Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
-
1.3 การผิดนัดไม่ชำระหนี้
1) การผิดนัด
การผิดนัดนั้นเป็นผลในทางกฎหมายที่มีความสำคัญต่อลูกหนี้และเจ้าหนี้ทำให้ลูกหนี้มีความลับผิดบางอย่างเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดสิทธิบางอย่างแก่เจ้าหนี้เช่นกันการผิดนัดมีกฎหมายกำหนดไว้ในลักษณะต่างๆทั้งที่มีความสัมพันธ์กับกำหนดเวลาชำระหนี้และในกรณีละเมิดก็มีกำหนดไว้โดยกฎหมายด้วยอาจแบ่งพิจารณาได้เป็น 2 กรณีคือ
1.ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน
เมื่อมีกำหนดเวลาชำระหนี้แล้วลูกหนี้ก็ต้องชำระหนี้ตามกำหนดนั้นแต่การที่ลูกหนี้ยังไม่ได้ชำระหนี้นั้นในบางกรณีกฎหมายยังไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดในหนี้บางประเภทนั้นกฎหมายกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องเตือนลูกหนี้ก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัดคือการผิดนัดเกิดจากการกระทำของเจ้าหนี้เพื่อให้ครบเงื่อนไขตามกฏหมายหนี้ประเภทที่เจ้าหนี้ต้องเตือนก่อนลูกหนี้จึงจะผิดนัดได้แก่หนี้ 2 กรณีคือ
(1) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทินในมาตรา 204 วรรคแรกบัญญัติว่า “ ถ้าลูกหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและภายหลังแต่นั้นเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ไซด์ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดเพราะเขาเตือนแล้ว”
หนี้ประเภทนี้เป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน เช่นกำหนดชำระหนี้เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จเมื่อฤดูน้ำหลากไม่อาจกำหนดวันที่แน่นอนชัดเจนได้ดังนั้นเมื่อนี่ถึงกำหนดชำระแล้วกฏหมายจึงได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องให้คำเตือนลูกหนี้ก่อนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามที่เจ้าหนี้เตือนลูกหนี้จึงจะผิดนัดดังนั้นแม้หนี้จะถึงกำหนดชำระแล้วและลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ถ้าหากเจ้าหนี้ยังไม่เตือนแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด
เช่น ยืมกระบือไปใช้ไถนาดูตกลงว่าเมื่อไถนาเสร็จจะส่งคืน ปรากฏว่าในระหว่างที่ไถนาไปได้เพียงบางส่วนกระบืออีกตัวนึงของผู้ให้ยืมถูกคนร้ายลักไป ผู้ให้ยืมจึงมาทวงกระบือตัวที่ยืมมาไถนาคืนทั้งทั้งที่ยังไถนาไม่เสร็จเมื่อผู้ยืมจะไม่ยอมส่งคืนก็ไม่ถือว่าผิดนัดเพราะหนี้ยังไม่ถึงกำหนดการเตือนต้องเตือนเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วกรณีกำหนดเวลาชำระหนี้ไม่ได้กำหนดไว้แจ้งชัดแต่อนุมานจากพฤติการณ์ได้ก็ต้องบังคับตามนี้ถือว่าเป็นหนี้ที่มีกำหนดชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทินตามมาตรา 204 วรรคแรกด้วย
(2) หนี้ที่ไม่มีกำหนดชำหนี้ ตามมาตรา 203 หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็ไม่ได้นั้นมาตรา 203 กำหนดให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และลูกหนี้ก็มีสิทธิที่จะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกันนั้นแม้จะมองได้ว่าแสดงว่ากฎหมายให้ถือเอาว่าหนี้ประเภทนี้ถึงกำหนดทันทีที่ได้ก่อหนี้ก็ตามแต่ ถ้าเจ้าหนี้ยังไม่เรียกให้ลูกหนี้ชำระลูกหนี้ก็ยังไม่มีหน้าที่ต้องชำระลูกหนี้มีสิทธิที่จะชำระได้ทันทีตั้งแต่ก่อหนี้แต่หน้าที่ที่จะต้องชำระนั้นจะเริ่มขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ ชำระหนี้นั่นเอง ดังนั้นหากไม่มีการเตือนให้ชำระหนี้จากเจ้าหนี้ลูกหนี้ก็ยังไม่มีหน้าที่ชำระหนี้และยังไม่ผิดนัดจึงถือได้ว่าหนี้ประเภทนี้ลูกหนี้ผิดนัดด้วยการเตือนของเจ้าหนี้ด้วยเช่นกัน
-
3.กำหนดการชำระหนี้กับการผิดนัด
กำหนดเวลาชำระหนี้กำหนดเวลาชำระหนี้และการผิดนัดนั้นไม่เหมือนกันแต่ก็มีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดอาจสรุปความแตกต่างและความเหมือนของกำหนดเวลาชำระหนี้กับการผิดนัดดังนี้
(1) กำหนดเวลาชำระหนี้นั้นเป็นกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้แต่การผิดนัดเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนดประกอบกับเงื่อนไขบางประการของกฎหมาย กล่าวคือ ถ้าเป็นการไม่ชำระหนี้ที่มิใช่กำหนดตามวันแห่งปฏิทินลูกหนี้จะผิดนัดก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วแต่ถ้าเป็นหนี้ที่กำหนดชำระวันแห่งปฏิทินลูกหนี้ก็จะผิดนัดทันทีที่ไม่ชำระตามกำหนดแม้กระนั้นการผิดนัดก็ยังเริ่มขึ้นในวันถัดจากวันที่นี่ถึงกำหนดไม่ใช่ผิดนัดในวันถึงกำหนด
(2) กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกำหนดที่เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้และเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการผิดนัดคือการที่เจ้าหนี้จะทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้นั้นต้องเป็นการเตือนลูกหนี้หลังจากที่นี่ถึงกำหนดชำระแล้วหายยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้เจ้าหนี้ก็ไม่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้แม้เจ้าหนี้จะเตือนให้ลูกหนี้ชำระลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ก็ยังไม่ผิดนัดเพราะอยู่นี่ยังสามารถถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเวลาได้อยู่ถ้ากรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 193
(3) การผิดนัดนั้นแม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้และมีเงื่อนไขอื่นที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัด เช่นการเตือนของเจ้าหนี้แล้วก็ตามอาการที่ไม่ชำระหนี้นั้นมีเหตุที่ลูกหนี้จะอ้างได้ว่าไม่ใช่ความผิดของตนแต่เกิดจากพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบแล้วตามมาตรา 205 ก็ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด คือตราบใดที่ลูกหนี้ยังมีข้ออ้างที่เป็นที่ยอมรับของกฎหมายแล้วรู้นี่ก็ยังไม่ผิดนัดแม้จะถึงกำหนดชำระหนี้แล้วและเจ้าหนี้ก็เตือนลูกหนี้แล้วก็ตาม
4) กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด
ปกติเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วเจ้าหนี้ได้ให้คำเตือนลูกหนี้แล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้ก็ต้องตกเป็นผู้ผิดนัดหรือในกรณีที่ต้องเตือนเช่นการชำระหนี้ที่กำหนดเวลาไว้ตามวันแห่งปฏิทินเมื่อถึงกำหนดแล้วลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดแต่ในบางกรณีการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้จะให้ลูกหนี้ต้องรับผิดก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้กฎหมายจึงได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ไม่ให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดถ้าการที่ยังไม่ชำระหนี้นั้นไม่ใช่ความผิดของลูกหนี้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 205 ว่า “ตราบใดการชำระหนี้นั้นยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตราบนั้นลูกหนี้ยังหาได้ชื่อว่าผิดนัดไม่”
พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนี้อาจมีที่มาจากสาเหตุด้วยกันเป็นต้นว่า
(1) เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เองการที่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้นั้นหากเกิดเพราะเจ้าหนี้จะต้องรับผิดแล้วก็ถือเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเหตุที่เจ้าหนี้จะต้องรับผิดนั้นอาจมีหลายเหตุด้วยกันได้แก่กรณีเจ้าหนี้ผิดนัดและกรณีที่เจ้าหนี้ต้องรับผิดด้วยเหตุอื่นอีก
(2) เหตุเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกบางครั้งการชำระหนี้ยังไม่ได้กระทำลงนั้นเป็นพฤติการณ์ที่โทษลูกหนี้ไม่ได้ เพราะเป็นเหตุเกิดจากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้ เช่นตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลวกันว่าลูกหนี้จะรังวัดแบ่งแย่งที่ดินที่จะซื้อขายและไปโอนให้แก่ผู้ซื้อภายในเวลาที่กำหนด ปรากฎว่าลูกหนี้ได้พยายามดำเนินการเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามสัญญาเต็มความสามารถแล้วแต่รังวัดแบ่งแยกไม่เสร็จเพราะเจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจดำเนินการได้ทันถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด (ฎีกา ๑๘๔๓/๒๕๒๕) แต่ถ้ามีเหตุจะเกิดจากบุคคลภายนอกแต่ลูกหนี้ก็มีส่วนผิดเช่นนี้ ลูกหนี้ก็จะอ้างไม่ได้ เช่น เจ้าพนักงานรังวัดดำเนินการรังวัดแบ่งแยกให้ไม่ทันตามกำหนดเพราะลูกหนี้ดำเนินการล่าช้าเองจะอ้างว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบไม่ได้ (ฎีกา ๒๔๐/๒๕๒๕)
(3) เกิดจากภัยธรรมชาติ การที่ลูกหนี้ไม่อาจชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดการมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติที่ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเช่นกันเช่นรังวัดแบ่งแยกให้ไม่ทันเพราะน้ำท่วมรังวัดไม่ได้จึงไม่สามารถโอนที่ดินได้ตามกำหนดก็ถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด (ฎีกา ๗๕๐/๒๕๑๘) ภัยธรรมชาตินี้อาจเป็นโรคภัยไข้เจ็บก็ถือว่าเป็นภัยธรรมชาติได้แต่ก็ต้องร้ายแรงถึงขนาดที่เป็นเหตุให้ไม่อาจชำระหนี้ตามกำหนดด้วยหากไม่ร้ายแรงถึงขนาดแล้วก็จะอ้างไม่ได้เช่นอ้างว่าเดินทางไปต่างจังหวัดและเจ็บป่วยระหว่างทางโดยไม่ปรากฏว่าเจ็บป่วยขนาดไหนหรือไม่อาจเดินทางได้ต้องถือว่าลูกหนี้ผิดนัด (ฎีกา ๑๒๖๕/๒๕๑๒)
2) ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้วลูกหนี้มีหน้าที่ชำระหนี้ตามมาตรา 203 และมาตรา 204 แล้วหากลูกหนี้ไม่อาจอ้างเหตุยกเว้นความผิดตามมาตรา 205 ได้หรือเป็นกรณีหนี้ละเมิดลูกหนี้ก็ต้องผิดนัดตามมาตรา 206 เมื่อลูกหนี้ผิดนัดแล้วก็มีผลตามมาจากการผิดนัดชำระหนี้นอกจากหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม โดยผลของการผิดนัดที่สำคัญมีดังนี้
3.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
นอกจากความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดการชำระหนี้ดังกล่าวมาซึ่งเป็นความเสียหายจากการผิดนัดโดยตรงแล้วเมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายในความประมาทเลินเล่อ และการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดด้วยดังบทบัญญัติในมาตรา 217 ความรับผิดของลูกหนี้ในกรณีนี้ต่างกับใน 2 กรณีแรกในมาตรา 215 และมาตรา 216 คือในมาตรา 217 นี้มิใช่เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดแต่เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดเท่านั้นมิใช่เป็นเหตุโดยตรงมาจากการผิดนัดแต่เป็นเพราะลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามหน้าที่ของตนที่จะต้องชำระหนี้ตามกำหนด เมื่อไม่ชำระหนี้และถูกและลูกหนี้ต้องตกเป็นผู้ผิดนัดแล้วเกิดการเสียหายหรือสูญหายขึ้นแก่ทรัพย์นั้นไม่ว่าจะด้วยความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้หรือเพราะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดลูกหนี้ก็ต้องรับผิด เพราะหากลูกหนี้ชำระหนี้ตามกำหนดทรัพย์สินนั้นไปอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ความเสียหายนั้นก็คงไม่เกิดขึ้นดังนั้นกฎหมายจึงยอมให้ลูกหนี้ พิสูจน์ได้ว่าแม้ตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดความเสียหายนั้นก็คงจะไม่เกิดมีอยู่นั่นเอง ลูกหนี้จึงจะไม่ต้องรับผิดความเสียหายในเรื่องนี้เกิดจากสองสาเหตุคือความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้อย่างหนึ่งและเกิดจากอุบัติเหตุอีกอย่างหนึ่ง
ความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้นี้อาจมีความเข้าใจผิดว่ากฎหมายบัญญัติว่าลูกหนี้ต้องรับผิดชอบในบรรดาความเสียหายที่เกิดแต่ประมาทเลินเล่อในระหว่างผิดนัด ดังนั้นถ้าลูกหนี้จงใจทำให้เกิดความเสียหายแล้วก็ไม่ต้องรับผิดความจริงแล้วในกรณีที่ลูกหนี้จงใจกระทำให้เกิดความเสียหายนั้นแม้ไม่ใช่ระหว่างผิดนัดลูกหนี้ก็ต้องรับผิดอยู่แล้ว ดังนั้นจึงมิใช่เรื่องที่เป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นเมื่อลูกหนี้ผิดนัดจึงไม่ได้บัญญัติถึงกรณีจูงใจอีกแต่หากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างผิดนัดโดยลูกหนี้จงใจทำให้เกิดความเสียหายลูกหนี้ก็ต้องรับผิดอยู่แล้ว (ฎีกา ๑๒๙๖/๒๕๑๘) เพราะลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ตามมาตรา 215 โดยไม่อาจอ้างพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบลูกหนี้ก็ต้องรับผิดแต่ไม่ใช่เป็นการรับผิดตามมาตรานี้ในทำนองเดียวกับในกรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดในระหว่างผิดนัดซึ่งมาตรานี้บัญญัติให้ต้องรับผิดก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเกิดเพราะเหตุอื่นที่ไม่ใช่อุบัติเหตุแต่เป็นพ่อการกระทำของลูกหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างลูกหนี้ผิดนัดแล้วลูกหนี้จากไม่ต้องรับผิด
เช่น ลูกหนี้ผิดนัดไม่ส่งน้ำตาลแก่ผู้ซื้อตามกำหนดเพราะตกลงราคาไม่ได้ต่อมารัฐบาลห้ามส่งน้ำตาลออกนอกประเทศการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย ลูกหนี้ก็ต้องรับผิด (ฎีกา ๒๕๘/๒๕๒๓) ซึ่งการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยในกรณีนี้ไม่ใช่เป็นอุบัติเหตุแต่เป็นเพราะความผิดของลูกหนี้หากลูกหนี้ได้รีบจัดการโดยเร็วไม่ชักช้าเพราะต่อรองราคาการชำระหนี้ก็จะไม่กลายเป็นพ้นวิสัย ดังนั้นไม่ว่าการชำระหนี้จะกลายเป็นพ้นวิสัยจะเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดหรือก่อนที่จะผิดนัดลูกหนี้ก็ต้องรับผิดตามมาตรา 218 วรรคแรกอยู่แล้วจึงไม่ได้บัญญัติไว้ในมาตรานี้เช่นกัน
ในกรณีของความเสียหายอันเกิดจากประมาทเลินเล่อในระหว่างผิดนัดนั้นเมื่ออธิบายมาแล้วว่าความลับผิดในมาตรานี้หมายถึงเฉพาะความรับผิดที่หากไม่มีการผิดนัดแล้วลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดก็อาจทำให้เกิดความสงสัยได้ว่าถ้าลูกหนี้ประมาทเลินเล่อก่อนที่จะผิดนัดนั้นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดหรือแท้จริงแล้วการประมาทเลินเล่อก็คือการไม่ระมัดระวังตามหน้าที่ของตนที่ต้องใช้ความระมัดระวังนั่นเองหน้าที่ที่จะต้องระมัดระวังนี้มิได้หมายความว่าลูกหนี้ทุกกรณีต้องระมัดระวังเท่ากันหมดเพราะหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังนั้นกฎหมายกำหนดไว้หลายระดับเช่น ผู้รับฝากทรัพย์โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากมีหน้าที่ต้องระมัดระวังขั้นต่ำคือเท่าที่ตนเองประพฤติในกิจการของตนตามมาตรา 659 วรรคแรกแต่ถ้าเป็นการรับฝากทรัพย์นั้นโดยมีบำเหน็จค่าฝากก็จะต้องมีระดับความระมัดระวังสูงขึ้น
ประเด็นที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่าข้อแก้ตัวของลูกหนี้ในมาตรา 217 ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ว่าตนจะได้ชำระหนี้ทันเวลากำหนดก็คงจะต้องเกิดมีอยู่นั่นเองนั่นจะยกขึ้นอ้างให้ไม่ต้องรับผิดได้ทั้งกรณีที่ความเสียหายเกิดแต่ความประมาทเลินเล่อและกรณีอุบัติเหตุหรือจะยกขึ้นอ้างได้แต่เฉพาะกรณีอุบัติเหตุเท่านั้น
ตัวอย่าง แดงรับฝากรถจากต้อยไว้โดยไม่มีบำเหน็จค่าฝากโดยตกลงกันว่าต้อยจะมารับคืนในวันที่ 30 ธันวาคมถึงกำหนดต้อยมารับรถคืนแดงยังอยากได้รถไว้ใช้ไปเที่ยวปีใหม่จึงบอกกลับไปว่าอีก 3 วันจะนำไปคืนให้ต้อยไม่ยอมแดงจึงแกล้งบอกว่าหากุญแจไม่พบคืนวันรุ่งขึ้นรถคันดังกล่าวได้ถูกขโมยลักไปทั้งๆที่แดงก็ได้ล็อกประตูรถเรียบร้อยแต่จอดไว้นอกบ้านเหมือนกันกับรถของตนเช่นนี้แดงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในระหว่างผิดนัดแดงจะอ้างว่ารถของต้อยที่จอดอยู่ที่บ้านต้อยอีกคันนึงก็ถูกขโมยลักไปในคืนเดียวกันดังนั้นถ้าตนเองนำรถไปส่งขึ้นรถคันนี้ก็ต้องถูกขโมยไปด้วยตนจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือไม่ได้แต่ถ้าหากหลังจากพี่แดงไม่คืนรถและจอดรถไว้ที่เดิมเกิดไฟไหม้เพราะถังแก๊สระเบิดที่บริเวณข้างเคียงและลุกลามมาไม่บ้านของแดงด้วยทางรถด้วยและบ้านของตนก็ถูกไฟไหม้ด้วยเช่นนี้แดงสามารถพิสูจน์ได้ว่าแม้ว่าตนเองจะชำระหนี้ตามกำหนดคือส่งคืนรถแก่ต้อยเมื่อวันที่ 30 ธันวาคมนั้นรถก็คงจะอยู่ที่บ้านของต้อยและก็ถูกไฟไหม้ไปด้วยนั่นเอง กรณีกรณีหลังนี้แบรนด์สามารถพิสูจน์เพื่อให้ต้นหลุดพ้นจากความรับผิดตามมาตรา 217 ได้
1.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแก่การผิดนัด
การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดและตกเป็นผู้ผิดนัดนั้นก็ถือว่าเป็นการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ด้วยดังนั้นเป็นการชำระหนี้ล่าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 215 ว่า “เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ไซด์เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นก็ได้” บัญญัตินี้เป็นบทบัญญัติที่วางหลักให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนอันเกิดแต่การไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้ทุกอย่างไม่ได้มุ่งหมายแต่เฉพาะการชำระหนี้ล่าช้าเท่านั้นแต่การชำระหนี้ล่าช้าก็เป็นการชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งด้วยจึงนำบทบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่การเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เจ้าหนี้ได้รับเนื่องจากการชำระหนี้ล่าช้าด้วยและความเสียหายในเรื่องนี้เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการชำระหนี้ล่าช้านั้น
เช่นทำสัญญารับจ้างสร้างบ้านให้เขาตกลงว่าจะสร้างเสร็จใน 6 เดือนแต่สร้างไม่เสร็จล่าช้าไปทำให้ผู้ว่าจ้างต้องไปเช่าบ้านเขาอยู่ต้องเสียค่าเช่าบ้านในระหว่างนั้นส่งคืนบ้านเช่าช้ากว่าที่กำหนดทำให้ต้องเสียหายไม่ได้รับค่าเช่าที่ควรจะได้ (ฎีกา ๘๐๔/๒๕๒๗,๑๕๘๕/๒๕๑๓) ผู้เช่าไม่ออกจากที่ดินที่เช่าตามสัญญาทำให้ผู้ให้เช่าต้องถูกผู้จะซื้อที่ดินปรับตามสัญญาจะซื้อขาย (ฎีกาที่ ๑๒๕๑/๒๕๒๑) ไม่ชำระหนี้เงินตามกำหนดเจ้าหนี้จึงไม่มีเงินที่จะไปชำระค่าซื้อสินค้าที่ไปทำสัญญาและวางมัดจำไว้ทำให้ถูกลิปเงินมัดจำอย่างนี้ก็เป็นค่าเสียหายที่เกิดจากการผิดนัดไม่ชำระหนี้ นอกจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากการชำระหนี้ล่าช้าแล้วบางกรณีอาจไม่มีความเสียหายจริงกฏหมายก็อาจกำหนดค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดให้ด้วย เช่นกรณีกนี้เงินที่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้กฎหมายให้ต้องรับผิดในดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดตามมาตรา 224 โดยกฎหมายมองว่าเป็นค่าเสียโอกาสในการที่จะนำเงินนั้นไปทำประโยชน์ใดใดที่จะให้เกิดผลงอกเงยขึ้นมาทั้งทั้งที่เจ้าหนี้แม้จะได้รับเงินนั้นมาตามกำหนดก็อาจไม่ได้นำไปทำอะไรเลยก็ตาม
ขอให้สังเกตว่าค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดนี้มีข้อควรสังเกต 2 ประการคือประการแรกเป็นค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการผิดนัดโดยตรง ประการที่สองเป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นมาจากการชำระหนี้ปกติที่แม้เมื่อผิดนัดลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดชำระหนี้ไม่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนแทนการชำระหนี้และแม้ในที่สุดหากจะมีการเรียกค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้ก็เป็นคนละส่วนกับการเรียกค่าสินไหมทดแทนที่เกิดจากการผิดนัด
การเรียกค่าสินไหมทดแทนจะเรียกกันได้เพียงใดนั้นจะได้ยกไปพิจารณาร่วมกันในเรื่องของการเรียกค่าสินไหมทดแทน
2.เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
เวลาในการชำระหนี้เวลาในการชำระหนี้นั้นแม้จะเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ที่ลูกหนี้จะต้องชำระให้ถูกต้องในเรื่องของเวลาซึ่งเป็นความประสงค์แห่งมูลหนี้อย่างหนึ่งดังได้กล่าวแล้วแต่เวลาในการชำระหนี้นั้นปกติแล้วก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิ์จะปฏิเสธไม่ชำระหนี้ได้เสมอไปแม้แต่ในเรื่องการผิดนัดในบางกรณีแม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดก็ยังหาได้ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเสมอไปต้องให้เจ้าหนี้เตือนก่อนจึงจะผิดนัดตามมาตรา 204 วรรคแรกแต่ในบางกรณีเวลาก็เป็นสาระสำคัญทั้งในแง่ของสัญญาก็มี มีได้เช่นในมาตรา 388 ที่ให้สิทธิ์แก่เจ้าหนี้ที่จะเลิกสัญญาได้ในทางการชำระหนี้ก็เช่นกันการชำระหนี้บางอย่างกำหนดเวลาชำระหนี้ก็เป็นสาระสำคัญถึงขนาดที่หากเลยกำหนดเวลานั้นไปแล้วการชำระหนี้ก็ตกเป็นไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้
เช่นตกลงเช่าห้องริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อดูขบวนเสด็จพยุหะยาตราทางชลมารค หากมาส่งมอบห้องเช่าล่าช้าไปจนขบวนเสด็จผ่านไปหมดแล้วก็ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้วหรือตกลงจ้างตัดชุดเจ้าสาวเพื่อใช้ในวันเลี้ยงฉลองสมรสแต่มาส่งมอบให้หลังจากวันเลี้ยงฉลองสมรสผ่านไปแล้วก็ไม่เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว ดังนั้นหนี้ประเภทนี้จึงมีบทบัญญัติให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในการปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ในกรณีผิดนัดในมาตรา 116 ว่า “ถ้าโดยเหตุผิดนัดการชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้แล้วจะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ก็ได้”
บทบัญญัติมาตรา 116 และมาตรา 388 นี้จะแสดงได้ว่ากรณีนี้ต้องเป็นหนี้ที่กำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญโดยการแสดงเจตนาของคู่กรณีในการทำสัญญาหรือตามสภาพเวลาเป็นสาระสำคัญซึ่งคู่กรณีก็จะทราบได้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ เช่นจ้างให้ขนสินค้าไปส่งลงเรือเดินสมุทร ซึ่งจะออกจากถ้าวันที่ 10 ตุลาคม ดังนี้เวลาซึ่งเรือจะออกจากถ้าจึงเป็นสาระสำคัญหรือจ้างตัดชุดวิวาห์เช่นนี้ก็เห็นได้ดูสภาพว่าเวลาย่อมเป็นสาระสำคัญหรือโจทก์จะซื้อที่ดินของจำเลยไปขายต่อแต่จำเลยไม่อาจส่งมอบ น.ส. ๓ ก. ให้โจทก์ก็ได้ตามกำหนดศาลฎีกาวินิจฉัยว่ากำหนดเวลาส่งมอบ น.ส. ๓ ก. เป็นสาระสำคัญหากเมื่อส่งมอบช้าย่อมเป็นการไร้ประโยชน์แก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวตามมาตรา 387 ( ฎีกาที่ ๑๘๕๖/๒๕๒๓)
ผลของหนี้ที่กำหนดเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ
หนี้ที่กำหนดเวลาเป็นชำระหนี้เป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเป็นสาระสำคัญมาแต่ต้นหรือเจ้าหนี้มาบอกกล่าวให้เวลาเป็นสาระสำคัญตามมาตรา 388 ดังกล่าวนี้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดเจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้ได้แต่เจ้าหนี้จะไม่บอกปัดและคงให้ลูกหนี้ชำระหนี้เพียงแต่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการชำระหนี้ล่าช้าก็ได้อย่างไรก็ตามหนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญที่เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้นี้แต่หากคู่กรณีไม่ถือเอาเวลาเป็นสาระสำคัญแล้วก็แสดงว่าแม้ลูกหนี้จะผิดนัดการชำระหนี้ก็ยังคงเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้อยู่ เช่นนี้เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกค่าเสียหายไม่ได้เจ้าหนี้จะเรียกได้ก็แต่เพียงค่าเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดเท่านั้น เช่นจ้างตัดชุดเจ้าสาวเพื่อใช้ในวันฉลองสมรสแต่ผู้รับจ้างตัดไม่ทันวันงานซึ่งปกติแล้วผู้ว่าจ้างมีสิทธิที่จะมอบปัดไม่รับชำระหนี้ได้ตามมาตรา 216 แต่ผู้รับจ้างขอผลัดล่าช้าไปอีก 3 วันซึ่งในวันงานไปแล้วแต่ผู้ว่าจ้างก็ยินยอมด้วยความคิดว่าเก็บไว้เป็นที่ระลึกแต่พอครบกำหนดที่ขอผลัดวันก็ยังตัดไม่เสร็จอีก เช่นนี้เจ้าหนี้จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ไม่ได้แล้วเพราะหนี้ได้กลายเป็นหนี้ที่เวลาการชำระหนี้ไม่เป็นสาระสำคัญไปแล้ว เว้นแต่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิบอกกล่าวตามมาตรา 387 ใหม่เท่านั้น
การผิการผิดนัดเป็นผลในทางกฎหมายที่กฎหมายได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้อย่างชัดเจนว่ากรณีเช่นใดจึงจะผิดนัดตามกฏหมายซึ่งต่างจากความเข้าใจของคนโดยทั่วไปได้มากเช่นยืมกระบือของเค้าไปเพื่อใครมากโดยตกลงว่าจะคืนเมื่อสิ้นฤดูทำนาปรากฏว่าเมื่อแต่สิ้นฤดูทำนาแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืนจนถึงฤดูทำนาใหม่อีกหลายครั้งลูกหนี้ก็ยังไม่นำกระบือไปคืนเช่นนี้ความเข้าใจของคนโดยทั่วไปก็เห็นว่าลูกหนี้น่าจะผิดนัดแล้วซึ่งต่างจากผลในทางกฎหมายซึ่งถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้ยังไม่ได้เตือนให้ลูกหนี้ชำระดังนั้นในส่วนนี้จึงจะได้กล่าวถึงการผิดนัด ข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่ผิดนัด และผลของการผิดนัด
-