Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 หน้าที่ในการชำระหนี้, นางสาวพรประภา สายเชื้อ เลขที่ 22…
บทที่1 หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
ทรัพย์ที่ส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป ซึ่งกฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ 2 กรณี
1.การที่ทรัพย์นั้นจะเป็นวัตถุแห่งหนี้
เช่น หนี้ส่งมอบข้าวสาร 1 กระสอบเช่นนี้ทรัพย์นั้นก็ยังมิใช่วัตถุแห่งหนี้ เพราะลูกหนี้จะไปเอาข้าวสารกระสอบใดมาส่งมอบก็ได้
กรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพียงประเภท
เช่น ซื้อข้าวสารเพื่อส่งไปประกวดคุณภาพข้าวระดับโลก เช่นนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดดีเยี่ยม เพราะสภาพแห่งนิติกรรมที่จะต้องส่งไปประกวดคุณภาพ ก็ต้องเป็นข้าวที่คุณภาพดี หรือตามเจตนาของคู่กรณี
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นเงินตรา
กรณีหนี้เงินที่ได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ มาตรา196 ปพพ. บทกฎหมายนี้ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ที่จะชำระหนี้เป็นเงินต่างประเทศตามที่แสดงไว้ก็ได้หรือจะใช้เป็นเงินไทยก็ได้
เช่น ลูกหนี้ซื้อสินค้าที่แสดงราคาเป็นเงินเหรียญสหรัฐ ลูกหนี้จะชำระเป็นเงินเหรียญหรือจะชำระเป็นเงินไทยก็ได้เมื่อจะชำเป็นเงินไทยก็จะต้องมีการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน แต่ละสถานที่แต่ละเวลาก็อาจไม่เท่ากัน กฎหมายจึงได้กำหนดให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาใช้เงิน
กรณีเงินตราที่จะพึ่งส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้แล้ว
เช่น ประเทศไทย ในอดีตใช้เงิดพดด้วง ใช้เป็นเงินอัฐเป็นเงินตรา แต่ปัจจุบันเงินตราเหล้านั้นยกเลิกไปหมดแล้ว
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
สิทธิในการเลือก กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 198และมาตรา201 ปพพ. อาจแยกสิทธิในการเลือกออกได้เป็น 4 กรณี
1.ถ้ากำหนดไว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เลือก ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งเจ้านหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลภายนอกก็ได้ สิทธิในการเลือกก็ต้องเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้นั้น (มาตรา198, มาตรา201)
2.ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นผู้เลือก สิทธิการเลือกชำระหนี้ตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ (มาตรา198)
ถ้ากำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก และผู้นั้นไม่อาจเลือกได้ เช่น ป่วยหนักไม่รู้สึกตัว หรือไม่เต็มใจจะเลือก สิทธิการเลือกชำระหนี้ตกแก่ฝ่ายลูกหนี้
ถ้ากำหนดให้ฝ่ายลูกหนี้ เจ้าหนี้ หรือบุคคลอื่น ต้องหมายถึงกรณีที่มีสิทธิเลือก ถ้าหากเป็นการบังคับชำระหนี้ไปตามลำดับแล้วก็จะไม่ใช่การชำระหนี้โดยไม่มีสิทธิเลือก
วิธีการเลือก แยกเป็น 2 กรณี
กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก (มาตรา199 วรรคแรก) ถ้าลูกหนี้เป็นฝ่ายมีสิทธิเลือก การเลือกก็ต้องแสดงเจตนาแก่ฝ่ายเจ้าหนี้ แต่ถ้าฝ่ายที่มีสิทธิเลือกเป็นเจ้าหนี้การเลือกก็ต้องแสดงเจตนาแก่ฝ่ายลูกหนี้ การแสดงเจตนาเลือกนี้จะแสดงเจตนาโดยปริยายหรือโดยชัดแจ้งก็ได้ทั้งสิ้น
กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก มาตรา 201 วรรคแรก
ตัวอย่างเช่น นายแดงต้องการซื้อเสื้อเป็นของขวัญแก่นายดำในราคา 1,000 บาท เจ้าของร้านบอกว่ามี 2 ตัว ราคาเท่ากันแต่รูปแบบต่างกัน จึงตกลงให้นายดำลุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก เช่นนี้นายดำบุคคลภายนอก (คือไม่ใช่ลูกหนี้และเจ้าหนี้) จึงเป็นผู้เลือก โดยการแสดงเจตนาแก่เจ้าของร้านขายเสื้อและเจ้าของร้านขายเสื้อก็ต้องแจ้งแก่นายแดงผู้เป็นเจ้าหนี้ด้วย
ระยะเวลาใการเลือก มาตรา200 ปพพ. อาจแยกได้เป็น 2 กรณี
1.มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งอาจกำหนดไว้โดยนิติกรรมที่ก่อหนี้นั้น กรณีเช่นนี้ ฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกเสียภายในเวลาที่กำหนดนั้น ถ้าไม่เลือกในเวลาที่กำหนดสิทธิการเลือกก็จะตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
บุคคลภายนอกก้ต้องเลือกภายในเวลาที่กำหนด ถ้าไม่เลือกก็อาจถือได้ว่าไม่เต็มใจจะเลือก สิทธิในการเลือกก็จะตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้ ถ้ามิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
2.กรณีมิได้กำหนดเวลาให้เลือก เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกอาจกำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุแล้ว บอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น คือให้ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกเป็นผู้กำหนดเวลา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรณีหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว และระยะเวลาที่กำหนดนั้นต้องพอสมคสรแก่เหตุ
ผลของการเลือก มาตรา 199 วรรคสอง ปพพ.
เช่น แดงซื้อลูกสุนัขจากดำ 1 ตัว โดยตกลงให้ดำเลือกตัวใดก็ได้เพื่อส่งมอบแก่แดง ต่อมาดำได้แจ้งแดงว่าจะส่งมอบลูกสุนัขตัวผู้ให้อีก 2 สัปดาหืจะนำมาส่งมอบให้ที่บ้าน ต่อมามีคนมาขอซื้อลูกสุนัขตัวผู้ตัวนั้น ดำจะเปลี่ยนใจเป็นส่งมอบสุนัขตัวเมียแทนไม่ได้ เพราะเมื่อเลือกแล้วเท่ากับว่ามีการตกลงซื้อขายลูกสุนัขตัวผู้มาแต่ต้น
กรณีการชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย มาตรา202 ปปพ. นี้ ต้องแยกพิจารณากรณีที่การชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพ้นวิสัยดังนี้
1.กรณีตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น
เช่น แดงของซื้อลูกสุนัขอยู่ 3 ตัว คือตัวสีดำ สีขาว และอีกตัวเอาตัวใดก็ได้ใน 3 ตัว ปรากฎว่าขณะที่ตกลงซื้อขายกัน ลูกสุนัขสีขาวได้ตายเสียก่อน โดยที่แดงและต้อยก็ไม่ทราบ เช่นนี้สัญญาส่วนที่ตกลงมาถึงลูกสุนัขสีขาวจึงตกเป็นโมฆะ แดงก็จะเลือกได้เพียงตัวสีดำ และตัวด้างเท่านั้น
2.กรณีการอันพึ่งต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง
การชำระหนี้อันกำหนดให้กระทำแต่ต้นมาตามมาตรา 199 วรรคสอง การชำระหนี้บางอย่างที่กลายเป็นพ้นวิสัยที่เกิดขึ้นหลังจากก่อหนี้ แต่ก่อนที่ผู้มีสิทธิจะใช้สิทธิเลือกนี้ ต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ
1.กรณีการชำระหนี้บางอย่างอป็นพ้นวิสัยที่ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกไม่ต้องรับผิดชอบ กรณีนี้ท้านให้จำกัดแต่เพียงอย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัยเท่านั้น
เช่น แดงตกลงซื้อลูกสุนัขจากต้อยที่มี 3 ตัว คือ สีดำ สีขาว และสีด่าง โดยตกลงกันให้แดงเลือกเอาตัวใดตัวนึงก็ได้ โดยวห้แจ้งแก่ต้อยก่อนส่งมอบในอีก 7 วันข้างหน้า ปรากฎว่าก่อนที่แดงแจ้งว่าจะเลืออกตัวใด ลูกสุนัขสีขาวถูกรถชนตายเสียก่อน เช่นนี้การชำระหนี้จึงจำกัดไว้เฉพาะลูกสุนัขอีก 2 ตัวที่เหลือเท่านั้นแดงจะเลือกตัวสีขาวไม่ได้
2.การณีการชำระหนี้บางอย่างกลายเป็นพ้นวิสัยที่ฝ่ายไม่มีสิทธิ เลือกต้องรับผิดชอบ
จากตัวอย่างข้อ1. ถ้าลูกสุนัขสีขาวตาลงเพราะต้อยผสมอาหารให้ลูกสุนัขผิดมียาฆ่าแมลงปนบงไปทำให้ลูกสุนัขสีขาวตายเหลือเพียงสีดำกับสีด่าง เช่นนี้แดงก็ยังมีสิทธิที่จะเลือกให้ต้อยส่งมอบลูกสุนัขตัวใดตัวหนึ่งใน 3 ตัวนั้น รวมทั้งตัวที่ตายไปด้วย ถ้าแดงเลือกตัวสีดำ หรือตัวสีด่าง ต้อยก็ส่งมอบตามที่แดงเลือก แต่ถ้าแดงเลือกตัวสีขาวต้อยชดใช้ตลค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 218
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม อาจมีความใกล้เคียงกันอยู่เ ช่น
เมื่อสัญญาจ้างเกิดขึ้นแล้วหนี้ของฝ่ายผู้รับจ้างก็คือ มีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำ (ต่อเรือ) ส่วนผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ (ค่าจ้าง) ทำนองเดียวกันในสัญญาเช่าบ้าน วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมก็คือ ผู้เช่าได้ใช้สอยบ้านเช่าเพื่ออยู่อาศัยหรือเพื่อการอื่นตามที่ตกลงโดยผู้ให้เช่าก็ได้ค่าเช่าเมื่อสัญญาเช่าเกิดแล้ว
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรมนั้น แม้จะมีส่วนคล้ายคลึงเกี่ยวข้องกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันหลายประการคือ
1.วัตถุประสงค์แห่งหนี้ของนิติกรรม อยู่ในขั้นมูลฐานก่อนก่อหนี้คือเป็นที่มาแห่งหนี้ประการหนึ่ง แต่วัตถุแห่งหนี้นั้นเป็นผลเมื่อนิติกรรมเกิดและเกิดหนี้ขึ้นมา
2.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นก็มีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้น แต่วัตถุแห้งหนี้นั้นมีหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดจากนิติกรรมหรือหนี้ที่เกิดจากละเมิด จัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้
3.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความประสงค์ของผู้ทำนิติกรรมนั้น ว่าต้องการจะผูกนิติสัมพันธ์กันในเรื่องใด แต่วัตถุแห่งหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้เกิดจากอะไร ในที่สุดแล้ววัตถุแห่งหนี้ก็จะมีเพียง 3 อย่างคือ หนี้กระทำการ หนี้งดเว้นกระทำการ และหนี้ส่งมอบทรัพย์สินเท่านั้น
วัตถุแห่งหนี้
หนี้กระทำการ
หนี้กระทำการมีได้ทั้งมูลหนี้จากสัญญาและมูลหนี้ละเมิด
หรือกรณีที่ไปทำให้เขาเสียหายแก่ชื่อเสียง ก็อาจต้องลงโฆษณาข้อความจริงที่ทำให้ชื่อเสียงเขากลับคืนดีขึ้น
เช่น ไปกระทำละเมิดทำให้ทรัพย์สินเขาเสียหายก็อาจต้องกระทำการซ่อมทรัพย์สินนั้นให้กลับคืนสภาพเดิม
หนี้กระทำการอาจมีได้ทั้งหนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระทำด้วยตนเองและหนี้ที่ลูกหนี้อาจไม่ต้องกระทำด้วยตน
หนี้ที่ลูกหนี้ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง
เช่น รับจ้างสร้างบ้านลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเหมามาก็ได้ไม่ต้องลงมือสร้างด้วยตนเองเพียงไปจัดหาคนงานมาทำงานให้เสร็จตามสัญญาก็ได้
หนี้ที่ลูกหนี้ต้องกระการนั้นๆด้วยตัวเอง
เช่น จ้างไปสอนหนังสือ ไปบรรยายพิเศษ จ้างให้เป็นนางแบบเสื้อผ้า
หนี้กระทำการที่ลูกหนี้ต้องกระทำเองโดยเฉพาะ
เป็นหนี้ส่วนตัวและไม่ตกอป็นมรดกแก่ทายาทลูกหนี้
เช่น ทำสัญญาจ้างจิตรกรฝีมือดีมาวาดรูปเหมือนตนเอง
หนี้งดเว้นกระทำการ
กำหนดให้ลูกหนี้ต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่ตกลงกันไว้ในมาตรา 213 วรรคสาม
เช่น สัญญาเช่าอาจมีข้อตกลงว่าห้ามผู้เช่านำวัสดุที่อาจติดไฟได้ง่ายเข้ามาไว้ในอาคาร สัญญาเช่าที่ดินสร้างอาคารพาณิชย์ที่มีข้อตกลงกับเจ้าของที่ดินห้ามสร้างสูงเกิน 2 ชั้น ถ้าฝ่าฝืนอาจถูกบังคับให้รื้อถอนได้
หนี้งดเว้นกระทำต้องมีสภาพเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ไม่ใช่หน้าที่ทั่วไป
สามารถสั่งให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้ว หรือจัดการเพื่อกาลภายหน้า เช่น สั่งห้ามล่วงหน้าได้ เพราะโดยปกติ กฎหมายรับรองสิทธิต่างๆไว้ เช่น สิทธิชีวิต ร่างกาย สิทธิในทรัพย์ สิทธิในชื่อเสียง
การรับรองสิทธินี้ แม้จะก่อให้เกิดหน้าที่งดเว้นแต่ไม่ใช่หน้าที่ที่จะบังคับได้ในทางหนี้
หนี้งดเว้นกระทำการกับหลักเสรีภาพ
หนี้ชนิดนี้ถ้าไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาหรือสถานที่ อาจขัดต่อหลักเสรีของบุคคล หรืออาจขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี มีผลให้สัญญาที่ก่อหนี้เป็นโมฆะก็ได้
เช่น การห้ามมิให้แบ่งทรัพย์เกินกว่า 10 ปี ห้ามมิให้ทำการสมรส หรือเปลี่ยนศาสนา เป็นต้น
หนี้งดเว้นกระทำการอาจขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือเป็นพ้นวิสัยได้ด้วย
เช่น ทำสัญญาให้ค่าตอบแทน โดยที่ฝ่ายที่รับค่าตอบแทนมีหนี้ต้องไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เช่นนี้ก็เป็นหนี้งดเว้นกระทำการ แต่สัญญานี้เป็นโมฆะเพราะมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมาย ขัอต่อความสงบเรียบร้อย
หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
เป็นการส่งมอบทรัพย์สินนั้นหมายถึงหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้
เช่น สัญญาซื้อขายก๋วยเตี๋ยว ฝ่ายซื้อก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือราคาก๋วยเตี๋ยวแก่คนขาย คนขายก็มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือก๋วยเตี๋ยว
ความแตกต่างของการโอนกรรมสิทธิ์ การโอนทรัพย์สิน และส่งมอบทรัพย์
การโอนกรรมสิทธิ์มุ่งถึงการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง
เช่น กรณีสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งเมื่อซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้นผู้ขายจึงเหลือเพียงหน้าที่ส่งมอบทรัพย์เท่านั้น แต่ซื้อขายนั้นต้องจดทะเบียนซื้อขายกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้นการโอนกรรมสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อมีการจดทะเบียน
การส่งมอบทรัพย์เป็นกระบวนการหรือเป็นการกระทำทางกายภาพ ซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์เลยก็ได้
เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ ผู้เช่ามีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์ที่เช่าให้
วีธีการส่งมอบ
ทรัพย์มีขนาดเล็กที่สามารถนำมาส่งให้กับตัวเจ้าหนี้ได้ แต่ทรัพย์บางชนิดมีขนาดใหญ่โต ไม่อาจเคลื่อนย้ายได้ง่าย
เช่น การส่งมอบรถยนต์ก็อาจมอบเพียงกุญแจรถ ทำให้ผู้รับมอบสามารถเข้าครอบครองได้ เป็นต้น
ทรัพย์ที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบนี้จะต้องเป็นทรัพย์ที่เป็นรูปร่าง และเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง
เช่น รถยนต์คันใดคันหนึ่งโดยเฉพาะ ม้าชื่อลิ่วลม สุนัขชื้อติ๊กต๊อก
หรือเป็นทรัพย์ทั่วๆไปที่ไม่เป็นทรัพย์เแพาะสิ่ง เช่น ข้าวสาร ถ่าน น้ำตาล เป็นต้น
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในมาตรา 203 วรรคแรก หมายถึงหนี้นั้นไม่ได้กำหนดเวลาชำระไว้โดยชัดแจ้ง และอนุมานจากพฤติการณ์ไม่ได้ แต้าถ้าแม้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่สามารถอนุมานจากพฤติการณ์ได้ ก็ต้องถือว่าเป็นหนี้มีกำหนดชำระเช่นกันและบังคับตามนี้ไม่ได้
เช่น ยืมที่รดน้ำสังข์เพื่อไปใช้ในวันแต่งงานโดยไม่ได้ตกลงกันว่าจะคืนเมื่อไร แต่ก็อนุมานจากพฤติการณ์ได้ว่าเมื่อการยืมไปใช้ในวันแต่งงาน ก็ต้องชำระเมื่อหลังจากแต่งงานเสร็จแล้ว จึงต้องถือว่าเป็นหนี้มีกำหนดชำระหนี้ที่จะถือว่าไม่มีกำหนดชำระและอนุมานจากพฤติการณ์ก็ไม่ได้นั้น
การอนุมานจากพฤติการณ์ว่าเจ้าหนี้และลูกหนี้มีการตกลงชำระหนี้เมื่อใดนี้ จะต้องดูประกอบกันหลายอย่าง
เช่น วัตถุประสงค์ของการทำสัญญา เหตุการณ์ที่ทำให้มีการทำสัญญากับประเพณีทางการค้า หรือการปฏิบัติระหว่างคู่กรณี
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระ
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แต่เป็นที่สงสัย กำหนดไว้มาตรา 203 วรรคสอง คือเจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระก่อนถึงเวลาที่สงสัยไม่ได้
เช่น กำหนดชำระหนี้นั้นไว้ว่าจะชำระหนี้ในวันสิบห้าค่ำ เดือนแปด ก็มีข้อสงสัยได้ว่าที่กำหนดว่าสิบห้าค่ำเดือนแปดนั้น เป็นขึ้นสิบห้าค่ำ หรือแรมสิบห้าค่ำ หรือแม้คู่กรณีกำหนดไว้ว่า ขึ้นสิบห้าค่ำเดือนแปด แต่บังเอิญปีนั้นในทางจันทรคติ เป็นปีอธิกสุรทิน คือมีเดือนแปกสองหน คือ เดือนแปดแรก กับเดือนแปดหลัง ดังนี้เจ้าหนี้จะเรียกให้ชำระก่อนถึงเวลาที่สงสัยไม่ได้ เจ้าหนี้ต้องรอถึงสิบห้าค่ำ เดือนแปดหลังแต่ฝ่ายลูกหนี้จะชำระในวันขึ้นห้าค่ำเดือนแปดแรกก็ได้
กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย แบ่งออกเป็น 2กรณี
1.กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคสอง
เช่น กำหนดชำระหนี้ในวันที่ 10 สิงหาคม กำหนดชำระหนี้ในวันสงกรานต์ เป็นต้น
กรณีต้องบอกล่าวล่วงหน้าก่อนขำระหนี้
เช่น ตกลงชื้อโคกันจำนวน 30 ตัว กำหนดการส่งมอบโคโดยกำหนดว่า ถ้าผู้ขายพร้อมจะส่งมอบต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบล่วงหน้า 30 วัน ดังนั้นกกหนดเวลาชำระหนี้จะถึงกำหนดก้ต้องมีการแจ้งคือบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนและเริ่มนับเวลา 30 วัน นับแต่บอกกล่าว
2.กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคแรก
เป้นกำหนดเวลาที่มิใช่ตามวรรคสอง นั้นก็คือต้องแปลว่าเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่มิใช่จามวันแห่งปฏิทินนั่นเอง
เช่น ยิมเงินไปและกำหนดว่าจะใช้คืนเมื่อขายข้าวได้แล้ว หรือยืมเรือไปใช้กำหนดจะส่งคืนเมื่อสิ้นฤดูน้ำ เป็นต้น
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด
1.ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเตือนก่อน 2 กรณี คือ
1) หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระมิใช่ตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคแรก
เช่น กำหนดชำระหนี้เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จ เมื่อสิ้นสุดฤดูน้ำหลาก ไม่อาจกำหนดวันที่แน่นอนชัดเจนได้ ดังนั้น เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว กฎหมายจึงได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องให้คำเตือนลูกหนี้ก่อนเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระตามที่เจ้าหนี้เตือนลูกหนี้จึงจะผิดนัด ดังนั้นแม้หนี้จะถึงกำหนดชำระแล้ว และลูกหนี้ก็ยังไม่ชำระหนี้ ถ้าหากเจ้าหนี้ยังไม่เตือนแล้วลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด
2) หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระตามมาตรา 203
เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้โดยพลัน และลูกหนี้ก็มีสิทธิจะชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกันนั้นแม้จะมองได้ว่าแสดงว่ากฎหมายให้ถือเอาว่าหนี้ประเภทนี้ถึงกำหนดทันทีที่นับแต่ก่อหนี้ และอายุความแห่งสิทธิเรียกร้องก็จะเริ่มนับทันทีที่ได้ก่อหนี้ก็ตาม ลูกหนี้ก็มีสิทธิจะชำระหด้ทันทีตั้งแต่ก่อหนี้
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน หนี้กลุ่มนี้มี 2 ประเภท
1) หนี้ที่กำหนดชำระตามวันแห่งปฏิทิน มาตรา 204 วรรคสอง
เช่น กำหนดชำระหนี้ในวันที่ 10 สิงหาคม กำหนดชำระหนี้ในวันสงกราต์ เช่นนี้วันที่กำหนดไว้นั้นมีความแน่นอนชัดเจนรู้ได้ตรงกัน ดังนั้นกฎหมายจึงกำหนดว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิต้องพักเตือนเลย
2) หนี้ละเมิด มาตรา 206
เช่น รถชนกันแล้วคู่กรณีตกลงทำสญญาประนีประนอมยอมความกัน ในจำนวนค่าเสียหาย และตกลงว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้ภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกัน เช่นนี้ย่อมเป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ที่เกิดจากมูลละเมิดนั้นจึงระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ แล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หากมีการผิดสัญญาก็ต้องบังคับกันตามสัญญาซึ่งก็ต้องแล้วแต่ข้อสัญญาที่ตกลงกันนั้นจะถือว่าผิดนั้นตั้งแต่เวลาทำละเมิดตามมาตรา 206 อีกไม่ได้แล้ว
เช่น นายจ้างตามมาตรา 425 ตัวการตามมาตรา 427 บิดามารดาผู้เยาว์ตามมาตรา 429 และครูบาอาจารย์ นายจ้าง ผู้รับดูแลคนไร้ความสามารถตามมาตรา 430 บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิดในหนี้ละเมิด
กำหนดชำระหนี้ กับการผิดนัด นั้นไม่เหมือนกันมีความต่างและคาวมเหมือนของกำหนดเวลาชำระหนี้กับการผิดนัดดังนี้
1) กำหนดเวลาชำระหนี้นั้น ลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ แต่การผิดนัดเป็นผลของการไม่ชำระหนี้ตามกำหนด ประกอบกับเงื่อนไขบางประการของกฎหมาย
2) กำหนดเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้สามารถเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ และองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของการผิดนัด คือเจ้าจะทำให้ลูกหนี้ผิดได้ต้องเตือนลุกหนี้หลังจากที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็ไม่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัดได้ แม้เจ้าหนี้จะเตือนลูกหนี้ให้ชำระหนี้และลูกหนี้ไม่ชำระลูกหนี้ก็ยังไม่ผิดนัด
3) การผิดนัดนั้น แม้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ และมีเงื่อนไขอื่นที่อาจทำให้ลูกหนี้ผิดนัด เช่น การเตือนของเจ้าหนี้แล้วก็ตาม หากการไม่ชำระหนี้นั้นมีเหตุที่ลูกหนี้จะอ้างได้ว่าไม่ใช่ความผิดของตน แต่เกิดพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งลูกไม่ต้องรับผิดชอบ ตามมาตรา 205 ก้ถือว่าลูกหนี้ยังไม่ผิดนัด คือตราบใดที่ลูกหนี้ยังมีข้ออ้างที่เป็นที่ยอมรับของกฎหมาย
กรณีที่ไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัด มาตรา205 พฤติการณ์ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนี้ อาจมีที่มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน
1) เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง เพราะไม่รับชำระหนี้ตามมาตรา 207 หรือไม่เสนอชำระหนี้ตอบแทนเมื่อตนมีหน้าที่ที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนตามมาตรา 210 ถือเป็นการชำระหนี้ที่ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
เช่น เจ้าหนี้ไม่ยอมกรอกหลักฐานแห่งการชำระหนี้ให้ลูกหนี้ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 326 หรือเจ้าหนี้ไม่ปฏิบัติการอันตนต้องทำก่อนตามสัญญาลูกหนี้จึงไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
2) เหตุเกิดจากบุคคลภายนอก เป็นเรื่องนอกอำนาจของลูกหนี้ที่จะป้องกันได้
เช่น ตกลงกันทำสัญญาจะซื้อขายที่ดิน โดยตกลงกันว่าลูกหนี้จะรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อขายและไปโอนให้แก่ผู้ซื้อขายภายในเวลากำหนดปรากฏว่า ลูกหนี้ได้พยายามดำเนินการเพื่อรังวัดแบ่งแยกที่ดินตามสัญญาเต็มความสามารถ แต่รังวัดแบ่งแยกไม่เสร็จเพราะเจาพนักงานที่ดินไม่อาจดำเนินได้ทัน ถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด
3) เกิดจากภัยธรรมชาติ ที่ลูกหนี้ไม่อาจคาดการณ์และไม่อาจป้องกันได้ ก็ถือว่าเป็นพฤติการณ์ที่ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเช่นกัน
เช่น รังวัดที่ดินแบ่งแยกให้ไม่ทัน เพราะน้ำท่วมรังวัดไม่ได้ จึงไม่สามารถโอนที่ดินได้ตามกำหนด ก็ถือว่าลูกหนี้ไม่ผิดนัด เป็นต้น แต่ต้องร้ายแรงถึงขนาดที่เป็นเหตุให้ไม่อาจชำระหนี้ตามกำหนดด้วย หากไม่ร้ายแรงถึงขนาดแล้วก็จะอ้างไม่ได้
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
1.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
เมื่อมีการชำระหนี้ล้าช้าเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้ก็อาจเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้ มาตรา 215
เช่น ทำสัญญารับจ้างสร้างบ้านให้เขาตกลงว่าจะสร้างเสร้จใน 6 เดือน แต่สร้างไม่เสร็จล่าช้าไป ทำให้ผู้ว่าจ้างต้องไปเช่าบ้านอยู่ต้องเสียค่าเช่าบ้านในระหว่างนั้น ส่งคืนบ้านเช่าช้ากว่าที่กำหนดทำให้ต้องเสียหายไม่ได้รับค่าเช่าที่ควรจะได้
ข้อสังเกต ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดนี้มีข้อควรสังเกต 2 ประการ คือ ประการแรก เกิดขึ้นจากการผิดนัดโดยตรง ประการที่สอง เป็นความรับผิดที่เพิ่มขึ้นมาจากการชำระหนี้ปกติที่แม้เมื่อผิดนัดลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิดชำระหนี้ไม่เกี่ยวกับค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้
2.เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
แต่เวลาในการชำระหนี้นั้นปกติแล้วก็ไม่ใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิจะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ได้เสมอไป แม้ลูกหนี้จะไม่ชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนดก็ยังหาได้ทำให้ลูกหนี้ผิดนัดเสมอไป ต้องให้เจ้าหนี้เตือนก่อนจึงจะผิดนัด ตามมาตรา 204 วรรคแรก
เช่น ซื้อเฟอร์นิเจอร์โดยชำระเงินมัดจำไว้ 20% และกำหนดว่าผู้ขายจะนำเฟอร์นิเจอร์ไปส่งภายใน 7 วัน ครบกำหนดผู้ขายไม่นำเฟิร์นิเจอร์ไปส่ง ผู้ซื้อจะบอกเลิกสัญญาทันทีไม่ได้จะต้องกำหนดเวลาพอสมควร
ผลของหนี้ที่กำหนดเวลาชำระเป็นสำคัญ
ตามมาตรา 388 เมื่อลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนการชำระหนี้ได้ แต่เจ้าหนี้จะไม่บอกปัดและคงให้ลูกหนี้ชำระหนี้เพียงแต่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการชำระหนี้ล่าช้าก็ได้
3.ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น
เมื่อลูกหนี้ผิดนัดลูกหนี้ยังอาจต้องรับผิดในความเสียหายในความประมาทเลินเล่อ และการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นระหว่างผิดนัดด้วย มาตรา 217
ความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกหนี้
ลูกหนี้จงใจกระทำให้เกิดความเสียหายนั้น แม้ไม่ใช่ระหว่างผิดนัด ลูกหนี้ก็ต้องรับผิดอยู่แล้ว
เช่น ลูกหนี้ผิดนัดไม่ส่งน้ำตาลแก่ผู้ซื้อตามกำหนด เพราะตกลงราคาไม่ได้ ต่อมารัฐบาลห้ามส่งน้ำตาลออกนอกประเทศการชำระหนี้เป็นพ้นวิสัย ลูกหนี้ต้องรับผิด
กรณีที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดที่บัญญัติให้ลูกหนี้ต้องรับผิด
เหตุที่จะเกิดจากการกระทำของคนก็ได้ หรือโดยธรรมชาติ โดยอุบัติเหตุนั้นมองถึงการเกิดว่าเป็นการโดยไม่อาจคาดหมาย หรือความบังเอิญ แต่เหตุสุดวิสัยนั้นถึงขนาดที่จะต้องป้องกันไม่ได้
เช่น ยืมรถเขามาใช้และเมื่อถึงกำหนดส่งคืนแล้วไม่คืนเข้าแม้เจ้าหนี้จะเตือนแล้วลูกหนี้ก็ตกเป็นผู้ผิด ระหว่างนั้นเองขณะที่รถจอดอยู่ที่บ้านได้มีรถบรรทุกวิ่งมาประสบกับมีน้ำมันหกอยู่บนพื้น รถจึงพุ่งเข้ามาชนระที่จอดอยู่จนเสียหายใช้การไม่ได้ และคนขับรถบรรทุกก็มิได้ประมาทเลินเล่อ เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นอุบัติเหตุที่เกิดระหว่างผิดนัด ลูกหนี้จึงต้องรับผิด
นางสาวพรประภา สายเชื้อ เลขที่ 22 กลุ่มเรียนที่ 2