Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นายถุงชา - Coggle Diagram
นายถุงชา
6.วางแผนการพยาบาลโดยระบุการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิต จากกรณีศึกษา
2.) ผู้ป่วยไม่ยอมกินยา ญาติควรชักจูง โน้มน้าวให้ผู้ป่วยกินยา ถ้าไม่ได้ผล ให้ปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจให้ยาฉีดออกฤทธิ์ยาว (นาน 2 - 4 สัปดาห์) แทน
Haloperidol 5 mg. IM p.r.n. for agitation q 6 hrs กลุ่มยา ยาระงับอาการทางจิต สรรพคุณ รักษาอาการทางจิต ผลข้างเคียง การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เจ็บหน้าอกสับสน ปัสสาวะน้อยมีสีเข็ม
Haloperidol decanoate 50 mg. IM q 2 weeks กลุ่มยา ยาระงับอาการทางจิต สรรพคุณ รักษาอาการทางจิต ผลข้างเคียง การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป เจ็บหน้าอกสับสน มีสสาวะน้อยมีสีเข้ม
3.) ญาติควรกระตุ้นและให้กำลังใจผู้ป่วยให้ทำงานตามกำลังและความสามารถ ที่มีอยู่ เพื่อฟื้นฟูความสามารถของผู้ป่วยให้กลับมาได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ควรให้ผู้ป่วยอยู่เฉยๆ หรือมีเวลาว่างมากเกินไป เพราะ จะทำให้ผู้ป่วย เฉื่อยชา เกียจคร้านซึ่งจะเป็นภาระของญาติในการดูแลผู้ป่วยอย่างมาก ในอนาคต หลังการักษาผู้ป่วยอาจมีความสามารถในหลายๆ ด้าน (เช่น การดูแลตนเอง, การทำงาน,การเข้าสังคม) ลดลง
1) เนื่องจากผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการกลับมา ป่วยช้ำ ดังนั้น ผู้ป่วยและญาติจึงควรติดต่อรับยาที่โรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมอ ญาติควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาอย่างต่อเนื่อง และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพิ่ม ลด หรือหยุดยา
5.) สนับสนุนและให้กำลังใจผู้ป่วยให้สามารถแไขปัญหาด้วยตนเอง โดยการ รับฟังปัญหาของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ และให้คำปรึกษาแนะนำ
7.) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้มีโอกาสเข้าสังคมกับคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากการพูดคุยกับคนในบ้านก่อน ไม่ควรแยกตัว หรือเก็บตัวอยู่คนเดียว
8.) การสังเกตอาการเตือนและจัดการก่อนมีอาการทางจิตกำเริบรุนแรง อาการที่พบบ่อย เช่น อาการนอนไม่หลับ หงุดหงิดโมโหง่าย
4.) ควรปฏิบัติต่อผู้ป่วยเหมือนคนปกติ เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดคุย ระบาย ปัญหา เพื่อผู้ป่วยและญาติจะได้เข้าใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
-
บทบาทของญาติ
- รับฟังความคิดเห็น ญาติผู้ป่วยที่เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด จึงต้องคอยรับฟังความคิดเห็นความรู้สึกของผู้ป่วยด้วยความเข้าใจเห็นใจ ให้ความรักความอบอุ่นแก่ผู้ป่วยตามสมควร
1.ญาติควรดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดยาเอง หรือหาแนวทางที่จะให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งมาพบแพทย์ตามนัดหมายด้วย
6.) ในกรณีที่ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมผิดปกติ (เช่น พูดคนเดียว, กลัวคนมา ทำร้าย) ญาติไม่ควรตกใจหรือกลัว ควรพยายามชักจูงให้ผู้ป่วยหันไปสนใจ สิ่งอื่น ญาติไม่ควรตำหนิติเตียนผู้ป่วย โดยเฉพาะถ้าพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ไม่ได้รบกวนผู้อื่น
-
-
7. วิเคราะห์ปัญหาการดูแลบุคคลในวัยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิตจากกรณีศึกษา และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการพยาบาลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต
- มีการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ โดยการพูดคุย สอบถามอาการ การสังเกตพฤติกรรม, ประสานการส่งต่อผู้ ป่วยจิตเวชสู่ชุมชน โดยผ่านพยาบาลวิชาชีพในศูนย์สุขภาพ ชุมชนและคณะกรรมการดำเนินงานสุขภาพจิตในชุมชนในการติดตามประเมินผลการรักษาผู้ป่วยในชุมชน
- สร้างระบบ การประสานงานที่ดีและมีการส่งต่อข้อมูลอย่างรวดเร็ว ระหว่างแกนนำ ผู้ป่วยกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันจัด กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้ป่วยทุกเดือน อย่างสม่ำเสมอ โดยเจ้า หน้าที่สาธารณสุข, พยาบาลสุขภาพจิตและแกนนำดูแลผู้ป่วย จิตเวชในชุมชนเพื่อสร้างกำลังใจ ให้กำลังใจ
- มีการพัฒนาระบบบริการโดยเน้นการให้บริการที่ต่อ เนื่องจากโรงพยาบาลสู่ครอบครัวและชุมชน เน้นการบริการ เชิงรุกในชุมชน
- สนับสนุนให้มีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และประเมินผลการให้ความรู้การดูแลสุขภาพ และการกินยาอย่างต่อ เนื่องให้คำปรึกษาและประเมินผลการรักษาผู้ป่วย
- มีการนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง และส่งต่อผู้ป่วยใน กรณีมีอาการผิดปรกติให้กับแพทย์เฉพาะทางในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม
- วิทยากรให้การอบรมให้ความรู้แก่ผู้ป่วย ญาติและประชาชน ในชุมชน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อผู้ป่วยจิตเวช
- มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนให้มีสุขภาพจิตดี เช่น การปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสุขภาพกาย เช่น การออกกำลังสร้างสุขภาพ อีกทั้งยังมีการพัฒนา ศักยภาพชุมชนให้พร้อมกับการอยู่กับผู้ป่วยจิตเวช รวมทั้ง ร่วมส่งเสริมให้ครอบครัวและชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อผู้ป่วยจิตเวช
- จัดให้มีศูนย์การให้คำปรึกษาในชุมชนสำหรับผู้ป่วย,ญาติผู้ดูแลผู้ป่วย และผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตในชุมชนที่สนใจ
- การนำครอบครัวมามีส่วนร่วมในการดูแลการปรับพฤติกรรมการดื่มสุรา
การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการช่วยเหลือต้องเริ่มจากความเข้าใจผู้ดื่ม สุรา มีการส่งเสริมสนับสนุน ให้กำลังใจและชื่นชม เมื่อผู้ดื่มสุราทำได้ช่วยให้ผู้ดื่มสุรารับรู้ได้ถึงความห่วงใยของคนในครอบครัวส่งผลให้ผู้ดื่มสุรามีความสุขและมีกำลังใจที่จะปรับพฤติกรรมมากข้ึน ผู้ดื่มสุรารับรู้ได้ถึงบรรยากาศ ของครอบครัวท่ีอบอุ่นมากข้ึน เข้าใจกันมากข้ึน รู้สึกมี ความสุขมากขึ้น
4. ระบุอาการผิดปกติของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของพฤติกรรมความคิดและการรับรู้จากกรณีศึกษา โดยเปรียบเทียบกับทฤษฎี/ เกณฑ์การวินิจฉัยโรค DSM-5
โรคจิตเภท มีลักษณะทั่วไปคือมีความผิดปกติทางความคิดและการรับรู้มีอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมหรือเฉยเมย สูญเสียด้านการรู้คิดจะค่อยๆปรากฏขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ทางจิตพยาธิสภาพที่สำคัญที่สุดคือความคิดแพร่กระจาย อาการหลงผิดในการรับรู้หลงผิดว่าถูกควบคุม หูแว่ว ได้ยินคนอื่นนินทา มีความคิดผิดปกติและมีอาการด้านลบ
B ระดับความสามารถในด้านสําคัญ ๆ เช่น ด้านการทํางาน การมีสัมพันธภาพกับผู้อื่นหรือการดูแลตนเองลดลงไปจากเดิม อย่างชัดเจนอย่างน้อย 1 ด้าน
ผู้ป่วยแยกตัว สัมพันธภาพกับมารดาไม่ดี ชอบหงุดหงิดทำร้ายมารดาเพราะมารดาไม่ให้เงินไปใช้จ่าย รวมถึงสัมพันธภาพกับคนในชุมชนที่ไม่ดี ชกต่อยแม่ค้าในตลาดเพราะเห็นแม่ค้าเป็นทหารพม่า
C มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมี Active Phase อย่างน้อย 1 เดือน และอาจรวมถึง
prodromal หรือ residual phase โดยในช่วง prodromal หรือ residual อาการที่พบอาจเป็นเพียงอาการด้านลบ หรืออาการตามข้อ A ตั้งแต่ 2 อาการ แต่แสดงออกแบบเล็กน้อย เช่น คิดแปลกๆหรือมีการรับรู้ที่ไม่ปกติแต่ไม่ถึงขั้นประสาทหลอน
-
A มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไปนาน 1 เดือน โดยอย่างน้อยต้องมีอาการในข้อ 1-3 อยู่ 1 อาการ
- อาการหลงผิด 2. อาการประสาทหลอน 3. การพูดอย่างไม่มีระเบียบแบบแผน 4. พฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยไม่ทำกัน 5.อาการด้านลบ
- อาการประสาทหลอน เห็นแม่ค้าเป็นทหารพม่า
3.ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ไม่มีระเบียบแบบแผนที่คนในสังคมหรือวัฒนธรรมของผู้ป่วยไม่ทำกัน เดินไปเดินมาวุ่นวาย ไม่อาบน้ำ
-
-
-
-
F หากมีประวัติของโรค autism spectrum disorder หรือ communication disorder ที่เป็นในวัยเด็กจะวินิจฉัยโรคจิตเภทร่วมด้วยได้ต่อเมื่อมีอาการหลงผิดหรือประสาทหลอนเป็นอาการเด่นเพิ่มจากอาการอื่นในข้อ A อย่างน้อย 1 เดือน
-
-
5.การวางแผนการพยาบาลแบบองค์รวมในการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่มีความผิดปกติของความคิดและการรับรู้
-
-
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 3 มีโอกาสกลับเป็นซ้ำเนื่องจากปฏิบัติตัวไม่เหมาะสมหลังจากกลับไปรักษาตัวที่บ้าน
-
ข้อมูลสนับสนุน
A = การกลับเป็นซ้ำ (Relapse) ของผู้ป่วย โรคจิตเภท หมายถึง “การเกิดขึ้นของอาการทาง จิตจากความผิดปกติของจิตซึ่งระดับของอาการ ทางจิตที่ผิดปกติจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ในโรงพยาบาล รวมทั้งมีอาการที่เพิ่มมากขึ้นและ แย่ลงของอาการด้านบวก การกลับเป็นซ้ำของ ผู้ป่วยจิตเภทส่งผลให้ความผิดปกติทางสมองและ อาการทางจิตของผู้ป่วยรุนแรงขึ้น ส่งผลต่อการ ตอบสนองต่อการรักษาและการฟื้นหาย ซึ่งปัจจัยที่ เกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำ ได้แก่ การไม่ร่วมมือใน การรักษา การไม่ร่วมมือในการรับประทานยา การใช้สารเสพติด การสูบบุหรี่ และผู้ป่วยที่มีอายุ น้อยส่วนใหญ่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำได้มากกว่า ผู้สูงอายุ
-
O = มีประวัติรับการรักษาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีพฤติกรรมแยกตัว ไม่อาบน้ำ ผู้ป่วยมีประวัติการกลับมาเป็นซ้ำ การกลับมารักษาซ้ำทั้งหมด 3 ครั้ง
เกณฑ์การประเมิน
- ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยไม่ใช้สารเสพติดทุกชนิด
- ผู้ป่วยไม่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม
- ผู้ป่วยไม่มีอาการกลับเป็นซ้ำของโรคจิตเภทในระยะเวลา 1 ปี หลังจากจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
- วางแผนเตรียมจำหน่ายผู้ป่วยก่อนกลับบ้านเพื่อให้ผู้ป่วย สามารถกลับไปใช้ชีวิตในครอบครัวและชุมชนได้ปกติหรือใกล้เคียง ก่อนการเจ็บป่วย ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยใช้หลัก D-METHOD
1.4 T Treatment
- การบอกเป้าหมายในการรักษา เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้แต่ต้องใช้ระยะเวลา เป้าหมายคือเลิกดื่มสุราอย่างน้อย 1 ปีและไม่กลับมาเป็นซ้ำภายใน 28 วัน
- มีการรับประทานยา ฉีดยา หรือทั้ง 2 อย่างและมาตามนัดของแพทย์
ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น หงุดหงิด หูแว่ว ภาพหลอน พยายามทำร้านตนเอง ใช้สารเสพติด นอนไม่หลับ หรืออาการอื่นๆ ควรปฏิบัติดังนี้ 1.รับประทานยาต่อ 2.บอกญาติให้พาไปรักษายังสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือมาพบแพทย์ก่อนกำหนดโดยนัดในเวลาราชการ และบอกอาการให้แพทย์ทราบ
1.5 สุขภาพ (H = health) ให้คำแนะนำเรื่องวิธีการผ่อน คลายความเครียดด้วยตนเองด้วยวิธีการที่เหมาะสม การนอนหลับ พักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายตามที่ผู้ป่วยชอบและสนใจ รวมทั้งการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
-
1.6 การมาตรวจตามนัด/การติดต่อขอความช่วยเหลือ (O = outpatient referral) เน้นย้ำการมาตรวจและรับยาตามนัด รวม ทั้งสังเกตอาการเตือนของอาการทางจิตกำเริบ เช่น นอนไม่หลับ หงุดหงิดเป็นต้นซึ่งควรไปพบแพทย์ทันทีตลอดจนการขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้านในกรณี
เกิดภาวะฉุกเฉิน
1.2 ยา (M = medicine) เน้นย้ำการรับประทานยาอย่าง ถูกต้องและต่อเนื่องตามแผนการรักษา รวมทั้งและสังเกตอาการ ข้างเคียงจากการรับประทานยา
1.7 อาหาร (D = diet) แนะนำการรับประทานอาหารที่ มีคุณค่า ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารครบทุกมื้อ และตรงเวลา รวมทั้งงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบค่า MCV 70.1 fl ↓ MCH 23.8 pg ↓ Potassium 3.3 mmol/L ↓ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ปกติควรเน้นรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงผักใบเขียว เช่น คะน้า ผักโขม ผลไม้อบแห้ง เนื้อสัตว์โดยเฉพาะตับ เนื้อสัตว์สีแดง และอาหารทะเล ธัญพืชจำพวกถั่วเหลือง ถั่วแดง หรืองา และอาหารที่มีวิตามินB12สูงเช่นไข่แดง เนื้อแดง ปลา สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนมเป็นต้น เพื่อเสริมสร้างการสร้างเม็ดเลือดและอาหารประเภทถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง เพื่อเพิ่มระดับโพแทสเซียม
1.1 ภาวะเจ็บป่วย (D = disease) การทบทวนความรู้ เกี่ยวกับโรคจิตเภทและอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ สรุปเนื้อหาได้ดังนี้ “อาการหูแว่ว นอนไม่หลับกลางคืนที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากการดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการดื่มกาแฟ สิ่งเหล่านี้ส่ง ผลของต่อสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดการรับรู้ที่ผิดปกติไป ซึ่งการ เจ็บป่วยด้วยโรคนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยยาอย่างต่อเนื่องอาจเกิดการกลับเป็นซ้ำได้หากรับประทานยาไม่
ต่อเนื่องร่วมกับมีการใช้สาร เสพติดและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เพราะมีผลทำให้ การออกฤทธิ์ของยาลดลง
- การฝึกทักษะการปฏิเสธให้กับผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถูก ชักชวนจากคนในชุมชนหรือเพื่อน โดยการให้ผู้ป่วยคิดถึงผลที่ จะตามมาหากไม่กล้าปฏิเสธ จะเกิดอะไรขึ้นกับตนเองบ้าง ตัวอย่าง คำพูดเช่น “เราเลิกดื่มแอลกอฮอล์แล้ว เราไม่ต้องการกลับไปนอนโรงพยาบาลอีก”
- การเตรียมครอบครัว และเตรียมชุมชน เพื่อวางแผนการ ดูแลผู้ป่วยร่วมกัน โดยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง การ สร้างทัศนคติที่ดีในการดูแลผู้ป่วย การสนับสนุนให้ครอบครัวและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน การดูแล จะเป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะช่วยผู้ ป่วยโรคจิตเภทมีอาการกำเริบลดลง สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ตามศักยภาพ ไม่รู้สึกเป็นภาระของครอบครัวอีกด้วย
- ประสานกับพี่ชายและพี่สะใภ้เพื่อให้มาช่วยดูแลผู้ป่วยเพราะมาณดาที่เป็นผู้ดูแลหลักมีอายุมาก อาจขาดความสามารถในการดูแลผู้ป่วยได้รวมถึงให้ความรู้และส่งเสริมพลังอำนาจ (empowerment)ให้กับครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย
- ประสานงานกับอสม.ในชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยในการรับประทานยาและประสานงานกับร้านค้าในชุมชนเพื่อลดการขายสุราให้ผู้ป่วย
การประเมินผล
- ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจัดยารับประทาน ได้เอง กินยาถูกต้อง
- ผู้ป่วยบอกว่าไม่ได้ใช้สารเสพติดทุกชนิด
- ผู้ป่วยบอกว่าไม่ดื่มเครื่องเครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
-
-
-
3.สมมติฐานที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของปัญหา
และบุคคลที่มีความเกี่ยวของกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตในโจทย์สถานการณ์ (Scenario)
สาเหตุของปัญหา
- ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่องทำให้เกิดการกลับมาเป็นซ้ำของโรค
- ผู้ป่วยมีอาการทางจิตกำเริบเนื่องจากดื่มสุรา
- ผู้ป่วยมีเศรษฐานะยากจน ทำให้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง
- ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยานอนหลับ ทำให้ตัดสินใจหยุดรับประทานยาเอง
- ผู้ป่วยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคจิตเภท อาจมีการสืบทอดจากพันธุกรรม
- คนในครอบครัวขาดความสามารถในการดูแลเอาใจใส่ต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย
-