Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความผิดของผู้ว่าจ้างทำของเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นหรือกล่าวที่นัยหนึ่งเป็นความรับผิดแทนกันซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ความผิดของผู้ว่าจ้างตามมาตรา 428 เป็นความกระทำผิดของบุคคลอื่น คือรับผิดในการกระทำของผู้ว่าจ้าง ความรับผิดของผู้ว่าจ้างในมาตรานี้ มิใช่เป็นความผฺดเพื่อละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นหากเเต่เป็นความรับผิดในฐานะที่ตัวผู้จ้างเองเป็นผู้ผิดโดยมีผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรง
ตัวอย่าง ก. ว่าจ้าง ข. ให้สร้างบ้านในที่ดินของ ก.หากว่าระหว่างทำการก่อสร้างนั้น ข. ประมาทเลินเล่อทำวัสดุสร้างบ้านหล่นไปถูกผู้ใด ข. ย่อมรับผิดโดยลำพัง ก.ในฐานะผู้ว่าจ้างไม่ต้องร่วมกันรับผิด
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน อย่างไรก็ตามความรับผิดของผู้ว่าจ้างอาจจะเกิดขึ้นได้ถ้าเข้าข้อยกเว้น 3 กรณีที่กฎหมายกำหนดไว้
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป้นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
ความรับผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นการละเมิดในตัวเองแต่อาจจะสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผ,ให้ผู้อื่นเสียหาย
ความรับผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
การที่จ้างให้ทำนั้นโดยสภาพและคำสั่งของผู้ว่าจ้างไม่เป็นละเมิด แต่มีความเสียหายต่อผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ทางการที่จ้างนี้แสดงว่านายจ้างจะต้องรับผิดมิใช่แต่เพียงในการงานที่สั่งให้ทำเท่านั้น เมื่อลูกจ้างทำการงานให้นายจ้างในทางการเป็นละเมิดต่อผู้อื่น แม้จะผิดวิธีการไปจากที่นายจ้างสั่งนายจ้างก็ต้องรับผิด "ความรับผิดของนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 นั้นไม่จำเป็นวานายจ้างจะได้รู้เห็นยินยอมด้วยทถ้าลูกจ้างได้ทำละเมิดในทางการที่จ้างแล้วแม้นายจ้างจะอยู่ไกลแสนไกลมิได้รู้เห็นสั่งให้ทำก็ยังต้องรับผิด
ตังอย่าง ลูกจ้างขับรถยอมให้ลูกจ้างอื่นขับรถเมื่อเกิดเหตุละเมิด ลูกจ้างขับรถต้องรับผิดชอบและการละเมิดนี้ย่อมนับว่าอยู่ในกรอบแห่งการจ้างนายจ้างจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
สิทธิไล่เบี้ย มาตรา 426
บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างไม่ต้องรับผิดร้วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดด้วย
สิ่งที่ลูกจ้างไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้นั้นคือค่าสินไหมทดแทนที่ตนใช้ให้แกผู้เสียหายไปรวมทั้งดอกเบี้ยแต่ไม่รวมค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหาย
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
จะมีมาตราที่เกี่ยวข้องดังนี้ ป.พ.พ. มาตรา 427 บัญญัติว่า บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวเเทนด้วยโดยอนุโลม หมายความว่า ตัวการต้องการต้องร่วมกันรับผิดกับตัวเเทนในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวเเทนได้กระทำไปในการทำการแทนตัวการ เหตุที่ต้องรับผิดในการทำละเมิดของตัวเเทนเพราะกิจการที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการ
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 ที่ว่านายจ้าง ลูกจ้างนั้น หมายถึงบุคคล2ฝ่าย ที่มีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างเเรงงานทตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ ลักษณะ 6 ตั้งแต่มาตรา575- 586 อันว่าจ้างแรงงานสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ตัวอย่าง ข.เป็นลูกจ้างของ ก.มีหน้าที่ซ้อมเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีผู้มาจ้าง ก.ซ้อมโดยประมาทเลินเล่อที่ทำการซ่อมตามหน้าที่ ข. ทำเครื่องรับโทรทัศน์ของลูกค้าของ ก. เสียหาย ก.ต้องรับผิดต่อลูกค้า
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
มาตรา 426
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
เหตุที่กฎหมายให้นายจ้างต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของลูกจ้างก็เพราะลักษณะของสัญญาจ้างเเรงงานนั้น นายจ้างจึงมีอำนาจออกคำสั่งบังคับบัญชาให้ลูกจ้างทำงานได้
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัยเเม้เป็นผุ้เยาวืหรือบุคคลวิกลจริตก็ต้องรับผิดเพราะการทำละเมิดเป็นการล่วงสิทธิไม่ใช่สิทธิซึ่งคนดังกล่าวนี้อาจไม่ต้องรับผิดในการเเสดงเจตนา
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
เมื่อผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตทำละเมิดต่อบุคคลอื่น บุคคลที่ต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์ก็คือบิดามารดาบุคคลที่ต้องรับผิดกับบุคคลวิกลจริต คือผู้อนุบาลที่ศาลตั้งหรืออนุบาลตามข้อเท็จจริงแล้วแต่กรณี แต่มิใช่ว่าบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดทันที กล่าวคือบุคคลดจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตทำละเมิดในขณะที่บิดามารดาหรือผู้อนุบาลกำลังมีหน้าที่ดูแลอยู่ทั้งนี้ตามมาตรา 429 ตอนท้ายหากตนไม่ได้มีหน้าที่ที่ดูแลแล้วก็ไม่ต้องรับผิดเป็นกรณีที่ต้องพิจรณาตามมาตรา 430
ตัวอย่าง เด็กชาย บี อายุ15ปี ขับรถมอเตอร์ไซร์ไปโรงเรียนความเร็วสูงโดยถูกพ่อเเละแม่บังคับให้ขับรถไปเรียนเอง ต่อมาเด็กชายบี ได้ขับรถชน คนเสียชีวิต การที่นายบี ขับรถอย่างประมาทเลินเล่อนั้น จะมีความผิดร่วมไปถึงพ่อและแม่ของเด็กชายบีก็ต้องได้รับโทษ
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งผู้ไร้ความสามารถได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าปรากฏว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
มาตรา 430 "ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"
มาตรา 430 นี้แตกต่างจากมาตรา 429 ในเรื่องหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์ กล่าวคือ กรณีตามมาตรา 430 นั้นภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ผู้เสียหาย
การดูแลตามมาตรา 430 มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ
เช่น ผู้ปกครองที่ศาลสั่งตั้ง สถานพินิจคุ้มครองเด็กที่รับเด็กต้องคดีมาดูแล ถือเป็นผู้รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ
2. ดูแลโดยสัญญา
เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก จ้างคนมาดูแลผู้เยาว์ หรือครูบาอาจารย์ก็ถือว่าดูแลโดยสัญญา
3. ดูแลโดยข้อเท็จจริง
เช่น บิดานอกกฎหมายที่รับผู้เยาว์ไปดูแลในขณะเกิดเหตุ หรือปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาที่รับผู้เยาว์ไปดูแล หรือรับเด็กมาอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
บุคคลผู้รับดูแลมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล
1. ครูบาอาจารย์นั้นมีหน้าที่ดูแลนักเรียนผู้เยาว์ด้วย
หากนักเรียนผู้เยาว์ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ใดในระหว่างอยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์และปรากฏว่าครูบาอาจารย์นั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ครูบาอาจารย์นั้นย่อมต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
3. ผู้รับดูแล
คือ ต้องมีความใกล้ชิดดูแลอบรมสั่งสอนผู้เยาว์ด้วย บิดานอกกฎหมายก็ถือเป็นผู้ดูแล ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ถ้าได้ดูแลผู้เยาว์อยู่ก็ถือว่าเป็นผู้ดูแลเช่นกัน ดังนั้น หากผู้เยาว์ไปทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ใดในระหว่างอยู่ในความดูแลของผู้รับดูแลและปรากฏว่าผู้รับดูแลนั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร ผู้รับดูแลนั้นย่อมต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นด้วย
2. นายจ้าง
หมายถึงนายจ้างที่มีลูกจ้างเป็นผู้เยาว์ ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่ดูแลลูกจ้างผู้เยาว์ด้วย โดยที่ความรับผิดของนายจ้างตามมาตรา 430 นี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเหมือนดังมาตรา 425 แต่การกระทำละเมิดจะเกิดเวลาใดก็ได้ ตราบใดที่ลูกจ้างผู้เยาว์ยังอยู่ในความดูแลของนายจ้างหากไปทำละเมิดแล้วนายจ้างก็ต้องรับผิดชอบด้วย ส่วนถ้าหากลูกจ้างผู้เยาว์ยังอยู่ในความดูแลของนายจ้างแล้วการทำละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง กรณีนี้นายจ้างก็ต้องรับผิดทั้งตามมาตรา 425 และมาตรา 430
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น