Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
1 หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
เมื่อมีหนี้แล้วลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระให้ต้องตามความประสงค์แห่งหนี้ตามมาตรา215 ดั้งนั้นการชำระหนี้ของลูกหนี้ต้องชำระให้ต้องตามความประสงค์แห่งหนี้ ความประสงค์แห่งหนี้นั้นย่อมรวมหมดทุกอย่างที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติการในการชำระหนี้นั้น รวมทั้งเงื่อนไข เงื่อเวลาในการชำระหนี้ด้วย เช่น วัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบม้า ลูกหนี้ก็ต้องส่งมอบม้า
-
1.2วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
-วัตถุประสงค์ของนิติกรรมคือการโอนกรรมสิทธิ์ เช่นการโอนกรรมสิทธิ์ในม้า จากผู้ขายไปยังผู้ซื้อ
-เมื่อนิติกรรมซื้อขายเกิดขึ้นแล้ววัตถุแห่งหนี้ในเรื่องนี้คือ การส่งมอบม้าให้แก่ผู้ซื้อและผู้ซื้อก็มีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการส่งมอบ(เงิน)
-
-
1.4กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกชำระได้
หนี้ที่เกิดจากมูลแห่งหนี้ต่างๆไม่ว่าจะเกิดจากสัญญาหรือหนี้เกิดจากละเมิดก็อาจมีหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกกันว่าหนี้เดี่ยว
เช่นกู้ยืมเงินกันไปก้มีหนี้ที่ต้องชำระเงินกู้คืน แต่บางกณีก็อาจมีหนี้หลายอย่างที่เรียกว่าหนี้ผสม เช่นตามสัญญาเช่าผู้ให้เช่าอาจมีหนี้ส่งมอบทรัพย์สินที่ให้เช่า
1.สิทธิในการเลือก(มาตรา198และมาตรา201)
สามารถแยกสิทธิในการเลือกออกได้เป็น4กรณี
ก.ถ้ากำหนดใว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เลือก เป็นได้ทั้งลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือบุคคลภายนอก สิทธิในการเลือกก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันใว้(มาตรา198และมาตรา201)
ข.ถ้าไม่ได้กำหนดว่าใครเป็นผู้เลือก สิทธิจะตกอยู่ฝ่ายลูกหนี้(มาตรา198)
ค.ถ้ากำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือกและผู้นั้นไม่อาจเลือกได้เช่นป่วยหนัก สิทธิการเลือกชำระหนี้ตกอยู่ฝ่ายลูกหนี้
ง.ถ้ากำหนดให้ฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายเลือกและฝ่ายที่มีสิทธิไม่เลือกภายในเวลาที่กำหนด สิทธิในการเลือกย่อมนกไปอยู่อีกฝ่ายหนึ่ง
2วิธีการเลือก
กฏหมายได้กำหนดวิธีการเลือกใว้โดยแยกเป็น2กรณี
ก.กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือกก็ต้องแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง(มาตรา 199)
ข.กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือกก็ต้องแสดงเจตนาต่อลูกหนี้(มาตรา201วรรคแรก)
3.ระยะเวลาในการเลือก(มาตรา200)
แยกได้เป็น2กรณี
ก.มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก ซึ่งอาจกำหนดกันใว้โดยนิติกรรมที่ก่อหนี้นั้น ถ้าไม่เลือกในเวลาที่กำหนด สิทธิการเลือกจะตกไปที่ฝ่ายหนึ่ง
ข.กรณีมิได้กำหนดเวลาเลือกให้ กฏหมายจึงให้สิทธิแก่ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกเป็นผู้กำหนดเวลาอันสมควร
4.ผลของการเลือก
การใช้สิทธิเลือกนั้นเป็นการแสดงเจตนาที่มีผลในทางกฎหมาย ดังนั้นการจะเกิดผลของการเลือกต้องหมายถึงว่าการเลือกนั้นมีผลแล้วตามหลักการแสดงเจตนาในมาตรา168และมาตรา169
5.การชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย
กรณีมีการเลือกชำระหนี้ แต่การชำระหนี้บางอย่างกลับเป็นพ้นวิสัย จะบังคับตามมาตรา202 หลักเกณฑ์ในมาตรา202นี้ ต้องแยกพิจารณากรณีที่การชำระนี้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพ้นวิสัยดังนี้
1.กรณีตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น
การชำระหนี้บางอย่างพ้นวิสัยมาก่อนทำนิติกรรมแล้ว เช่นนี้การชำระหนี้ส่วนนั้น แม้จะมีการตกลงกันก็ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา150
2.กรณีการอันพึงต้องชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง
หมายถึงหลังจากที่ได้ก่อหนี้แล้ว การชำระหนี้บางอย่างมากลายเป็นพ้นวิสัยภายหลัง แต่ก็ต้องก่อนที่ผู้มีสิทธิเลือก
2.กำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสิ่งสำคัญในการชำระหนี้ของลูกหนี้ เพราะหากลูกหนี้ไม่รู้กำหนดเวลาชำระหนี้ของตน ก็ไม่อาจชำระหนี้ให้ต้องตามประสงค์อันแท้จริงของมูลหนี้ได้
1.หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ใว้ มิได้หมายความว่าลูกหนี้จะไม่ต้องชำระ ซึ่งกฏหมายได้กำหนดใว้ในมาตรา203วรรคแรก
จะเห็นได้ว่า หนี้ที่จะถือว่าไม่ได้กำหนดเวลาชำระต้องหมายถึงหนี้นั้นไม่ได้กำหนดเวลาใว้โดยชัดแจ้งและอนุมานเหตุการณ์ไม่ได้ด้วย
2.หนี้มีกำหนดการชำระหนี้
เป็นหนี้ที่กำหนดเวลาชำระใว้โดยชัดแจ้ง เช่นกำหนดตามวันแห่งปฏิทินหริอกำหนดตามข้อเท็จจริง เช่นยืมชุดครัยไปใส่รับปริญญาจะส่งคืนเมื่อรับปริญญาเสร็จ
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ใว้แต่เป็นที่สงสัย(มาตรา203)
กรณีเป็นที่สงสัยนั้นไม่ได้หมายความว่าสงสัยในกำหนดเวลาชำระหนี้เพราะวันเดือนปีหรือกำหนดอื่นอันเป็นเวลาที่พึงจะชำระหนี้ได้กำหนดกันใว้เป็นที่สงสัย
ข้อที่เกิดเป็นที่สงสัยคือเจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้ก่อนกำหนดนั้นได้หรือไม่ ดังนั้นให้สันนิษฐานใว้ก่อนว่าเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระหนี้ก่อนกำหนดหาไม่ได้
2.กำหนดเวลาชำระหนี้ใว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงกำหนดกันใว้นั้นเมื่อไม่เป็นที่สงสัยก็ยังอาจแบ่งออกได้เป็น2อย่างซึ่งมีผลบังคับทางกฏหมายต่างกัน
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน(มาตรา204วรรคสอง)
เป็นการกำหนดเวลาชำระหนี้โดยชัดแจ้งตามวันแห่งปฏิทิน เช่นกำหนดชำระหนี้ในวันที่10สิงหาคม กำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น
2.กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน(มาตรา204วรรคแรก)
เป็นกำหนดเวลาที่มิใช่ตามวรรคสอง นั่นก็คือต้องแปลว่าเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่มิใช่ตามวันแห่งปฏิทินนั่นเอง เช่นยืมเงินไปและกำหนดว่าจะใช้คืนเมื่อขายข้าวได้แล้ว เป็นต้น
3.การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัดเป็นผลในทางกฏหมาย ที่กฏหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาใว้อย่างชัดเจนว่ากรณีเช่นใดจึงจะผิดนัดตามกฏหมาย ซึ่งอาจต่าบจากความเข้าใจของคนโดยทั่วไปได้มาก เช่นยืมกระบือของเขาไปเพื่อไถนาโดยตกลงว่าจะส่งคืนเมื่อสิ้นฤดูทำนา ปรากฏว่าแม้จะสิ้นฤดูทำนาแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืน เช่นนี้คนทั่วไปก็จะเข้าใจว่าลูกหนี้น่าจะผิดนัดแล้ว แต่ในทางกฏหมายซึ่งถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด เพราะเจ้าหนี้ยังไม่ได้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้
1.ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้(มาตรา204)
การผิดนัดนั้นเป็นผลในทางกฏหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ ทำให้ลูกหนี้มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกัน
1.1ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน(มาตรา204วรรคแรก)
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้น ลูกหนี้ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้ได้เตือนแล้ว หากเจ้าหนี้ให้คำเตือนลูกหนี้ก่อนเวลาที่หนี้ถึงกำหนดชำระ ย่อมไม่เป็นเหตุให้ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้แต่ประการใด
1.หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน(มาตรา204วรรคแรก)
หนี้ประเภทนี้เป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระหนี้แล้ว กฏหมายจึงได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องให้คำเตือนลูกหนี้ก่อนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามที่เจ้าหนี้เตือนลูกหนี้จึงผิดนัด
2.หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามมาตรา203
หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงไม่ได้ หากไม่มีการเตือนให้ชำระหนี้จากเจ้าหนี้ลูกหนี้ก็ยังไม่มีหน้าที่ชำระหนี้และยังไม่ผิดนัด
1.2ลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน(มาตรา204วรรคสอง)
กรณีที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ใว้ตามวันแห่งปฏิทิน และลูกหนี้มิได้ชำระหนี้ตามกำหนด การกำหนดเวลาตามปฏิทินอาจเป็นการกำหนดโดยระบุวัน เดือน ปี เช่นเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินจำนวน2แสนบาทตกลงกำหนดเวลาชำระในอีก6เดือน เมื่อครบกำหนดแล้วลูกหนี้มิได้ชำระตามกำหนดนั้น เช่นนี้ลูกหนี้ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดในวันรุ่งขึ้น
1.หนี้ที่มีกำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ อาจคำนวนนับได้ตามวันแห่งปฏิทิน(มาตรา204วรรคสอง)
กฏหมายจึงกำหนดใว้ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย
2.หนี้ละเมิด(มาตรา206)
เกิดจากการล่วงสิทธิของผู้อื่น มิใช่เกิดจากนิติกรรมและสัญญาจึงไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ใว้
1.3กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
กำหนดเวลาชำระหนี้ก็ดี การผิดนัดก็ดี มีความเกี่ยวพันกันอย่างมากการชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง ส่วนการผิดนัดเป็นข้อกฏหมาย-กำหนดชำระหนี้เป็นการกำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้และเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการผิดนัด
-การผิดนัดนั้นแม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขอื่นอาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัด
1.4กรณีไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด(มาตรา205)
เมื่อถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็ต้องตกเป็นผู้ผิดนัด หรือในกรณีที่ไม่ต้องเตือน เช่นการชำระหนี้ที่กำหนดเวลาใว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระ ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัด
-
2.ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและลูกหนี้มีหน้าที่ชำระตามมาตรา203และมาตรา204 หากลูกหนี้ไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความผิดตามมาตรา205ได้ หรือเป็นกรณีหนี้ละเมิดลูกหนี้ก็ต้องผิดนัดตามมาตรา206
2.1ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกป็นผู้ผิดนัดนั้น ก็ถือว่าเป็นการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห้งมูลหนี้ ดังนั้นเมื่อการชำระหนี้ล้าช่าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา215
2.2เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
ในการชำระหนี้นั้นปกติแล้วก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิจะปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้เสมอไป แม้แต่ในเรื่องการผิดนัดในบางกรณี แม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดก็ยังหาไ้ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเสมอไป
2.3ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
นอกจากความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดชำระหนี้ดังได้กล่าวมาแล้วซึ่งเป็นความเสียหายจากการผิดนัดอันเกิดขึ้นระหว่างผิดโดยตรงแล้วเมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายในความประมาทเลินเล่อและการที่การชำระหนี้พ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุ ที่เกิดขึ้นระหว่างผิดนัดด้วย