Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ตัวอย่าง
นายเอจ้างนายบีไปตัดหญ้าที่หน้าบ้านให้โดยมีค่าจ้างให้ 500บาท เเต่นายเอไม่มีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย เเละเครื่องตัดหญ้า นายบีจึงได้นำเครื่องตัดหญ้าของตนมาตัด ต่อมานายเอไม่ได้บอกว่ามีเศษเเก้วอยู่ค่อนข้างมาก นายบีจึงตัดหญ้าโดนเเก้วเเล้วเเก้วกระเด็นโดนเเขนตัวเอง จึงทำให้นายบีได้รับบาทเจ็บ
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มาตรา 425
นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น
ตัวอย่าง
เเดงเป็นลูกจ้างของเขียวได้มีหน้าที่ซ่อมโทรทัศน์ให้ผู้ที่จ้าง แดงซ่อมโทรทัศน์ของลูกค้าพัง เขียวจึงต้องรับผิดต่อลูกค้าด้วย
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426.
“นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
ตัวอย่าง
สมหมายเป็นลูกจ้างของสมชาย ได้ทำการขายประกันให้เเก่สมศักดิ์เเต่สมหมายได้ทำละเมิดแก่สมศักดิ์ สมศักดิ์จึงได้ฟ้องสมชายซึ่งเป็นนายจ้างของสมหมาย นายสมชายจึงได้ชดใช้ค่าสินไหมให้แก่นายสมศักดิ์ นายสมชายจึงได้มาไล่เบี้ยกับสมหมาย
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
มาตรา 427
"บทบัญญัติในมาตราทั้งสองก่อนนั้น ท่านให้ใช้บังคับแก่ตัวการและตัวแทนด้วย โดยอนุโลม"
ตัวอย่าง
ดำให้นายเเดงเป็นตัวแทนขายครีม ครีมของดำซึ่งเป็นครีมที่ใช้ได้ตั้งเเต่อายุ 15 ปี ขึ้นไป แดงหลอกลวงว่าเด็กที่มีอายุ13ปีขึ้นไปสามารถใช้ได้ เด็กหญิงแมวจึงได้ทำการตัดสินใจซื้อเพราะตัวเองอยากขาว ดำต้องรับผิดต่อเด็กหญิงเเมว แดงก็ต้องรับผิดด้วย
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429
บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิด ในผลที่ตนท าละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะ พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทาอยู่นั้น”
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
มาตรา 430
"ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิด ร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิด ซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"
เช้าวันเกิดเหตุ ครูได้เก็บเอาไม้กระบอกพลุที่เด็กนักเรียนเล่นมาทำลายและห้ามไม่ให้เล่นต่อไปตอนหยุดพักกลางวันนักเรียนคนหนึ่งได้เล่นกระบอกพลุที่นอกห้องเรียนไปโดนนัยน์ตานักเรียนอีกคนหนึ่งบอดพฤติการณ์เช่นนี้ครูได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วเหตุที่เกิดละเมิดเป็นการนอกเหนืออำนาจและวิสัยที่ครูจะดูแลให้ปลอดภัยได้ครูจึงไม่ต้องรับผิด
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ตัวอย่าง
นายเอนั่งรถแท็กซี่แล้วบอกให้ขับรถเร็ว เหยียบเต็มที่ไปเลยจะรับผิดชอบเอง หากเกิดเหตุละเมิดขึ้นจากการขับรถเร็ว ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดเพราะคำสั่งที่ตนให้ไว้
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428
บัญญัติว่า"ผู้ว่าจ้างทําของไม่ต้อง รับผิดเพือความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึนแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทํา การงานทีว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานทีสังให้ทําหรือในคําสังที ตนให้ไว้หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง"
ตัวอย่าง
เอว่าจ้างบีให้สร้างบ้านบนที่ดินของเอหากว่าระหว่างก่อสร้างนั้นบีประมาทเลินเล่อทำวัสดุสร้างบ้านหล่นไปถูกผู้ใด บีต้องรับผิดผู้นั้นโดยลังพัง เอในฐานะผู้ว่าจ้างไม่ต้องร่วมผิดด้วย