Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น ตามมาตรา 425
ควรระวัง :!!: : ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม ไม่ได้เป็นลูกจ้างซึ่งกันและกัน
:warning: อธิบดีของกรมไม่ได้เป็นนายจ้างของหัวหน้ากอง หัวหน้ากองก็ไม่ได้เป็นนายจ้างของเสมียนพนักงาน และต่างก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรมหรือเป็นตัวแทนระหว่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและระหว่างข้าราชการกับกระทรวง ทบวง กรมที่ตนสังกัดอยู่นั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าร้าการ (ฎ 769/2505, ฎ 900/2505 และ ฎ 610/2506)
" นายจ้าง " กับ " ลูกจ้าง " คือบุคคล 2 ฝ่ายได้มีสัญญาจ้าแรงงาน โดยตกลงว่าลูกจ้างจะทำงานให้นายจ้าง และนายจ้างก็ตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ตามมาตรา 575 โดยไม่ใช่ลักษณะจ้างทำของดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 587
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2539 :warning: การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่รับผิดร่วมด้ว
แต่การที่จะทำให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างในการที่ลูกจ้างนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจในการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง และมิใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างที่ว่าจ้างสั่งงานนั้น นายจ้างก็ไม่ต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในความผิดนั้น
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11 - 12/2495:warning: นายจ้างใช้ให้ลูกจ้างนำรถยนต์ของนายจ้างไปรับใช้งานของข้าหลวงประจำจังหวัด ลูกจ้างขับรถยนต์ไประหว่างทางด้วยความประมาท รถยนต์จึงชนคนตายดังนี้ ถือว่าลูกจ้างได้ทำละเมิดในทางการที่จ้าง นายจ้างต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
: :warning: การพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลุกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่ :warning:
1.จะดูที่ลักษณะของงาน เป็นงานชนิดใด งานประเภทใด งานที่จ้างมีลักษณะอย่างไรก่อน
2.ลูกจ้างได้ประกอบการทำงานในลักษณะงานที่จ้างหรือไม่
3.ลูกจ้างต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้าง
:!!: มีข้อสังเกต :!!:
ในการสั่งให้กระทำนั้น นายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม ลูกจ้างอาจใช้วิธีที่เห็นตามสมควรเพื่อให้กิจการนั้นลุล่วงไป และสมประโยชน์ของนายจ้าง และนายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการที่จะทำการบางอย่างที่ตนได้สั่งหรือมอบอำนาจให้ทำอีกด้วย
:warning: ดั่งเช่นนาย :warning: จ้างสั่งให้ทำอะไรไป ลูกจ้างก็ทำโดยใช้วิธีที่เรียบง่ายทำ จนให้สมผลประโยชน์นายจ้างจนเกิดละเมิดต่อบุคคลอื่น นายจ้างยังคงรับผิดด้วย
ในกรณีลูกจ้างได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน
ในกรณีที่ลูกจ้างปฏิบัติงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างจะได้ทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันในช่วงเวลาปฏิบัติงานนั้นจนเกิดการละเมิดต่อบุคคลอื่นขึ้น ก้ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง เพราะการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวด้วยนั้น อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้
:warning: ตัวอย่างเช่น :warning: นายกกเป็นลูกจ้างขับรถส่งของ ในขณะขับรถได้ถือโอกาสเปิดเพลงเสีงดังและดื่มสุราไปด้วย จนเกิดเหตุขับชนคนเดินข้างถนนโดยประมาทเลินเล่อ
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่ง
การที่นายจ้างมีคสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งนั้นย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นเพียงวิธีการปฎิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
สิทธิไล่เบี้ยนั้นมีมาตรา 426 ได้ให้อำนาจนายจ้างมีสิทธิไล่เบี้ยจากลูกจ้าง เมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมในความเสียหายทั้งหมดให้บุคคลภายนอกเพื่อการที่ลูกจ้างได้ละเมิดนั้น
โดยเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดร่วมกันต่อผู้เสียหาย
แต่นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้ (มาตรา 229(3) และมาตรา 426)
นายจ้างลูกจ้างยังคงรับผิดต่อผู้เสียหายในฐานะลูกหนี้ร่วมกันจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระสิ้นเชิง (มาตรา 291)
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2522:warning: ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวไม่รวมถึงค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างชดใช้ให้แก่บุคคลภายนอกเมื่อถูกดำเนินคดีด้วย (ฎ. 4431/2547)
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
โดยเหตุที่ตัวแทนนั้นมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน โดยปกติตัวแทนจึงมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
ตัวแทนนั้นคือ คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น ตามมาตรา 797 ตัวแทนจะมี 2 ประเภทคือ
:!!:ข้อควรระวัง :!!: การวานใช้นั้นไม่ใช่เรื่องของตัวแทนเพราะไม่ได้มอบอำนาจด้วย
ตัวแทนทั่วไป คือตัวแทนที่มีอำนาจทั่วๆไป แต่มีข้อห้ามนิดหน่อยตามมาตรา 820 คือทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทน
ตัวแทนเฉพาะการ คือตัวแทนที่มีอำนาจเจาะจงในสิ่งๆเดียวจะทำนอกเหนือในสิ่งที่เจาะจงอยู่นั้นไม่ได้ เพราะมีอำนาจแค่ในส่วนที่เจาะจงที่ให้ทำ
ในความรับผิดของตัวการ
พึงเข้าใจว่าเหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดจะต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน จะต้องทราบขอบเขตของการเป็นตัวแทนเสียก่อนว่ามีเพียงไร ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายให้แก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป (มาตรา 802)
:warning:ดังตัวอย่าง :warning: ก. ตั้งให้ ข. เป็นตัวแทนขายที่ดินตามโฉนดแปลงหนึ่งของ ก. ซึ่งมีพื้นที่เป็นหลุมเป็นบ่อมาก ข. เลยหลอกลวกให้ ค. ผู้ซื้อโดยพาไปดูที่ดินอีกแปลงหนึ่งซึ่งไม่มีหลุมไม่มีบ่อเลย และเป็นของบุคคลตามโฉนดของ ก. ค.จึงตกลงรับซื้อไปโดยคิดว่าเป็นที่ดินของ ก. ในขอบเขตแห่งการเป็นตัวแทนของ ก. ก. ตัวการต้องรับผิดต่อ ค. ร่วมกับ ข. ด้วย
:warning:ตัวอย่าง :warning: ค. ตกลงซื้อรถยนต์จาก ง. ซึ่ง จ. เป็นผู้ขายแทน ง. และกรรมสิทธิในรถนั้นได้โอนมายัง ค. ทันที จ. ในฐานะตัวแทนของ ง. จึงขับรถมาส่งมอบให้แก่ ค. และเพื่อรับเงินราคาค่ารถจาก ค. และ จ. ขับรถยนต์ชนต้นไม้ข้างทางโดยประมาทเลินเล่อ รถเสียหาย ดังนี้ เป็นการที่ จ. กระทำละเมิดต่อ ค. ในฐานที่ จ. เป็นตัวแทนของง. ในการส่องมอบรถแก่ ค. และ ง. ต้องรับผิดต่อ ค. ร่วมด้วย (นอกจากจะบังคับกันตามมาตรา 427 นี้แล้ว ยังบังคับกันตามบทบัญญัติตามมาตรา 220 ว่าด้วยการชำระหนี้อีกด้วย)
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2553 :warning: จำเลยทำสัญญารับเหมาก่อสร้างจากกรมทางหลวง ตามสัญญา ตามสัญญาจำเลยจะไปทำสัญญาจ้างรับเหมาช่วงไม่ได้ จำเลยผิดสัญญานำไปให้บริษัท บ. รับเหมาช่วง ความรับผิดต่อกรมทางหลวงยังอยู่ที่จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรง สัญญาข้องที่ 9 จำเลยรับว่า ผู้รับจ้างช่วงเป็นตัวแทนของจำเลย บริษัท บ. จึงเป็นตัวแทนของจำเลยในการทำงานโดยมีจำเลยเป็นตัวการ เมื่อบริษัท บ. ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวการตามมาตรา 427
ตัวแทนตัองทำการตามคำสั่งของตัวการ (ปพพ.มาตรา 807 ) ทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการกระทำกิจการของตัวการ มาตรา 427 จึงบัญญัติให้นำมาตรา 425 และมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
ในสิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
ในการมีสิทธิไล่เบี้ยของตัวการนั้น มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่การด้วยโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อการละเมิดของตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน เกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโนมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวักน (ฎ. 648/2522)
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 428 นั้น ผู้รับจ้างเป็นผู้ก่อความเสียหายแก่บุคคลภายนอกจึงเป็นผู้กระทำด้วย แม้ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของนั้นจะเป็นความผิดในฐานะที่ผู้ว่าจ้างเองเป็นผู้กระทำละเมิด มิใช่รับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง และแม้บางกรณีจะถือว่าผู้ว่าจ้างเองกระทำละเมิดอีกด้วยก็ตาม :star: มีเหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
1.กฎหมายยได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด บุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตยเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้วก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของผู้อื่น แต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า "ความเสียหาย" หาได้ใช้คำว่า "กระทำละเมิด" หรือ "ละเมิด" อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425, 429 และ 430 ไม่ โดยความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้รับจ้างก็ยังต้องรับเพราะมีส่วนผิด
3.โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคภายนอกผู้ไดรับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกชดใชเอาจากผู้รับจ้าง จึงต่างกับความรับผิดตามมาตรา 425, 427 429 และ430 ซึ่งเป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นและมีบทบัญญัติไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้คืนได้ตามมาตรา426 และมาตรา 431
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่า "ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับ"
มาตรานี้จะเห็นได้ว่า โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างทำของก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง :star: ถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างกระทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้น ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
:warning:คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1176/2510 :warning: เจ้าของรถยนต์นำรถยนต์ไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถแล้วเจ้าของรถยนต์วานให้ช่างซ่อมรถขับรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่ไปเกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทาง ดังนี้ ช่างซ่อมรถไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน ดังเช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด เป็นต้น
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 940/2501 :warning: จำเลยจ้างผู้รับเหมาตอกเสาเข็มในการปลูกโรงภาพยนตร์ในที่ดินของจำเลยกว่า 100 ต้นๆ หนึ่งยาว 16-17 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร โดยใช้เครื่องกดลงไปแล้วใช้ตุ้มเหล็กตอก เป็นผลให้ดาดฟ้าตึกของโจทก์ซึ่งอยู่ในที่ดินติดต่อกันร้าวรั้วสั่งกระสีเสียหาย ดังนี้ เจพเลยเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
การสั่งก็เหมือนกับว่าตัวเองได้ไปทำละเมิดนั่นเอง
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2514:warning: ไม่ปรากฏว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้สั่งให้ผู้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ คำสั่งเช่นว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งให้เมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อน เป็นเพียงคำแนะนำนั้น เช่น
แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง เป็นต้น
3.ความรับผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้างทำงาน ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง (ฎ. 821/22) คือจ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด แต่ถ้าหากไม่รู้เชื่อโดยสุจริตตามผู้ที่รับจ้างอวดอ้างว่าตนมีความชำนาญเป็นอย่างดีก็ไม่ใช่ความผิดในการเลือก
เช่น :warning: จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนาจึงเป็นผลให้บ้านทรุดพังลงมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
:warning: นาย ก จะจ้างคนมาซ่อมโทรทัศน์ เลยเห็นนาย ข ซ่อมรถมอไซต์อยู่ เลยคิดว่าคงจะซ่อมได้แน่ๆ เลยไปจ้างมาซ่อม นาย ข ก็คิดว่าคงเหมือนซ่อมๆรถ นาย ข ก็เลยตอบรับทันที นาย ข ผู้รับจ้างทำของเลยไปซ่อมโทรทัศน์ให้ ซ่อมไปสักพักปรากฏว่าไฟลัดวงจรในขณะที่ซ่อมอยู่เพราะนาย ข ลืมถอดปลั๊ก ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดไฟแตกกระจายทำให้หลานป้าข้างบ้านที่นั่งเล่นอยู่ข้างบ้านแถวๆหน้าตาง ทำให้ประกายไฟแตกกระจายไปโดนหลานสาว เมื่อโดนหลานสาวได้กรี๊ดร้องด้วยความตกใจทั้งยังประกายไฟที่โดนเกินเป็นแผลบวมแดง ดังนี้ นาย ก. ผู้ว่าจ้างเลือกที่เลือกหาผู้รับงานจึงมีความผิด
:!!:ข้อสังเกตุ :!!:
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมาตรา 428 นี้ เป็นความรับผิดในฐานะผู้ว่าจ้างเป็นผู้ทำละเมิดไม่ใช่ความรับผิดชอบในการกระทำของบุคคลอื่น หรือความรับในการกระทำละเมิดของผู้รับจ้างอย่างเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตราื425, 429 และ 430
ผู้รับจ้างนั้นอาจไม่ได้ทำละเมิดก็ได้ดังกล่าวมาแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างทำของเรียกร้องไล่เบี้ยเอาค่าสินไหมทดแทนที่ตนได้ใช้แก่บุคคลภายนอกผู้ต้องเสียหายไปแล้วนั้นจากผู้รับจ้างทำของได้
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต
และ
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลผู้ต้องรับผิด มาตรา 430 "ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามรถในการทำละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"
บุคคลที่เข้ารับหน้าที่ดูแลตามมาตรานี้ได้เกิดขึ้นโดยข้อเท็จจริง และต่างกันในหน้าที่นำสืบเกี่ยวกับการที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ข้อสังเกต :explode:กฎหมายมิได้บัญญัติกำหนดว่า บุคคลไร้ความสามารถตามมาตรานี้หมายถึงบุคคลเช่นไร้บ้างอย่างที่กำหนดไว้ในมาตรา 429 แต่ก็หมายถึงผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตนั่นเอง :explode:
ความระมัดระวังตามสมควรแก่การดูแล
หน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่รับดูแลบุคคลผู้ไร้สามารถก็ไม่ต้องรับผิด
:warning:คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2511 :warning: ในตอนเช้า ครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิดเห็นเด็กนักเรียนเอากระบอกพลุมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายให้เก็บไปทำลายและห้ามเด็กมิให้เล่นต่อไป แต่เด็กได้ใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวันและนอกห้องเรียน ถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามรถ
เมื่อครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา 431 และมาตรา 426) เช่นเดียวกับกรณีตามมาตรา429
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัติว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น" (บุคคลไร้ความสามรถ หมายถึง (1.)ผู้เยาว์ (2.)คนวิกลจริต (3.) คนไร้คว่มสามารถ(วิกลจริต+ศาลมีคำสั่ง) และ (4.)บุตรบุญธรรม(มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย) :!: แต่ไม่ได้หมายถึง คนเสมือนไร้ความสามรถ :!: ดังนั้นผู้ต้องรับผิดร่วม ได้แก่ :silhouette: บิดามารดาซึ่งมีอำนาจปกครองมาตรา 1566 และมาตรา 1567 :silhouette: ผู้อนุบาล(ของคนไร้ความสามรถ :silhouette: ผู้อนุบาลตามคาวมเป็นจริง คือผู้ดูแลคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถ :silhouette: ผู้รับบุตรบุญธรรม
หลักเกณฑ์ในการรับผิดทางละเมิดย่อมเป็นไปตามมาตรา 420 ดังได้อธิบายมาแล้วนั่นเอง มิได้หมายความว่าถ้าผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก่อความเสียหายขึ้นแล้วจะต้องรับผิดฐานละเมิดทุกรณีไป จะเห็นได้ในกรณีเด็กแบเบาะซึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสาสาปัสสาวะรดบุคคลอื่น จะถือว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดของเด็กนั้นหาได้ไม่ เมื่อบุคคลดังกล่าวไม่ต้องรับผิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลก็ไม่ต้องรับผิด ส่วนความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล ถ้าหากจะมีนั้นจะเป็นความรับผิดในมาตรา 420 หรือไม่นั้นเป็นอีกปัญหาหนึ่ง
การที่ผู้เยาว์หรือวิกลจริตจะมีความผิดจะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำ สิ่งที่ถือว่าเป็นการกระทำ
และที่จะถือว่าเป็นการจงใจ จะต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่เกิดจากการกระของต้น
การกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวอิริยาบถโยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น
ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตน ย่อมจะถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้ แต่ถ้ารู้ว่าได้ทำอะไรลงไป เพียงแต่ไม่รู้สึกผิดชอบหรือยับยั้งไม่ได้อาจเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลผู้ไร้ความสามารถ ได้แก่บิดามารดาหรือผู้อนุบาล เท่านั้นตามมาตรา 429 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
:warning: คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 847/2498:warning:บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึง แล้วสั่ง ก. ให้เก็บปืนไว้เฉยๆ มิได้กำชับว่าอย่าให้บุตรเอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอ่ปืนไปจาก ก. แล้วยิงบุตรโจทก์ตาย เรียกไมได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตารา 429
:star: สิทธิไล่เบี้ยงของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล :star: เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ (มาตรา 431 และมาตรา 426) ไม่ใช่เรียกตามส่วนเท่าๆ กันอย่างในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 296