Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่ง
การละเมิดลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
"นายจ้าง"
"ลูกจ้าง"
คือบุคคล2ฝ่าย มีความสัมพันธ์ตาลักษณะเอกเทศสัญญา
หลักเกณฑ์
1ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อบุคคลอื่น
2มีความสัมพํนธ์เป็นนายจ้างและลูกจ้างกันในขณะกระทำละเมิด
3 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
นายจ้างลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา425 จึงหมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา575
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ตำว่า "ในทางการที่จ้าง" หมายถึงการทำงานโดยวิธีหนึ่งวิธีใดก็ได้ที่ทำให้แก่นายจ้าง เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง
ลูกจ้างได้ปฎิบัติงานตามที่นายจ้างสั่ง หรืองานที่นายจ้างมอบหมาย
*ตัวอย่าง
นายน้อยเป็นลูกจ้างนางแหวน วันเกิดเหตุนางแหวนใช้ให้นายน้อยไปส่งของต่างจังหวัด นายน้อยขับรถไปส่งของตามที่นายจ้างคือนางแหวนมอบหมาย หลังจากส่งของเสร็จก็เดินทางกลับบ้าน ระหว่างทางนายน้อย ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อไปชนนายจันได้รับบาดเจ็บ ดังนี้ถือว่า เป็นการละเมิดในทางการที่จ้าง
ตัวอย่าง
ข.เป็นลูกจ้างของก.มีหน่าที่ซ่อมโทรศัพท์ที่มีผู็มาจ้าง ก.ซ่อโทรศัพท์โโยประมาทเลินเล่อขณะที่ซ่อมตามหน้าที่ ข.ทำเครื่องรับโทรศัพท์ของลูกต้า ก. เสียหาย ก.ต้องร่วมรับผิดต่อลูกค้าด้วย
สิทธิ์ไล่เบี้ย
เหตุที่เป็นการละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู็เสียหาย
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้วจึงมีสิทธิผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตนได้ (มาตรา229)(3)และ มาตรา426)
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้ว
มาตรา 426
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 797
"อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการและตกลงจะทำการดั่งนั้น"
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญษเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นสัมพันะ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุตตลอื่น
บุคคลที่ต้องรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นจะต้องมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง แต่ตามมาตรา428 ที่บัญญัติให้ผู็ว่าจ้างทำของต้องรับผิด
ผู้ว่าจ้างทำของจะต้องเป็นผู้รับผิด ฉะนันความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของจึงมิใช่บทบัญญัติว่าด้วยความผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428
ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
หลักผู้วาจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้น
ถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้ว ก็เป็ฯฃนเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอก ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ถ้าผู้ว่าจ้างมิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน มาตรา420
เช่น
เมื่อผู็ว่าจ้างมาจ้าง ผู้รับจ้างก็เอาทรัพย์สินซึ่งตนรู้ว่าเป็นของผู้อื่นมาเป็นสัมภาระในการทำงานที่รับจ้าง แต่ผู้ว่าจ้างไม่ได้รู้เห็นด้วย
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เป็นเรื่องที่ให้ทำสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
เช่น แนะนำห้ช่างทำหลังคาบ้านเบียงออกมาใกล้ชิดกับเขตที่ดินของเพื่อนบ้าน เวลาฝนตกน้ำไหลลงที่ดินเพื่อนบ้าน
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู็ที่ไม่มีประสบการณ์จึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลงมาถฏทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู็อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
บทบัญญัติมาตรา429นี้ สนับสนุนหลักทั่วไปของละเมิดตามมาตรา 420 ที่ว่าไม่ ว่าจะเป็นผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถหรือคนวิกลจริต
หากมีความรู้สำนึกในการกระทำแล้ว ย่อมสามารถกระทำได้ทั้งนั้น
แม้จะเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ต้องรับผิด
กฎหมายยังกำหนดให้บิดามารดาหรือผูอนุบาลร่วมผิดด้วย ด้วยเหตุว่าบิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่ควบคุมดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์หรือคนวิกลจริต
หลักเกณฑ์บิดามารดาที่ต้องร่วมรับผิดกับผู้เยาว์ตามมาตรา429
ต้องเป็นบิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย
มีหน้าที่ดูแลผู็เยาว์ในขณะที่ผู้เยาว์ทำละเมิด
บิดามารดาซึ่งมีหน้าที่ดูแลนั้นไม่ได้ใช้ความระมัดรวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตัวอย่าง
นายน้อยเป็นเจ้าของสุนัขดุตัวหนึ่ง และ เป็นบิดาของเด็กหญิงสวยซึ่งเป็นเด็กซุกซนวันเกิดเหตุ เด็กหญิงสวยเห็นเด็กชายโหน่งเดินผ่านหน้าบ้าน จึงได้ยุให้สุนัขกัด เด็กชายโหน่งจึงวิ่งหนีไปตัดหน้ารถนางพรด้วยความเร็วปกติ ทำให้เด็กชายโหน่งได้รับบาดเจ็บ ดังนี้เด็กหญิงสวยกระทำละเมิด นายน้อยจึงจ้องร่วมรับผิด ตามมาตรา429
ในกรณีที่ผู้อนุบาลที่ต้องร่วมรับผิดกับบุคคลวิกลจริตตามมาตรานี้
การทำละเมิดซึ่งบุคคลวิกลจริตทำโโยรู้สำนึกในการกระทำนั้น ที่ผู้อนุบาลต้องร่วมรับผิด
หาากบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึก ย่อมไม่ถือเป็นการกระทำ จึงไม่เป็นละเมิด ผู้อนุบาลไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอืนในการกระทพละเมิดของผู็ไร้ความสามารถ
มาตรา 430 "ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"
ความสำคัญของมาตรานี้จึงอยู่ที่หน้าที่ดูแลอันมีระหว่างผู้ไร้ความสามารถกับตัวผู้ที่ต้องรับผิดซึ่งเกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริงที่บุคคลหนึ่งเข้ารับดูแลผู้ไร้ความสามารถ
เห็นได้ว่าต้องเป็นการละเมิดที่บุคคลไร้ความสามารถได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ความดูแลของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นด้วย
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมหับบุคคลไร้ความสามารถตามมาตรานี้
ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุุคคลอื่นที่รับดูแล จะดูแลเป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน
"ผู้ไร้ความสามารถ"ตามมาตรานี้มีความหมายเช่นเดียวกับมาตรา429
โดยหลักกฎหมายกำหนดให้ผู้ไร้ความสามารถต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง
แต่กฎหมายยังกำหนดให้บุคคลอื่นต้องมาร่วมรับผิดกับผู็ไร้ความสามารถนั้นด้วยไม่ว่าจะรับดูแลอยู่เป็นนิตย์หรือชั่วคราว
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตามมาตรา430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล
ถ้าไม่นำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด