Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
1.1.1พื้นฐานความผิด
นายจ้างทำงานโดยอาศัยการงานของลูกจ้าง
นายจ้างเป็นผู้ควบคุมดูแลกำหนดแนวทางการทำงานให้แก่ลูกจ้าง
หลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
นายจ้างเป็นผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าจึงอยู่ในฐานะที่จะรับภาระในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายได้ดีกว่าลูกจ้าง
1.1.2 ลักษณะของความผิด
ความรับผิดโดยตรง เป็นความรับผิดของนายจ้างที่เกิดขึ้นทันทีที่ลูกจ้างทำละเมิด โดยไม่เปิดโอกาสให้นายจ้างพิสูจน์เป็นประการอื่น
ความรับผิดโดยอ้อม เป็นความรับผิดของนายจ้างเพราะการคัดเลือกลูกจ้างไม่ดี ดูแลลูกจ้างไม่ดี ซึ่งเป็นโอกาสให้นายจ้างพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะได้คัดเลือกลูกจ้างดีแล้ว
1.1.3 หลักเกณฑ์ที่ทำให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง
มีสัญญาจ้างแรงงาน
ลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลอื่นเข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๔๒๐
ลูกจ้างกระทำละเมิดในโอกาสหรือในระหว่างการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่นายจ้างมอบหมายที่เรียกว่า “ในทางการที่จ้าง”
“ในทางการที่จ้าง” เพื่ออให้เข้าใจชัดเจน
ลูกจ้างทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติเป็นประจำ
ลูกจ้างทำละเมิดในขณะที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากการงานประจำ
ลูกจ้างทำละเมิดในระหว่างเวลางาน
ลูกจ้างทำละเมิดในช่วงเวลาที่เป็นผลสื่อเนื่องจากการปฏิบัติงาน
ลูกจ้างทำละเมิดในระหว่างช่วงของการทำเพื่อประโยชน์ของนายจ้างไม่ว่าอยู่ในเวลางานหรือไม่ ไม่ว่าจะออกนอกลู่นอกทางบ้างก็ตาม
1.1.4 ผลของความรับผิด
ลูกจ้างรับผิดในการกระทำละเมิดของตนเองตามมาตรา ๔๒๐
นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา ๔๒๕
ผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากนายจ้างได้โดยตรง เเต่เมื่อนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายไปแล้วสามารถไล่เบี้ยหรือเรียกคืนค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้ผู้เสียหายไปจากลูกจ้างได้
1.3 การที่ตัวการต้องร่วมรับผิดในการทำละเมิดของตัวแทน
1.2.1 พื้นฐานความคิด
ตัวแทนต้องทำตามคำสั่งที่ตัวการมอบหมาย
ตัวการมอบหมายให้ตัวแทนไปดำเนินการติดต่อบุคคลภายนอกแทนตน
การทำงานของตัวแทนอาจเป็นการทำโดยไม่มีบำเหน็จ
1.2.2 ลักษณะของความผิด ความผิดของตัวการในการทำละเมิดของตัวแทนนั้นมีลักษณะเป็นความผิดโดยตรง
1.2.3 หลักเกณฑ์ที่ทำให้ตัวการต้องรับผิด
มีนิติสัมพันธ์ของการเป็นตัวการตัวแทนตามสัญญาตั้งตัวแทน
ตัวแทนทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกครบองค์ประกอบตามมาตรา ๔๒๐
ตัวอย่าง นาย ก.มอบหมายให้นาย ข.เป็นตัวแทนขายรถยนต์ของตนให้กับนาย ค.และนายข.ก็ยอมทำให้ นาย ข.ก็ยอมทำตามแต่ด้วยความไม่เชี่ยวชาญในเครื่องยนต์ของรถยนต์ทำให้นาย ข.พลาด รถเกิดระเบิดทำให้นาย ค.เสียหายคือบาดเจ็บ
ละเมิดเกิดขึ้นขณะทำงานที่ตัวแทนทำงานที่ได้รับมอบหมายและอยู่ภายในขอบอำนาจ
1.2.4 ผล
ตัวแทนรับผิดในการทำละเมิดของตนเองตามมาตรา ๔๒๐
ตัวการรับผิดร่วมด้วยมาตรา ๔๒๗ ประกอบมาตรา ๔๒๕
ตัวการมีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนคืนจากตัวแทนได้หากไดชดใช้ให้ผู้เสียหายไปก่อน
1.2 สิทธิไล่เบี้ย
เมื่อนายจ้างต้องร่วมรับผิดในละเมิดที่ลูกจ้างกระทำในทางการที่จ้างแล้ว กฎหมายบัญญัติให้สิทธินายจ้างไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ ด้วยเหตุที่ว่า ความรับผิดของนายจ้างเกิดขึ้นโดยกฎหมายกำหนดให้ต้องรับผิดและในกฎหมายไทยเป็นความรับผิดโดยไม่มีข้อยกเว้น กล่าวคือ เป็นความรับผิดซึ่งนายจ้างจะปฏิเสธไม่ได้ถ้าหากโจทก์นำสืบได้ว่าเป็นการละเมิดที่ลูกจ้างก่อในทางการที่จ้าง แต่เมื่อนายจ้างชดใช้ให้บุคคลภายนอกผู้เสียหายไปแล้ว จึงไม่มีเหตุผลจะให้นายจ้างต้องรับผิดโดยมิได้ทำผิดทั้งๆที่ผู้กระทำผิดคือลูกจ้างซึ่งควรต้องรับผิดชอบในผลเสียหายนั้น
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 หลักซึ่งผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิด
มีนิติสัมพันธ์ในลักษณะของการจ้างทำของตามมาตรา ๕๘๗ ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลภายนอก
ความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้รับจ้างจัดทำการงานให้ผู้ว่าจ้าง
ผู้ว่าจ้างไม่มีความผิด
ผล คือ ผู้ว่าจ้างทำของไม่มีความผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างทำของก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เพราะโดยหลักการที่กล่าวมาแล้วว่าผู้ว่าจ้างมิได้คอยดูแลกำกับการทำงานของผู้รับจ้าง ดังนั้นหากความเสียหายที่เกิดจากผู้รับจ้างเป็นความเสียหายที่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๔๒๐ ผู้รับจ้างรับผิดต่อผู้เสียหายเพราะการกระทำละเมิดของตนเอง ถ้าการกระทำของผู้รับจ้างไม่เข้าองค์ประกอบตามมาตรา ๔๒๐ ผู้รับจ้างก็ไม่ต้องรับผิดเพื่อละเมิด
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.2.1 มีนิติสัมพันธ์ในลักษณะของการจ้างทำของตามมาตรา ๕๘๗
ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
2.2.2 ผู้รับจ้างก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอก
ผู้รับจ้างไม่มีความผิดคือไม่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ผู้รับจ้างมีความผิดคือจงใจหรือประมาทเลินเล่อด้วย
2.2.3 ความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้รับจ้างจัดทำการงานให้ผู้ว่าจ้าง
2.2.4 ผู้ว่าจ้างมีความผิดเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนของการงานที่มอบหมายให้ทำ อันเป็นกรณีที่โดยสภาพของการงานก่อให้เกิดความเสียหายอยู่ในตัว
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ เป็นกรณีที่โดยสภาพของการงานไม่ก่อความเสียหาย แต่ด้วยคำสั่งที่ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น
ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง เป็นกรณีที่โดยสภาพของการงานไม่ก่อความเสียหาย โดยคำสั่งก็ไม่ก่อความเสียหายแต่ความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเลือกคนไม่เหมาะสมกับงาน
ผล ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายเพราะตนผิดตามมาตรา ๔๒๘ กรณีไม่เข้ามาตรา ๔๒๐ เพราะเหตุที่ว่าผู้ว่าจ้างมิได้เป็นผู้ก่อความเสียหายโดยตรง
ลักษณะของความรับผิดของผู้ว่าจ้างเป็นความรับผิดส่วนตัว
เมื่อการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกเกิดเพราะกฎหมายสันนิษฐานว่าความเสียหายเกิดจากความผิดของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยหรือเรียกคืนจากผู้รับจ้าง
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือ
บุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
โดยหลักผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริต มิได้รับยกเว้นว่าไม่ต้องรับผิดในเมื่อตนได้กระทำละเมิดเพราะการทำละเมิดนั้นมิใช่การใช้สิทธิในทางก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก ละเมิดนั้นเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิและเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น บุคคลประเภทที่เรียกว่าผู้ไร้ความสามารถนี้จึงต้องรับผิด
ถ้าผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตไปก่อความเสียหายอันเป็นละเมิด กฎหมายจึงกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลร่วมกันรับผิดกับผู้กระทำละเมิดด้วย แม้บิดามารดาหรือ
ผู้อนุบาลมิได้มีส่วนผิดในการทำละเมิดนั้นเลย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดในละเมิดที่กระทำโดยผู้ไร้ความสามารถนั้น มิใช่เฉพาะแต่บิดามารดาหรือผู้อนุบาลเท่านั้นที่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องดูแลมิให้บุคคลเหล่านั้นไปก่อความเสียหายกับบุคคลภายนอก
ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายได้แก่ ครูบาอาจารย์ เป็นผู้มีหน้าที่ตามสัญญา ในกรณีนายจ้างหมายเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างเป็นผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถประเภทเป็นคนวิกลจริตที่นายจ้างรับดูแลอยู่กับนายจ้าง
ส่วนผู้ทำละเมิดในมาตรานี้ได้แก่ บุคคลผู้ไร้ความสามารถซึ่งหมายความถึงผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ