Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้, นางสาว เบญจภรณ์ ขอวางกลาง รหัสนิสิต 64012310805 -…
หน้าที่ในการชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้
หนี้ที่เกิดขึ้นอาจไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ซึ่งอาจมีในกรณีของสัญญาที่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดเวลาชำระหนี้กันไว้ ดังนั้นมาตรา 203 จึงกำหนดให้เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกชำระหนี้ได้โดยพลัน และฝ่ายลูกหนี้ก็ย่อมต้องทำการชำระหนี้ของตนได้โดยพลันดุจกัน
ตัวอย่าง
ดำกู้เงินแดงไป 1,000 บาท โดยไม่ได้กำหนดเวลาคืนเงินไว้ และไม่สามารถอนุมานได้จากพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดได้ว่ามีกำหนดคืนเมื่อใดแล้ว แดงย่อมมีสิทธิเรียกให้ดำชำระหนี้คืนเงินเมื่อใดก็ได้
หนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้
กำหนดเวลาชำระหนี้แต่เป็นที่สงสัย
กรณีที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้เป็นกรณีที่ข้อสงสัยว่ากำหนดเวลาที่กำหนดไว้นั้นจะถึงกำหนดเวลาเมื่อใด สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้
ดังนั้นกรณีมีกำหนดเวลาชำระหนี้ไว้แม้จะชัดเจนว่าจะถึงกำหนดเวลานั้นเมื่อใด กฎหมายจึงไม่ให้เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนถึงเวลานั้น แต่ฝ่ายลูกหนี้อาจจะชำระหนี้ก่อนกำหนดนนั้นได้
เช่น สัญญากู้เงินมีข้อตกลงเพียงว่าให้ลูกหนี้ชำระเงินคืนภายใน 15 วัน ข้อตกลงเช่นนี้ช่วงเวลา 15 วันจะเริ่มนับเมื่อใด
กำหนดชำระหนี้ไว้ไม่เป็นที่สงสัย
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ต้องอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวง
เป็นกำหนดเวลาชำระหนี้ที่ไม่แน่นอนชัดตามวันเวลาปฎิทิน เป็นกำหนดเวลาการชำระหนี้ที่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงตามวัตถุประสงค์ของมูลนี้ที่เกิดขึ้น ว่าเมื่อมีข้อเท็จจริงที่กำหนดเกิดขึ้นแล้วเมื่อใดเจ้าหนี้จึ้งเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้เมื่อนั้น
ตัวอย่าง
สัญญายืมเครื่องเพชรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการยืมเครื่องเพชรว่า เพื่อใช้ในงานแฟชั่นโชว์แบบเสื้องานหนึ่ง แม้จะไม่ได้กำหนดเวลาแน่นอนวันส่งคืนเป็นวันปฏิทิน แต่ตามพฤติการณ์การยืมนี้พออนุมานได้ว่าเมื่อเสร็จงานแฟชั่นโชว์แบบเสื้อนั้นแล้ว ผู้ยืมต้องส่งมอบเครื่องเพชรคืน
กำหนดตามวันเวลาปฎิทัน (วันที่ เดือน ปี)
ตัวอย่าง
แดงกู้เงินจากดำไป 1,000 บาท สัญญาว่าจะคืนเงินในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ผลคือ เมื่อถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 อันเป็นวันที่ถึงกำหนดชำระหนี้ ดำมีสิทธิเรียกให้แดงชำระหนี้ได้ หรือ สัญญาว่าจะชำหนี้เงินกู้ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ดังนี้เมื่อครบหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงิน เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งนี้
ตัวทรัพย์สินซึ่งกฎหมายรับรองหรือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุแห่งหนี้ มิใช่การกระทำ งดเว้นกระทำ และวัตถุแห่งหนี้นี้เป็นทรัพย์ทุกชนิด เว้นแต่ทรัพย์นอกพาณิชย์ไม่อาจเป็นวัตถุแห่งหนี้ได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง
เช่น ซื้อขายรถยนต์ ดังนี้รถยนต์ คือ วัตถุแห่งหนี้
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
วัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกได้ มีหลักเกณฑ์ คือ
หนี้นั้นมีการกระทำเพื่อชำระหนี้หลายอย่าง
ลูกหนี้ต้องกระทำเพียงการใดการหนึ่งแต่อย่างเดียว
ข้อสังเกต
ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้หลายอย่างโดยชำระทุกอย่าง
ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ทีละอย่างก่อนหลังตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องหนี้ตามคำพิพากษา (ฎ.752/2542)
ไม่ใช้บังคับกับกรณีที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้แต่เพียงอย่างเดียว
วัตถุแห่งหนี้
2. หนี้งดเว้นกระทำการ
หนี้ซึ่งลูกหนี้มีความผูกพันว่าจะไม่กระทำการบางอย่าง
ตัวอย่าง
ผู้ขายกิจการค้าอาจให้สัญญาแก่ผู้ซื้อว่าจะไม่ประกอบกิจการค้านั้นในท้องถิ่นเดียวกันภายในระยะเวลาหนึ่ง
3. หนี้ส่งมอบทรัพย์
เมื่อลูกหนี้ไม่กระทำการส่งมอบทรัพย์ทั้งๆ ที่ทรัพย์นั้นยังมีอยู่ เช่นนี้เจ้าหนี้มีสิทธิร้องขอให้ศาลบังคับให้มีการส่งมอบทรัพย์นั้นได้ถือว่าเป็นการบังคับชำระหนี้โดยเฉพาะเจาะจง
ตัวอย่าง
แดงจ้างญาญ่าให้มาเป็นพรีเซนเตอร์ผลิตภัณฑ์ของตน ก็ต้องเอาญาญ่ามา ห้ามเอาคิมเบอร์ลี่มาเป็นพรีเซนเตอร์แทน
1. หนี้กระทำการ
เป็นหนี้ที่สภาพแห่งหนี้จะไม่เปิดช่องให้มีการให้มีการบังคับชำระหนี้จาก ลน. ได้โดยตรง ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของ ลน. ที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
การกระทำการที่ไม่จำต้องใช้ฝีมือความรู้ที่เป็นการเฉพาะตัวของ ลน. แล้ว ถ้าเป็นการงานโดยทั่วไปที่อาจมีบุคคลกระทำการนั้นได้ จน. อาจร้องขอต่อศาลโดยใช้วิธีให้บุคคลภายนอกกระทำอันนั้นแทนก็ได้ โดยให้ ลน. เสียค่าใช้จ่าย
การผิดนัดไม่ชำระหนี้
การผิดนัด (ลูกหนี้)
กรณีที่ 2 :
ลูกหนี้ผิดนัดโดยไม่ต้องเตือน
กรณีหนี้ที่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันปฏิทิน เจ้าหนี้ไม่ต้องเตือน ถ้าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดดังกล่าว ก็ได้ชื่อว่าเป็นลูกหนี้ผิดนัดทันที!
กรณีที่ 3 :
ลูกหนี้ผิดนัดในมูลหนี้ละเมิด
มาตรา 206 กำหนดว่า ในกรณีหนี้อันเกิดแต่มูลหนี้ละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด
ตัวอย่าง แดงขับรถยนต์ชนเขียว วันที่ 9 สิงหาคม 2565 แดงตกเป็นลูกหนี้ในมูลหนี้ละเมิดที่ต้องรับผิดนับแต่วันที่มีการละเมิดเกิดขึ้นและผิดนัดที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขียว นับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2565
กรณีที่ 1 :
ลูกหนี้ผิดนัดโดยคำเตือนของเจ้าหนี้ (ลูกหนี้ผิดนัดเพราะเจ้าหนี้ได้เตือนแล้ว)
เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว มีการเตือนของเจ้าหนี้ว่าหนี้ถึงกำหนดเวลาที่ลูกหนี้ต้องชำระหนี้แล้ว ถ้าลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้อีก จึงถือว่าลูกหนี้ตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด เพราะเขาเตือนแล้วตามมาตรา 204 วรรคหนึ่ง
ข้อยกเว้นที่ทำให้ลูกหนี้ยังไม่ตกเป็นลูกหนี้ผิดนัด
เป็นกรณีการผิดนัดของลูกหนี้ยังไม่เกิดขึ้นแม้ว่าหนี้จะถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันปฏิทินแล้ว หรือกรณีที่หนี้นั้นได้มีการเตือนของเจ้าหนี้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้อาจยังไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดก็ได้ ถ้าเป็นกรณี
(1) ข้ออ้างตามมาตรา 205
(2) เจ้าหนี้ผิดนัด (มาตรา 207-212)
ผลของการผิดนัดของลูกหนี้
เจ้าหนี้อาจไม่รับชำระหนี้
เจ้าหนี้ไม่รับชำระหนี้ ถ้าลูกหนี้ผิดนัด (มาตรา 216)
การชำระหนี้กลายเป็นอันไร้ประโยชน์ (ม.388+.387)
ตัวอย่าง
แดงไปเช่าห้องพักเพื่อไปดูคอนเสิร์ตในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 แต่เจ้าของห้องพักส่งมอบห้องพักวันที่ 3 ธันวาคม 2564 แต่คอนเสิร์ตได้ผ่านพ้นไปแล้ว การชำระหนี้จึงหลายเป็นอันไร้ประโยชน์ แดงมีสิทธิ์บอกปัดไม่รับชำระหนี้และเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนได้
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่มขึ้น (มาตรา 217)
ตัวอย่าง
แดงฝากรถยนต์ไว้กับดำวันที่ 1 สิงหาคม 2565 และทำสัญญากันว่าแดงจะมารับรถยนต์ภายในวันที่ 4 สิงหาคม 2565 แต่ดำไม่สามารถส่งมอบรถยนต์คืนให้แดงได้ แล้วดำก็ขับรถยนต์ของแดงไปประสบอุบัติเหตุในวันที่ 9 สิงหาคม 2565
เหตุในการรับผิด
เกิดแต่ความประมาทเลินเล่อในระหว่างที่ลูกหนี้ผิดนัด
การที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย เพราะอุบัติอันเดิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ผิดนัดด้วยบ
ลูกหนี้ต้องรับผิดในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัด
ตัวอย่าง
ดำไปจ้างขาวสร้างบ้าน ทำสัญญาว่าให้ขาวส่งมอบบ้านภายในวันที่ 1 กันยายน 2564 แต่ขาวผิดนัด ไม่ส่งมอบบ้านตามระยะเวลาที่กำหนด แล้วดำไม่มีบ้านอยู่ จึงต้องไปเช่าบ้านอยู่เอง ตามมาตรา 215 ให้สิทธิดำเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้
นางสาว เบญจภรณ์ ขอวางกลาง รหัสนิสิต 64012310805