Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.3สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 นายจ้างซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้าง
เมื่อนายจ้างได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนเองได้
1.4ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง จึงต้องพิเราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกันพึงสังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวแทน
ความรับผิดของตัวการ เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
1.2ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การทำละเมิดนั้นได้เกิดในทางการที่นายจ้าง นายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย ไม่ว่าลักษณะเมิดนั้นจะเป็นอย่างไร
ความรับผิดของนายจ้างจะมีอยู่เฉพาะเมื่อลูกจ้างได้กระทำการอันเป็นความเสียหายระหว่างที่ตนกำลังปฎิบัติตามหน้าที่
นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างเพียงแต่การละเมิดนั้นได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้างเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง แแต่การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
1.1ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา425 นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
คำว่านายจ้างลูกจ้างตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 จึงหมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตตามมาตรา 575 มิใช่สัญญาจ้างทำของกังบัญญัติไว้ในมาตรา587
การที่นายจ้างจะต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบตามมาตรา420
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.2หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
จากมาตรา 428 จะเห็นได้ว่า โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้น ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้มี 3 กรณี คือ
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
1.ความผิดดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
2.1หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 นั้น แสดงว่าผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำด้วยแม้ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความรับผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้กระทำละเมิด มิใช่ผู้รับจ้างและแม้บางกรณีจะถือว่าผู้ว่าจ้างเองกระทำละเมิดโดยลำพังอีกด้วยก็ตาม
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.2ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งดูแลบุคคลไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลไร้ความสามารถและไล่เอาเบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ เช่นเดียวกับมาตรา 429
บุคคลต้องรับผิด
ผู้ที่ต้องร่วมผิดกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตร430 คือ ครูบาอาจาย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลดังกล่าว
3.1ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ต้องร่วมรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420