Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
12.1ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
12.1.1ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
ที่ว่า “นายจ้าง” “ลูกจ้าง” หมายถึงบุคคลสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ ใน ปพพ.ลักษณะ6 ตั้งแต่มาตรา575-มาตรา586
บทวิเคราะห์ศัพท์ลักษณะสัญญาจ้างแรงงานในมาตรา 575 มีความหมายว่า”อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้”
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคลซึ่งบุคคลหนึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานซึ่งทำโดยบุคคลอีกบุคคลหนึ่ง นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำตามวิธีที่ตนต้องการอีกด้วยและลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเสมอ แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับงานจ้างที่จ้าง
มีข้อควรสังเกตว่า ข้าราชการใน กระทรวง ทบวง กรมไม่ได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกัน หมายความว่าอธิบดีของกรมไม่ได้เป็นนายจ้างของหัวหน้ากอง หัวหน้ากองไม่ได้เป็นนายจ้างของเสมียนพนักงาน และต่างก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างของ กระทรวง ทบวง กรมหรือเป็นตัวแทนระหว่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและระหว่างข้าราชการกับ กระทรวง ทบวง กรมที่ตนสังกัดอยู่นั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
ในกรณีในกรณีที่ข้าราชการกระทรวง ทบวง กรมต่างๆก่อการละเมิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่ก็ต้องบังคับกัน พรบ. ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 อย่างไรก็ดี มิได้หมายความว่ากระทรวง ทบวง กรมต่างๆในทางราชการจะมีลูกจ้างไม่ได้
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา 420 ไม่ว่าจะเป็นการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม และหากลูกจ้างมิได้ทำละเมิดก็ไม่มีประเด็นให้ต้องพิจารณาต่อไปว่านายจ้างต้องร่วมรับผิดหรือไม่
แต่การที่จะทำให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำโดยจงใจของลูกจ้างนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฎิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง และมิใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างหรือในการกระทำละเมิดโดยจงใจนั้นเป็นการกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัว หรือมีเจตนาร้ายหรือความโกรธส่วนตัวโดยเฉพาะแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
ตัวอย่าง ฎีกา 1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
12.1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มีหลักกฏหมายทั่วไปว่า “ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง” แต่หลักที่ว่านี้ใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่แก่การกระทำในทางการที่จ้าง ซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ ในการที่นายจ้างต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างนั้นไม่ได้เฉพาะว่ามอบอำนาจให้กระทำแทน แต่เป็นเพราะลูกจ้างได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง นายจ้างจึงต้องดูว่างานนั้นได้ปฏิบัติไปโดยความเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของบุคคลอื่นด้วยหรือไม่
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ดูว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของงานที่สร้างเป็นอย่างไรเสียก่อน แล้วจึงจะได้พิจารณากันต่อไปว่าการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่ เพราะขอบเขตของอำนาจย่อมรู้หรือส่อให้เห็นได้จากลักษณะของงานนั้นๆ ทั้งยังต้องผิดจารณาต่อไปอีกว่าขณะที่มีการละเมิดนั้นลูกจ้างได้ปฎิบัติตามที่จ้างมาหรือเกี่ยวข้องในงานของนายจ้างหรือไม่ ลูกจ้างจะต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้าง
ความรับผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นความเสียหายระหว่างที่ตนกำลังปฏิบัติหน้าที่การที่ลูกจ้างได้กระทำไปนั้นต้องเป็นการปฏิบัติให้งานลุล่วงไปและเหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากการปฎิบัติงานนั้นมิใช่เป็นแต่เพียงเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ลูกจ้างกำลังปฎิบัติงานที่จ้างอยู่เท่านั้นหรือจะกล่าวอีกในหนึ่งนายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้างแต่การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
ตัวอย่าง
บริษัท A จ้าง นายกุ้ง เฝ้ายามที่โกดังสินค้าของบริษัท นายกุ้ง เห็น นายไก่ เดินเข้ามาในโกดัง นายกุ้ง คิดว่า นายไก่ จะมาลักสินค้าในโกดังซึ่งเป็นความเข้าใจผิด นายกุ้ง จึงใช้ปืนยิงนายไก่ บาดเจ็บก็ดี นายไก่ ซึ่งไม่มีอาวุธอะไรในมือจะเข้ามาลักสินค้าในโกดังโดยปีนเข้ามาทางหน้าต่างแล้ว นายกุ้งจึงใช้ปืนยิงก็ดี เป็นเหตุที่เกิดในทางการที่จ้าง บริษัทA ต้องร่วมรับผิดด้วย
วิธีการปฏิบัติ
ในการกระทำกิจการงานใดนั้น ย่อมมีวิธีการในการที่จะปฏิบัติงานให้ลุล่วงไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหลายวิธีอันแตกต่างกัน ในการสั่งให้กระทำนั้น นายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม ลูกจ้างอาจใช้วิธีตามที่เห็นสมควรเพื่อให้กิจการนั้นลุล่วงไป และสมประโยชน์ของนายจ้าง และนายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการที่จะทำการบางอย่างที่ตนได้สั่งหรือมอบอำนาจให้ทำอีกด้วย แม้จะเป็นการกระทำที่ตนไม่ได้ให้อำนาจ แต่เป็นการกระทำเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ตนให้อำนาจ ซึ่งอาจเป็นวิธีการก็ได้ แม้จะเป็นวิธีการที่ไม่สมควร
ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันในกรณีที่ถือว่าลูกจ้างปฎิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง เพราะการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวด้วยนั้น อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฎิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม
การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นเพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับตังค์ให้กระทำ
เช่น ขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วย จนเกิดชนคนข้างถนนโดยประมาทเลินเล่อ
ตัวอย่างฎีกาที่ 1169 -1170 / 2509 การที่นายจ้างจ้างลูกจ้างทำงานให้แก่ตน หากลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งหรือระเบียบแต่ยังปฏิบัติงานของนายจ้างอยู่ นายจ้างจะอ้างคำสั่งหรือระเบียบภายในมาต่อสู้บุคคลภายนอกหาได้ไม่นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิด
การละเมิดโดยจงใจ
ตามมาตรา 420 ซึ่งเป็นหลักทั่วไปว่าด้วยการละเมิด เป็นที่เห็นได้ว่าการกระทำโดยประมาทเลิ่นเล่อนั้น แตกต่างกับการกระทำละเมิดโดยจงใจ ซึ่งรวมถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นเจตนาชั่วร้ายด้วย
เพราะการกระทำโดยประมาทเลินเล่อมีระดับทางจิตใจอ่อนกว่าการกระทำโดยจงใจ การกระทำโดยจงใจเป็นเรื่องการกระทำโดยจงใจเป็นเรื่องที่ผู้กระทำเล็งเห็นได้ว่าการกระทำของตนถ้าทำลงไปแล้วจะทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย การกระทำโดยจงใจนั้นบางทีก็แยกได้โดยชัดแจ้งไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานเพื่อนายจ้างแต่เป็นเรื่องที่ลูกจ้างกระทำไปเพื่อประโยชน์หรือความเจ็บแค้นส่วนตัวบางทีก็อยากที่จะชี้ให้เห็นว่าเป็นการกระทำโดยส่วนตัวเหลืองหรือเพื่อนายจ้าง
แต่การที่นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้นจะต้องอยู่ภายใต้เงินไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้างถ้าหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเองและไม่ใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างหรือในการกระทำละเมิดโดยจงใจนั้นเน้นกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัวหรือโดยมีเจตนาร้ายหรือความขึ้งโกรธส่วนตัวโดยเฉพาะแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดกล่าวอีกนัยหนึ่งถ้าลูกจ้างปฎิบัติการโดยมีเหตุจูงใจเป็นส่วนตัวโดยแท้เนื่องจากการทะเลาะวิวาทซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้างก็ย่อมถือว่าลูกจ้างนั้นได้ออกจากงานที่จ้างและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
ตัวอย่างฎีกาที่ 2499 / 2524 การที่นายจ้างมอบอาวุธปืนให้ลูกจ้างไปใช้ในการอยู่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้างและลูกจ้างใช้ปืนนั้นรอบไปยิงผู้เสียหายในขณะที่ลูกจ้างปฎิบัติหน้าที่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอยู่ในเมืองถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง
12.1.3สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
โดยเหตุที่การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินใหม่ทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
เพิ่งสังเกตว่าในระหว่างนายจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันกับผู้เสียหายนั้นนายจ้างลูกจ้างยังต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่านี่นั้นจะได้ชำระชิ้นสิ้นเชิง
ตัวอย่างฎีกา 648 / 2522 ลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างถูกฟ้องได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้แต่ค่าหรือชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้นไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
12.1.4ความรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
โดยเหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทนโดยปกติตัวแทน จึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
กิจการที่ตัวแทนทำไปย้อมเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปย้อมเป็นงานของนายจ้างตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้างจึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ
ตัวแทนคืออะไร มาตรา 797 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือสัญญาซึ่งทำให้บุคคลหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น”
จะเห็นได้ว่า ตัวตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้างจึงต้องพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกันเพิ่งสังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวแทน
ตัวอย่าง ฎีกา 1049 / 2505 มารดาใช้ให้บุตรเป็นตัวแทนในการเดินรถขนส่งคนโดยสารเก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดาในการนี้มารดาให้บทขับรถยนต์ของมารดาด้วยบทขับรถชนผู้เสียหายโดยละเมิดดังนี้มิใช่เป็นการที่มารดาใช้ให้บทขับรถยนต์เท่านั้นแต่เป็นการมอบหมายให้บทเป็นตัวแทนในการรับขนส่งมารดาต้องรับผิดร่วมกับบุตรในการที่โบสถ์ทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ของตัวแทนนั้นด้วยตามมาตรา 427
ความรับผิดของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะทำให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานะที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทนฉะนั้นในเบื้องแรกจึงต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียงไร
ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะกาลย่อมจะทำการแทนตัวการได้เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จรู้ล่วงไป
หลักทั่วไปมีว่าไม่ว่าจะเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะกาลหรือตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจทั่วไปในเหตุฉุกเฉินเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวการต้องเสียหายย่อมสันนิษฐานไว้ก่อนว่าตัวแทนจะทำการใดใดอำนาจการกระทำของตัวแทนที่ได้รับมอบดังกล่าวย่อมเป็นสิ่งกำหนดขอบเขต
อำนาจของตัวแทนว่ามีกว้างขวางเพียงไรและจะชี้ให้เห็นว่าการละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในทางการที่เป็นตัวแทนหรือในระหว่างที่ตัวแทนได้ปฎิบัติหน้าที่ให้แก่ตัวการหรือไม่
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลมกล่าวคือเมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้นก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทนเกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน ฏ.648/2522
12.2 ความรับผิดของผู้จ้างทำของ
12.2.1ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มีเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
1 กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น แต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง ก็เมื่อตัวแปรได้ความว่าผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิด ถ้าหากเป็นผู้ผิดแล้ว ฉะนั้น ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมาตรา 428 จึงไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เมื่อมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแล้ว จึงเป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 นั่นเอง เพียงแต่บทบัญญัติมาตรา 428 ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับผู้ว่าจ้างผู้รับจ้างทำของเท่านั้น
2 ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า “ความเสียหาย” หาได้ใช้คำว่า “กระทำละเมิด”หรือ “ละเมิด” อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425,429 และ 430 ไม่โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด จึงเป็นอีกข้อหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
3 โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินใหม่ทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกค่าชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง จึงต่างกับความรับผิดมาตรา 425-427-429 และมาตรา 430 ซึ่งเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นและมีบทบัญญัติไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้คืนกันได้ตามมาตรา 426 และมาตรา 431
12.2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มีหลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เพราะผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 428 บัญญัติว่า “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างเว้นแต่ผู้ว่าจ้าง จะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
มาตรานี้จะเห็นได้ว่า โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ตัวอย่าง ฎีกา 1176 / 2510 เจ้าของรถยนต์นำรถไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถ แล้วเจ้าของรถวานให้ช่างซ่อมรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่เกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทาง ดังนี้ ช่างซ่อมไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ เป็นเรื่องจ้างทำของ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น
1 ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด เป็นต้น
ตัวอย่างฎีกา 940 / 2501 จำเลยจ้างผู้รับเหมาตอกเสาเข็มในการปลูกสร้างโรงภาพยนตร์ในที่ดินของจำเลยกว่า 100 ต้น ต้นหนึ่งยาว 16 ถึง 17 เมตรเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตรโดยใช้เครื่องกดลงไปแล้วใช้ตุ้มเหล็กตอกให้ผลเป็นผลให้ดาดฟ้าตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินติดต่อกันลาวหลังสังกะสีเสียหายดังนี้จำเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
2 ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือ แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตนเอง แต่อาสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อน เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกแล้วไงตกลงให้ที่ดินข้างเคียง เป็นต้น
3 ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่น จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึงเป็นผลทำให้บ้านสุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย เป็นต้น แต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อโดยสุจริตตามพูดที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
ตัวอย่างฎีกา 1289 / 2522 จำเลยจ้างเหมาต่อเติมอาคาร ลูกจ้างของผู้รับเหมาซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำโดยประมาทเลินเล่อปล่อยให้เสร็จฝนตกลงบนหลังคาและท่อน้ำฝนล้นลางเปียกหนังสือพิมพ์ที่ขายในร้านของโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยผู้ว่าจ้าง เป็นผู้ผิดในการสั่งงานที่สั่งให้ทำในคำสั่งที่ให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างจำเลยไม่ต้องรับผิด
12.3 ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
12.3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความสามารถของบุคคลผู้ทำละเมิดไม่เป็นข้อสำคัญ แม้เป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ต้องรับผิดเพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิ ไม่ใช่การใช้สิทธิ ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้อาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม เพราะนิติกรรมนั้นอาจเป็นโมฆียะได้ เมื่อถูกบอกล้างแล้วก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่แรก ได้อธิบายแล้วว่าคำว่า “ผู้ใด” ตามมาตรา 420 หมายถึง บุคคลทุกชนิดซึ่งรวมถึงผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตด้วย
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาหรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 กล่าวคือ จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกและความเคลื่อนไหวนั้น และที่จะถือว่าเป็นการจงใจ จะต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน
ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริต ไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตน ย่อมจะถือว่าจงใจหรือประมาทเลอรเลอร์ไม่ได้แต่ถ้ารู้ว่าได้ทำลงไปเพียงแต่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือยับยั้งไม่ได้ อาจเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อได้ เพราะผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมมีฐานะทางจิตใจอยู่หลายระดับต่างกันไป
อุทาหรณ์เกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ฎีกา 815 / 2498 บิดาโจทก์และโจทก์บุกรุกเข้าไปในที่ดินของจำเลย จำเลยมีสิทธิ์ขับไล่ การที่จำเลยที่2-3 บุตรจำเลยที่1 ได้ต่อสู้กับโจทก์ก็เพราะโจทก์จะเข้าทำร้ายจำเลยที่ 1 กรณีมิใช่เพราะจำเลยที่ 1 ขาดความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล หาเป็นเพราะโจทก์เป็นต้นเหตุ ทั้งเวลาเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ก็มัวสาละวนอยู่กับบิดาโจทก์ผู้บุกรุก จำเลยที่ 1 ไม่มีโอกาสและไม่สามารถที่จะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นให้ดีกว่านี้ได้จำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดร่วมด้วยตามมาตรา 429
สิทธิไร่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาหรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาจนได้ครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา 431 และมาตรา 426) ไม่ใช่เรียกได้ตามส่วนเท่าๆกันอย่างหนึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296
12.3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 บัญญัติว่าครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำเลยต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดพซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429 ความรับผิดอยู่ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ คำอธิบายเกี่ยวกับมาตรา 429 ย่อมนำมาใช้ได้โดยอนุโลมแต่ต่างกันที่ตัวผู้มีหน้าที่ดูแล เพราะบุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริง และต่างกันในหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับการที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร มีข้อสังเกต คือ ตามกฏหมายมิได้บัญญัติกำหนดไว้ว่า บุคคลไร้ความสามารถตามมาตรานี้หมายถึงบุคคลเช่นไรบ้างอย่างที่กำหนดไว้ในมาตรา 429 แต่ก็หมายถึงผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตนั่นเอง เพราะเป็นบทบัญญัติต่อจากมาตรา 429 ในเรื่องบุคคลผู้ไร้ความสามารถด้วยกัน
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ความรับผิดตามมาตรา 430 นี้ต่างกับความรับผิดตามมาตรา 429 ที่ว่าตามมาตรา 429 บัญญัติให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงจะพ้นจากความรับผิด ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็จะไม่ผลจากความผิดแต่ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสื่อไม่ได้ว่าผู้มีหน้าที่ดูแลไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
อุทาหรณ์กรณีเกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลที่ทำอยู่
ฎีกาที่ 356 / 2511 ในตอนเช้า ครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนักเรียนเอาก็บอกปุ๊มาเล่นกันเล่นจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กไม่ให้เล่นต่อไป แต่เด็กได้ใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียน ถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาจนได้ครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มตรา431และ มาตรา426)เช่นเดียวกับกรณีตามมาตรา 429
อุทาหรณ์
ฎีกา62 / 2522 จำเลยหนีจากบ้านไปตั้งแต่อายุ 12 ปีแม้ถูกล่ามโซ่ไว้ก็ยังหนีจนอายุ 18 ปี ไปรับจ้างขับรถยนต์ ชนผู้อื่น บิดามารดาใช้ความระมัดระวังอย่างดีแล้ว นอกเหนืออำนาจของบิดามารดาจะระวังได้ บิดามารดาไม่ต้องรับผิดในละเมิดที่บุตรขับรถชนผู้อื่นโดยประมาท