Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1. ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า “
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
” ที่ว่า “นายจ้าง” “ลูกจ้าง” นั้นหมายถึงบุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์กันตามลักษณะเอกเทศสัญญาจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ปพพ. ลักษณะ 6 ตั้งแต่มาตรา 575 ถึงมาตรา 586 บทวิเคราะห์ศัพท์ลักษณะสัญญาจ้างแรงงานในมาตรา 575 มีความว่า “
อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้ ให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
”
มีข้อควรสังเกตว่า ข้าราชการในกระทรวงทบวง กรม มิได้เป็นนายจ้างลูกจ้างซึ่งกันและกัน หมายความว่าอธิบดีของกรมมิได้เป็นนายจ้างของนะหัวหน้ากอง หัวหน้ากองไม่ได้เป็นนายจ้างของเสมียน พนักงาน และต่างก็มิได้เป็นลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรมหรือเป็นตัวแทนระหว่างกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้าราชการและระหว่างข้าราชการกับกระทรวง ทบวง กรมที่ตนสังกัดอยู่นั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
แต่การที่จะให้นายจ้างต้องรับผิดอันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดโดยจงใจของลูกจ้างนั้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าลูกจ้างได้กระทำไปโดยมีความตั้งใจปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง ถ้าหากลูกจ้างได้กระทำไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง และมิใช่เป็นการกระทำแทนนายจ้างหรือในการกระทำละเมิดโดยจงใจนั้นเป็นการกระทำเพื่อความมุ่งหมายส่วนตัว หรือโดยมีเจตนาร้ายหรือความโกรธส่วนตัวโดยเฉพาะแล้วนายจ้างก็ไม่ ไม่ต้องรับผิด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้าลูกจ้างปฏิบัติการโดยมีเจตนาจงใจเป็นส่วนตัวโดยแท้ (purely personal motives) เนื่องจากการทะเลาะวิวาท ซึ่งไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของนายจ้างแล้วก็ย่อมถือว่าลูกจ้างนั้นออกจากงานที่จ้างและนายจ้างไม่ต้องรับผิด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
เมื่อลูกจ้างทำละเมิดขึ้น นายจ้างยังหาต้องรับผิดในการทำละเมิดของลูกจ้าง จะต้องพิเคราะห์ต่อไปว่าการกระทำละเมิดนั้นได้เกิดในทางการให้นายจ้าง (in the course of employment) นายจ้างจึงจะต้องรับผิดร่วมด้วย ในว่าลักษณะละเมิดนั้นจะเป็นอย่างไร แม้การละเมิดนั้นจะก่อขึ้นโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ และไม่ว่าการละเมิดนั้นจะก่อขึ้นแก่ผู้ใด
มีหลักกฏหมายทั่วไปว่า “
ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง
” แต่หลักที่ว่านี้ใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่แก่การกระทำในทางการที่จ้างซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ
ลูกจ้างทำหน้าที่คนท้ายรถยนต์ซึ่งนายจ้างยินยอมให้ขับรถด้วยนั้น ถ้าขับรถทำให้ผู้อื่นเสียหายโดยละเมิด นายจ้างต้องรับผิด
ฎ. 506/2498
-วิธีการปฏิบัติ
ในการกระทำกิจการในการกระทำกิจการงานใดนั้น ย่อมมีวิธีการในการที่จะปฏิบัติงานให้ร่วงไปเพื่อประโยชน์ของนายจ้างหลายวิธีอันแตกต่างกัน ในการสั่งให้กระทำนั้น นายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตามลูกจ้างอาจใช้วิธีตามที่เห็นสมควรเพื่อให้กิจการนั้นลุล่วงไป และสมประโยชน์ของนายจ้าง และนายจ้างยังต้องรับผิดในวิธีการที่จะทำการบางอย่างที่ตนได้ฟังหรือมอบอำนาจให้ทำอีกด้วย
ลูกจ้างกระทำกิจจะส่วนตัวในขณะเดียวกัน
ในกรณีในกรณีที่ถือว่าลูกจ้างปฏิบัติการงานของนายจ้างอย่างแท้จริงแล้ว แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้างเพราะการที่ลูกจ้างปฏิบัติกิจส่วนตัวด้วยนั้น อาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างปฎิบัติหน้าที่เพื่อนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อก็ได้ เช่น ขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วย จนเกิดชนคนข้ามถนนโดยประมาทเลินเล่อ เป็นต้น
กรณีที่นายจ้างมีคำสั่งห้าม
การที่นายจ้างมีการที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิดไว้โดยชัดแจ้งย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง ถ้าหากการกระทำนั้นเป็นเพียงวิธีการปฏิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
ฎ. 1241/2502 จำเลยที่ 2 เป็นนายท้ายและควบคุมเรือยนตร์ทำงานในฐานะลูกจ้างจำเลยที่ 1 และรับจ้างลากจูงเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 ทำให้เรือบรรทุกข้าวของโจทก์ร่วมโดยประมาท เป็นเหตุที่เกิดขึ้นในทางการที่จ้าง
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บับัญญัติว่า
นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น
เหตุที่เกิดการละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็ต้องก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้ (มาตรา 229(3) และมาตรา 426)
ฎ. 648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้างนายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
โดยเหตุที่ตัวแทนมิใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน โดยปกติตัวแทนจึงย่อมมีความรับผิดแต่เพียงผู้เดียว ตัวการไม่ให้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดที่ตัวแทนอาจก่อขึ้น
กิจการที่ตัวแทนทำไปย่อมเป็นงานของตัวการเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำไปย้อมเป็นงานของนายจ้าง ตัวแทนต้องทำการตามคำสั่งของตัวการ (ปพพ. มาตรา 807) ทำนองเดียวกับนายจ้างลูกจ้าง จึงมีเหตุผลอย่างเดียวกันที่ตัวการจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนได้ทำไปในการละเมิดกิจการของตัวการ (มาตรา 427 ) จึงบัญญัติให้นำมาตรา 425 และมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วยโดยอนุโลมเพราะความสัมพันธ์ระหว่างตัวการตัวแทนมีความใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
ตัวแทนคืออะไรนั้น (ปพพ มาตรา 797)
บัญญัติว่า “
อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกวตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น
”
จะเห็นได้ว่า ตัวแทนเป็นสัญญาอย่างหนึ่งและเป็นเอกเทศสัญญาเช่นเดียวกับจ้างแรงงานอันเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างนายจ้างลูกจ้าง จึงต้องพิเคราะห์ดูก่อนว่ากรณีใดที่บุคคลเป็นตัวการตัวแทนระหว่างกันเพิ่งสังเกตว่าถ้ามิใช่เป็นตัวเป็นการตั้งตัวแทน
ฎ. 1049/2505 มารดาใช้ให้บุตรเป็นตัวแทนในการเดินรถขนส่งคนโดยสารเก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดา ในการนี้มันน่าให้หมดขับรถยนต์ของมารดาด้วย บุตรขับรถชนผู้เสียหายโดยละเมิด ดังนี้ มิใช่เป็นการที่มันน่าใช้ให้หมดขับรถยนต์เท่านั้น แต่เป็นการมอบหมายให้หมดเป็นตัวแทนในการรับขนส่ง มารดาต้องรับผิดร่วมกับบุคคลในการที่ทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ของตนของตัวแทนนั้นด้วยมากด้วยตามมาตรา 427
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม กล่าวคือเมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทนเกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เปลี่ยนความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมีได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นแต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า “ความเสียหาย” หาได้ใช้คำว่า “กระกระทำละเมิด” หรือ “ละเมิด” อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425,429 และ 430 โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับผิดรับจ้างก็ได้
โดยเหตุโดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้างจึงต่างกับความรับผิด ตามมาตรา 425,427,429 และมาตรา 430
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
หลักทั่วไปว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นทั้งนี้ก็เพราะว่าผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ควบคุมวิธีการทำงาน จึงถือว่าเป็นงานของผู้รับจ้างเองผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิ์ที่จะออกคำสั่งบังคับบัญชาผู้รับจ้างดังนายจ้างกับลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
มาตรา 428 บัญญัติว่า
ผู้ว่า ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำหรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง
จะเห็นได้ว่า ด้วยรักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพราะเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอก แล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้น ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ฎ. 1176/2510 เจ้าของรถยนต์นำรถไปซ่อมที่อู่ซ่อมรถ แล้วเจ้าของรถวานให้ช่างซ่อมรถคันนั้นไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้วช่างซ่อมรถขับรถกลับอู่ เกิดชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายระหว่างทาง ดังนี้ ช่างซ่อมไม่ได้เป็นตัวแทนหรือเป็นลูกจ้างของเจ้าของรถยนต์เป็นเรื่องจ้างทำของ เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องร่วมรับผิดในการละเมิดนั้น
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นการละเมิด เป็นต้น
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
ความผิความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ กล่าวคือแม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั้นเอง จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
3.ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
แม้เป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดเพราะการละเมิดเป็นการล่วงสิทธิไม่ใช่การใช้สิทธิ ซึ่งบุคคลดังกล่าวนี้อาจไม่ต้องรับผิดในการแสดงเจตนาทำนิติกรรม เพราะนิติกรรมนั้นอาจเป็นโมฆียะ
มาตรา 429 บัญญัติว่า
”บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาหรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิดบิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 กล่าวคือ จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีการความเคลื่อนไหวในอินนิยาบทโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น และที่จะถือว่าเป็นการจงใจ จะต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลตามมาตรา 429 เป็นความรับผิดเนื่องจากความบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถและเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นนั้นต้องเกิดขึ้นในขณะที่ผู้ไร้ความสามารถอยู่ในระหว่างการดูแลของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล จึงจะให้บุคคลเหล่านี้ต้องรับผิด ถ้าหากไม่ใช่เหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในความดูแลก็ไม่ต้องรับผิด เพราะ เป็นเรื่องความบกพร่องในการควบคุมดูแล เมื่อไม่ได้ควบคุมดูแลก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะให้ต้องรับผิดและก็ไม่ใช่เรื่องที่จะหาคนมาร่วมรับผิดให้จงได้ เป็นเรื่องที่บุคคลผู้ไร้ความสามารถต้องรับผิดไปตามลำพัง
ฎ. 847/2498 บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึง แล้วสั่ง ก. ให้เก็บปืนไว้เฉยๆ ไม่ได้กำชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์เอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจาก ก. แล้วยิงบุตรโจทก์ตายเรียกไม่ได้ว่ามิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 บัญญัติว่า
ครูบาอาจารย์นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดพซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นนั้นมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
มาตรานี้กำหนดความรับผิดของผู้มีหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถในผลแห่งการละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถได้ทำขึ้นเช่นเดียวกับมาตรา 429 ความรับผิดอยู่ที่การบกพร่องในหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ
ผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกับบุคคลผู้ไร้ความสามารถตามมาตรานี้ คือ ครูบาอาจารย์นายจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งรับดูแลบุคคล ดังกล่าว หากไม่รับดูแลก็เป็นกรณีที่ไม่ต้องด้วยมาตรานี้ จะดูแลอยู่เป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน แต่ไม่หมายถึงผู้ดูแลแทนหรือผู้ช่วยเหลือในการดูแล
ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล
มาตรานี้ให้บิดามารดาหรือผู้อนุบาลมีหน้าที่นำสืบว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังระวังตามสมควรถึงจะพ้นจากความผิด ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบยังไม่ได้ก็ไม่ผลจากความรับผิดตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้บุคคลที่รับดูแล บุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถ
เมื่อครูวาจาหรือบุคคลซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากบุคคลผู้ไร้ความสามารถและไล่เบี้ยเอาได้จนครบจำนวนที่ได้ชดใช้
ฎ. 1315/2520 บิดาเคยใช้บุตรขับขี่รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระ ดังนี้นอกจากบิดาจะไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว เวลากับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วย จึงต้องรับผิดร่วมกับบุคคลตามมาตรา 4929