Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น
1.ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีอยู่ระหว่างบุคคล ซึ่งบุคคลหนึ่งมีคำสั่งและควบคุมงานซึ่งทำโดยบุคคลอีกคนหนึ่ง นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนต้องการอีกด้วย และลูกจ้างต้องปฎิบัติตามคำสั่งของนายจ้างเสมอ แต่ต้องเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการงานที่จ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า "นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น" เราพึงเข้าใจว่าแม้ตัวบทจะใช้ความว่า "บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง"
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง
มีหลักกฎหมายทั่วไปว่า "ผู้ใดทำสิ่งใดโดยบุคคลอื่นเท่ากับทำด้วยตนเอง" แต่หลักที่ว่านี้ใช้เฉพาะแต่การที่ได้รับมอบอำนาจ ไม่ใช่แก่การกระทำในทางการที่จ้าง ซึ่งแม้ลูกจ้างจะเป็นผู้กระทำ แต่ไม่ได้รับมอบอำนาจโดยเฉพาะ ในการที่นายจ้างต้องรับผิดในการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้างนั้นไม่ใช่เพราะว่ามอบอำนาจให้กระทำแทน แต่เป็นเพราะลูกจ้างได้เกี่ยวข้องกับงานที่จ้าง
การที่จะพิจารณาว่าการกระทำละเมิดของลูกจ้างได้เกิดขึ้นในทางการที่จ้างหรือไม่นั้นต้องพิเคราะห์ดูว่าได้จ้างกันให้ทำงานชนิดใด ประเภทใด ลักษณะของงานที่จ้างเป็นอย่างไร แล้วจึงจะได้พิจารณาได้จากลักษณะของงานนั้นๆ
1.3 สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า "นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น"
การละเมิดนั้นเป็นการกระทำของลูกจ้างต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง ที่นายจ้างต้องรับผิดร่วมด้วยกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย แต่ในระหว่างนายจ้างลูกจ้างแล้ว นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิดนั้นด้วย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้วจึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ให้แก่ตนได้
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน โดยเหตุที่ตัวแทนไม่ใช่ลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งสิทธิของตัวการที่จะควบคุมดูแลเกี่ยวกับความประพฤติทางปฏิบัติของตัวแทน
ตัวแทนคืออะไรนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 797 บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น"
ความรับผิดของตัวการ พึงเข้าใจว่าเหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับผิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฏิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
2.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
1.กฎหมายได้บัญญัติถึงผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผิด ได้กล่าวมาแล้วว่าบุคคลที่รับผิดในการกระทำของบุคคลอื่นนั้นมิได้กระทำละเมิดด้วยตนเอง ถ้าได้กระทำละเมิดด้วยแล้ว ก็มิใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น แต่เป็นความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า "ความเสียหาย" หาได้ใช้คำว่า "กระทำละเมิด" อย่างที่บัญญัติไว้ในมาตรา 425 , 429 และ 430 ไม่ โดยที่ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้รับจ้างก็ได้ ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างก็ยังต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด
3.โดยเหตุที่ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของมิใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น ในเมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรีบกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
2.2 หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่า "ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง"
1.ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำเป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาจ้างที่มีต่อกัน
3.ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง ที่ว่าเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างนั่นเอง จ้างคนที่ตนรู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำจึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด
2.ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ คำสั่งที่ว่านี้ไม่เหมือนกับคำสั่งเมื่อกล่าวถึงในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตอนก่อน เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
มาตรา 429 บัญญัติว่า "บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น"
ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตจะมีความรับผิดฐานละเมิดได้ก็ย่อมเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420 กล่าวคือ จะต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวนั้น และที่จะถือว่าเป็นการจงใจ จะต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน ถ้าเป็นเด็กไร้เดียงสาหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตน ย่อมจะถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด มาตรา 430 บัญญัติว่า "ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นวินิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร"