Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
นายจ้างคือผู้มีอำนาจบังคับบัญชาให้ลูกจ้างทำงานให้ตน ขณะเดียวกันก็มีหน้าที่จ่ายสินจ้างตลอดเวลาที่จ้างทำงานให้ สรุปง่ายๆในการวินิจฉัยว่าเป็นนายจ้างหรือไม่ ก็ดูที่อำนาจการบังคับบัญชาควบคุมการทำงานอยู่กับใครจ่ายสินจ้าง แล้วก็ใครเป็นคนจ่ายสินจ้าง คนนั้นเป็นนายจ้าง
กรณีนายจ้างร่วมกิจการกับบุคคลอื่น ปัญหากับบุคคลอ่นที่ร่วมกิจการด้วยว่าจะต้องรับผิดในผลละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นหรือไม่ ส่วนมากจะเป็นเรื่องเอารถไปวิ่งร่วมกับเจ้าของสัมปทาน กิจกรรมร่วมกัน หรือกิจการรร่วมค้า คือห้างหุ้นส่วนอีกคนด้วย เขามีอำนาจบังคับบัญชา ส่วนจะสั่งได้แค่ไหนเป็นอีกเรื่องนึง
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ความรับผิดในการละเมิดของลูกจ้าง มาตรา 425 "นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น" คำพิพากษาที่ 5444/2537 ฟ้องนายจ้างหรือลูกจ้างก็ได้ ตามมาตรา 425 บังคับให้นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้าง ซึ่งได้ทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก โจทก์จะเลือกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้าง หรือลูกจ้างผู้กระทำละเมิด คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมเพียงคนเดียวก็ย่อมทำได้ตามมาตรา 291 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างตามมาตรา 426 นั้น ก็ทำได้อยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องรอให้โจทก์ฟ้องลูกจ้างให้รับผิดชอบเสียก่อน
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ตัวการก็เช่นเดียวกับนายจ้าง กล่าวคือต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนของตนได้กระทำไป ปัญหาว่าการกระทำละเมิดได้กระทำในขณะทำการเป็นตัวแทนหรือไม่ ตัวการ ตัวแทน ก็เป็นไปตามมาตรา 797 ที่บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น อันความเป็นตัวแทนนั้นจะเป็นโดยตั้งแต่งแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ย่อมได้"
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
มาตรา ๔๒๘ “ผู้ว่าจ้างทำ ของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่ บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดใน ส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง” ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างนี้ หมายถึงสัญญาจ้างทำของตามมาตรา ๕๔๗ ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าจ้างทำของนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ รับจ้าง ตกลงรับจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น” ผู้รับจ้างทำของมีหนี้ที่จะต้องส่งมอบผลสำเร็จแห่งการงานที่จ้างให้แก่ผู้ว่าจ้าง จึงต่างกับนายจ้างลูกจ้างและตัวการตัวแทนตรงที่ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิออกคำสั่ง บังคับบัญชาผู้รับจ้าง โดยหลักแล้วผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้ รับจ้างได้ทำขึ้นแก่ผู้อื่น เพราะผู้รับจ้างเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหาย มิใช่ ผู้ว่าจ้างเป็นผู้กระทำ
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อคาวมเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างการทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
กรณีของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จะต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งผู้ไร้ความสามารถได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าปรากฏว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร มาตรา 430 "ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร" มาตรา 430 นี้แตกต่างจากมาตรา 429 ในเรื่องหน้าที่นำสืบหรือภาระการพิสูจน์ กล่าวคือ กรณีตามมาตรา 430 นั้นภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่ผู้เสียหาย การดูแลตามมาตรา 430 มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1. รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ เช่น ผู้ปกครองที่ศาลสั่งตั้ง สถานพินิจคุ้มครองเด็กที่รับเด็กต้องคดีมาดูแล ถือเป็นผู้รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ 2. ดูแลโดยสัญญา เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก จ้างคนมาดูแลผู้เยาว์ หรือครูบาอาจารย์ก็ถือว่าดูแลโดยสัญญา 3. ดูแลโดยข้อเท็จจริง เช่น บิดานอกกฎหมายที่รับผู้เยาว์ไปดูแลในขณะเกิดเหตุ หรือปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาที่รับผู้เยาว์ไปดูแล หรือรับเด็กมาอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น ซึ่งการรับดูแลนี้ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือเป็นประจำ ก็ถือว่ารับดูแล โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีค่าจ้างหรือไม่ บุคคลผู้รับดูแลมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือผู้รับดูแล
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดา มารดา และ ผู้ไร้ความสามารถรับผิด มาตรานี้ยืนยันว่าคนที่ไร้ความสามารถไม่ว่า จะเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลละเมิดที่ตนได้ก่อให้เกิดขึ้น เรื่อง ความสามารถของผู้ไร้ความสามารถเพราะเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตตามกฎหมาย มีเฉพาะเรื่องการทำนิติกรรม กล่าวคือ ผู้ไร้ความสามารถมีแต่ถูกจำกัดในการ ใช้สิทธิโดยลำพัง จึงอาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม แต่ ในทางละเมิดเป็นการกระทำที่ไม่มีสิทธิ ผู้ไร้ความสามารถจึงต้องรับผิดในทาง ละเมิดเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา