Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
1.1หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง - Coggle Diagram
1.1หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
วัตถุแห่งหนี้
1.หนี้กระทำการ
คือการให้ลูกหนี้ปฏิบัติหรือกระทำการแก่เจ้าหนี้ตามที่ตกลง
หนี้ตามสัญญารับจ้างสร้างบ้านลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับเหมาแต่ไม่ได้ลงมือสร้างด้วยตนเอง
ลูกหนี้ต้องกระทำการนั้นๆด้วยตนเองจะด้วยสภาพของสัญญาด้วยสภาพของหนี้
ลูกหนี้อาจเพียงแต่รับผิดชอบในการจัดกระทำการอันโดยลูกหนี้ไม่ต้องกระทำด้วยตัวเองก็ได้
ตัวอย่าง การรับจ้างร้องเพลง
หนี้กระทำการที่การชำระหนี้เป็นเรื่องที่ลูกหนี้ต้องทำเฉพาะตัว
เป็นหนี้ส่วนตัวและไม่ตกเป็นมรดกแก่ทายาทลูกหนี้แต่ด้านเจ้าหนี้นั้นสิทธิตกไปยังทายาทได้เว้นแต่จะตกลงเป็นอย่างอืน
2.หนี้งดเว้นกระทำการ
การให้ลูกหนี้งดเว้นการปฏิบัติหรือกระทำการแก่ตนตามที่ตกลงกัน
บังคับให้ลูกหนี้ต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำนั้นย่อมขัดกับเสรีภาพของลูกหนี้
สิ่งที่ลูกหนี้จะต้องไม่กระทำอะไรหรือลูกหนี้ไม่ได้ทำอะไรอาจเป็นวัตถุประสงค์ที่ขัดต่อกฎหมายศีลธรรมมีผลทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะได้
ตัวอย่าง ทำสัญญาให้ค่าตอบแทนโดยฝ่ายที่รับค่าตอบแทนมีหนี้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
3.หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
เป็นการส่งมอบทรัพย์สินนั้นหมายถึงหนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมหมายถึงการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและการส่งมอบทรัพย์ด้วยแต่ในบางกรณีอาจเป็นเพียงการส่งมอบทรัพย์เท่านั้น
วิธีการโฮนและส่งมอบทรัพย์สินนั้นย่อมขึ้นอยู่กับสภาพของทรัพย์นั้นเพราะบางชนิดก็อาจมีขนาดเล็กสามารถนำส่้งให้กับตัวเจ้าหนี้ได้แต่ทรัพย์บางชนิดมีขนาดใหญ่ไม่อาจเคลื่อนย้ายได้ง่าย
ตัวอย่าง บ้าน ที่ดิน โรงเรือน
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุที่ประสงค์แห่งนิติกรรม
วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมแม้จะมีส่วนคล้ายคลึงเกี่ยวข้องกันแต่ก็มีความแตกต่างกันหลายประการ คือ
1.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้น อยู่ในมูลฐานก่อนก่อหนี้คือเป็นที่มาแห่งหนี้ประการหนึ่งแต่วัตถุแห่งหนี้นั้นเป็นผลดเมื่อนิติกรรมเกิดและเกิดหนี้ขึ้นจึงมีวัตถุแห่งหนี้ขึ้นมา
2.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีเฉพาะในนิติกรรมเท่านั้นแต่วัตถุประสงค์หนี้นั้นมีในหนี้ทุกชนิดเกิดจากนิติกรรมหรือเกิดจากการละเมิด จัดการนอกสั่งและลาภมิควรด้
3.วัตถุประสงค์ของนิติกรรมนั้นมีได้ไม่จำกัดขึ้นอยู่กับความประสงค์ของนิติกรรม
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
หนี้ในกรณีนี้วัตถุแห่งหนี้คือการส่งมอบทรัพย์สิน ทรัพย์สินนั้นจึงเป็นวัตถุแห่งการชำระหนี้มิใช่เป็นวัตถุแห่งหนี้
1.ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
1.1การที่ทรัพย์นั้นจะเป็นวัตถุแห่งหนี้
1.ลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบทรัพย์สินนั้นทุกประการแล้ว
2.ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรัพย์แล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้
1.2กรณีทรัพย์ที่จะต้องส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพียงประเภท
เมื่อไม่อาจกำหนดชนิดของทรัพย์นั้นได้ตามสภาพของนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีกฎหมายจึงกำหนดหน้าที่ว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง คือ ลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ที่จะส่งมอบส้มพันธุ์ที่ดีที่สุดให้และลูกหนี้จะต้องส่งมอบส้มที่มีคุณภาพต่ำสุดแก่เจ้าหนี้ไม่ได้ด้วย
2.ทรัพย์ที่ส่งมอบเป็นเงินตรา
ประการแรก คือ เงินตรานั้นมุลค่าอยู่ตราไว้ มิได้อยู่ที่คุณภาพความใหม่เก่า
ประการที่สอง คือ เงินตรานั้นโดยสภาพแล้วไม่มีการชำระหนี้ด้วยเงินตราจะกลายเป็นพ้นวิสัย
ประการที่สาม คือ หนี้เงินนั้นมีดอกเบี้ยได้
1.กรณีหนี้เินได้แสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ มาตรา196
อัตราแลกเปลี่ยนต้องคิดตามอัตราที่ธนาคารขายมิใช่อัตราซื้อ
2.กรณีเงินตราที่จะส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้แล้วกฎหมายจึงได้กำหนดทางแก้ไว้ในมาตรา 197
กรณีวัตถุประสงค์แห่งหนี้ซึ่งเลือกชำระได้
หนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นอย่างเดียวที่เรียกว่าเป็นหนี้เดี่ยว(simple obligation)
หนี้ผสมอาจเป็นหนี้ที่มีวัตถุแห่งหนี้หลายอย่างแต่ลูกหนี้ต้องทำทุกอย่าง
หนี้ที่เป็นหนี้ผสม อาจเป็นหนี้ที่เลือกชำระได้มีวัตถุหลายอย่างแต่ไม่ต้องทำทุกอย่าง
1.สิทธิในการเลือก
ก.ถ้ากำหนดไว้ให้ผู้ใดเป็นผู้เลือกอาจเป็นได้ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกก็ได้
ข.ถ้าไม่ได้กำหนดไว้ว่าใครจะเป็นผู้เลือกสิธิจะตกอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้(มาตรา198)
ค.ถ้ากำหนดให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก บุคคลภายนอกไม่ใช่เจ้าหนี้และลูกหนี้จึงเป็นเรื่องของความสมัครใจของบุคคลภายนอกจะบังคับบุคคลภายนอกไม่ได้
ง.ถ้ากำหนดให้่ายลูกหนี้หรือฝ่ายเจ้าหนี้เป็นฝ่ายเลือกและฝ่ายที่มีสิทธินั้นไม่เลือกภายในเวลาที่กำหนดสิทธิในการเลือกย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
2.วิธีการเลือก
ก.กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้มีสิทธิเลือก มาตรา 199 วรรคแรก
ข.กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิเลือก มาตรา 201 วรรคแรก
3.ระยะเวลาในการเลือก
ก.มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก
ฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกก็ต้องเลือกเสียภายในเวลาที่กำหนดนั้นถ้าไม่เลือกเวลาที่กำหนดสิทธิการเลือกก็จะตกไปอยู่แก่อีกฝ่าย
ข.กรณีมิได้กำหนดเวลาให้เลืก
ให้ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกเป็นผู้กำหนดเวลาโดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นกรรีที่หนี้ถึงกำหนดชำระแล้วและระยะเวลาที่กำหนดนั้นต้องพอสมควรแก่เหตุ
4.ผลของการเลือก
ผลของการเลือกนั้นบัญญัติไว้ในมาตรา 199 วรรคสอง การเลือกนี้มีผลย้อนหลังไปถึงการเกิดหนี้ครั้งแรกและถือว่าหนี้นั้นอย่างเดียวเป็นกำหนดให้กระทำมาแต่แรก
5.กรณีการชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัย
1.กรณีตกเป็นอันพ้นวิสัยจะทำได้มาแต่ต้น
คือการชำระหนี้บางอย่างพ้นวิสัยมาก่อนทำนิติกรรมแล้ว
2.กรณีการอันพึงต้องทำเพื่อชำระหนี้บางอย่างกลายมาเป็นพ้นวิสัยในภายหลัง
ก.กรณีที่การชำระหนี้บางอย่างเป็นพ้นวิสัยที่ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกไม่ต้องรับผิดชอบ ท่านให้จำกัดหนี้ไว้แต่เพียงอย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัยเท่านั้น
ข.กรณีที่การชำระหนี้บางอย่างกลายเป็นพ้นวิสัยที่ฝ่ายไม่มีสิทธิจะเลือกต้องรับผิดชอบ ผู้มีสิทธิเลือกก็ไม่ถูกจำกัดให้ตองเลือกส่วนที่จะเป็นวิสัยเท่านั้น