Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า " นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น "
นายจ้าง ลูกจ้าง นั้นคือ บุคคลสองฝ่ายมีความสัมพันธ์กันในสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575
ต้องมีสินจ้างจึงจะเกิดสัญญาจ้างแรงงาน แต่สินจ้างจะเป็นอะไรก็ได้
ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม มิได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกัน
กรณีนายจ้างต้องรับผิดด้วย
ลูกจ้างต้องกระทำสิ่งที่ถูกจ้างที่ทำให้เกิดการละเมิดแก่บุคคลอื่น
ต้องกระทำในเวลางาน บางครั้งอาจเลยเวลางาน
เพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง มิใช่ประโยชน์มุ่งหมายส่วนตนเอง
เช่น นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างขโมยสูตรร้านอาหารฝั่งตรงข้าม ลูกจ้างได้กระทำตามคำสั่ง ดั้งนั้น นายจ้างจึงต้องรับผิดร่วมด้วย
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
การพิจารณาว่า ลูกจ้างได้กระทำละเมิดในทางการที่จ้างหรือไม่
1) ตรวจสอบประเภท ลักษณะงานที่จ้าง
2) ลูกจ้างได้ปฏิบัติตามที่จ้างหรือเกี่ยวข้องกับนายจ้างหรือไม่
3) ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้าง
นายจ้างจะร่วมรับผิดก็ต่อเมื่อ ลูกจ้างได้ทำการละเมิดที่เป็นส่วนหนึ่งของงานที่นายจ้างสั่ง เช่น ดำจ้างแดงตัดต้นไม้หลังบ้าน แดงตัดต้นไม้แล้วต้นไม้ล้มทับหลังคาบ้านของขาว นายจ้างคือดำต้องร่วมรับผิด
วิธีการปฏิบัติ นายจ้างไม่ได้บอกวิธีให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม แต่ลูกจ้างทำตามสมควร เมื่อเกิดความเสียหาย นายจ้างต้องรับผิดละเมิดด้วย
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า " นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้นชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น "
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้าง เมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใด นายจ้างย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้างได้เพียงเท่าที่ชดใช้ไปแล้วเท่านั้น
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 797 บัญญัติว่า " อันว่าสัญญาตัวแทนนั้นคือ สัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรรยกว่า ตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
ลักษณะตัวแทน
ตัวแทนมีอำนาจกระทำแก่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ
ตัวแทนทำตามที่ตัวการมอบอำนาจให้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1) รับมอบอำนาจทั่วไป ทำได้ทุกอย่าง ยกเว้นตามมาตรา 801
2) รับมอบอำนาจเฉพาะการ มีอำนาจเป็นเรื่องๆไป
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 425 และ มาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนโดยอนุโลม
เช่น ดำเจ้าของรถจักรยานยนต์ ใช้ให้แดงเป็นตัวแทนขับรถไปซื้อผัก แดงได้ขับรถชนผู้อื่นโดยละเมิด ดำต้องร่วมรับผิดกับแดงในการที่แดงทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ดังบทบัญญัติ มาตรา 428 ไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น แต่เป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเอง
ตัวบท มาตรา 428 ใช้คำว่า ความเสียหาย ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างยังต้องรับผิดในส่วนที่ผิดอยู่
ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
การจ้างทำของ
เช่น เขียวจ้างให้ดำสร้างรูปปั้น โดยให้สินจ้างคือเงิน เมื่อรูปปั้นนำส่งมอบเสร็จ เป็นอันจบความสัมพันธ์
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ตามบทบัญญัติมาตรา 428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอก เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในงานที่สั่ง เช่น ดำว่าจ้างให้แดงเก็บทุเรียน แดงซึ่งไปเอาทรัพย์สินคือ บันไดของเขียวมาใช้ในการเก็บทุเรียนโดยที่ยังไม่ได้ขออนุญาต ดำผู้ว่าจ้างไม่ได้รู้เห็นด้วย แดงซึ่งเป็นผู้รับจ้างต้องรับผิดเพียงผู้เดียว
ความผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้ มี 3 กรณี คือ
1) ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ไปปลูกรั้วยื่นเข้าไปในที่สาธารณะอันเป็นการละเมิด ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
2) ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ เป็นงานที่สั่งไม่เป็นละเมิดในตนเอง แต่อาจให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการใดอย่างหนึ่ง เป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายได้
3) ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง คือการจ้างคนที่ตนรู้ว่า ไม่ใช่ผู้มีความสามารถ หรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นโดยละเมิด เช่น จ้างคนตัดกิ่งไม้ ไปจ้างผู้ที่สับสนซ้ายขวา ว่าจ้างให้ตัดกิ่งไม้ทางขวา แต่ไปตัดกิ่งไม้ทางซ้าย ซึ่งใกล้หลังคาเพื่อนบ้าน เป็นผลทำให้กิ่งไม้ตกใส่หลังคาเพื่อนบ้านเสียหาย
3.ความรับผิดของบิดามารดา หรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดา หรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ตามหลักมาตรา 429 เมื่อมีการกระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แม้เป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด และความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล เป็นความรับผิดจากการบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ และเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นต้องอยู่ในระหว่างที่บิดามารดาหรือผู้อนุบาลดูแล จึงจะทำให้บุคคลเหล่านี้รับผืด
เช่น บิดายอมให้บุตรผู้เยาว์อายุ 14 ปี ไม่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ออกไปเที่ยวกลางคืน ทำให้ขับไปเฉี่ยวชนโจทก์ บิดาต้องร่วมรับผิดในละเมิดที่บุตรผู้เยาว์ทำด้วย
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
สามารถนำมาตรา 429 มาใช้ได้โดยอนุโลม ตามมาตรา 430 ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลผู้ไร้ความสามารถ จะดูแลเป็นนิจหรือชั่วคราว ก็ต้องรับผิดละเมิดร่วมด้วย กรณีผู้ไร้ความสามารถได้กระทำการละเมิด
เช่น ครูผู้ดูแลกลุ่มเด็กพิเศษ เห็นเด็กใช้ไม้ไล่จับกัน ครูคิดว่าเป็นการเล่นสนุกของเด็กจึงปล่อยไป ต่อมาปรากฏว่าเด็กพิเศษผู้ทำละเมิดได้ใช้ไม้ตีแขนเด็กพิเศษอีกคนจนแขนหัก ครูจึงต้องรับผิดในการทำละเมิดร่วมด้วย