Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425
1.ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น
2.ลูกจ้างกระทำละเมิดในระหว่างที่เป็นลูกจ้าง
ระหว่างที่เป็นลูกจ้าง = มีสัญญาจ้างเเรงงาน ซึ่งสัญญาจ้างเเรงงานคือนายจ้างจะต้องมีอำนาจในการบังคับบัญชาควบคุมดูเเลสั่งการลงโทษให้คุณให้โทษเเก่ลูกจ้าง
3.ลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ในทางการที่จ้าง = การทำงานตามที่นายจ้างมอบหมาย หรืองานที่เกี่ยวเนื่องกับงานที่ได้รับมอบหมาย เเละวัตถุประสงค์ที่ทำไปก็เพื่อประโยชน์ของนายจ้าง
4.นายจ้างไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำละเมิด
นายจ้างต้องร่วมรับผิด
ตัวอย่าง นายขาวเป็นลูกจ้างของนางนิ่ม ซึ่งมีหน้าที่ส่งของ ขณะที่นายขาวไปส่งของได้ขับรถโดยประมาทเลินเล่อไปชนเข้ากับต้นไม้ ทำให้สินค้าเสียหาย ดังนั้นนางนิ่มผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดชอบต่อลูกค้า ตามมาตรา 425
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426
1.เมื่อนายจ้างได้ใช้ค่าสินไหมทดเเทนเเก่บุคคลภายนอก
ตัวอย่าง นายดำเป็นลูกจ้างของนายเเดงได้ไปขับรถชนเข้ากับเเผงขายของของนางสวย นางสวยได้เรียกค่าสินไหมจากนายดำซึ่งนายดำไม่มี นายเเดงซึ่งเป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับนายดำจึงได้จ่ายค่าสินไหมทดเเทนให้เเก่นางสวย นายเเดงจึงมีสิทธิไล่เบี้ยจากนายดำโดยการหักเงินเดือนจนกว่าหนี้ที่ใช้เเทนนั้นจะหมดไป
2.เพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้กระทำ
3.ชอบที่จะเรียกให้ลูกจ้างชดใช้เเก่นายจ้าง
ชดใช้ ซึ่งอาจจะเป็นการหักเงินเดือน ทำงานโดยไม่ให้เงินเดือนจนกว่าหนี้ที่นายจ้างชดใช้เเก่บุคคลภายนอกจะหมดไป
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 427
1.ตัวเเทนกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น
ตัวเเทน = บุคคลซึ่งมีอำนาจทำการเเทนตัวการตามสัญญาหรือตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งตัวเเทนเเยกได้เป็น 4 ประเภท
1.ตัวเเทนโดยชัดเเจ้ง
2.ตัวเเทนโดยปริยาย
3.ตัวเเทนเชิด
4.ตัวเเทนให้สัตยาบัน
ตัวการ = บุคคลซึงมอบอำนาจหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นทำกิจการเเทนตน
ตัวอย่าง รถเเท็กซี่ที่ติดสติกเกอร์เช่นพวกสหกรณ์คนขับรถ หรือของบริษัทต่างๆ ทำให้ผู้โดยสารเข้าใจว่าเเท็กซี่เป็นบริการของเจ้าของสติกเกอร์ เมื่อคนขับเเท็กซี่กระทำการละเมิด สหกรณ์ต่างๆหรือบริษัทเจ้าของที่ติดสติกเกอร์นั้นไว้เเม้จะไม่ใช่นายจ้างที่เเท้จริงอาจจะต้องรับผิดในฐานะตัวการตัวเเทนได้
2.ตัวเเทนกระทำละเมิดในระหว่างที่เป็นตัวเเทน
3.ตัวเเทนกระทำละเมิดในชอบอำนาจเเห่งการเป็นตัวเเทน
*ที่มีมาตรานี้คือ บางกรณีตัวเเทนมิใช่ลูกจ้าง ไม่อาจบังคับเเห่งสิทธิของตัวการได้ ส่วนใหญ่ตัวเเทนจะรับผิดเพียงผู้เดียว เเต่ด้วยซึ่งกิจการที่ตัวเเทนทำไปเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง จึงเป็นเหตุเดียวกันที่ตัวการต้องร่วมรับผิด
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428
สัญญาจ้างทำของ = ผู้จ้างสั่งให้ผู้รับจ้างทำงานเเต่ไม่มีอำนาจออก คำสั่งหรือบังคับบัญชาต่อผู้รับจ้าง
*ความสำคัญของงานเป็นเรื่องสำคัญ "งานไม่เสร็จ = ไม่จ่ายค่าจ้าง"
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากผู้รับจัาง
ตัวอย่าง นายเเดงจ้างนายเเก้วมาติดรางน้ำฝนที่บ้านให้ ซึ่งนายเเก้วได้ติดรางน้ำใกล้ชิดกับเเนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น ทำให้เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียงทำให้ที่ดินใกล้เคียงเสียหายจึงเป็นการทำละเมิด เเต่การทำละเมิดนี้นายเเก้วต้องรับผิดเพียงผู้เดียวเนื่องจากนายเเดงไม่มีส่วนออกคำสั่งใด เพียงจ้างติดตั้งรางน้ำ
เว้นเเต่ผู้ว่าจ้าง
1.ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ = ตัวคำสั่งผิดกฎหมาย
ตัวอย่าง ผู้จ้างเเนะนำให้ผู้รับจ้างทำกำเเพงสูงกว่าตัวบ้านของบ้านใกล้เคียง ซึ่งทำให้บดบังลมเเละทิวทัศน์ของบ้านใกล้เคียง ดังนั้นคำเเนะนำของผู้จ้างทำให้เกิดความเสียหายเเก่บ้านใกล้เคียง ผู้จ้างจึงต้องรับผิดในส่วนที่ได้ให้คำเเนะนำนั้นไป
2.ผิดในส่วนคำสั่งที่ตนให้ไว้ = ตัวคำสั่งไม่ผิด เเต่เพราะทำตามคำสั่ง จึงเกิดความเสียหาย
3.ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง = จ้างผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติเพียงพอกับงานที่จ้าง
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429
1.ผู้เยาว์ หรือ คนวิกลจริต ทำละเมิดระหว่างที่อยู่ในความดูเเล
2.บิดา มารดา หรือผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิดด้วย
ผู้อนุบาลรวมไปถึงผู้อนุบาลของบุคคลจริตที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถด้วย
3.เว้นเเต่ จะพิสูจน์ได้ว่า ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่ดูเเล จึงไม่ต้องร่วมรับผิด
ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่ดูเเล เช่น บิดา มารดาเก็บของอันตรายไว้ที่ที่ผู้เยาว์ไม่สามารถเอื้อมถึงได้ อย่างนี้เรียกว่าระมัดระวังตามสมควร ถ้าพิสูจน์ได้เเบบนี้เมื่อผู้เยาว์ทำละเมิด บิดามารดาไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430
1.ผู้ไร้ความสามารถทำละเมิด
ผู้ไร้ความสามารถ = ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
ตัวอย่าง ครูประจำชั้นเห็นเด็กเอาพลุมาเล่นกันเกรงว่าจะเกิดอันตราย ได้สั่งให้เก็บไปทำลายเเละห้ามเด็กมิให้เล่นต่อไป เเต่เวลาพักกลางวันเด็กได้ใช้พลุยิงกันนอกห้องเรียน ทำให้เด็กบาดเจ็บ ถือเป็นการทำละเมิด เเต่ซึ่งครูได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเเก่หน้าที่เเล้วจึงถือว่าครูไม่ต้องร่วมรับผิดกับเด็ก
2.ต้องทำละเมิดขณะอยู่ในความดูเเลของ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง ผู้รับดูเเล
3.ถ้าพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรต้องร่วมรับผิด