Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
1.1 หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
2) วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
ความแตกต่าง
2.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมมีเฉพาะในนิตติกรรมเท่านั้น แต่วัตถุแห่งหนี้มีในหนี้ทุกชนิด
1.วัตถุประสงค์ของนิติกรรม อยู่ในขั้นตอนการก่อหนี้ แต่วัตถุแห่งหนี้นั้นเป็นผลเมื่อนิติกรรมเกิดและเกิดขึ้นจึงมีวัตถุแห่งหนี้ขึ้น
3.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัด จึงมีได้มากมายไม่กำกัด แต่วัตถุแห่งหนี้ไม่ว่าจะเกิดจากอะไร ก็จะมีเพียง 3 อย่าง
3) ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
1.ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
2.กรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพลงประเภท ลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง ไม่ต้องส่งทรัพย์ที่ดีเยี่ยม และจะส่งทรัพย์ที่คุณภาพต่ำก็ไม่ได้
1.การที่ทรัพย์นั้นจะเป็นวัตถุแห่งหนี้ (ม.195 วรรคสอง)
1.ลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สินนั้นทุกประการแล้ว
2.ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์แล้วด้วยความยินยิมของเจ้าหนี้
2.ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา
1.กรณีหนี้ที่ได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ (ม.196) ลูกหนี้จะชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศตามที่แสดงไว้หรือจะใช้เป็นเงินไทยก็ได้
2.กรณีเงินตราที่พึงจะใช้เป็นอันยกเลิกไป (ม.197) ให้เสมือนว่าไม่ได้ระบุไว้ให้ใช้เงินตราชนิดนั้น
4) กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
หนี้เดี่ยว
เช่น กู้ยืมเงินกันไปก็มีหนี้ที่ต้องชำระเงินกู้คืน ซื้อขายสินค้าที่ไม่มีข้อกำหนดของสัญญาอื่นก็เพียงหนี้ส่งมอบสินค้าและหนี้ชำระราคา เป็นต้น
หนี้ผสม
3.ระยะเวลาในการเลือก(ม.200)
ก.มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก
ข.กรณีที่ไม่ได้กำหนดเวลาให้เลือก
4.ผลของการเลือก(ม.199 วรรคสอง) การเลือกมีผลย้อนหลังไปถึงการเกิดหนี้ครั้งแรก และถือว่าหนี้นั้นอย่างเดียวเป็นกำหนดให้กระทำมาแต่แรก
2.วิธีการเลือก
ก.กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก (ม.199 วรรคแรก) ถ้าลูกหนี้เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือก การเลือกก็ต้องแสดงเจตนาแก่เจ้าหนี้ แต่ถ้าเจ้าหนี้เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือกก็ต้องทำเช่นเดียวกัน
ข.กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก (ม.201 วรรคแรก) กระทำด้วยเจตนาแก่ลูกหนี้และการชำหนี้นั้นลูกหนี้ก็ต้องชำระแก่เจ้าหนี้ หรือแม้จจะมีการกำหนดให้ลูกหนี้ชำระแก่บุคคลอื่น ก็เป็นไปภายใต้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
5.กรณีการชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย
1.กรณีตกเป็นพ้นวิสัยมาตั้งแต่ต้น พ้นวิสัยก่อนทำนิติกรรม แม้จะมีการตกลงกันก็ย่อมตกเป็นโมฆะตามม. 150
2.กรณีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยมนภายหลัง (ม.199 วรรคสอง) เกิดหลังจากก่อหนี้ แต่ก่อนผู้ที่จะใช้สิทธิเลือกนี้ ต้องแบ่งเป็น 2 กรณี
ก.กรณีฝ่ายไม่มีสิทธิเลือกไม่ต้องรับผิดจากจำกัดการเลือกเพียงที่ไม่พ้นวิสัย
ข.กรณีที่ฝ่ายไม่มีสิทธิเลือกต้องรับผิดชอบไม่กำจัดการเลือก
1.สิทธิในการเลือก (ม.201 และ ม.198)
ง.ให้ฝ่ายลูกนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายเลือก
ก.กำหนดไว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เลือกก็ได้ สิทธิในการเลือกก็ต้องเป็นไปต้ามที่ตกลงกันไว้
ค.ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก
ข.ไม่ได้กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นผู้เลือก
1.2 กำหนดเวลาชำระหนี้
1) หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้(ม.203 วรรคแรก)
ไม่ได้มีการกำหนดเวลาชำระหนี้โดยชัดแจ้ง และอนุมานจาเหตุการณ์ไม่ได้ด้วย แต่ถ้าสามารถอนุมานจากพฤติการณ์ได้ ก็ถือว่ามีกำหนดเวลาจะบังคับตามนี้ไม่ได้
2) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
(1) กำหนดเวลาชำระแต่เป็นที่สงสัย(ม.203 วรรคสอง) เจ้าหนี้เรียกให้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลาสงสัยไม่ได้
(2) กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน (ม.204 วรรคสอง)
เช่น กำหนดชำระหนี้วันที่ 10 สิงหาคม หรือกำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น
2.กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน (ม.204 วรรคแรก)
เช่น ยืมเงินไปและกำหนดว่าจะใช้คืนเมื่อขายข้าวได้ หรือยืมเรือไปใช้แล้วกำหนดส่งคืนเมื่อสิ้นฤดูน้ำ เป็นต้น
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
1) การผิดนัด(ลูกหนี้)
(3) กำหนดชำระหนี้กับการผิดนัด
2.กำหนดเวลาชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ และเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการผิดนัด
3.การผิดนัด แม้จะถึงเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขอื่นที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัด หากมีเหตุที่อ้างว่าไม่ใช่ความผิดของตน แต่เกิดจากพฤติกรรมอื่นใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบแล้ว ตามม.205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด
1.กำหนดเาลาชำระหนี้เป็นกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ แต่การผิดนัดผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ประกอบกับเงื่อนไขบางประประการของกฎหมาย
(1) ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องตักเตือนก่อน
1.หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน (ม.204 วรรคแรก) เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อน เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามที่เตื่นจึงจะผิดนัด แม้จะถึงเวลาชำระแต่ลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ ถ้าหากเจ้าหนี้ไม่เตือนแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด
2.หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำระหนี้ (ม.203) เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลันและมีสิทธิชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจตั้งแต่ก่อหนี้
(2) ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ตักเตือน
1.หนี้ที่กำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน (ม.204 วรรคสอง) วันที่กำหนดไว้มีความแน่นอนชัดเจนรู้ได้ตรงกัน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยไม่ตักตักเตือน
2.หนี้ละเมิด (ม.206) เมื่อมีการทำละเมิดให้เขาเสียหาย ก็มีหน้าที่จ่ายค่าเสียหายทันทีที่ทำละเมิด ถือว่าผิดนัดมาแต่เวลาทำละเมิด โดยไม่ต้องเตือนแต่อย่างใด รวมถึงค่าเสียหายในอนาคตก็ต้องเสียดอกเบี้ยตั้งแต่ทำละเมิด
(4) กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
1.เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ เหตุที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดชอบอาจะมีหลายเหตุ ได้แก่ กรณีเจ้าหนี้ผิดนัด และกรณีที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่น
2.เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก เป็นเรื่องนอกเหนืออำนาจลูกหนี้ที่จะป้องกันได้
3.เกิดจากภัยธรรมชาติ ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ ถือว่าพฤติการณ์ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเช่นกัน
2) ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
(3) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น (ม.217)
เป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้หรือเพราะอุบัติเหตุที่เกิดระหว่างผิดนัด ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบ หากลูกหนี้ชำระตามกำหนด ทรัพย์สินอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ความเสียหายอาจะไม่เกิดขึ้น
(2) เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ให้ถูกต้องในเรื่องเวลา แม้จะไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ได้เสมอไป (ม.216)
(1) ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกฎหมายและตกเป็นผู้ผิดนัด ก็ถือว่าเป็นการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริง เมื่อชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกค่าสินไหมตามมาตรา 215