Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น, 176 นายธีรกานต์ ประเมศรี …
ความรับผิดกระทำ
ละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา425 บัญญัติว่า นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้าง
ในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ความเกี่ยวพันของนายจ้างและ
ลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล
ซึ่งบุคคลหนึ่งมีคำสั่งและควบคุมงาน
ซึ่งทำโดยบุคคลอีกคน
นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงาน
ตามวิธีที่ตนต้องการอีกด้วยและลูกจ้าง
ต้องปฎิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเสมอ
แต่ต้องเป็นคำสั่ง
ที่เกี่ยวกับการงานที่จ้าง
ถ้าลูกจ้างปฎิบัติการโดยมีเจตนาจูงใจ
เป็นส่วนตัวโดยแท้
เนื่องจากการทะเลาะวิวาท
ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์
ของนายจ้างแล้ว
ก็ย่อมถือว่าลูกจ้างนั้นออกจากงานที่จ้าง
และนายจ้างไม่ต้องรับผิด
มาตรา575มีความว่า อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ลูกจ้างทำละเมิด
ในทางการที่จ้าง
นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้าง
เพียงแต่การละเมิดนั้น ได้เกิดขึ้นในเวลาที่ลูกจ้าง
เกี่ยวข้องกับงานนายจ้างแต่การละเมิดนั้นต้อง
เป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นใน
เวลาเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น ลูกจ้างขนปี๊บหน่อไม้จากฉางของนายจ้าง
บรรทุกรถยต์ตามคำสั่งของนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อ
จุดบุหรี่สูบ หัวไม้ขีดไฟที่กำลังติดไฟกระเด็นไปถูกปุยนุ่นแล
ปอในฉางทำให้เกิดเพลิงไหม้ฉางและลุกลามไปไหม้บ้านนายดำ
ถือว่าเป็นการละเมิดที่เกิดขึ้น
ในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
การกระทำโดยจงใจเป็นเรื่องที่ผู้กระทำ
เล็งเห็นได้ว่าการระทำของตนถ้าทำลงไป
แล้วทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายไ
ลูกจ้างจะไม่ต้องรับผิดก็ต่อเมื่อมีเจตนา
ปฎิยัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้างเท่านั้น
ถ้าลูกจ้างกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาร้าย
ความขึงโกรธส่วนตัวโดยเฉพาะแล้ว
นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา426บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน
ให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้ จากลูกจ้างนั้น
นายจ้างและลูกจ้างยังคงต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย
ในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง(291)
นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างก็
เฉพาะมูลหนี้ละเมิดเท่านั้น
ดังนั้นหากมูลหนี้ละเมิดระงับลง
เช่นผู้เสียหายปลดหนี้ให้แก่ลูกจ้าง
หรือทำสัญญาประนีประนอมยอมความ
กับลูกจ้างอันเป็นดหตุให้มูลหนี้ละเมิดระงับลง
ความรับผิดของนายจ้าง
ย่อมระงับสิ้นไป
แต่ถ้าหากลูกหนี้เพียง
ทำหนังสือรับสภาพหนี้
มูลหนี้ละเมิดไม่ระงับ
นายจ้างยังคง
ต้องรับผิด
ตัวการรับผิดในการ
การกระทำละมิดของตัวแทน
มาตรา797ว่า อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้
บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคล
อีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและ
เป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับ
จ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์
กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
จะต้องพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคล
เป็นตัวการตัวแทนระหว่างกันพึง
สังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นการตั้งตัวแทน
เช่น เป็นแต่การใช้หรือวานคนรู้จักกัน
ให้ขับรถยนต์พาภริยาไปซื้อของ
ดังนี้มิใช่ตัวแทนเพราะมิใช่เป็นกิจการที่ผู้รับใช้
หรือรับวานทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สาม
แต่เป็นกิจการระหว่างผู้ใช้กับ
ผู้รับใช้หรือผู้วานกับผู้รับวาน
ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่สามเลย
ผู้ใช้หรือวานให้ขับรถไม่ต้อง
รับผิดในละเมิดที่คนขับได้ทำขึ้น
ความรับผิด
ของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะทำให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิด
ขึ้นในขอบเขตแห่งการปฎิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการ
หรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
ตัวอย่างเช่นนายแดงตั้งนายดำเป็นตัวแทนขายที่ดินตามโฉนดแปลหนึ่ง
ของนายแดงซึ่งมีพื้นที่เป็นหลุมบ่อมากนายดำหลอกลวงนายขาวผู้ซื้อโดย
พาไปดูที่ดินอีกแปลหนึ่งซึงไม่มีหลุมบ่อเลยและเป็นของบุคคลตามโฉนด
ของนายแดงนายขาวตกลงรับซื้อโดยคิดว่าเป็นที่ดินของนายแดงในขอบเขตแห่งการเป็นตัวแทนของแดงนายแดงตัวการต้องรับผิดต่อนายขาวร่วมกับนายดำด้วย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคล
ภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น
ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทนเกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้าง
ที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณี
ตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างของไม่เป็น
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
บุคบลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำ
ละเมิดด้วยจนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็มิใช่เรื่อง
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแต่เป็นความรับผิด
ของบุคคลในการกระทำของตนเอง
ก็เมื่อตัวแปลได้ความว่าผู้ว่าจ้างจะต้องรับผิด ถ้าหากเป็นผู้ผิดแล้ว
ฉะนั้นความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามาตรา428จึงไม่ใช่เรื่อง
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
เมื่อมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแล้วจึงเป็นความรับผิด
ของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420นั่นเอง
หลักความรับผิด
ของผู้ว่าจ้างทำเอง
ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิควบคุมวิธีการทำงาน
จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเองผู้ว่าจ้าง
ไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชา
ผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญา
จ้างแรงงาน
มาตรา428บัญญัติว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหาย
อันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงาน
ที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือ
ในคำสั่งที่ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือแระมาทเลินเล่อ
ต่อบุคคลภายนอกแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภาย
นอกนั้น ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะได้ทำความผิดทางละเมิดขึ้นเอง
ในการว่าจ้าง ผู้จ้างจะต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น
แม้จะเป็นการกระทำของผู้รับจ้างก็ตาม
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เป็นเรื่องสั่งให้ทำตาม
สัญญาจ้างที่มีต่อกัน
เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดิน
ของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอัน
เป็นการละเมิด เป็นต้น
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง
แต่อาจสั่งให้ผู้ว่าจ้างทำโดยวิธีการอย่างใด
อย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิด
กับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหล
ตกลงในที่ดินข้างเคียง เป็นต้น
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้างคือ การจ้างนั่นเอง
จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือ
ระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงาน
ที่จ้างให้ทำ
จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่
บุคคลอื่นโดยละเมิด
เช่นจ้างสร้างบ้านทำด้วยต้นไม้
ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนา
จึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดพังลง
มาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียง
เสียหาย เป็นต้น
ความรับผิดของครูบาอาจารย์
นายจ้างหรือบุคคลอื่น
ในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือ
ผู้อนุบาลในการทำละเมิด
ของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัตติว่าบุคคลใดแม้ไรความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือ
วิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคล
เช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนไดใช้ความระมัดระวังตามสมควรแกหน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
เช่น บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บน
หลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึงแล้วสั่งนางแดงให้เก็บปืนไว้เฉยๆมิได้กำชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์เอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจากนางแดงแล้วยิ่ง
บุตรนายดำตาย เรียกไม่ได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแกหน้าที่ดูแลตามมาตรา429
เช่น เด็กชายแดงไปเล่นที่บ้านนายดำ ถูกเด็กชายขาวบุตรผู้เยาว์ของนายดำยิงด้วยหนังสติ๊กนัยน์ตาบอดบุตรของนายดำยิงเล่นอยู่แต่ภายในบริเวณบ้านโดยยิงทางบนบ้านเพียงครั้งเดียวก็ถูกเด็กชายแดง ถือว่านายดำได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว ไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามาตรา429เป็นความ
รับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและ
เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ใน
ระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลจึงจะทำให้บุคคล
เหล่านี้ต้องรับผิด
ถ้าหากมิใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแล
ก็ไม่ต้องรับผิด เพราะเป็นเรื่องความบกพร่องในการควบคุม
ดูแล
เมื่อไม่ได้ควบคุมดูแลก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะให้
ต้องรับผิดและก็ไม่ใช่เรื่องที่จะหาคนมาร่วมรับ
ผิดให้จงได้เป็นเรื่องที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถ
ต้องรับผิดไปตามลำพัง
มาตรา 420 หมายถึง บุคคลชนิดซึ่งรวม
ทั้งผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริตด้วย
จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล
เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือยุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้(มาตรา431และ 426 )ไม่ใช่เรียกได้ตามส่วนเท่าๆกันอย่างในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296
มาตรา430บัญญัติว่า ครูบาอาจราย์นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่งครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมอได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
เช่นจ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้านที่เก็กอยู่กับบิดามารดา
เห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดามารดา หาได้อยู่กับครูพิเศษนั้น
ไม่
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตามมาตรา430เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแกหน้าที่ต้องดูแลถ้าไม้นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไลเบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุลคล
อื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้(มาตรา431และ426)เช่นเดียวกันกับกรณีตามาตรา429
176 นายธีรกานต์ ประเมศรี
64012310546