Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
ลักษณะของนายจ้าง
คำว่า นายจ้างลูกจ้าง ตามมาตรา 425 หมายถึงสัญญาจ้างแรงงานตามมาตรา 575
ถ้อยคำเรียกชื่อในสัญญาอย่างไรก็ได้
สัญญาต้องเข้าลักษณะสัญญาจ้างแรงงาน
นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนเองต้องการและลูกจ้างต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่เกี่ยวกับการงานที่จ้าง
ไม่มีสินจ้าง ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
สินจ้างเป็นเงินหรือวัตถุหรือสิ่งอื่นก็ได้
ข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมิได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบราชการ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีลูกจ้างไม่ได้
ความรับผิดการกระทำการละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
เป็นความพลั้งเผลอที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง
การกระทำละเมิดที่นายจ้างไม่ได้หรือเกี่ยวกับการมอบอำนาจหรือสั่งให้กระทำจนขนาดที่จะถือว่าเป็นวิธีการในการทำงานนั้น แต่กระทำอิสระ
หรือมีการหันเหจากการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง โดยเอาเวลางานไปเป็นเวลาส่วนตัวทั้งหมด ไม่เกี่ยวกับงาน
นายจ้างไม่ต้องรับผิด
ตย. ฎ. 803/2521 ลูกจ้างประจำปั๊มน้ำมันจำเลย มีหน้าที่เติมน้ำมัน ล้างรถยนต์ ลูกจ้างแก้รถยนต์ของโจทก์ เนื่องจากเครื่องดับเพราะน้ำท่วมและนำรถออกไปลองเครื่อง ไม่เป็นการกระทำในทางการที่จ้าง รถโจทก์เกิดเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิด
ความรับผิดการกระทำการละเมิดโดยจงใจ
การละเมิดโดยจงใจอยู่ในทางการที่จ้างได้
นายจ้างรับผิดในการกระทำละเมิดโดยจงใจและการกระทำทางอาญาด้วย
ซึ่งหมายถึงรับผิดตลอดจนการกระทำละเมิดซึ่งมีมูลค่าความรับผิดทางอาญาในขณะเดียวกัน
ลูกจ้างต้องกระทำด้วยความตั้งใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง นายจ้างรับผิด
หากทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง มิใช่กระทำแทนนายจ้างหรือการกระทำละเมิดโดยจงใจนั้น นายจ้างไม่ต้องรับผิด
ตย. ลูกจ้างโต้เถียงกับบุคคลภายนอกแล้วฆ่าผู้นั้นตายในเวลาและสถานที่ทำงานแทนที่จะทำงานให้กับนายจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิด
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
ลักษณะในทางการที่จ้าง
การละเมิดในลักษณะอย่างไรก็ตาม จงใจหรือประมาทเลินเล่อ จะก่อขึ้นแก่ผู้ใด ถ้าหากเป็นการกระทำในทางการที่จ้างแล้วนั้นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย หากไม่ใช่ในทางการที่จ้างไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
พิจารณาจากการทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของการจ้าง ลูกจ้างปฏิบัติตามที่จ้างหรือเกี่ยวกับงานหรือไม่
การละเมิดต้องเป็นส่วนหนึ่งของงาน ไม่เพียงแต่เกิดในเวลาเดียวกัน
การละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ
เป็นความพลั้งเผลอที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้าง
จะอยู่ในทางการที่จ้างหรือไม่ต้องพิจารณา
เป็นการกระทำโดยอิสระของลูกจ้างเอง
การที่ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันกับเวลาทำงาน ถือว่าเป็นเหตุในทางการที่จ้าง เพราะอาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้
ตย.การที่ลูกจ้างเห็นคนทิ้งก้นบุหรี่ แล้วยังสูบน้ำมันเบนซินต่อไปจนเกิดเพลิงไหม้รถของผู้เสียหาย การกระทำของลูกจ้างโดยประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้าง
การละเมิดโดยจงใจ
ลูกจ้างตั้งใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง เพื่อเป็นตัวแทนของนายจ้าง
หรือเป็นประโยชน์ส่วนตน กระทำเพื่อมุ่งหมายส่วนตัว มีเหตุจูงใจส่วนตัวโดยแท้
หรือเจตนาร้าย ความโกรธโดยเฉพาะ
ตย. ฎ. 2499/2524 การที่นายจ้างมอบอาวุธปืนให้ลูกจ้างไปใช้อยู่ยามเพื่อรักษาทรัพย์สินของนายจ้าง และลูกจ้างใช้ปืนนั้นลอบไปยิงผู้เสียหายในขณะที่ลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่ยามรักษาทรัพย์สินของนายจ้างซึ่งอยู่ในเหมือง ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้าง
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
ของนายจ้าง
มาตรา 426
การละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างกับลูกจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยต่อผู้เสียหาย แต่ระหว่างนานจ้างลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วม
เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายหมดแล้ว (นายจ้างลูกจ้างเป็นลูกหนี้ร่วม)
นายจ้างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตน
ฎ. 648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายตามคำพิพากษาแล้ว ไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ของตัวการ
มาตรา 427
นำบทบัญญัติของมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการตัวแทนด้วยโดยอนุโลม
เมื่อตัวการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกที่ตัวแทนทำละเมิดไปแล้วนั้น ตัวการก็สามารถที่จะให้ตัวแทนชดใช้แก่ตน
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวแทน
ไม่ใช่ลูกจ้าง
โดยปกติตัวแทนรับผิดโดยผู้เดียว ตัวการไม่ต้องรับผิด
ตัวแทนต้องทำตามคำสั่งของตัวการ
มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง
การใช้ให้ไปทำ ไม่ใช่เรื่องของตัวการตัวแทน
ตย. ฎ. 2385/2518 เจ้าของเรือขับเรือไม่เป็น จึงให้ ก. ขับนำเรือไปรับขบวนผ้าป่า โดยเจ้าของเรือนั่งไปด้วย ดังนี้ ก.เป็นตัวแทน เจ้าของเรือต้องรับผิดร่วมกับ ก. ที่ขับเรือชนโจทก์
ความรับผิดตัวการ
ตัวการจะรับผิดนั้นต้องเป็นเหตุที่
เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
ทำได้แต่ที่ได้รับมอบอำนาจเฉพาะการ มาตรา 800
รับมอบอำนาจแบบทั่วไป ทำได้ทุกอย่าง มาตรา 801
ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการเสียหาย ตัวแทนกระทำใดๆเช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำ มีอำนาจทำได้ มาตรา 802
ตย. ตัวแทนในการซื้อรถยนต์ มีอำนาจทำอะไรก็ได้ให้รถยนต์มาเป็นของตัวการ แต่ไม่มีอำนาจจะเอารถยนต์ไปโอนขายได้อีก
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ตาม 428 จึงมิใช่ความรับผิดของการกระทำของบุคคลอื่น
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่าเสียหาย ไม่ใช่ กระทำละเมิด หรื ละเมิด ตามมาตรา 425 429 430
อาจะมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้
ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่รับผิดชอบเพราะมีส่วนผิด
3.ผู้ว่าจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายไปแล้ว ไม่มีบทบัญญัติไล่เบี้ยจากผู้รับจ้าง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความผิดของผู้ว่าจ้าง
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
ตย. ฎ. 457/2514 ไม่ปรากฏว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้สั่งให้ผู้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ อาจจะไม่ละเมิดแต่คำสั่งนั้นทำให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
คำสั่งนี้เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง คือการจ้างคนที่ไม่รู้ว่ามีความสามารถหรือความระมัดระวังแก่งานที่สั่งหรือไม่ จึงเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลใน
การกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429
หมายถึงเฉพาะผู้มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ตามความในตอนท้ายของ มาตรา 429 นี้เท่านั้น อาจรวมถึงบิดามารดาเพียงคนหนึ่งคนใด
รวมถึงผู้รับบุตรบุญธรรม
ส่วนผู้ปกครอง รับผิดมาตรา 430
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลผู้ต้องรับผิด
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
สิทธิไล่เบี้ย