Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 575
บุคคลหนึ่ง เรียกลูกจ้าง อีกคนเรียก นายจ้าง
ถ้าหากไม่เรียกว่าสัญญาจ้างแรงงานหรือลูกจ้างนายจ้าง ก็ไม่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานที่ถูกต้องไม่
ชื่อสัญญา ชื่อลูกจ้าง ใช้คำไหนก็ได้แต่ต้องเข้าลักษณะ
สัญญาจ้างแรงงานจะถึงมีสินจ้าง
หากไม่มีย่อมไม่เป็นนายจ้างลูกจ้างกันในสัญญาจ้างแรงงาน
ไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน วัตถุ สิ่งของอื่นก็ได้
มาตรา 425
นายจ้าง ลูกจ้าง
คือ บุคคล 2 ฝ่ายที่มีความสัมพันธ์กัน
บัญญัติมาตรา 425 หมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575
นายจ้างร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ไม่ใช่ลูกจ้าง
ข้าราชการในกระทรวง บบวง กรม มิใช่นายจ้างลูกจ้างกัน
หากก่อละเมิดในระหว่างปฏิบัติงานต้องบังคับตาม พรบ. ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าพนักงาน
ตัวอย่าง
ใหม่โกงเงินลูกค้าตามคำสั่งบี บีได้รับประโยชน์บีต้องรับผิดร่วมกับใหม่
ใหม่ ขณะเลิกงานไปต่อยเก่า เป็นความเค้นส่วนตัว บีที่เป็นนายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ลักษณะลูกจ้างกระทำละเมิดที่นายจ้างต้องรับผิดหรือไม่
ละเมิดเกิดแก่ผู้ใด
บทบัญญัติแจ้งชัดพิเศษมาตรา 430 นายจ้างต้องรับผิด
ลูกจ้างได้ทำความเสียหายระหว่างทำงานไหม
ลูกจ้างทำงานสำเร็จ
นายจ้างมาดูแลควบคุมไหม
ลักษณะงานที่จ้าง
ลูกจ้างเอาใจใส่ต่อความปลอดภัยของผู้อื่นหรือไม่
นายจ้างรับผิดก็ต่อเมื่อ ลูกจ้างละเมิดในเวลางานและการละเมิดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น
ใหม่รับจ้างทำความสะอาดขณะใหม่ซักผ้าให้ใข่ได้เทน้ำไปใส่บ้านแหวน เป็นเหตุที่เกิดขณะจ้าง ใข่ต้องร่วมรับผิดชอบการกระทำของใหม่
ลูกจ้างทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน
ขณะที่ใหม่ขับรถให้บี ได้ดื่มสุราจนประมาทชนคน
กรณีนายจ้างสั่งห้าม
ใหม่ทำงานให้บีแต่ยังฝ่าฝืนคำสั่งจนเกิดละเมิด บีอ้างระเบียบภายในมาสู้กับซีไม่ได้ นายจ้างคือบี ต้องร่วมรับผิดชอบ
การละเมิดโดยจงใจ
เป็นการจงใจแยกได้ชัดเจนไม่เกี่ยวกับการปฎิบัติงานเพื่อนายจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิด
เช่น นายจ้างมอบอาวุธปืนให้ลูกจ้างขณะเฝ้าเวรยาม ลูกจ้างใช้ปืนรอบยิงแฟนเจ้าที่เดินผ่านมาในขณะปฏิบัติหน้าที่ เป็นการกระทำในขณะที่ทำการจ้าง ถือเป็นละเมิดที่นอกนอกเหนือหน้าที่
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426
ไล่เบี้ยสินไหมทดแทน คือค่าเสียหายที่ฝ่ายผู้เสียหายเรียกร้องศาลบังคับใช้ นายจ้างชดใช้ไปเท่าใด ก็มีสิทธิเรียกจากลูกจ้างได้เท่านั้น
เช่น ใหม่ทำละเมิดจนถูกฟ้อง ให้นายจ้างใช้ค่าเสียหายแทน ค่าธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของใหม่ นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้ จะไล่เบี้ยได้เพียงค่าเสียหาย และ ดอกเบี้ยเท่านั้น
นายจ้างเมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ลูกจ้างแล้วสามารถไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ เพราะนายจ้างไม่ใช่คนทำละเมิด
นายจ้าง ซึ่งได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
ตัวการรับผิดในการทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
มิใช่ ลูกจ้าง นายจ้าง
มีการส่งมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำแทน
ว่าฐาน วารใช้ คือ ไม่ต้องรับผิดแทน
เช่น อาจารย์ใช้นิสิตไปซื้อของที่ตลาด หากนิสิตทำละเมิด อาจารย์ไม่ต้องรับผิด
มาตรา 427 ''บทบัญญัติ มาตรา ทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนโดยอนุโลม'
นำ มาตรา 426 และ 425 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนโดยอนุโลม เพราะมีความสัมพันธ์ระหว่างตัวการตัวแทนใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง
เช่น ใหม่เป็นเจ้าของรถยนต์แต่ขับไม่เป็นจึงให้เก่าขับให้โดยมีใหม่นั่งข้างๆ ดังนั้นเก่าเป็นตัวแทน ใหม่เจ้าของรถต้องรับผิดร่วมกับเก่าที่ขับรถชนโจทย์เสียหาย
ความรับผิดของตัวการ
ละเมิดที่ตัวการรับผิดชอบต้องดูขอบเขตตัวแทนด้วย
ตัวแทนในการซื้อรถยนต์ อำนาจคือทำการใด ที่จะให้ได้รถยนต์มาเป็นของตัวการ
จ้างคน ขับรถมาส่งให้ตัวการ คืือเอารถมาส่งและไม่มีอำนาจเอาไปโอนขายต่อ
รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ คือ ทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ลุล่วงไป
รับมอบอำนาจทั่วไป
จัดการแทนตัวการได้ทุกอย่าง นอกจากจะเข้าบัญญัติไว้ในมาตรา 801
เช่น ใหม่ตั้งเก่าเป็นตัวแทนขายที่ดินแปลง a เก่าหลอกขายที่ดินแปลง b ให้กับวี ทั้งที่ต้องการขายแปลง a วีรับซื้อ ในขอบเขตการเป็นตัวแทนของใหม่ ใหม่ต้องรับผิดชอบต่อวีร่วมกับเก่าด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการโดยอนุโลม เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิด ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน
นายจ้างลูกจ้างย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น
มาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือ ให้คำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือ ในการเลือกหาผู้รับจ้าง
เหตุที่นำ มาตรา 428 มาไว้ในหมวดความผิดในการกระทำของบุคคลอื่นโดยอนุโลม
ผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอก แม้ความผิดของผู้ว่าจ้างเป็นความรับผิดในฐานะเป็นผู้ทำละเมิด มิใช่รับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง
กรณีแสดงให้เห็นว่าผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดทางละเมิด ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเพราะมีส่วนผิด จึงเห็นได้ชัดว่าผู้ว่าจ้างมิใช่ความรับผิดในกระทำของบุคคลอื่น
ผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอก จึงไม่มีบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
ผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามบัญญัติไว้ใน มาตรา 420
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำเอง
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
การงานที่สั่งให้ทำจจะไม่เป็นละเมิดด้วยตนเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหาย หรือเป็นคำแนะนำ
เช่น แนะนำให้ช่างซ่อมรถกวาดตะปูออกไปไว้ข้างถนนก่อน ซึ่งเป็นเส้นทางผ่านของบ้านบีพอดี เป็นเหตุให้รถยางรั่วได้
ความผิดในการเลือกผู้รับจ้าง
เลือกผู้รับจ้าง
จ้างคนที่ไม่ระมัดระวังอันควรแก่สภาพงานที่จ้างให้ทำ
เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
จ้างคนที่รุ้ว่าเขาไม่ได้มีความสามารถ
เช่น จ้างคนที่ปู้พื้นกระเบื้องเป็นมาเชื่อมเหล็ก
การจ้าง
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เช่น ใหม่จ้างอีฟ ที่เป็นผู้รับจ้างมาตัดต้นไม้ที่บ้านโดยไม่ระบุชัดเจนว่าต้นไหนบ้าง ตัดผิดของคนข้างบ้านที่เป็นต้นไม้ราคาแพง ดังนี้ใหม่เป้นผู้ผิดในการงานที่สั่งให้ทำ
เช่น ใหม่จ้างอีฟผู้รับจ้างมาทำความสะอาดบ้าน อีฟหวังดีตัดต้นไม้หน้าบ้านให้ทั้งที่ไม่มีคำสั่งของใหม่ ตัดโดนต้นไม้ราคาแพงของคนข้างบ้าน ใหม่ไม่ต้องรับผิดชอบ
เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตตรา 429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่จนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ก็ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
หลักเกณฑ์
มาตรา 420
มีการกระทำโดยจงใจ
เคลื่ิอนไหวโดยรู้สำนึก
รู้ถึงผลเสียหาย
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 ต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เด็กอายุ 10 ขวบ ต่อยครู ถือว่ากระทำละเมิดได้แล้ว
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือคลวิกลจริต
ไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
หลักเกณฑ์ มาตรา 430
บุคคลไร้ความสามารถกระทำละเมิด ต้องกระทำลงในความดูแลของครูอาจารย์ หรือบุคคลอื่นนั้นด้วย
ผู้ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
เป็นบุคคลไร้ความสามารถ การดูแลประจำหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิด (หากไม่รับดูแลก็ไม่เข้ามาตรานี้)
มาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำในระหว่างอยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
สิทธิไล่เบี้ยของครูอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถ
ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาจนครบจำนวนที่ชดใช้แทน
ใหม่มีลูกอายุ 15 และให้ลูกขับรถได้ตามใจจนได้ไปทำละเมิดต่อ บี จนมีขาหัก ใหม่ต้องรับผิดในผลที่บุตร ทำละเมิดต่อ บี