Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น", 1…
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น"
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางที่จ้างนั้น
เงื่อนไข
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล
ข้อสังเกต
ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม มิได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกัน
Ex
การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้าย
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
นายจ้างต้องร่วมรับผิดนั้นในผลที่ลูกจ้างกระทำผิดนั้น ต้องเป็นกระกระทำในทางการที่จ้าง
เหตุที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการปฏิบัติงาน
หลักกฎหมายทั่วไป มีอยู่ว่า
ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง
Ex
ข. เป็นลูกจ้างของ ก. มีหน้าที่ซ่อมเครื่องโทรทัศน์ที่มีผู้มาจ้าง ก. ซ่อมโดยประมาทเลินเล่อในขณะที่ทำการซื่อมตามหน้าที่ ข. ทำเรื่องรับโทรทัศน์ของลูกค้า ก. เสียหาย ก. ต้องรับผิดชอบด้วย
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
ตามมาตรา 426 วางหลักว่า
"นายข้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างจะเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้ว
ฎ. 648/2522
ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้
ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการละเมิด ซึ่งที่ได้รับความเสียหายจะพึงได้รับนั้นถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลศาลจะเป็นองค์กรกำหนดค่าสินไหมทดแทนโดยจะวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งการละเมิด
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 427
"นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น"
ตัวแทนตาม ปพพ. มาตรา 797 นั้นวางหลักว่า
อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทยอีกบุคคลหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำดังนั้น
ตัวการ
คือ บุคคลซึ่งมอบอำนาจ หรือมอบหมายให้บุคคลอีกคนหนึ่งทำ
ฎ. 3399/2558
นำเรือไปบรรทุกสินค้าแทนคนอื่นเป็นตัวแทน ตัวการต้องรับผิด
ฎ. 7200/2558
พนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นตัวแทนของห้าง
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ข้อยกเว้น
เว้นแต่ว่าผู้จ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428
กม.ได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดแล้ว ก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
2.การจงใจหรือทำประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างมิได้เกิดการกระทำก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาแรงงาน
มาตรา 428
วางหลักว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างบุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
กล่าวคือ เมื่องานที่สั่งให้ทำตะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการใดวิธีหนึ่ง
Ex.
แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
3. ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง ฎ.821/2522 คือ จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ
Ex.
จ้าวสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไมเไม่แน่นหนา จึงเป็นผลทำให้บ้านทรุดลมพัดลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
ความรับผิดในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ แยกเป็นความรับผิด ของบิดา มารดา และผู้อนุบาลตาม มาตรา 429 และความรับผิดของผู้ดูแล คือ ครู นายจ้าง และผู้รับดูแล ตาม มาตรา 430
ผู้อนุบาล มาตรา 429 “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือ วิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของ บุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
บิดามารดารับผิด เหตุที่กฎหมายให้บิดามารดารับผิดเพราะบิดา มารดามีหน้าที่ควบคุมดูแลและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์ตามมาตรา 1564
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรนี้ คือ ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2518
หลานอายุ 13 ปีมาพักเรียนหนังสืออยู่กับตายายๆ เป็นผู้ดูแลต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกับหลานตาม มาตรา 430
มาตรา 430
"ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
Ex.
จ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้านที่เด็กอยู่กับบิดามารดา เห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดา มารดา หาได้อยู่กับครูพิเศษไม่
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรจึงจะพ้นจากความรับผิดถ้าไม่นำสืยหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่พ้นจากความผิด
ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้ที่มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ต้องรับผิด
การดูแลตามมาตรา 430 มีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ เช่น ผู้ปกครองที่ศาลสั่งตั้ง สถานพินิจคุ้มครองเด็กที่รับเด็กต้องคดีมาดูแล ถือเป็นผู้รับดูแลโดยกฎหมายบังคับ
ดูแลโดยข้อเท็จจริง เช่น บิดานอกกฎหมายที่รับผู้เยาว์ไปดูแลในขณะเกิดเหตุ หรือปู่ย่าตายายลุงป้าน้าอาที่รับผู้เยาว์ไปดูแล หรือรับเด็กมาอุปการะเลี้ยงดู เป็นต้น
ซึ่งการรับดูแลนี้ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือเป็นประจำ ก็ถือว่ารับดูแล โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีค่าจ้างหรือไม่
ดูแลโดยสัญญา เช่น สถานรับเลี้ยงเด็ก จ้างคนมาดูแลผู้เยาว์ หรือครูบาอาจารย์ก็ถือว่าดูแลโดยสัญญา
1.
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
Ex.
จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด