แนวทางการดูแลสุขภาพจิตใจของผู้สูงอายุ
• การให้เกียรติ ยอมรับในการตัดสินใจ ยอมรับบทบาท และให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ เช่น คอยซักถามเรื่องสุขภาพและความเป็นอยู่ ชวนคุย เล่าเรื่องสนุกๆ ให้ท่านฟัง
• หากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำ เป็นสิ่งที่ทำแล้วเพลิดเพลิน สิ่งที่ท่านชอบและสนใจที่จะทำ หมั่นทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว กระตุ้นในผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองเป็นที่ปรึกษาของบุคคลในครอบครัวได้
• อย่าทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าเขาเป็นผู้ที่ทำให้คุณต้องแบกภาระเหนื่อยยากในการดูแล
• หมั่นสังเกตความผิดปกติ และควรสอบถามสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความวิตกกังวล พูดคุย และรับฟัง แลกเปลี่ยนวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน ไม่ควรให้ผู้สูงอายุเก็บปัญหา หรือความไม่สบายใจไว้เพียงลำพัง
• ให้ผู้สูงอายุพบปะกับบุคคลที่ชอบหรือคุ้นเคย เช่น ลูกหลาน เพื่อน หรือเพื่อนบ้าน
• ชวนสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฝึกสมาธิ ปรับเปลี่ยนบรรยากาศให้ผู้สูงอายุรู้สึกสดชื่น หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความกระทบกระเทือน (ภานุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง, มปก)
การเสริมแรงทางบวกและการให้กำลังใจ เพื่อให้เกิดความรู้สึกทางบวกต่อตนเองมากขึ้น มีความมั่นใจต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นสามารถปรับตัวต่อภาวะเครียดได้ ใช้ชีวิตอยู่กับการเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการเผชิญความเครียดที่เหมาะสม (พรพรรณ ศรีโสภา, ธนวรรณ อาษารัฐ, 2560)
7.ส่งเสริมการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อจัดการกับค่าใช้จ่าย สามารถจัดการกับรายรับและรายจ่ายที่ใช้เงินไปกับการซื้อของใช้หรือเสียค่าบริการต่างๆ ซึ่งเมื่อทำเป็นบัญชีแล้วก็จะทำให้เห็นภาพรวมการใช้จ่ายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ รู้ที่มาที่ไปของเงิน และวางแผนการใช้เงินในอนาคตได้
กิจกรรมของผู้ป่วย
1.หมั่นสังเกตอาการของตน ความผิดปกติที่เกิดจากภาวะเครียด
นอนหลับยาก ฝันร้าย ไม่สุขสบายขณะนอนหลับ
เบื่ออาหาร ความอยากอาหารลดลง
น้ำหนักตัวลดลงอยากรวดเร็ว
ไม่มีความต้องการทางเพศ
2.จัดการความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง
การฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ
การฝึกหายใจ
การทำสมาธิเบื้องต้น
การใช้เทคนิคความเงียบ
3.ทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อวางแผนการใช้เงิน
กิจกรรมของญาติหรือผู้ดูแล
1.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ ความผิดปกติจากความเครียด
2.ดูแลผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด และให้กำลังใจผู้สูงอายุในการเผชิญความเครียด
3.ให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้สูงอายุตามที่สามารถช่วยได้
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะปลายประสาทอักเสบเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตน
ข้อมูลสนับสนุน
S :
ผู้ป่วยบอกว่าเคยเข้ารับการรักษาโรคปลายประสาทอักเสบ และปัจจุบันยังมีปัญหาเรื่องการรับรสเค็มที่ไม่แน่นอน
ดื่มสุราเมื่อไปงานสังสรรค์ ปีละ 2 ครั้ง
O : -
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy) เป็นภาวะหนึ่งของเส้นประสาท ซึ่งทำหน้าที่รับส่งคำสั่งจากสมองและไขสันหลังไปยังอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหายหรือเกิดโรคบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการ อ่อนแรง ปวดและชาตามมือและเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
สาเหตุของปลายประสาทอักเสบนั้นเกิดขึ้นได้จากโรคหรือภาวะหลายประการ ได้แก่
โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดปลายประสาทอักเสบ
เกิดบาดแผลหรือการกดทับที่เส้นประสาท เช่น อุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะ หกล้ม หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ใส่เฝือก ใช้ไม้ค้ำ หรือการทำท่าทางซ้ำ ๆ เช่น พิมพ์งานมาก ๆ
โรคทางภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โรคโจเกรน (Sjogren's Syndrome) ลูปัส (Lupus) โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) กลุ่มโรค โรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barre Syndrome) โรคเส้นประสาทอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammatory Demyelinating Polyneuropathy: CIPD) และการอักเสบของผนังหลอดเลือด (Necrotizing Vasculitis)
ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรค Charcot-Marie-Tooth ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาททาง พันธุกรรม
การติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด รวมไปถึงโรคไลม์ (Lyme Disease) โรคงูสวัด การติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) ไวรัสตับอักเสบซี โรคคอตีบ ทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบได้ทั้งสิ้น
สัมผัสกับสารพิษ การสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษหรือโลหะหนักอาจทำให้ปลายประสาทอักเสบได้
การใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะผู้ที่รักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด (Chemotherapy) มีโอกาส เกิดปลายประสาทอักเสบได้
การติดสุรา การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ดีหรือขาดโภชนาการที่ดีของผู้ที่ติดสุรา อาจทำให้ ร่างกายขาดวิตามิน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ปลายประสาทอักเสบได้
เนื้องอก เนื้องอกและมะเร็งอาจเกิดขึ้นที่เส้นประสาทหรือกดทบเส้นประสาทได้ นอกจากนี้ มะเร็ง บางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองภูมิคุ้มกันร่างกายสามารถทำให้เกิดโรคเส้นประสาทหลายเส้น (Polyneuropathy) ซึ่งหมายถึงโรคของระบบประสาทที่เกิดจากมะเร็ง (Paraneoplastic Syndrome)
การขาดวิตามิน ได้แก่ วิตามินบี 1 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามินอี และไนอาซิน เป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้เกิดปลายประสาทอักเสบหรือสุขภาพของระบบประสาทผิดปกติได้
ความผิดปกติของไขกระดูก ซึ่งรวมไปถึงโรคเส้นประสาทที่เกิดจากการสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติ โรคมะเร็งกระดูก มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคอะไมลอยด์โดซิส (Amyloidosis)
โรคอื่น ๆ ได้แก่ โรคไต โรคตับ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
อาการปลายประสาทอักเสบ มีอาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีอาการเหน็บและชาตามมือและเท้า มีอาการแสบ หรือเจ็บแปลบบริเวณที่ได้รับผลกระทบ กล้ามเนื้ออ่อนแรงโดยเฉพาะที่เท้า เสียการทรงตัวและการประสานงานของอวัยวะในร่างกาย อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น ความดันโลหิตต่ำ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ท้องผูก อาหารย่อยยาก เหงื่อออกมากกว่าปกติ
ในผู้สูงอายุนั้นร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงตามวัย การเกิดกระบวนการสูงอายุเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ประกอบไปด้วยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกร่างกาย ปัจจัยภายใน ได้แก่ พันธุกรรม ภาวะสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างของเซลล์ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อาหาร สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา
ผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท คือ การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลง ทำให้เกิดการฝ่อของเนื้อสมอง และน้ำหนังสมองจะลดลง 2-3 กรัมต่อปี (Miller, 2018) เซลล์สมองจะลดน้อยลงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วน cerebral cortex จะมีการสูญเสียเซลล์ประสาทประมาณร้อยละ 20 (Eliopoulos, 2014) มีการสะสมของสารไลโปฟัสซินที่เซลล์ประสาทสมอง ทำให้ความเร็วในการส่งสัญญาณประมาทช้าลง รีเฟล็กซ์ต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ และการรับความรู้สึกลดลง (Touhy, Jett, & Kathleen, 2019) สมองมีการสร้างสาร Dopamine ลดลงร้อยละ 6-10 ต่อปี จากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดปัญหาการสั่งการของระบบประสาท (Miller, 2018)
เป้าประสงค์
ไม่เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ อาการเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว และมีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนัง
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีอาการเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว และไม่มีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนัง
ตอบคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบเพิ่มมากขึ้นได้ ได้แก่ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา งดการทำกิจกรรมที่มีการจำกัดท่า ที่ต้องอยู่ในท่าทางซ้ำๆ
ตอบคำถามเกี่ยวกับอาหารที่ควรรับประทาน และพฤติกรรมที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบเพิ่มมากขึ้นได้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้ในการปฏิบัติตน ได้แก่ การทำกิจกรรมระหว่างวัน การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การพักผ่อน และตรวจร่างกาย และประเมินตามแบบประเมินภาวะสุขภาพ
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคปลายประสาทอักเสบ
โรคปลายประสาทอักเสบ เกิดจากประสาทส่วนปลายเสื่อม ซึ่งมีสาเหตุจากการขาดอาหาร เหน็บชาเบาหวาน จากพิษของยา พิษของสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ตะกั่ว สารหนู โรคติดเชื้อ มะเร็ง เนื้องอกที่กดทับเส้นประสาท ภาวะบีบรัดเส้นประสาท เส้นประสาทมือถูกพังผืดรัดแน่น หรือการได้รับบาดเจ็บของเส้นประสาท พบได้ในคนที่มีอายุเฉลี่ย 30 ปีขึ้นไป และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวาน คนทำงานหนักพักผ่อนน้อย ดื่มสุราหรือแอลกอฮอลล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ร่างกายขาดวิตามินบางชนิด เช่น บี 1 บี 6 และ บี 12 รับประทานยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อเส้นประสาท
แนะนำให้ผู้สูงอายุสังเกตอาการที่แสดงถึงการเกิดภาวะปลายประสาทอักเสบเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาการเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว และมีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนัง
แนะนำให้ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท โดยให้หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทําซ้ำ ๆ และอยู่ในท่าทางที่จำกัด เช่น การนั่งนานๆ เป็นต้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารเคมีที่เป็นพิษ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
แนะนำให้รับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชและโปรตีนที่มีไขมันต่ำให้มาก รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ซึ่งช่วยป้องกันการขาดวิตามิน เพราะจะช่วยรักษาสุขภาพของเส้นประสาท รวมไปถึงป้องกันการขาดวิตามิน บี 12 โดยแนะนำให้รับประทานเนื้อปลา ไข่ อาหารไขมันต่ำ และธัญพืชเสริม
แนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดิน การขี่จักรยาน รำมวยจีน เป็นต้น เพื่อเพิ่มระบบไหลเวียนโลหิต และกระตุ้นปลายประสาท และแนะนำให้ออกกำลังกายครั้งละ 30 นาที - 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
กิจกรรมของญาติและผู้สูงอายุ
กิจกรรมของญาติ
1.แนะนำให้ผู้ดูแลคอยสังเกตอาการของผู้สูงอายุ ที่แสดงถึงการเกิดภาวะปลายประสาทอักเสบเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาการเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว และมีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนัง
2.ดูแลให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ ได้แก่ ผักผลไม้ เนื้อปลา ไข่ไก่ อกไก่ แตงโม อะโวคาโด และอาหารไขมันต่ำ เป็นต้น
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องอยู่ในท่าทางที่จำกัด หรือต้องทำซ้ำๆ
2.ออกกำลังกาย โดยการเดิน การปั่นจักรยาน รำมวยจีน ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ออกครั้งละ 30 นาที - 1 ชั่วโมง อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์
ประเมินผล
1.ผู้สูงอายุไม่มีอาการเหน็บชาตามปลายมือปลายเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เสียการทรงตัว และไม่มีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนัง
2.ตอบได้ว่าควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา งดการทำกิจกรรมที่มีการจำกัดท่า ที่ต้องอยู่ในท่าทางซ้ำๆ เช่น นั่งนานๆ
3.ตอบได้ว่าควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานอาหารประเภทโปรตีนที่มีไขมั้นต่ำ เช่น ปลา ไข่ไก่ ถั่ว แตงโม เนื้ออกไก่ เป็นต้น
มีความจำเสื่อมถอยลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตามวัย
ข้อมูลสนับสนุน S : - ผู้ป่วยบอกว่าจำไม่ค่อยได้ ความจำไม่ค่อยดีเหมือนแต่ก่อน
O : -
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
การเกิดกระบวนการสูงอายุเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ จะเกิดขึ้นเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ประกอบไปด้วยปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกร่างกาย ปัจจัยภายใน ได้แก่ พันธุกรรม ภาวะสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างของเซลล์ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ อาหาร สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา
\ผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบประสาท คือ การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองลดน้อยลง ทำให้เกิดการฝ่อของเนื้อสมอง และน้ำหนังสมองจะลดลง 2-3 กรัมต่อปี (Miller, 2018) เซลล์สมองจะลดน้อยลงร้อยละ 1 ต่อปี ส่วน cerebral cortex จะมีการสูญเสียเซลล์ประสาทประมาณร้อยละ 20 (Eliopoulos, 2014) มีการสะสมของสารไลโปฟัสซินที่เซลล์ประสาทสมอง ทำให้ความเร็วในการส่งสัญญาณประสาทช้าลงรีเฟล็กซ์ต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ และการรับความรู้สึกลดลง (Touhy, Jett, & Kathleen, 2019) สมองมีการสร้างสาร Dopamine ลดลงร้อยละ 6-10 ต่อปี
จากการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลางเกี่ยวกับการเกิดปัญหาการสั่งการของระบบประสาท และเปลือกสมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้เกิดสมองฝ่อ มีความจำบกพร่อง หรือภาวะสมองเสื่อม (Miller, 2018)
เป้าประสงค์
ชะลอความเสื่อมถอยของสมอง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้สูงอายุสามารถทำท่าจีบแอลได้
ผู้สูงอายุสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมที่ช่วยฝึกสองได้ เช่น การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือบ่อยๆ การคิดเลข การเล่นเกม เป็นต้น
สามารถตอบได้ว่าอาหารชนิดใดที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและคอเลสเตอรอลสูง เน้นการรับประทานผักผลไม้ เนื้อปลา ไข่ไก่ เป็นต้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินภาวะสุขภาพตามแบบประเมิน และตรวจร่างกาย
ส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการฝึกสมอง โดยการพยายามให้สมองได้คิดบ่อยๆ เช่น การทำท่าจีบแอล การอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือบ่อยๆ การคิดเลข การเล่นเกม การฝึกการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆอยู่เสมอ หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว
แนะนำให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งงานอดิเรก งานบ้าน การทำงานที่ใช้แรงกาย งานรื่นเริงบันเทิงต่าง ๆ ซึ่งจากการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุหลังเกษียณที่มีกิจกรรมทำตลอดเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ มีการเสื่อมถอยของสมองน้อยกว่าผู้สูงอายุที่ไม่มีกิจกรรมทำ
แนะนำให้เข้าสังคมบ่อยๆ ไปมาหาสู่เพื่อนๆ ญาติ และคนรู้จัก รวมถึงการสร้างสังคมใหม่ๆ จะช่วยลดการชราภาพของสมองได้ เพราะการพูดคุยโต้ตอบกับคนอื่นเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ใช้สมองในการคิด
แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง เช่น ของทอดต่างๆ ขาหมู เค้ก เป็นต้น แนะนำการใช้น้ำมันพืชในการทำอาหาร เช่น น้ำมันจากดอกทานตะวัน ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดฟักทอง ถั่วเหลือง แนะนำให้รับประทานปลาทะเลให้มาก ปลาทู รวมทั้งอาหารที่มีวิตามินซี วิตามินอี และกรดโฟลิก เพื่อป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อม
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ โดยมีค่าดัชนีมวลกายไม่เกิน 25
หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่ทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าในปริมาณมาก การรับประทานยาโดยไม่จําเป็น ไม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ในที่ๆมีควันบุหรี่
แนะนำให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น ปั่นจักรยาน เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพประจำปี
แนะนำให้มีการจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยและภายในบ้านให้เรียบร้อย สะอาด ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเพียงพอ โดยแนะนำให้ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่อสมอง และระวังการหกล้ม
กิจกรรมของญาติและผู้สูงอายุ
กิจกรรมของญาติ
1.พาผู้สูงอายุไปเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชน และหาหนังสือให้ผู้สูงอายุได้อ่าน เพื่อเป็นการฝึกสมอง
2.ดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง เช่น ขาหมู หนังไก่ ของทอดต่างๆ เป็นต้น
3.ดูแลพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพประจำปี
4.จัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและนอกบ้านให้สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ และอากาศถ่ายเท เพื่อระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุต่อสมอง และระวังการหกล้มในผู้สูงอายุ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชน พูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ อ่านหนังสือ เล่นเกม ทำงานอดิเรก เพื่อเป็นการฝึก ให้สมองได้มีการคิด ทำให้สมองไม่ให้เกิดการเสื่อมถอย
2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น ปั่นจักรยาน เดินเล่น รำมวยจีน เป็นต้น
3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มสุรา
4.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และคอเลสเตอรอลสูง เช่น นมที่มีไขมันสูง ขาหมู หนังไก่ ของทอดต่างๆ เป็นต้น
5.ไปตรวจสุขภาพประจำปี
ประเมินผล
ผู้สูงอายุทำท่าจีบแอลได้
ผู้สูงอายุตอบคำถามได้ว่ากิจกรรมที่ช่วยฝึกสอง คือ การอ่านหนังสือ การคิดเลข การเล่นเกม พูดคุยกับผู้อื่นบ่อยๆ ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
สามารถตอบได้ว่าอาหารชนิดใดที่ควรรับประทาน และควรหลีกเลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและคอเลสเตอรอลสูง ทานเนื้อปลา เนื้ออกไก่ ไข่ไก่ ผักผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น
เสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากไขมันในเลือดสูงเนื่องจากการรับรู้และการดูแลสุขภาพไม่เหมาะสม
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุเล่าว่า ทราบว่าไขมันในเลือดสูงแต่ไม่รู้ว่าเพราะอะไรและต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
O : -
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นโคเลสเตอรอล (Cholesterol) หรือ ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง เรียกว่า Hyperlipidemia เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่เพียงพอและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง 1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง 2. การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น 3. การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ 4. การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ
การเปลี่ยนแปลงในระบบหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดในผู้สูงอายุจะมีความยืดหยุ่นน้อยลงเพราะมีเส้นใยคอลลาเจนมากขึ้นและมีการเชื่อมกันตามขวาง (Miller, 2018) นอกจากนี้จากความสูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงของชั้นหลอดเลือดหัวใจคือหลอดเลือดชั้นใน (Tunica intima) เป็นชั้นหลอดเลือดที่มีความบางและเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทำหน้าที่ควบคุมการเข้าของไขมันและสารอื่น ๆ จากเลือดเข้าสู่ผนังหลอดเลือด เมื่ออายุมากขึ้นจะมีการหนาตัวของหลอดเลือดเพราะมีไฟโบรซิส (Fibrosis) ไขมันและแคลเซียมไปสะสมตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดและรูปร่างผนังหลอดเลือดจึงมีการแข็งตัว (Arthrosclerosis) (Eliopoulos, 2014)
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง (Cross-link Theory) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าเมื่ออายุมากขึ้นจะมีความผิดปกติของการเชื่อมไขว้ของโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน การเชื่อมตามขวางเกิดจากกระบวนการไกลเคชั่น (Glycation process) โดยโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส (Glucose) จะยึดติดกับโปรตีนกลายเป็นสารประกอบสีน้ำตาลที่เรียกว่าเอจ (Advanced glycosylation end product: AGE) เมื่อส่วนปลายของ AGEs ยึดติดกับโปรตีนที่อยู่ข้างเคียงจะทำให้เกิดการเชื่อมตามขวางที่ผิดปกติอย่างถาวรซึ่งการเชื่อมตามขวางนี้เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของรังสีหรือสารเคมีที่เกิดได้ทั้งกับ DNA ในโครโมโซม (Chromosome) และกับโปรตีนต่าง ๆ ทั้งในนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาซึม (Cytoplasm ) ของเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยพยุงเนื้อเยื่อทำให้คุณสมบัติของเซลล์และเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น การเชื่อมตามขวางของเส้นใยคอลลาเจน (Collagen elastin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ความแข็งแรงแก่เนื้อเยื่อ พบมากที่ผิวหนัง เอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ หลอดเลือดและหัวใจ โดยเมื่ออายุมากขึ้น Collagen จะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทำให้แข็งแห้งแตก โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสอากาศความร้อนแสงอุลต้าไวโอเลท (Ultraviolet) ส่วนอีลาสตินจะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทำให้ฉีกขาดและเปื่อยยุ่ยทำให้ผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น การเชื่อมตามขวางของโปรตีนในเลนส์ตาทำให้เกิดต้อกระจก การเชื่อมตามขวางของผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของไต ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงบริเวณนั้นแข็งตัว ส่งผลให้ไตเสียหน้าที่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามร่างกายสามารถกำจัดสารประกอบนี้ได้โดยเอนไซม์ (Conner, Beisswenger, & Szwergold, 2005) และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในร่างกาย (Wu, & Monnier (2003)
เป้าประสงค์
ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนจากไขมันในเลือดสูง และมีการรับรู้ การดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้สูงอายุไม่มีโรคแทรกซ้อนจากไขมันในเลือดสูง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
2.ผู้สูงอายุสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับคำแนะนำที่พยาบาลให้ได้ 80%
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูง
แนะนำวิธีปฏิบัติตัวเมื่อทราบว่าไขมันในเลือดสูง ดังนี้
2.1 การควบคุมอาหารในผู้ที่ไขมันในเลือดสูง ควรรับประทานอาหารครบส่วนทั้ง 5 หมู่ ดังนี้
หมู่ที่ 1 อาหารประเภทแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว เผือก มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสารอาหารหลัก และให้พลังงานแก่ร่างกายมากกว่าสารอาหารกลุ่มอื่น ผู้สูงอายุจะมีความต้องการพลังงานลดลง เนื่องจากความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อลดลง ผู้สูงอายุจึงควรกินอาหารกลุ่มนี้แต่พออิ่ม ไม่มากจนเกินไป เพราะส่วนที่เกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมตามแหล่งที่ต่างๆ อันจะเป็นผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่ม มีผลต่อข้อเข่า ทำให้เสื่อมเร็วขึ้นและปวดเข่าเวลาเดินภายหลัง
หมู่ที่ 2 อาหารประเภทโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ และพืชจำพวกถั่วชนิดต่าง ๆ อาหารกลุ่มนี้จำเป็นในการซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งผู้สูงอายุถึงแม้จะไม่เจริญเติบโตอีก แต่ร่างกายก็ต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เพื่อทดแทนของเดิมที่สูญสลายไปตลอดเวลา ผู้สูงอายุจึงยังต้องการสารอาหารกลุ่มนี้มากกว่าในวัยหนุ่มสาว เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว เนื้อสัตว์ที่ผู้สูงอายุควรรับประทานคือ เนื้อไก่ที่ลอกหนังออกเนื่องจากหนังไก่จะมีไขมันมากเกินไป เนื้อปลาซึ่งยังมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 ที่สามารถป้องกันหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจได้ รวมทั้งยังมีแร่ธาตุที่ผู้สูงอายุ ต้องการอีกด้วย ถั่วชนิดต่างๆ เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ก็เป็นแหล่งอาหารโปรตีนราคาไม่แพงที่ให้คุณค่า ทั้งยังมีกากเส้นใยทำให้ลำไส้บีบตัวดี ป้องกันเรื่องท้องผูกได้
หมู่ที่ 3 อาหารประเภทเกลือแร่ แร่ธาตุที่ผู้สูงอายุต้องการและมักจะขาดคือ ธาตุแคลเซียมและธาตุสังกะสี ธาตุแคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก พบมากในนม ก้อนเต้าหู้ ผักผลไม้ เมล็ดงา กระดูกสัตว์ เช่น ปลาป่นหรือปลากระป๋อง ผู้สุงอายุจึงควรรับประทานนมบ้าง แต่ควรเป็นนมพร่องไขมันเนย เพื่อลดปริมาณไขมัน ที่ไม่จำเป็นออกไป ส่วนธาตุสังกะสีมีความจำเป็นต่อร่างกายหลายระบบ โดยเฉพาะผิวหนัง ซึ่งมีมากในอาหารทะเล ปลา เป็นต้น
หมู่ที่ 4 อาหารประเภทวิตามิน วิตามินนั้นมีหลายชนิด แต่ที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อาจจะขาดได้บ่อย เช่น วิตามินบีหนึ่ง วิตามินอี วิตามินดีและกรดโฟลิค วิตามินบีหนึ่ง พบมากในข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผัก ผลไม้ ส่วนวิตามินอี พบมากในน้ำมันพืช ถั่วชนิดต่าง ๆ กรดโฟลิคจะพบมากในพืชผักสดใบเขียวทุกชนิด
หมู่ที่ 5 อาหารประเภทไขมัน เช่น น้ำมันพืชที่ใช้ประกอบอาหาร กะทิซึ่งเป็นน้ำมันจากมะพร้าว หรือไขมันจากสัตว์ เช่น หนังไก่ หนังหมู ไข่แดง นม อาหารกลุ่มนี้จะให้พลังงานสูงมากที่สุด ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไปจะเป็นผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้หลอดเลือดแข็งและเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญลดลง เช่น สมองและหัวใจ ผู้สูงอายุจึงควรกินไขมันให้น้อยที่สุด
2.2 หลีกเลี่ยงของทอดและผัดที่ใช้น้ำมัน รับประทานเป็นอาหาร ต้ม นึ่ง ซึ่งไม่ใช้น้ำมัน ถ้าใช้น้ำมันควรใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงเช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย ส่วนน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว ควรเลี่ยงเนื่องจากจะทำให้แอลดีแอลสูงทำให้หลอดเลือดตีบแข็งง่าย
2.3 งดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมันและหนัง ถ้าจะรับประทานให้เอามันและหนังออกก่อน งดเครื่องในสัตว์ทุกชนิด ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานนาน ๆ ครั้งได้แก่ อาหารทะเลพวกกุ้ง ปู ปลาหมึก ไข่แดง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น อาหารที่สามารถรับประทานได้เป็นประจำคือ เนื้อไม่ติดมัน ไม่ติดหนัง ไข่ขาว ปลา ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ ควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกมื้ออาหารเนื่องจากลดการดูดซึมไขมันจากอาหารอื่นเข้าสู่ร่างกาย เพิ่มกากใยในอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูก
2.3 ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ กายบริหาร โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 - 45 นาที ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใด และออกกำลังกายชนิดใดจึงจะเหมาะสม งดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้หลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น พยายามไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่นั่ง ยืน นอน ตลอด ควรทำกิจกรรมต่างๆสม่ำเสมอ
2.4 ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดเป็นระยะตามนัด
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.รับฟังคำแนะนำจากพยาบาลและนำไปปฏิบัติตาม
2.ควบคุมอาหาร งดรับประทานของมัน ของทอด
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4.ไปตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดเป็นระยะตามนัด
กิจกรรมของญาติ
1.ช่วยเหลือและเป็นกำลังใจในการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
2.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุไปตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดเป็นระยะตามนัด
เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุเล่าว่า เมื่อมีฝนตกหนักจะเกิดน้ำท่วมขังบริเวณใต้ถุนบ้าน
ผู้สูงอายุเล่าว่า มีปวดเข่า ปวดหลัง
ผู้สูงอายุเล่าว่า มีสัตว์เลี้ยง
O : -
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
อุบัติเหตุการหกล้มในผู้สูงอายุเกิดจากการสูญเสียการทรงตัว เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ การตกเตียง ตกบันได ฯลฯ มักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ เช่น แขน ขา ศีรษะ ฯลฯ เกิดการกระแทก และมีอาการบาดเจ็บตามมา เช่น การหักของกระดูกสะโพก ที่พบบ่อยเมื่อเกิดการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ เป็นสาเหตุทำให้มีอัตราความพิการ อัมพฤกษ์ อัมพาต และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย และการบาดเจ็บที่ศีรษะ ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการเลือดคั่งในสมอง นอกจากการบาดเจ็บแล้ว อุบัติเหตุพลัด ตกหกล้มในผู้สูงอายุยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยหกล้มไปแล้ว จะยิ่งกลัวมากขึ้นจนกังวลและขาดความมั่นใจที่จะเดิน จนเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อการพลัดตก หกล้มในผู้สูงอายุ สามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพร่างกาย และความสามารถที่ลดลง เช่น การมองเห็นไม่ชัด สายตาผิดปกติ เดินเซ เคลื่อนไหวลำบาก มีการรับรู้ที่ช้า โรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือด โรคพาร์กินสัน รวมทั้งมีการใช้ยาที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น ยานอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือมีประวัติการใช้ยามากกว่า 4 ชนิดขึ้นไป
ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อม เช่น พื้นบ้าน พื้นบันได พื้นห้องน้ำลื่นหรือมีสิ่งกีดขวาง แสงสว่างไม่เพียงพอ บันไดไม่มีราวจับ ขั้นบันไดที่สูงชันหรือแคบ รองเท้าของผู้สูงอายุที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถยึดเกาะพื้นได้ดี เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้สูงอายุจะมีจำนวนและขนาดเส้นใยของกล้ามเนื้อลดลงทำให้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง (Eliopoulos, 2014) และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มเนื่องจากกล้ามเนื้อขาไม่มีแรง การทำงานของเอนไซม์ในกล้ามเนื้อลดลง ปริมาณของไกลโคเจนและโปรตีนที่สะสมในกล้ามเนื้อลดลงตามขนาดของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายของผู้สูงอายุเสียสมดุลของไนโตรเจนส่งผลทำให้กล้ามเนื้อมีอาการสั่นเนื่องจากระบบเอกซ์ตร้าลัยรามิคัล (Extrapyramidal system) เสื่อมสภา พเอ็นอาจจะแข็งตัวทำให้รีเฟล็กซ์ลดลงและทำให้กล้ามเนื้ออาจมีอาการแข็งเกร็ง (วิไลวรรณทองเจริญ, 2554) นอกจากนี้ขนาดของกล้ามเนื้อที่ลดลงในผู้สูงอายุอาจเกิดจากการที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน ๆ เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อฝ่อลีบ (ประเสริฐอัสสันตชัย, 2552) สำหรับการเปลี่ยนแปลงของกระดูกจะมีความสัมพันธ์กับการสูญเสียแคลเซียมพบว่าการสูญเสียแคลเซียมของกระดูกจะเริ่มตั้งแต่อายุระหว่าง 30-40 ปี จะทำให้กระดูกบางลง เพศหญิงจะสูญเสียประมาณ ร้อยละ 8 ส่วน เพศชายสูญเสียร้อยละ 3 (Wold, 2012) ผู้สูงอายุเพศหญิงฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูก (Osteoblast) ลดลงหลังวัยหมดประเดือน จึงส่งผลให้แคลเซียมมีการสลายออกจากกระดูกทำให้สูญเสียมวลกระดูกกระดูกเปราะบางและแตกหักง่าย (ธีรนุช ห้านิรัติศัย, 2561) ผู้สูงอายุมีหมอนรองกระดูกบางลงทำให้ความสูงลดลงผู้สูงอายุบางรายอาจจะมีปัญหากระดูกสันหลังเสื่อมหลังค่อมส่งผลทำให้กระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาท นอกจากนี้กระดูกบริเวณข้อต่อต่าง ๆ บางลงความสามารถในการรับแรงกระแทกลดลงเนื่องจากปริมาณน้ำไขข้อกระดูกลดลงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาข้อเสื่อมจากการที่มีการเคลื่อนของข้อมาสัมผัสหรือเสียดสีกัน (ทศพรคำผลศิริ, 2561, ธีรนุชห้านิรัติศัย, 2561)
ทฤษฎีเชื่อมตามขวาง (Cross-link Theory) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่าเมื่ออายุมากขึ้นจะมีความผิดปกติของการเชื่อมไขว้ของโมเลกุลขนาดใหญ่ เช่น โปรตีน การเชื่อมตามขวางเกิดจากกระบวนการไกลเคชั่น (Glycation process) โดยโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส (Glucose) จะยึดติดกับโปรตีนกลายเป็นสารประกอบสีน้ำตาลที่เรียกว่าเอจ (Advanced glycosylation end product: AGE) เมื่อส่วนปลายของ AGEs ยึดติดกับโปรตีนที่อยู่ข้างเคียงจะทำให้เกิดการเชื่อมตามขวางที่ผิดปกติอย่างถาวรซึ่งการเชื่อมตามขวางนี้เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของรังสีหรือสารเคมีที่เกิดได้ทั้งกับ DNA ในโครโมโซม (Chromosome) และกับโปรตีนต่าง ๆ ทั้งในนิวเคลียส (Nucleus) และไซโตพลาซึม (Cytoplasm ) ของเซลล์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลลาเจน (Collagen) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยพยุงเนื้อเยื่อทำให้คุณสมบัติของเซลล์และเนื้อเยื่อเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น การเชื่อมตามขวางของเส้นใยคอลลาเจน (Collagen elastin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ช่วยให้ความแข็งแรงแก่เนื้อเยื่อ พบมากที่ผิวหนัง เอ็น กระดูก กล้ามเนื้อ หลอดเลือดและหัวใจ โดยเมื่ออายุมากขึ้น Collagen จะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทำให้แข็งแห้งแตก โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสอากาศความร้อนแสงอุลต้าไวโอเลท (Ultraviolet) ส่วนอีลาสตินจะมีการเชื่อมตามขวางมากขึ้นทำให้ฉีกขาดและเปื่อยยุ่ยทำให้ผิวหนังแห้งและเหี่ยวย่น การเชื่อมตามขวางของโปรตีนในเลนส์ตาทำให้เกิดต้อกระจก การเชื่อมตามขวางของผนังด้านในของหลอดเลือดแดงของไต ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงบริเวณนั้นแข็งตัว ส่งผลให้ไตเสียหน้าที่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามร่างกายสามารถกำจัดสารประกอบนี้ได้โดยเอนไซม์ (Conner, Beisswenger, & Szwergold, 2005) และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีในร่างกาย (Wu, & Monnier (2003)
เป้าประสงค์
เพื่อลดความเสี่ยงของการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้สูงอายุไม่เกิดการพลัดตกหกล้ม
2.ผู้สูงอายุไม่มีรอยแผลจากการพลัดตกหกล้ม
3.ผู้สูงอายุตอบคำถามเกี่ยวกับคำแนะนำจากพยาบาลได้ 80%
4.ผลการประเมินการรับรูและการทรงตัว ได้ 5 คะแนน มีการรับรู้การทรงตัวดีมาก
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม โดยการสังเกต ตรวจร่างกาย และแบบประเมินการรับรู้ความสามารถในการทรงตัว
ให้คำแนะนำในการจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ได้แก่
2.1 แสงสว่างที่ใช้ในบ้าน : ควรมีแสงสว่างในบ้านให้เพียงพอ แสงไฟที่ใช้ไม่ควรเป็นแสงจ้าเกินไป ควรเป็นแสงนวลสบายตา มองเห็นชัดเจนโดยเฉพาะบริเวณทางเดิน บันได และในห้องน้ำควรมีสวิตซ์ปิด – เปิดไฟอยู่ในที่ ๆ ใช้งานได้สะดวก และผู้สูงอายุเปิด – ปิดได้ง่าย
2.2 พื้น : พื้นทางเดินในบ้านควรเป็นพื้นเรียบไม่ลื่น ไม่ลงน้ำมันหรือขัดเงา เพราะจะทำให้ลื่นง่าย ควรทำ เครื่องหมายแสดงให้ชัดเจนบริเวณที่มีพื้นต่างระดับ เช่น การติดเทปกาวสีแดง เหลือง ดูแลจัดไม่ให้มีสิ่งกีดขวางทางเดินเพราะอาจทำให้เกิดการสะดุดล้ม ควรดูแลพื้นให้แห้งเสมอ ไม่มีน้ำหรือของเหลวหก กระเบื้องปูพื้นหรือพรม ควรใช้สีที่เหมาะสมและไม่มีลวดลายจนทำให้ลายตา เพราะจะทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการหกล้มได้
2.3 ห้องน้ำ : เป็นบริเวณที่ผู้สูงอายุเกิดการหกล้มได้มากที่สุด พื้นห้องน้ำควรมีการปูพื้นกันลื่น มีการติดตั้งราวจับไว้สำหรับจับบริเวณที่นั่งขับถ่ายหรือที่อาบน้ำ ใช้โถส้วมแบบชักโครก ห้องอาบน้ำควรมีที่นั่งขณะอาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้า ควรจัดวางของใช้ให้หยิบจับง่ายในระดับข้อศอกที่นั่งขับถ่าย ประตูห้องน้ำควรเป็นแบบเปิดออกด้านนอก และที่ล็อคควรเปิดออกจากภายนอกได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินสามารถช่วยเหลือได้ทันที
2.4 ห้องนอน/ห้องนั่งเล่น : ควรจัดของใช้ให้เป็นระเบียบเพื่อให้หยิบใช้ได้ง่าย ไม่วางของเกะกะตามพื้นห้อง โดยเฉพาะสายไฟ สายโทรศัพท์ ควรใช้โทรศัพท์ชนิดไร้สาย การเคลื่อนไหวหรือลุกจากเตียงควรทำอย่างช้า ๆ ควรประเมินตนเองว่ามีอาการเวียนศีรษะหรือหน้ามืดก่อนจะลุกนั่งหรือไม่ โดยไม่ลุกขึ้นขณะมีอาการดังกล่าว ควรเรียกหาคนช่วย
2.5 เครื่องเรือน : เลือกใช้เครื่องเรือนที่เหมาะสมเช่น ขนาดเก้าอี้มีความสูงพอดี ความกว้างของเก้าอี้มีขนาดพอที่ ผู้สูงอายุนั่งได้สบาย เบาะนั่งไม่ยุบยวบตัวลงไป มีฐานเก้าอี้มั่นคง ไม่ควรเป็นเก้าอี้แบบล้อเลื่อน เตียงนอนควรมีความสูงระดับที่ผู้สูงอายุขึ้นเตียงหรือลุกออกจากเตียงได้สะดวก ที่นอนควรมีความแข็งระดับพอดีไม่ยุบตัวเกินไป ตู้เก็บของ / ชั้นวางของ ควรมีความสูงระดับที่ผู้สูงอายุสามารถหยิบจับสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้สะดวกและง่ายต่อการใช้งาน
2.6 ห้องครัว : ควรจัดของใช้หรือเครื่องปรุงต่างๆ ให้ง่ายต่อการใช้งาน เก็บของใช้ที่มีน้ำหนักมากไว้ในที่ต่ำ เช็ดหยดน้ำ / น้ำมันทันทีหลังการใช้งาน หลีกเลี่ยงการขัดเงาที่พื้นห้อง หากพื้นหรือภายในห้องครัวมีความไม่ปลอดภัยในการใช้งาน ควรแก้ไขให้สภาพห้องครัวพร้อมใช้งานเพื่อป้องกันการหกล้มในห้องครัว
2.7 บันได : เป็นอีกบริเวณหนึ่งที่ผู้สูงอายุ มีการหกล้มได้บ่อย ผู้สูงอายุควรเลี่ยงการใช้บันได ถ้าจำเป็นต้องใช้บันได บันไดต้องมีความมั่นคง มีความกว้างพอดี มีราวบันไดที่มั่นคง งดอ่านหนังสือหรือใช้โทรศัพท์ทุกครั้งขณะขึ้นหรือลงบันได และไม่รีบขึ้นหรือลงบันได
การออกกำลังกายจะเน้นที่การเพิ่มความมั่นคงในการยืน/เดินของผู้สูงอายุ เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่และการเดิน ใช้การฝึกการทรงตัว ฝึกกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อเข่าและกล้ามเนื้อกระดูกข้อเท้า ซึ่งเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่มีความสำคัญต่อการยืนและเดินที่มั่นคง โดยท่าออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้แก่
1.ท่าเหยียดเข่า (Knee Extension) : เลือกเก้าอี้ที่มีพนักพิง จากนั้นค่อย ๆ เหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหน้าให้ตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับตั้งปลายเท้าค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ก่อนจะผ่อนปลายเท้าพร้อมกับลดขากลับสู่ท่าเดิมทำสลับไปมาทั้งสองข้าง เพื่อยืดเส้นและข้อ
2.ท่าเขย่งฝ่าเท้า (Plantar Flexion) : หาเก้าอี้ที่มั่นคง จากนั้นให้ใช้มือทั้งสองจับอุปกรณ์พร้อมกับยืนให้หลังตรง ค่อย ๆ เขย่งปลายเท้าอย่างช้า ๆ ให้สูงสุดเท่าที่จะสูงได้ โดยค้างทิ้งไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อยลดส้นเท้าลง ทำสลับไปมา
3.ท่างอเข่า (Knee Flexion) : ยืดหลังให้ตรงเหมือนท่าเขย่งฝ่าเท้า จากนั้นค่อย ๆ งอเข่าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้ค้างไว้ 3 วินาที ทำสลับไปมาทั้งสองข้าง
4.ท่าเหยียดขา (Side Leg Raise) : ยืนตรงชิดเก้าอี้ จากนั้นให้แยกเท้าประมาณหนึ่งช่วงไหล่ ต่อด้วยค่อย ๆ เหยียดขาข้างขวาไปข้างหน้า ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จึงค่อย ๆ ลดขาลง กลับสู่ท่าเดิม ให้ทำสลับกันทั้งขาซ้าย ขวา
5.ท่าเหยียดขาสะโพก (Hip Extension) : ให้ขยับออกมายืนห่างจากเก้าอี้ ประมาณ 1 ฟุต แล้วจึงยกขาขวาไปข้างหลัง โดยที่ขาอยู่ในลักษณะตรง ค้างไว้ประมาณ 3 วินาที จากนั้นค่อยๆ ทำสลับกับขาข้างซ้ายไปมา
6.ท่างอสะโพก (Hip Flexion) : ยืนตรงสองมือจับเก้าอี้ไว้เหมือนเดิม จากนั้นให้ค่อยๆ งอเข่าข้างใดข้างหนึ่งมาหาหน้าอก โดยที่เอวยังอยู่ในลักษณะตั้งตรง ค้างไว้สักประมาณ 3 วินาที แล้วค่อยลดหัวเข่าลง ทำสลับไปทั้งสองข้าง
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอิริยาบถอันตรายที่ผู้สูงอายุต้องระวัง
1.นั่งยองคุกเข่า เมื่อผู้สูงอายุนั่งยองหรือคุกเข่านานเกินไป อาจทำให้ผู้สูงอายุปวดเข่า และข้อเข่าเสื่อมได้ จึงควรนั่งบนเก้าอี้ที่มั่นคงและให้ผู้สูงอายุอยู่ในอิริยาบถหลังตรงเสมอ
2.ยืนโดยไม่มีที่กาะ เมื่อผู้สูงอายุยืนโดยไม่มีที่เกาะอาจทำให้ต้องเกร็งขาจนเกิดอาการปวดขาและปวดเข่าได้ ดังนั้นในบริเวณบ้านหรือห้องน้ำของผู้สูงอายุควรมีราวช่วยพยุงตัวเวลาเปลี่ยนอิริยาบถ
3.ลุกเร็ว เมื่อผู้สูงอายุลุกจากเตียงในท่านอนหรือจากเก้าอี้ในท่านั่ง ผู้สูงอายุไม่ควรอย่างยิ่งที่จะทำด้วยความเร็วเพราะอาจจะทำให้ความดันโลหิตเปลี่ยนด้วยความรวดเร็วทำให้ผู้สูงอายุเกิดอาการเวียนศีรษะถึงขั้นคลื่นไส้อาเจียนได้ ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรค่อย ๆ ทำและเคลื่อนไหวด้วยความระมัดระวัง
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารที่ส่งเสริมกล้ามเนื้อ โดยผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการให้ครบถ้วนในแต่ละวัน และเลือกอาหารที่ปรุงเหมาะกับผู้สูงอายุ เน้นอาหารประเภทโปรตีนจำพวกเนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่ ถั่ว เพื่อสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต ตัวอย่างเมนูอาหาร เช่น ข้าวต้มปลา ไข่ตุ๋น ไก่ผัดขิง ถั่วเขียวต้มน้ำตาล เป็นต้น ควรดื่มนมเพื่อเพิ่มแคลเซียม รับประทานผักผลไม้เพื่อเพิ่มวิตามิน แร่ธาตุ และดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ ไม่ควรงดอาหารถ้าไม่ใช่คำแนะนำจากแพทย์/พยาบาล เพราะจะทำให้อ่อนเพลีย มึนงง เสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น
ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาการทรงตัว ควรระมัดระวังอุบัติเหตุจากการเลี้ยงสัตว์ เช่น เหยียบและสะดุดสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก หรือสัตว์เลี้ยงขนาดใหญ่วิ่งชนและกระโจนใส่เจ้าของ เป็นต้น ควรมีการจำกัดพื้นที่ของสัตว์เลี้ยงหรือเลี้ยงในกรงเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ
แนะนำผู้ดูแล ไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุเดินไปในที่ลับตาคนเดียวเพียงลำพัง หรือเดินตามไปเมื่อสังเกตได้ว่าผู้สูงอายุหายไปเป็นเวลานาน เพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือได้ทันเมื่อเกิดการพลัดตกหกล้ม
แนะนำให้ผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจสายตาอย่างเป็นประจำทุกปี เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการมองเห็น และ หากพบปัญหาจากการตรวจสายตา แนะนำให้รีบแก้ไขโดยการใช้แว่นสายตาหรือปรึกษาแพทย์
แนะนำให้ติดกริ่งขอความช่วยเหลือตามที่ต่าง ๆ เช่น ห้องน้ำ หัวเตียง เพื่อให้ผู้สูงอายุกดขอความช่วยเหลือได้ทันทีเมื่อเกิดการพลัดตกหกล้ม
แนะนำให้ติดแถบสีโทนร้อน เช่น สีแดง สีเหลือง สีส้ม ในจุดที่ต้องระวังการพลัดตกหกล้ม เพื่อช่วยเพิ่มความระมัดระวังให้แก่ผู้สูงอายุ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.รับฟังคำแนะนำของพยาบาลและนำไปปฏิบัติตาม
2.ระมัดระวังตนเองอยู่เสมอ และปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำ
3.เข้ารับการตรวจสายตาเป็นประจำ
4.รับประทานอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำของพยาบาล
กิจกรรมของญาติ
1.จัดสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำของพยาบาล
2.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารและออกกำลังกายตามคำแนะนำ
3.ไม่ปล่อยให้ผู้สูงอายุไปในที่ลับตาเพียงลำพัง
เสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานเนื่องจากน้ำท่วม
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุเล่าว่า เมื่อมีฝนตกหนักจะเกิดน้ำท่วมขังบริเวณใต้ถุนบ้าน
O : -
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำสะสมจำนวนมาก ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน สวนไร่นาได้รับความเสียหาย หรือเป็นสภาพน้ำท่วมขัง ในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล และช่วงที่น้ำท่วมมักมีสัตว์ต่าง ๆ พากันหนีน้ำ รวมไปถึงสัตว์ที่มีพิษหรืออันตรายด้วยเช่นกัน ซึ่งควรจะต้องระมัดระวัง
ทฤษฎีภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immunity theory) ทฤษฎีนี้อธิบายว่าการสูงอายุเป็นผลมาจากความผิดปกติในการทำหน้าที่ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Touhy & Jett, 2016) อาจเกิดการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ลดลงหรือทำหน้าที่แตกต่างไปจากเดิม ปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ค้นหาและทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม (Antigen) ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายตนเอง เช่น เซลล์มะเร็ง แบคทีเรีย ไวรัสและเชื้อรา เป็นต้น กลไกในการป้องกันมี 2 วิธีคือ 1) การสร้าง Antibody เพื่อทำลายจุลินทรีย์และโปรตีนที่แปลกปลอมมาและ 2) การสร้างเซลล์ชนิดหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการกินและย่อยเซลล์หรือสิ่งแปลกปลอมนั้น
เป้าประสงค์
เพื่อลดโอกาสการได้รับอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้สูงอายุไม่ได้รับอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน
2.ผู้สูงอายุสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับคำแนะนำที่พยาบาลให้ได้ 80%
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ความรู้เกี่ยวกับสัตว์เลื้อยคลานที่มีโอกาสพบเจอตอนน้ำท่วมและแนะนำวิธีปฏิบัติตนเมื่อถูกสัตว์เลื้อยคลานกัดต่อย
1.งู ถือเป็นสัตว์ที่พบค่อนข้างบ่อยในช่วงน้ำท่วม ซึ่งมีทั้งแบบมีพิษและไม่มีพิษ โดยส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น งูเห่า งูเหลือม งูหลาม งูแมวเซา เป็นต้น เมื่อเกิดน้ำท่วมงูมักจะหนีน้ำขึ้นมาอาศัยอยู่บริเวณที่สูง อย่างต้นไม้ เสาไฟ รวมไปถึงบริเวณตามมุมของบ้านเรือน ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นมุมอับ และซอกเหลือบต่างๆ หากมีความจำเป็นที่ต้องมีการเดินลุยน้ำ แนะนำให้ใช้ไม้เขี่ยหรือกระทุ้งบริเวณโดยรอบให้น้ำกระจาย เพื่อให้สัตว์ตกใจและหนีไป ทั้งนี้หากเกิดกรณีฉุกเฉินโดนงูกัด ควรรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 ในทันที ระหว่างที่รอให้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้แก่
1.ล้างแผลบริเวณที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาดหรือยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ไอโอดีน
2.พยายามให้บริเวณที่ถูกงูกัดเคลื่อนไหวน้อยที่สุด สามารถทำการดามโดยใช้ไม้กระดานหรือกระดาษแข็ง ๆ และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ
3.ห้ามกรีดหรือดูดบริเวณที่ถูกกัดและไม่ควรใช้สมุนไพรพอกเพราะจะทำให้แผลสกปรก เกิดการติดเชื้อและอาจเป็นบาดทะยักในภายหลังได้
4.ไม่ควรขันชะเนาะหากไม่รู้จักการขันชะเนาะที่ถูกวิธีเพราะอาจทำให้บริเวณที่ถูกกัดบวมและเนื้อตายมากขึ้น
5.หากมีรถส่วนตัวให้รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุดและนำซากงูที่กัดไปด้วย (ถ้ามี) หรือจดจำลักษณะงูที่กัดเพื่อความถูกต้องในการรักษา แต่ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาตามหางูหากจำไม่ได้
2.ตะขาบ มีพิษไม่รุนแรงเท่างู แต่ก็ทำให้มีอาการปวด บวม ซึ่งผู้ที่มีอาการแพ้ จะทำให้ใจสั่น ปวดศรีษะ คลื่นไส้ และอาเจียนได้ รวมไปถึงอาการเนื้อตายบริเวณที่โดนตะขาบกัด โดยสัตว์ชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่บริเวณที่ชื้น อย่าง ซากต้นไม้ เป็นต้น สำหรับผู้ที่โดนตะขาบกัด ห้ามเกาแผลโดยเด็ดขาด เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด จากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่นครั้งละประมาณ 10 นาที เพื่อลดอาการปวด สามารถทานยาแก้ปวดอย่าง ยาพาราเซตามอล ร่วมได้ เมื่อเกิดอาการปวด แต่หากไม่ดีขึ้น หรือเกิดการแพ้รุนแรง มีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
3.แมงป่อง ถึงแม้จะตัวไม่ใหญ่แต่ก็เป็นสัตว์ที่มีพิษค่อนข้างรุนแรงมาก ซึ่งแมงป่องจะชอบอาศัยอยู่บริเวณที่มืด เช่น โพรงไม้ ใต้ก้อนหิน หรือขุดรูอยู่ เป็นต้น โดยพิษของแมงป่องจะมากน้อยแตกต่างกัน บางรายแค่มีอาการ ปวด บวม แต่หากมีอาการรุนแรง อาจส่งผลทำให้หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว และความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต สำหรับวิธีการปฐมพยาบาลเมื่อแมงป่องต่อย จะเหมือนวิธีของตะขาบ คือ ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด จากนั้นประคบด้วยน้ำอุ่นครั้งละประมาณ 10 นาที เพื่อลดอาการปวด สามารถทานยาแก้ปวดอย่างยาพาราเซตามอลร่วมได้เมื่อเกิดอาการปวด แต่หากมีอาการแพ้รุนแรงให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
4.ปลิง เป็นสัตว์ที่ชินกับน้ำ ชอบอาศัยอยู่ในคลอง บึง กินเลือดเป็นอาหาร ซึ่งปลิงส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น ปลิงควาย หรือปลิงเข็ม ในกรณีที่ต้องมีการเดินลุยน้ำแนะนำให้แต่งกายให้มิดชิด เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว โดยบริเวณเท้าแนะนำให้หุ้มด้วยถุงพลาสติกทับกับปลายขากางเกงแล้วรัดด้วยเชือกหรือยาง เพื่อเป็นการป้องกันปลิง แต่หากถูกปลิงเกาะหรือดูดเลือด ห้ามใช้มือดึงออกโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ปากแผลนั้นใหญ่ยิ่งขึ้น แนะนำให้ใช้น้ำมะนาว มะกรูด หรือน้ำเกลือเข้มข้น ราดลงบนตัวปลิง ก็จะทำให้ปลิงนั้นหลุดออก จากนั้นให้รีบทำความสะอาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือ แอลกอฮอล์
5.แมลงก้นกระดก สามารถพบได้บริเวณใกล้แหล่งน้ำ และบริเวณที่มีแสงไฟ ซึ่งพิษของมันนั้นค่อนข้างรุนแรงต่อผิวหนัง เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแดง ตุ่มน้ำ ปวดแสบปวดร้อน คัน และผิวไหม้ หากต้องเผชิญกับแมลงก้นกระดกแบบใกล้ชิด หรือมาเกาะที่บริเวณลำตัว ห้ามตี หรือสัมผัสโดยเด็ดขาด เนื่องจากจะทำให้โดนกัดหรือโดนต่อยได้ อีกทั้งยังทำให้พิษกระจายอีกด้วย สิ่งที่ควรทำนั้นก็คือ การเป่าให้แมลงนั้นออกไป หรือใช้ผ้า กระดาษปัดออกไป ห้ามใช้มือสัมผัสโดยตรง แต่ในกรณีที่โดนกัดให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด และรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุดในทันที
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการป้องอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน ได้แก่
1.ทำความสะอาดบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ ทั้งการเก็บกวาดภายในตัวบ้าน การจัดเก็บสิ่งของให้เป็นระเบียบ การตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่ ตัดหญ้าและจัดแต่งสวนรอบบ้านไม่ให้รก เป็นวิธีป้องกันเบื้องต้นที่ทำให้บ้านปลอดภัย และทำให้สัตว์มีพิษหรือสัตว์เลื้อยคลาน ไม่สามารถเข้ามาซ่อนตัวในที่อยู่อาศัยได้
2.ใช้ปูนขาว กำมะถัน เป็นวิธีสะดวกและสามารถทำเองได้ เริ่มต้นด้วยการนำหินกรวดมาโรยบริเวณพื้นรอบบ้าน ตามด้วยการใช้น้ำผสมกับกำมะถัน ปูนขาวหรือน้ำมันก๊าด โรยและเทตามจุดต่าง ๆ รอบตัวบ้าน เช่น รั้วบ้าน ประตูทางเข้า และตามท่อจุดต่าง ๆ เพราะสารพวกนี้มีกลิ่นฉุนและมีความเป็นด่าง ซึ่งเป็นกลิ่นที่สัตว์เลื้อยคลานไม่ชอบ เท่านี้ก็ช่วยให้บ้านปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
3.ใช้โซดาไฟในการทำความสะอาดท่อน้ำรอบบ้านอย่างสม่ำเสมอ และหาตะแกรงหรือตาข่ายที่มีขนาดพอดีมาปิดบริเวณฝาท่อระบายน้ำหรือท่อน้ำทิ้งของบ้าน เป็นการป้องกันสัตว์เลื้อยคลานเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลบ้านง่าย ๆ ที่สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องรอแค่ช่วงหน้าฝน และยังเป็นการช่วยคัดกรองสิ่งสกปรกไม่ให้อุดตันท่อระบายน้ำอีกด้วย
4.อุดรอยรั่วตามจุดต่าง ๆ บริเวณรอบที่อยู่อาศัย เป็นการป้องกันและดูแลบ้านให้พ้นจากสัตว์เลื้อยคลานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เข้าสู่ตัวบ้านได้เพียงทางเดียว แต่สามารถแทรกตัวเข้ามาตามรอยแตกต่าง ๆ ทั้งกำแพงหรือท่อที่มีความชื้นและมืด ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมรอยรั่วต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกับตัวบ้านอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องกันสัตว์เลี้อยคลาน และช่วยป้องกันให้บ้านปลอดภัยห่างไกลจากสัตว์มีพิษ
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.รับฟังคำแนะนำของพยาบาลและนำไปปฏิบัติตาม
2.ระมัดระวังสัตว์เลื้อยคลานที่มีโอกาสพบเจอตอนน้ำท่วมตามที่พยาบาลแนะนำ
กิจกรรมของญาติ
1.ช่วยเหลือในการป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานตามคำแนะนำที่พยาบาลให้
2.เมื่อผู้สูงอายุถูกสัตว์เลื้อยคลานกัดต่อย ให้ปฐมพยาบาลตามคำแนะนำและพาผู้สูงอายุไปโรงพยาบาล
เสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากรับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ ร่วมกับดื่มน้ำน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้สูงอายุเล่าว่า รับประทานอาหารวันละ 2 มื้อ ไม่รับประทานมื้อเย็น และดื่มน้ำน้อย ดื่มประมาณ 1 ลิตรต่อวัน
O : -
วิเคราะห์ข้อวินิจฉัย
ในผู้สูงอายุมีโอกาสขาดสารอาหารมากที่สุด เนื่องจากรับประทานอาหารน้อยลง เกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม เช่น การถูกทิ้งให้รับประทานอาหารคนเดียวทำให้ความอยากอาหารน้อยลง หรือต้องเสียเงินไปกับค่ารักษาพยาบาลทำให้ไม่มีเงินซื้ออาหารที่ดีมีประโยชน์ ปัจจัยทางด้านความเจ็บป่วย เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีโรคต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง โรคตับและไตเสื่อม โรคทางเดินอาหาร โรคทางต่อมไร้ท่อ โรคทางระบบประสาท รวมถึงยาที่ผู้สูงอายุต้องรับประทานเป็นประจำ ส่งผลทำให้ไม่อยากรับประทานอาหาร ปัจจัยทางด้านร่างกายและจิตใจ เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องการเคี้ยว เนื่องจากฟันไม่ดีต้องใส่ฟันปลอม จมูกรับกลิ่นอาหารไม่ดี ตุ่มรับรสอาหารทำงานไม่ดีทำให้ลิ้นรับรสได้น้อยลง และระยะเวลาที่กระเพาะอาหารบีบตัวนานกว่าปกติ ทำให้รับประทานอาหารได้ทีละน้อย ๆ และอิ่มเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องกับความอยากอาหาร และผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวลง่าย จากปัจจัยที่กล่าวมาจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และถ้าเกิดบาดแผลจะหายช้ากว่าปกติ มีจ้ำเลือดขึ้นตามตัวง่าย เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงในระบบทางเดินอาหาร ฟันของผู้สูงอายุจะมีสีคล้ำเนื่องจากมีโปรตีนจากน้ำลายหรือมีการดูดซึมสารที่มีสีไปสะสมที่ฟัน ตัวเคลือบฟันจะมีลักษณะบางแตกง่าย เหงือกที่หุ้มคอฟันร่น ฟันผุหลุดร่วง เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเคี้ยวอาหารได้ลำบาก การเคี้ยวอาหารเป็นไปได้ช้าเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและประสาทสั่งการที่ช่วยในการเคี้ยวอาหาร หลอดอาหารมีการเคลื่อนไหวที่ลดลง มีการขยายตัวของหลอดอาหารเกิดขึ้นเนื่องจากมีการอ่อนกำลังของกล้ามเนื้อหลอดอาหารและคอหอย (Miller, 2018) ทำให้พบว่ามีอาหารพักอยู่ในหลอดอาหารยาวนาน ประกอบกับกล้ามเนื้อหูรูดปลายหลอดอาหารมีการหย่อนตัวบีบคลายตัวทำงานได้ช้า เป็นสาเหตุทำให้มีการขย้อนอาหารหรือกรดในกระเพาะกลับขึ้นมายังหลอดอาหารได้ง่ายส่งผลให้ผู้สูงอายุมีอาการแสบยอดอกหรือภาวะกรดไหลย้อน ผู้สูงอายุบางรายอาจจะเกิดการสำลักอาหารเข้าไปในปอดจนเกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร (จันทนารณฤทธิวิชัยและวิไลวรรณทองเจริญ, 2548) กระเพาะอาหารและลำไส้ในผู้สูงอายุพบว่าเยื่อบุกระเพาะอาหารจะบางลง การบีบตัวของกระเพาะอาหารลดลง สิ่งที่จะตามมาคือทำให้ระยะเวลาที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารช้าล งอาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น ทำให้ความรู้สึกหิวหรืออยากอาหารลดลง ลำไส้เล็กลำไส้ใหญ่มีการเคลื่อนไหวลดลง การดูดซึมสารอาหารต่าง ๆ ลดลงประกอบกับผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย การเคลื่อนไหวร่างกายลดน้อยลงจึงเป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะท้องผูกได้ (วิไลวรรณทองเจริญ, 2554) นอกจากนี้ตับของผู้สูงอายุจะมีขนาดและน้ำหนักลดลง มีการสะสมของสารไลโฟฟัสซินและการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงตับลดน้อยลง อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงอาจจะทำให้เกิด พยาธิสภาพที่ตับหรือการกำจัดสารพิษที่ตับก็ลดลง ขนาดและน้ำหนักของตับอ่อนลดลงมีไขมันไปสะสมเพิ่มมากขึ้น การผลิตเอนไซม์ของตับอ่อนลดลงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและความเข้มข้นของเอนไซม์ (Miller, 2018)
ทฤษฎีความเสื่อมโทรม (Wear and Tear Theory) โดยปกติสิ่งมีชีวิตจะมีความเสื่อมหรือความบกพร่องอย่างต่อเนื่องจากการใช้งานมากหรือใช้งานมาเป็นเวลานาน แต่จะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ทฤษฎีนี้เชื่อว่าความชราเป็นผลมาจากการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายที่ไม่สามารถจะถูกซ่อมแซมหรือทดแทนได้ เช่น การเสื่อมของระบบหัวใจและหลอดเลือดการเกิดหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) เป็นต้น นอกจากนั้นอวัยวะบางอย่าง เช่น ตับ กระเพาะอาหาร ไต หรือผิวหนัง อาจจะถูกทำลายโดยสารพิษจากอาหารหรือสิ่งแวดล้อมนอกร่างกายโดยการรับประทานอาหารหวานจัด อาหารไขมันสูง หรือดื่มเครื่องดื่มประเภทกาแฟหรือแอลกอฮอล์มากหรือจากการได้รับแสงอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์มีความเสื่อมและไม่สามารถซ่อมแซมได้
เป้าประสงค์
ผู้สูงอายุได้รับสารอาหารและน้ำที่เพียงพอต่อร่างกาย
เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้สูงอายุรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ
2.ผู้สูงอายุดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน
3.ผลการประเมินภาวะโภชนาการ (Mini Nutritional Assessment : MNA) ได้ 24 - 30 คะแนน
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินสภาวะการขาดอาหาร น้ำหนักลดหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ตามอายุ ตามความสูงและโครงสร้าง อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปากอักเสบ เป็นแผล เปลือกตาซีด
ประเมินปัจจัยส่งเสริมการเกิดภาวะขาดสารอาหาร จากการสังเกตและบันทึก การรับประทานอาหาร จํานวน ชนิด พลังงานจากอาหาร ความสามารถในการเคี้ยวอาหาร การกลืนและการช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร การรับประทานยาหลายชนิด โรคที่มีผลกระทบต่อภาวะโภชนาการ ภาวะทางจิตสังคม เศรษฐกิจ และความเชื่อในการรับประทานหรือไม่รับประทานอาหารบางอย่าง เป็นต้น
แนะนำการรับประทานอาหารอย่างถูกหลักกินอาหารให้ได้สัดส่วน ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารให้ครบ 3 มื้อ รวมถึงทานอาหารที่มีกากเส้นใยให้เพียงพอ เช่น ผัก ผลไม้ กินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ปลา งาดำ ถั่วเหลือง กินอาหารที่มีธาตุเหล็กเพียงพอ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ เมล็ดพืช ถั่ว ดื่มน้ำ 2 ลิตรต่อวัน เลี่ยงการดื่มน้ำมาก ๆ ตอนก่อนนอนในกรณีที่ต้องตื่นมาปัสสาวะบ่อย
ส่งเสริมให้ร่างกายได้รับอาหารพอเพียง ให้คําปรึกษาในการช่วยผู้ป่วยเลือกอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุให้มีปริมาณ คุณภาพ ตรงกับความต้องการ ความชอบ สามารถปรุงอาหารที่เหมาะกับโรคมาให้รับประทานได้การรักษาโรคฟันและเงือก รักษาความสะอาด ปากและฟัน ก่อน-หลังอาหาร จัดให้ได้พักก่อนมื้ออาหาร จัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ผ่อนคลายและสดชื่น เพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกายระหว่างวัน
ให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลสังเกตการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดสารอาหาร เช่น การติดเชื้อในระบบหายใจ แผลหายช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง และจิตใจหดหู่ เศร้าซึม เป็นต้น
กิจกรรมของผู้สูงอายุ
1.รับฟังคำแนะนำของพยาบาลและนำไปปฏิบัติตาม
2.รับประทานให้ครบ 3 มื้อ และดื่มน้ำให้ได้ 2-3 ลิตรต่อวัน
3.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและภาวะภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดสารอาหาร
กิจกรรมของญาติ
1.กระตุ้นให้ผู้สูงอายุเห็นความสำคัญของการรับประทานให้ครบ 3 มื้อ และดื่มน้ำให้ได้ 2-3 ลิตรต่อวัน
2.ช่วยเหลือในด้านการรับประทานโดยการซื้ออาหารที่ผู้สูงอายุชอบทาน เพื่อส่งเสริมการรับประทานของผู้สูงอายุ
3.สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพและภาวะภาวะแทรกซ้อนจากภาวะขาดสารอาหาร
8..เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานเฉียบพลันและเรื้อรังเนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสม ข้อมูลสนับสนุน
S: 1. ผู้สูงอายุบอกว่าชอบรับประทานรสชาติหวานโดยปรุงน้ำตาลเพิ่ม
2.ผู้สูงอายุบอกว่าในฤดูผลไม้จะชอบกิน ละมุด มังคุด ทุเรียน แตงโม ส้มโอ สับปะรดประมาณครึ่งกิโล
3.ผู้สูงอายุรับประทานอาหารไม่ตรงเวลาและรับประทานปริมาณน้อย
ความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมน อินซูลินไม่เพียงพอหรือดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินและร่างกายไม่สามารถ ใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสมโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานฮอร์โมนอินซูลินจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายความดันในหลอดเลือด ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ไตและสมองลดลงจนเกิดภาวะช็อคและหมดสติหรือ Hyperosmolar coma หากไม่ได้รับการรักษาและดูแลอย่าง เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้เป้าประสงค์ทางการพยาบาล: ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมกับโรคเบาหวาน เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้สูงอายุไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน คือ
โรคหลอดเลือดหัวใจ : หัวใจล้มเหลว
โรคหลอดเลือดสมอง : อัมพฤกษ์,อัมพาต
หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน : ชาปลายมือ-เท้า, เป็นแผลหายยาก
2.ผู้สูงอายุสามารถบอกการรับประทานอาหารได้ตรงกับโรคเบาหวาน
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้ผู้สูงอายุควมคุมอาหารและควมคุมน้ำหนักให้เหมาะสมคงที่ แนะนำอาหารที่ควรรับประทาน
ข้าวกล้อง และขนมปังธัญพืช มีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาวและขนมปังขาว 3-7 เท่า ซึ่งเส้นใยนี้จะช่วยซับเน้ำมันและน้ำตาลที่กินเข้าไปเป็นส่วนเกินทิ้งเป็นกากอุจจาระ ผักใบเขียว เช่น คะน้า เพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีแเกลือแร่จำนวนมาก ในใบคะน้าดิบ 2 ถ้วย มีปริมาณไฟเบอร์ถึง 4-8 กรัม แอปเปิ้ลเขียว อุดมไปด้วยไฟเบอร์ถึง 4 กรัม ต่อ 1 ผล 1.4 อโวคาโด เนื้อครีมของอะโวคาโดเป็นแหล่งของใยอาหาร
2.ให้ข้อมูลอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงแก่ผู้สูงอายุ อหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ดูดซึมได้ง่าย พวกแป้งขัดขาว ข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำตาล หรือ ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ผ่านการแปรรูปเพื่อป้องกันจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ง่ายและเกือบจะทันทีที่รับประทานทานเข้าไป เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างฉับพลันทำให้ช็อคและหมดสติ .ให้การเน้นยำจำกัดผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ละมุด มังคุด ลำไย ทุเรียน เพื่อไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างฉับพลัน
3..แนะนำให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารในแต่ละมื้อให้เท่าๆกัน และไม่ควรเลื่อนเวลาอาหารออกไป
แนะนำให้ควมคุมอาหารไปทีละน้อยๆอาจมีใช้ตารางอาหารประจำวันแลกเปลี่ยน
การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นเพราะจะ ทำให้อินชูลินออกฤทธิ์ได้ดี นอกจากนี้เลือดจะไปเลี้ยง
กล้ามเนื้อที่ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้สมบูรณ์ขึ้น และยังช่วยเผาผลาญ ขมันที่สะสมไว้ ทำให้น้ำหนักลด แนะนำผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรเป็นเวลาเดียวกันในแต่ละวัน จะได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ได้ ถ้ารู้สึกท้องว่าง ควรงดการออกกำลังกาย เพราะเป็นช่วงมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำควรรับประทานน้ำผลไม้ หรือขนมปังกรอบ 2-3 แผ่น ก่อนออกกำลังกาย การออกกำลังกายในระยะแรก ควรเริ่มจากทีละน้อยๆ ค่อยๆเพิ่ม ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น เหงื่อออก ใจสั่น ควรหยุดออกกำลังกายทันที
แนะนำเรื่องการการใช้ยา การใช้ยาเป็นอีกสิ่งที่สำคัญที่พยาบาลต้องเน้นย้ำแก่ผู้สูงอายุแนะนำญาติควรเขียนฉลากยาให้ตัวโต อ่านได้ง่ายชัดเจน ป้องกันการทานยาซ้ำหรือลืมทานยาเนื่องจากผู้สูงอายุมักมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา และแนะนำญาติให้ ช่วยเหลือผู้สูงอายุในการรับประทานยา
6.ให้คำแนะนำผู้สูงอายุในการดูแลเท้าได้ด้วยตนเอง ทำความสะอาด ป้องกันการบาดเจ็บของเท้า
9.ผู้สูงอายุมีภาวะท้องผูกเนื่องจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและต้องพึ่งยาระบายเป็นเวลา ข้อมูลสนับสนุน
S: 1.ผู้สูงอายุบอกว่าขับถ่ายไม่ออกเป็นเวลา 3 วัน/สัปดาห์
2.ผู้สูงอยุบอกว่าต้องพึ่งยาระบายมะขามแขกทุกครั้ง
เนื่องจากการขับถ่ายอุจาระ เป็นการทำงานที่ร่วมกันของ ระบบประสาทส่วนกลาง ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบประสาทส่วนปลาย โดยเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนไหวบีบตัวของลำไส้ และทำให้กากอาหารถูกผลักดันสู่ลำไส้ใหญ่ส่วนล่างง เมื่อกากอาหารที่ผ่านเข้ามาในลำไส้ใหญ่ มีปริมาณมากหรือมีขนาดใหญ่พอจะทำให้เกิดความตึงตัวและแรงดันภายในลำไส้ (intraluminal pressure) และกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระเมื่อผู้สูงอายุมีการเจ็บป่วย มีการเสื่อมลงของสภาพร่างกายตามวัย และมีปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ อุปนิสัยการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การออกกำลังกาย ตลอดจนยาที่ได้รับก็มีผลให้เกิด อาการท้องผูกด้วยได้ง่าย เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อหูรูดลดลง การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ การทำงานของระบบประสาท และการรับรู้ต่อการกระตุ้นการขับถ่ายอุจจาระบกพร่อง และความเจ็บป่วยเรื้อรังยังมีผลต่ออาหารผ่านถึงลำไส้ใหญ่ช้าลงด้วยโดยพบว่าผู้สูงอายุที่แข็งแรง อาหารจะผ่านถึงลำไส้ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน แต่ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรังใช้เวลานาน 6-14 วัo
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล: ผู้สูงอายุไม่มีภาวะท้องผูกและไม่ต้องพึ่งยาระบาย
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้สูงอายุไม่ต้องพึ่งยาระบาย
2.ผู้สูงอายุสามารถขับถ่ายได้เองภายใน1-2 วัน
3.ผู้สูงอายุบอกการรับประทานอาหารและน้ำเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายได้
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.แนะนำผู้สูงอายุให้รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหาร (fiber) อย่างน้อยวันละ 10-25กรัม ได้แก่ใยอาหารจากธัญพืช เช่น ข้าวข้อมมือ จากผลไม้ เช่น สัปปะรด ส้มโอ ฝรั่ง มะม่วงดิบองุ่น มะละกอ สาลี่ แอปเปิ้ล และผักที่มีเส้นใยสูง เช่น ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ผักกาดหอม แตงกวามะเขือเทศสด หน่อไม้ฝรั่ง ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า
แนะนำให้ผู้สูงอายุดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วเป็นอย่างน้อย (หากไม่มีข้อห้าม) หรือดื่มน้ำผลไม้ที่มีผลในการขับถ่ายเช่น น้ำมะนาว น้ำลูกพรุ่น หรือน้ำมะขาม ช่วยให้อุจจาระอ่อนตัว
แนะนำให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวดีขึ้น ทำให้การขับถ่ายสม่ำเสมอ
สอนการฝึกการขับถ่ายให้ผู้สูงอายุ (bowel training โดยการกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน วันละ 10 นาที เพื่อนั่งถ่ายอุจจาระ เวลาที่แนะนำคือ ตื่นนอนตอนเช้าและดื่มน้ำอุ่น 1-2 แก้วหรือ 30 นาทีหลังอาหารเช้า เพื่อเป็นการกระตุ้น Gastrocolic reflex สถานที่ขับถ่ายควรมีความเป็นส่วนตัว
5.ให้คำแนะนำเรื่องการนวดหน้าท้องเพื่อกระตุ้นให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวและส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระอยู่ให้แก่ผ้สูงอายุเสมอท่าที่ 1 ท่านวดตามแนวเส้นตรง ท่าที่ 2 ท่าโกยลำไส้ ท่าที่ 3 ท่าโยกลำไส้ ท่าที่ 4 ท่านวดตามเข็มนาฬิกา
10ผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับอันตรายจากแอลกอฮอล์เนื่องจากพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังข้อมูลสนับสนุน
S:1.ผู้สูงอายุมีการจัดการความเครียดโดยดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ2-3ครั้งการเป็นโรคติดแอลกอฮอล์นั้นได้มีผู้ให้ความหมายในลักษณะเดียวกันกับการเสพติดสุรา การติดแอลกอฮอล์ และภาวะติดแอลกอฮอล์ว่าหมายถึงความผิดปกติของการดื่มสุราที่มีการดื่มเป็นประจำในปริมาณมาก หรือเป็นเวลานานจนเกิดผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และการทำหน้าที่ในครอบครัว และสังคม โดยผู้ที่เป็นโรคติดแอลกอฮอลจะมีการแสดงออกในลักษณะที่ต้องเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้น จึงจะได้ฤทธิ์เท่าเดิมมีอาการทางร่างกายเมื่อไม่ได้ดื่ม (withdrawal) เช่น เมื่อเริ่มดื่มมักจะควบคุมการดื่มไม่ได้(impaired control) หมกมุ่นและใช้เวลาหมดไปกับการดื่ม (time spent drinking) มีความต้องการและพยายามหลายครั้งที่จะเลิกดื่มแตไม่สำเร็จ (cut down) มีความบกพร่องในอาชีพการงาน หรือไม่สนใจการทำกิจกรรม (neglect of activity) และยังคงดื่มอยู่ทั้ง ๆ ที่มีผลเสียเกิดขึ้นแล้ว (drinking despite problem)ผลกระทบที่พบได้บ่อยในผู้ดื่มสุราเรื้อรังหรือผู้ติดสุราคือการเกิดปัญหาโรคร่วมทางกายและโรคร่วมทางจิตเวช เช่น โรคตับ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคกระเพาะอาหารโรคซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวนแบบสองขั้วการมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายหรือการใช้สารเสพติตอื่นร่วมผู้สูงอายุที่ติดสุรามีปัญหาทางคลินิกหลายด้านเช่น มีอาการถอนพิษสุราเมื่อไม่ได้ดื่มหรือลดการดื่มลง มีปัญหาทางจิตสังคมที่ชับช้อน มีความเสี่ยงต่อการกลับดื่มสุราซ้ำ มีโอกาสได้รับอุุบัติเหตุจากการมึนเมาสุรา และมีโรคร่วมที่เกี่ยวข้องกับการดื่มแอลกอฮอล์
เป้าประสงค์ทางการพยาบาล:ป้องกันผู้สูงอายุได้รับอันตรายจากการดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง
เกณฑ์การประเมินผล:1.ผู้สูงอายุบอกว่าจะเลิกดื่มแอลกอฮอล์
2.ผู้สูงอายุสามารถบอกวิธีปฏิบัติตัวเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้
กิจกรรมการพยาบาล
1.ให้คำแนะนำเรื่องผลกระทบของแอลกอฮอล์ต่อร่างกายกับผู้สูงอายุ
2.ให้คำแนะนำแนวทางในการเลิกดื่มสุรากับผู้สูงอายุ
ให้ผู้สูงอายทบทวนตัวเองทุกวันถึงส่วนดีและส่วนเสียของแอกฮอล์
3.ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านงดแอลกอฮอล์อย่างเคร่งครัด วางตัวให้ห่างจากขวดจากแอลกอฮอล์ และห่างจากเพื่อนที่ดื่มแอลกอฮอล์
4.หันมาคบกับเพื่อนกลุ่มที่สนใจกับกิจกรรมอื่นๆ เช่นการออกกำลังกาย กิจกรรมโครงการของผู้สูงอายุในชุมชน ดนตรี สิ่งดีๆ ที่ผู้สูงอายุชอบ สิ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุหลุดพ้นจากอิทธิพลของแอลกอฮอล์ในการจัดการความเครียด
ข้อมูลทั่วไปผู้สูงอายุ
case 5
ชื่อ นางเปรมใจ กระชั้น อายุ 74 ปี เพศ หญิง สถานภาพ สมรส อาชีพ ค้าขายอาหารในโรงเรียน ระดับการศึกษา ปริญญาตรี รายได้ 17000 บาท/เดือน สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนาพุทธ ภูมิลำเนาเดิม จ.ชลบุรี ปัจจุบัน 74 ถนนเทศบาลพัฒนา 2 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี โรคประจำตัวและการรักษา DM เบาหวาน ไปรับยาเป็นประจำและเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเดือนละ 2 ครั้งที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต พ.ศ.2549 ผ่าตัดไส้ติ่ง มีอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์ ได้รับการผ่าตัดแขนข้างขวาและขาข้างซ้าย ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว ครอบครัวผู้ป่วย 7 คนติดโควิด-19 เมื่อเดือนตุลาคม 2564
case 3
วรรณา บัวคำ อายุ 60 ปี เพศ หญิง สถานภาพ สมรส สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ระดับการศึกษา อาชีพ ค้าขาย ประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 รายได้ 16,600 บาท/เดือน ภูมิลำเนาเดิม ชลบุรี ที่อยู่ปัจจุบัน 2/6 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี โรคประจำตัว ไม่มี ไม่เคยเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
case 6
นงเยาว์ พระราช อายุ 66 ปี สถานภาพสมรส อาชีพค้าขาย ระดับการศึกษาประถมศึกษาปีที่4 สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย รายได้ประมาณ 6000 บาทต่อเดือนภูมิลำเนาเดิมชลบุรี ที่อยู่ปัจจุบัน 27/1 เทศบาลพัฒนา2 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ภาวะสุขภาพ โรคประจำตัวความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง รับยาประจำที่รพสต.ใกล้บ้าน ปฏิเสธประวัติเจ็บป่วยในอดีต ประวัติเจ็บป่วยในครอบครัวมารดาเป็นเบาหวาน,ความดันโลหิตสูงและธัยรอยด์เป็นพิษ
case 2
สมชาย ศุภคุตตะ อายุ 70 ปี เพศชาย สถานภาพสมรส สัญชาติไทย เชื้อชาติไทย ศาสนาพุทธ ไม่ได้ประกอบอาชีพ ระดับการศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง รายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท และรายได้จากลูก (ผู้สูงอายุไม่สะดวกบอก) ภูมิลำเนาเดิม จังหวัดระยอง ที่อยู่ปัจจุบัน 22/5 เทศบาลพัฒนา 2 ตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี โรคประจำตัว : โรคปลายประสาทอักเสบ (Peripheral Neuropathy)
case 7
สมใจ แสงพวง อายุ 67 ปี เพศ หญิง
สถานภาพสมรส หม้าย สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ อาชีพ ค้าขาย ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่4 รายได้-บาท/เดือน ภูมิลำเนาเดิม ชลบุรี ที่อยู่ปัจจุบัน 98/9 เทศบาลพัฒนา2 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี โรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูงกับโรคไขมันในเลือดสูง
case 1
จิราพรรณ เขื่อนวัย อายุ 60 ปี เพศ หญิง สถานภาพสมรส หย่าร้าง สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4 อาชีพ รับจ้างทั่วไป รายได้ไม่แน่นอน ประมาณ 200-300 บาท/วัน ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท ที่อยู่ปัจจุบัน ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี ปฏิเสธการมีโรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต เคยป่วยเป็นธัยรอยด์เป็นพิษเมื่อปี 2559 รักษาโดยการรับประทานยาตามแพทย์สั่งจนถึงปี 2562
case 8
จรินทร์ ไพรรุณ อายุ 60 ปี เพศ หญิง สถานภาพสมรส หม้าย สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ อาชีพ ค้าขาย ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่4
รายได้5000 บาท/เดือน ภูมิลำเนาเดิม ชลบุรี ที่อยู่ปัจจุบัน 18 ถนนเทศบาลพัฒนา2 ต.เหมือง อ.เมือง จ.ชลบุรี โรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูงกับโรคไขมันในเลือดสูง
case 4
สมส่วน โพธิแสง อายุ 62 ปี เพศหญิง สภานภาพ สมรส(คู่) ระดับการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4
อาชีพ ว่างงาน โรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันมันในเลือดสูง ไม่มีประวัติการแพ้ยา แพ้อาหาร รายได้เฉลี่ย 2500 บาท/เดือน
11 แบบแผนกอร์ดอน
แบบแผนที่ 9
case 4
ผู้สูงอายุปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ ตอนนี้แยกกันอยู่กับสามี มีบุตร 3 คน ไม่มีปัญหาขับถ่าย ไม่มีปัสสาวะแสบขัด
case 5
ผู้สูงอายุเพศหญิงนอนห้องเดียวกันกับสามี แสดงความรักปกติ ปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์มาเป็นปี อวัยวะสืบพันธ์ การขับถ่ายปัสสาวะไม่แสบ ไม่เจ็บปวดขณะปัสสาวะ มีการแสดงออกทางเพศที่เหมาะสมกับเพศตนเอง
case 3
ผู้สูงอายุปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ ตอนนี้นอนแยกห้องกันกับสามี มีบุตร 2 คน ปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศ ใช้คำแทนตนเองได้เหมาะสม
case 7
ผู้สูงอายุปฏิเสธการมีเพศสัมพันธุ์เนื่องจากเป็นหม้าย และไม่มีสามีใหม่ ไม่พบปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธ์ุ เช่น บวม แดง
case 2
ผู้ป่วยบอกว่าแก่แล้ว ไม่ได้คิดเรื่องเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธุ์แล้ว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธ์ุ ต่อมลูกหมากไม่โต มีการวางตัวเหมาะสมกับเพศ
case 6
ผู้สูงอายุแยกห้องนอนกับสามี ปฏิเสธกาารมีเพศสัมพันธุ์ ให้ประวัติว่าตนไม่มีเพศสัมพันธ์กับสามีตั้งแต่ลูกๆ เริ่มโต ไม่มีปัญหาขัดแย้งกันเป็นการตกลงของทั้งสองฝ่าย ปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธ์ แสดงออกทางเพศเหมาะสมตามเพศสภาพกำเนิด
case 1
ผู้สูงอายุปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ และปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธ์ มีพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศ การใช้คำพูดแทนตัวเองเหมาะสมกับเพศ การแต่งกายเหมาะสม
case 8
ผู้สูงอายุปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์เนื่องจาก แยกกันอยู่กับสามีมาประมาณ 6ปี แล้ว และปฏิเสธปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ มีพฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศ การใช้คำพูดแทนตัวเองเหมาะสมกับเพศ การแต่งกาย
เหมาะสม
แบบแผนที่ 10
case 4
ผู้สูงอายุไม่มีเรื่องให้เครียด ลูกสาวและครอบครัวคอยให้กำลังใจเสมอ บุคคลที่คอยให้คำปรึกษาและคอยให้ความช่วยเหลือคือลูกสาวคนเล็ก
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 2 คะแนน มีภาวะเครียดเล็กน้อย
case 5
ผู้สูงอายุมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดจากหลานที่ไม่ยอมรับฟังคำแนะนำตนเอง จัดการความเครียดโดยการดื่มแอลกอฮอล์สัปดาห์ละ2-3ครั้ง บุคคลที่คอยให้คำปรึกษาคือเพื่อนเวลาที่ไปดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกัน
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 4 คะแนน มีภาวะเครียดเล็กน้อย
case 3
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด ผู้สูงอายุมีเครียดเรื่องเงินบ้างแต่น้อยลงกว่าแต่ก่อน วิธีการแก้ไขความเครียดก็ไม่ได้ทำอะไร ปล่อยไว้ ทำงานไปเดี๋ยวก็ลืม
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 0 คะแนน ไม่มีภาวะเครียด
case 6
ผู้สูงอายุมีความเครียดจากสถานภาพการณ์เงินในครอบครัวเนื่องจากไม่พอใช้จ่าย จึงต้องหยิบยืมเพื่อนร่วมงานสามีเป็นบางครั้ง วิธีการเผชิญปัญหาและแก้ไขความเครียด คือ การปล่อยวาง
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 2 คะแนน มีภาวะเครียดเล็กน้อย
case 2
ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุเครียดคือ งาน และทะเลาะกับภรรยา ผู้สูงอายุมีวิธีการแก้ไขความเครียดโดยการนิ่งเฉยๆ และในเรื่องงานจะรีบทำงานให้เสร็จทันเวลา บุคคลที่คอยให้ความช่วยเหลือผ้สูงอายุคือ ลูกและภรรยา
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 0 คะแนน ไม่มีภาวะเครียด
case 1
ผู้สูงอายุไม่ค่อยมีเรื่องให้เครียด ถ้ามีเรื่องเครียดก็จะร้องเพลงฟังเพลงเพื่อคลายความเครียด บุคคลที่คอยให้คำปรึกษาและคอยให้ความช่วยเหลือคือพี่สาวคนรอง
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 0 คะแนน ไม่มีภาวะเครียด
case 8
ผู้สูงอายุเล่าว่า ตอนนี้ไม่มีเรื่องให้เครียด ชีวิตตอนนี้มีความสุขมากๆ ถ้ามีเรื่องเครียดก็จะคุยกับลูกสาว หรือเลี้ยงกับสัตว์เลี้ยงเพื่อคลายความเครียด บุคคลที่คอยให้คำปรึกษาและคอยให้ความช่วยเหลือคือลูกสาว
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 0 คะแนน ไม่มีภาวะเครียด
case 7
ผู้สูงอายุเล่าว่า มีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดบ้างเล็กน้อย ในเรื่องของเศรษฐกิจตอนนี้ แต่ว่าไม่ได้เครียดมาก เพราะเป็นกันทุกคน เวลาเครียดจะมีวิธีการคลายเครียดคือการปลอยวาง ทำใจ และดูลิเกผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อคลายเครีย
ผลการประเมินตามแบบประเมินความเครียดกรมสุขภาพจิต (ST-5) ได้ 0 คะแนน ไม่มีภาวะเครียด
แบบแผนที่ 8
case 4
ผู้สูงอายุไม่ได้ประกอบอาชีพ ตอนนี้มีบทบาทหน้าที่ในการเลี้ยงหลาน อายุ 3 ปี คอยช่วยในการทำงานบ้าน ดูแลทำความสะอาดเล็กๆน้อย
case 5
ผู้สูงอายุมีบทบาทเป็นสมาชิกในครอบครัวและให้คำปรึกษาแก่บุตรและหลาน มีหน้าที่ดูแลบิดาของผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ สัมพันธภาพกับหลานชายไม่ค่อยดีเพราะขัดแย้งกันเวลาผู้สูงอายุให้คำแนะนำหลานชาย มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนบ้านและไม่มีปัญหากับผู้อื่น
case 3
ผู้สูงอายุมีบทบาทเป็นเสาหลักของครอบครัวร่วมกับสามี และหารายได้เข้าบ้านเป็นหลักร่วมกับบุตรชาย ช่วยบุตรเลี้ยงดูหลานทั้ง 3 คน ในครอบครัวมีการพูดคุยสื่อสารกันปกติ รักใคร่กันดี
case 6
ผู้สูงอายุเป็นเสาหลักครอบครัวร่วมกับสามี คอยดูแลหลานๆ ในเวลาที่ลูกของตนไม่มีเวลา สัมพันธภาพระหว่างคนในครอบครัวดี สัมพันธภาพกับเพื่อนบ้านดี ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ
case 2
ผู้สูงอายุมีบทบาทเป็นหัวหน้าครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นคอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
case 7
ผู้สูงอายุเเป็นเสาหลักของครอบครัว เป็นผู้นำและมีอำนาจการตัดสินใจในบ้าน เป็นแม่ค้า ค้าขายของเป็นประจำ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทั้งกับคนในครอบครัว และในชุมชน
case 1
ผู้สูงอายุุมีบทบาทเป็นสมาชิกในครอบครัว มีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในครอบครัว พูดคุยกันได้ทุกเรื่อง มีปัญหากับพี่สาวคนโตแต่พักอาศัยอยู่กันคนละที่และขาดการติดต่อกันมาตั้งนานแล้ว
case 8
ผู้สูงอายุมีบทบาทเป็นมารดา ไม่ได้ประกอบอาชีพ แต่มีขายของบ้างเล็กๆน้อยๆ แก้เหงาช่วงเวลาที่ลูกสาวไปทำงาน สัมพันธภาพระหว่างคนในครอบครัวดี สัมพันธภาพกับเพื่อนบ้านดี ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอด
แบบแผนที่ 11
case 4
นับถือศาสนาพุทธ หากมีเวลาว่างลูกสาวจะพาไปทำบุญ สวดมนต์ ไหว้พระเป็นประจำ
มีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยขึ้นอยู่พฤติกรรมของตนเอง
case 5
ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาโดยไหว้พระทุกวันก่อนนอน สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคือ พระและศาลพระภูมิ ผู้สูงอายุเชื่อว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไเหมาะสมทำให้เกิดโรคในปัจจุบัน และคิดว่าตนเองไม่สามารถควบคุมการรับประทานอาหารให้เข้ากับโรคได้ดีเท่าที่ควร
case 3
การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ไม่ได้ไป ไม่มีเวลาไปสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ คือ ครอบครัว ความเชื่อเกี่ยวกับทางด้านสุขภาพ คิดว่าเกี่ยวกับพฤติกรรมของตนเอง การทำงานตลอด ทำงานหนัก
case 6
ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาโดยไหว้พระ, สวดมนตร์ ทุกวันก่อนนอน และไปทำบุญที่วัดเป็นประจำเมื่อมีเวลาว่างสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้สูงอายุ คือ หลานๆความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ เชื่อว่าความผิดปกติของร่างกายเกิดจากตนเอง ไม่มีความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์
case 2
ผู้สูงอายุปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่ การทำบุญ ช่วยงานที่วัดเมื่อมีงานต่างๆ ได้แก่ ทำดอกไม้จันทน์ ไม่มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ผู้สูงอายุเชื่อว่าการเจ็บป่วยขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพร่างกาย
case 7
ผู้สูงอายุชอบเข้าวัดทำบุญทุกวันพระ ชอบไปทำงานบุญทอดกฐินต่างจังหวัด เชื่อว่าพออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมลงเป็นปกติ ไม่มีความเชื่อด้านไสยศาสตร์
case 1
ผู้สูงอายุนับถือศาสนาพุทธ ไม่ค่อยได้เข้าวัดทำบุญ
เนื่องจากสถานการณ์โควิด สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเองนับถือ เชื่อว่าที่ตนเองไม่มีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วยมาจากการออกกำลังกายเป็นประจำ
case 8
ผู้สูงอายุนับถือศาสนาพุทธ ตักบาตรทุกเช้า เข้าวัดทำบุญทุกวันพระ สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคือ ตนเอง เชื่อว่าที่ตนเองมีโรคประจำตัวเกิดจากการที่ตนเองอาจจะดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอในเรื่องของการรับประทานอาหาร
แบบแผนที่ 7
case 6
ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเป็นเสาหลักของครอบครัวร่วมกับสามี จำกัดความตนเองว่าเป็นคนอารมณ์ร้อน
ความผิดปกติของตนเองเกี่ยวกับการเจ็บปวด รู้สึกมึนหัว, เวียนหัวเวลาใช้ความคิดมากๆ วิธีการเผชิญและแก้ไขปัญหาคือ การปล่อยวาง
case 5
ผู้สูงอายุรับรู้ว่าตนเองได้ช่วยเหลือครอบครัวหารายได้และมีเบี้ยบำนาญข้าราชการประจำเดือนใช้ รับรู้ว่ารู้สึกเหนื่อย หน้ามืดจากน้ำตาลในเลือดสูง เพราะชอบกินอาหารและผลไม้รสชาติหวาน แก้ปัญหาโดยการเข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุลดหวานในรพ.สตชุมชนเหมืองพัฒนา 2
case 4
ผู้สูงอายุรู้สึกพอใจกับความเป็นอยู่และการเจ็บป่วยของตนเองในตอนนี้ รู้สึกว่าสุขภาพของตนเองดีขึ้น มีแนวคิดว่าการเจ็บป่วยต่างๆเกิดขึ้นเพราะพฤติกรรมของตนเอง เมื่อไม่สุขสายหรือมีการเจ็บป่วยลูกสาวจะพาไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน
case 7
ผู้สูงอายุพอใจกับตนเองในทุกๆด้าน รับรู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยมีวิธีในการแก้ปัญหาและจัดการกับความเครียดของตนสามารถเผชิญกับปัญหาและแก้ไขได้ แก้โดยการไปโรงพยาบาลรักษาอาการป่วยเป็นประจำตามแพทย์นัด และปล่อยวาง ไม่คิดมาก
case 3
ผู้สูงอายุ มีความคิดต่อตนเองว่าอายุมากแล้วร่างกายก็เป็นแบบนีตามปกติ แต่มีความเครียดน้อยลงกว่าช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แรกๆ หากมีปัญหา ก็จะพูดคุยกันภายในครอบครัวถึงปัญหานั้นๆ
case 8
ผู้สูงอายุมีน้ำเสียงและหน้าตาร่าเริง แจ่มใส ยิ้มแย้ม ไม่มีความวิตกกังวลอะไร ผ้สูงอายุมีความรู้สึกดีต่อตนเองในทุกๆด้าน ตนเองมีความสุขมากๆกับชีวิตในตอนนี้ โรคประจำตัวที่เป็นอยู่เกิดจากการที่ตนเองอาจจะดูแลตัวเองได้ไม่ดีพอ แต่ก็รักษาตามอาการไป ไม่ได้ปล่อยปะละเลย วิธีการเผชิญและแก้ปัญหา คือ การปลง ปล่อยวาง หรือคุยกับลูกสาวบ้าง เล่นกับสัตว์เลี้ยง
case 2
ผู้สูงอายุมีความรู้สึกดีต่อตนเองในด้านต่างๆ ทำหน้าที่ได้เหมาะสม ความรู้สึกผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยในเรื่องการรับรสเค็ม รับรสเค็มได้ไม่แน่นอน เมื่อมีปัญหาจะแก้ปัญหาด้วยการหาทางแก้ไขปัญหานั้น
case 1
ผู้สูงอายุขณะพูดคุยน้ำเสียงสดใส หน้าตายิ้มแย้ม มีคุยเล่นกับพี่สาวคนรองในบางช่วง ไม่แสดงออกถึงความรู้สึกทางด้านลบขณะพูดคุยตอบคำถาม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะคุยปรึกษากับพี่สาว และมองโลกในแง่ดี
สภาพแวดล้อมภายในบ้านของผู้สูงอายุ
case 4
สภาพภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นบ้านจัดสรร 2 ชั้น มีสระว่ายน้ำอยู่ภายในบ้าน รอบบ้านมีรั้วกั้นทั้ง 4 ด้าน ภายในบ้านถูกแบ่งเป็นโซนห้องต่างๆ มี 4 ห้องนอน มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ใช้น้ำประปา ซื้อน้ำดื่มจากห้างสรรพสินค้า มี 2 ห้องน้ำ ลักษณะส้วมที่ใช้เป็นชักโครก ภายในห้องน้ำมีโซนแห้งเปียก สภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัยเป็นที่ดินส่วนบุคคลของผู้สูงอายุเอง เป็นบ้านสวน อยู่ติดกับถนนในซอยโรงเรียน k
case 5
สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เป็นตึก ชั้นเดี่ยว มีของวางกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ มีห้องนอนทั้งหมด 4 ห้อง หน้าต่างและประตูเป็นบานเลื่อน ห้องน้ำอยู่ร่วมกับห้องสุขา และห้องน้ำอยู่ไกลจากผู้สูงอายุ ลักษณะที่ขับถ่ายเป็นชักโครกสิ่งอำนวยความสะดวกคือราวจับเดินของบิดาผู้สูงอายุ ดื่มน้ำแพ็คและใช้น้ำประปา กำจัดขยะโดยเอาไปใส่ถังหน้าบ้านแล้วให้เทศบาลมาเก็บทกวัน มีสัตว์เลี้ยงสุนัข 3 ตัว และแมว 7 ตัว ไม่ได้กำจัดขนเพราะบางครั้งมีขนสัตว์ติดผ้าและที่นอน การคมนาคมให้บุตรขับรถไปส่งเพื่อขายของและไปโรงพยาบาล
case 3
สภาพภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นบ้านทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน มีครบครัน แหล่งน้ำดื่ม ซื้อน้ำแพ็คมารับประทานเอง น้ำใช้ น้ำประปา ลักษณะส้วมที่ใช้เป็นชักโครก สัตว์เลี้ยง มีแมว 1 ตัว ได้รับวัคซีนแล้ว
case 6
สภาพภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นบ้านชั้นเดียว มีสวนร่มรื่นมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน น้ำใช้เป็นน้ำประปา น้ำดื่มเป็นน้ำขวดที่ซื้อมาไว้เป็นแพ็ค ใช้ส้วมชักโครก แยกขยะก่อนทิ้งมีถังขยะหน้าบ้านมีรถขยะเทศบาลเข้ามาเก็บ สัตว์เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ที่ตั้งของบ้านถนนส่วนบุคคลอยู่ไม่ห่างจากถนนใหญ่มาก การคมนาคมมีรถจักรยานยนต์เป็นของตัวเอง
case 2
สภาพภายในบ้าน สะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ เป็นบ้านสองชั้น สิ่งแวดล้อมภายนอกบ้านมีพื้นที่กว้างสามารถออกกำลังกายได้ รอบบ้านสะอาด สิ่งอํานวยความสะดวกภายในบ้านมีครบครันและพร้อมใช้งาน แหล่งน้ำดื่มและน้ำใช้มาจากปะปา ลักษณะของส้วมที่ใช้จะเป็นชักโครก มีความสะอาด การกําจัดขยะและสิ่งปฏิกูลจะทิ้งขยะในถังขยะของเทศบาลที่หน้าบ้าน ไม่มีสัตว์เลี้ยง สภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัยกว้างขวาง ไม่แออัด การคมนาคมสะดวก ผู้สูงอายุขับรถไปไหนเองได้
case 7
สภาพภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอกบ้าน บ้านเดี่ยว เป็นบ้านชั้นเดียว มีช่วงยกสูงภายในบ้านมีบันได 5 ขั้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน น้ำใช้เป็นน้ำประปา น้ำดื่มเป็นน้ำกรองที่กดจากตู้ มีห้องน้ำ 2 ห้อง มีการปูแผ่นยางกันลื่น ใช้ส้วมชักโครก มีถังขยะหน้าบ้านมีรถขยะเทศบาลเข้ามาเก็บ สัตว์เลี้ยงที่มีคือ สุนัข 1 ตัว แมว 1 ตัว ที่ตั้งของบ้านถนนส่วนบุคคล รอบๆบ้านเป็นป่าา มีรั้วบ้านชัดเจน อยู่ไม่ห่างจากถนนใหญ่มาก การคมนาคมขับรถไม่เป็น มีลูกหลานรับส่งเวลาเดินทาง
case 1
สภาพในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นบ้านไม้ทั้งหลัง ยกสูง มีใต้ถุน สิ่งอำนวยความสะดวกในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป เช่น โทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ ซื้อน้ำแพ็คดื่ม น้ำใช้เป็นน้ำประปา ลักษณะของส้วมที่ใช้ เป็นชักโครก มีการจัดของที่เป็นระเบียบและหยิบจับใช้สะดวก การกำจัดขยะและสิ่งปฏิกูล ทิ้งถังขยะของหมู่บ้านบริเวณแถวบ้านทุกวัน ไม่มีสัตว์เลี้ยง สภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัย เป็นแอ่งกระทะ เมื่อมีฝนตกหนักมักเกิดน้ำท่วมขัง การคมนาคม ไม่มีรถขนส่งสาธารณะผ่าน โดยสารโดยรถยนต์ส่วนตัวให้หลานขับ
case 8
สภาพภายในบ้านและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นบ้านชั้นเดียว ครึ่งปูนครึ่งไม้ (จากการต่อเติม) มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านครบครัน ใช้น้ำประปาจากเครื่องกรองน้ำในการประกอบอาหาร และซื้อน้ำดื่มเป็นแพ็คมาดื่ม ลักษณะส้วมที่ใช้เป็นชักโครก มีการแยกขยะก่อนทิ้งทุกครั้งและมีถังขยะของเทศบาลตั้งยู่ที่หน้าบ้าน สัตว์เลี้ยงที่มี คือ สุนัข 4 ตัว แมว 4 ตัว ทุกตัวได้รับวัคซีน สภาพที่ตั้งของที่อยู่อาศัยเป็นที่ดินส่วนบุคคลของผู้สูงอายุเอง เป็นบ้านสวน อยู่ติดกับถนนในซอยโรงเรียน
ข้อมูลผู้ดูแล
case 1
ชื่อ - สกุล ผู้สูงอายุไม่สะดวกให้ข้อมูล เพศ หญิง อายุ 65 ปี การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4 ภาวะสุขภาพ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มียาที่รับประทานเป็นประจำ และไม่รับประทานยาสมุนไพร ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย พี่สาว ระยะเวลาที่ดูแล ผู้สูงอายุให้ข้อมูลว่า ดูแลกันและกันมาตั้งแต่เด็ก เพราะเป็นพี่น้องกันและพักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันมาตลอด ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม ส่วนใหญ่ผู้สูงอายุดูแลตนเองได้ เมื่อตนเองและพี่สาวไม่ได้ไปทำงาน ก็จะใช้เวลาที่บ้านร่วมกันปกติ
case 5
ผู้ดูแลหลัก คือ กมลวัณ กระชั้น อายุ 44 ปี การศึกษา มัธยมศึกษาปี่ที่ 3 ภาวะสุขภาพ ต้องไปรับยารักษามดลูกที่รพ.จุฬาทุกเดือน ความสัมพันธ์ บุตรสาวผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่เริ่มดูแล พ.ศ.2560-2565 พาผู้สูงอายุไปรับยาประจำเดือนที่โรงพยาบาลและจัดหาอาหารให้
ผู้ดูแลรอง คือ กิตติธัช บิลละโสย อายุ 55 ปี การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 6 ภาวะสุขภาพ ปัจจุบันเป็น โควิด 19 ความ ความสัมพันธ์ สามีผู้สูงอายุ ระยะเวลาที่เริ่มดูแล พ.ศ.2535-2565 พาผู้สูงอายุไปรับยาประจำเดือนที่โรงพยาบาล
case 6
ผู้ดูแลผู้สูงอายุคือสามี นายเสียน นุ่มนิ่ม เพศชาย อายุ 69 ปี จบการศึกษา ป.4 ภาวะสุขภาพเป็นเบาหวานและความดัน ระยะเวลาที่ดูแล พ.ศ.2517 จนถึงปัจจุบัน กิจกรรมที่ทำ ช่วยเตรียมของอุปกรณ์ไปค้าขาย
case 4
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ คือ นางสาวสุภาพพร โพธิแสง เพศ หญิง อายุ 30 ปี การศึกษา ปริญญาตรี ภาวะสุขภาพ ปกติไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ ลูกสาว ระยะเวลาที่ให้การดูแล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม คอยดูแลเรื่องค่าใช้จ่าย สุขภาพร่างกาย อาหารการกิน และการออกกำลังกาย
case 2
ผู้ดูแลหลัก : จิราวรรณ ศุภคุตตะ เพศหญิง มีภาวะสุขภาพแข็งแรง ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย : ภรรยา ให้การดูแลตลอดทั้งวัน ดูแลทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมภายในบ้านและนอกบ้าน ทำอาหาร ดูแลเมื่อเจ็บป่วย
case 3
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ชื่อ-สกุล เอกพนธ์ นิลแย้ม เพศ ชาย อายุ 39 ปี การศึกษา มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ภาวะสุขภาพ ไม่มีโรคประจำตัว ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย เป็นบุตรชายคนเล็ก ระยะเวลาที่ดูแลอยู่ด้วยกัน ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม ช่วยแค่เตรียมของขายแต่อยู่บ้านหลังเดียวกันอยู่ด้วยกันตลอดยกเว้นตอนไปขายของ
case 7
ผู้ดูแลผู้สูงอายุคือลูกชาย นายสมศักดิ์ หยาดเจริญ เพศชาย อายุ 46 ปี จบการศึกษา - ภาวะสุขภาพ - ระยะเวลาที่ดูแล พ.ศ.2555จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมที่ทำ คอยรับส่งไปขายของ ช่วยเตรียมของอุปกรณ์ไปค้าขาย พาไปโรงพยาบาล ดูแลเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย
case 8
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ คือ นางสาวณัฐสุดา ขาวเหลือง เพศ หญิง อายุ 26 ปี การศึกษา ปริญญาตรี ภาวะสุขภาพ ปกติไม่มีโรคประจำตัวใดๆ ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ เป็นลูกสาว ระยะเวลาที่ให้การดูแล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน ระยะเวลาที่ให้การดูแลต่อวันและกิจกรรม ผู้สูงอายุเล่าว่า ลูกสาวจะคอยโทรมาหาทั้งวันเวลาที่ออกไปทำงานนอกบ้าน โทรมาถามว่าทำอะไรอยู่ กินข้าวหรือยัง พอกลับบ้านมาลูกสาวก็จะเป็นคนดูแลผู้สูงอายุต่อโดยการพาออกกำลังกาย หรือพาไปทำกิจกรรมต่างๆ