Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น - Coggle Diagram
ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
ความรับผิดของนายจ้าง
มาตรา 425 บัญญัติว่า “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิด ซึ่งลูกจ้างกระทำไปในทางการที่จ้างนั้น”
ลักษณะสัญญาจ้างแรงงานในมาตรา 575 มีความว่า “อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ในสัญญาจ้างแรงงาน ความเกี่ยวพันของนายจ้างและลูกจ้างมีระหว่างบุคคล นายจ้างมีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานตามวิธีที่ตนต้องการ ลูกจ้างต้องปฎิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง แต่ต้องเป็นคำสั่งที่เกี่ยวกับงาน
-ข้าราชการในกระทรวง ทบวง กรม มิได้เป็นนายจ้างลูกจ้าง
*การที่นายจ้างต้องรับผิดจะต้องเป็นกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ตามมาตรา 420 แต่หากลูกจ้างมิได้ทำละเมิดนายจ้างก็ไม่ต้องร่วมรับผิด
อุทาหรณ์ ฎ.1425/2539 การที่ลูกจ้างมิได้ขับรถยนต์ทับขาผู้เสียหายโดยประมาทเลินเล่อ การกระทำของลูกจ้างจึงไม่เป็นละเมิด นายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด
ลูกจ้างทำละเมิดในทางการ
ที่จ้าง
เมื่อลูกจ้างทำละเมิดนายจ้างต้องรับผิดต่อเมื่อที่การกระทำละเมิดนั้นได้เกิดในทางการที่นายจ้าง และนายจ้างจะต้องรับผิดร่วมด้วยต่อเมื่อมีบทบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเป็นพิเศษ เช่น มาตรา 430 เป็นต้น
-การละเมิดนั้นต้องเป็นส่วนหนึ่งในงานเกี่ยวข้องกับงานของนายจ้าง ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน
-นายจ้างไม่ได้แจกแจงวิธีการกระทำให้ละเอียดเพื่อให้ลูกจ้างปฎิบัติตาม ลูกจ้างอาจใช้วิธีตามที่เห็นควร และสมประโยชน์แก่นายจ้าง
-แม้ลูกจ้างจะได้กระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกันนั้นจนเกิดการละเมิดขึ้น ก็ยังถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในการจ้าง เช่น ขณะขับรถได้ถือโอกาสดื่มสุราไปด้วย
-การที่นายจ้างมีคำสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการละเมิด ย่อมไม่เป็นข้อต่อสู้ของนายจ้าง เป็นเพียงแต่วิธีการปฎิบัติสิ่งที่ลูกจ้างได้รับจ้างให้กระทำ
อุทาหรณ
ฎ. 1089/2519 ลูกจ้างขนปี๊บหน่อไม้จากฉางของนายจ้างบรรทุกรถยนต์ตามคำสั่งของนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อจุดบุหรี่สูบ หัวไม้ขีดไฟที่กำลังติดไฟกระเด็นไปถูกปุยนุ่นและปอในฉางทำให้เกิดเพลิงไหม้ฉางและลุกลามไปไหม้บ้านโจทก์ ต้องถือว่าการละเมิดเกิดขึ้นในทางการจ้าง
สิทธิไล่เบี้ย
มาตรา 426 บัญญัติว่า “นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น”
ลูกจ้างกระทำการละเมิดต่อบุคคลภายนอกเองโดยลำพัง นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างก็เป็นความรับผิดต่อผู้เสียหาย นายจ้างไม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลที่ลูกจ้างทำละเมิด เมื่อนายจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย จึงชอบที่จะช่วงสิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตน (มาตรา229(3) และมาตรา 426)
อุทาหรณ์
ฎ. 648/2522 ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างถูกฟ้อง ได้ใช้ค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาแล้วไล่เบี้ยเอาจากลูกจ้างได้ แต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่นายจ้างต้องใช้แก่ผู้เสียหายตามคำพิพากษานั้น ไม่ใช่ค่าเสียหายอันเป็นผลโดยตรงจากการละเมิดของลูกจ้าง นายจ้างไล่เบี้ยไม่ได้
ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน
ลักษณะตัวการตัวแทน
ตัวแทนคืออะไรนั้น ป.พ.พ. มาตรา 767 บัญญัติว่า “อันว่าสัญญาตัวแทนนั้น คือสัญญาซึ่งให้บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าตัวแทน มีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าตัวการ และตกลงจะทำการดังนั้น”
อุทาหรณ์
ฎ. 1049/2505 มารดาใช้ให้บุตรเป็นตัวแทนในการเดินรถขนส่งคนโดยสารเก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดา ในการนี้มารดาให้บุตรขับรถยนต์ของมารดาด้วย บุตรขับรถชนผู้เสียหายโดยละเมิด ดังนี้ มิใช่เป็นการที่มารดาใช้ให้บุตรขับรถยนต์เท่านั้น แต่เป็นการมอบหมายให้บุตรเป็นตัวแทนในการรับขนส่งมารดาต้องรับผิดร่วมกับบุตรในการที่บุตรทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ของตัวแทนนั้นด้วยตามมาตรา 427
ความรับผิดของตัวการ
เหตุละเมิดที่จะให้ตัวการรับปิดต้องเป็นเหตุที่ได้เกิดขึ้นในขอบเขตแห่งการปฎิบัติตามหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานที่ตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน ถ้าตัวแทนได้รับมอบอำนาจแต่เฉพาะการ ย่อมจะทำการแทนตัวการได้แต่เพียงในสิ่งที่จำเป็นเพื่อให้กิจการอันตัวการได้มอบหมายแก่ตนนั้นสำเร็จลุล่วงไป (มาตรา 800)
ถ้าเป็นตัวแทนรับมอบหมายอำนาจทั่วไปย่อมทำกิจใดๆ ในทางจัดการตัวแทนตัวการก็ย่อมทำได้ทุกอย่างนอกจากจะเข้าข้อยกเว้นดังบัญญัติไว้ในมาตรา 801
ในเหตุฉุกเฉินเพื่อจะป้องกันมิให้ตัวการเสียหาย ย่อมสันนิษฐานไว้กาอนว่าตัวแทนจะกระทำการใดๆ เช่นอย่างวิญญูชนจะพึงกระทำก็ย่อมมีอำนาจจะทำได้ทั้งสิ้น (มาตรา 802)
อุทาหรณ์
ฎ. 1980/2505 การใช้หรือวานบุคคลที่มิใช่ลูกจ้างให้ขับรถยนต์ไปในธุรกิจของผู้ใช้เอง โดยผู้ถูกใช้เป็นผู้ที่ขับรถยนต์ได้และเคยขับให้ผู้ใช้มาก่อนแล้วนั้น หากผู้ถูกใช้ขับรถยนต์ไปชนบุคคลอื่นอีนเป็นการละเมิด ผู้ใช้หาจำต้องร่วมรับผิดด้วยไม่เพราะมิได้ประมาทเลินเล่อในการใช้หรือการวาน และการรับใช้หรือรับวานขับรถยนต์ให้นั้นไม่ใช่ตัวแทน เพราะมิใช่เป็นกิจการที่ทำแทนตัวการต่อบุคคลที่สาม แต่เป็นกิจการระหว่างผู้ใช้กับผู้รับใช้ ไม่ได้เกี่ยวกับบุคคลที่สามเลย
สิทธิไล่เบี้ยของตัวการ
มาตรา 427 บัญญัติให้นำมาตรา 426 มาใช้บังคับแก่ตัวการด้วยโดยอนุโลม กล่าวคือ เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันตัวแทนได้ทำไปแล้วนั้น ก็ชอบที่จะได้ชดใช้จากตัวแทน เกี่ยวกับนายจ้างลูกจ้างที่กล่าวมาแล้วนั้นย่อมอนุโลมนำมาใช้ปรับกับกรณีตัวการตัวแทนได้เช่นเดียวกัน (ฎ. 648/2522)
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการ
กระทำของบุคคลอื่น
เหตุผลที่แสดงให้เห็นว่าความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลดังบทบัญญัติมาตรา 428 คือ
1.ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของตามมาตรา 428 ไม่ใช่เรื่องความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น เป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 420
2.ตัวบทมาตรา 428 ใช้คำว่า “ความเสียหาย” หาได้ใช้คำว่า “กระทำละเมิด” หรือ “ละเมิด” ผู้รับจ้างจึงไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในส่วนที่ผิด
3.เมื่อผู้ว่าจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกผู้ได้รับความเสียหายไปแล้ว จึงไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างไล่เบี้ยเรียกให้ชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
หลักความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ
มาตรา 428 บัญญัติว่า “ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง”
*มาตรานี้จะเห็นได้ว่า โดยหลักผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิด ในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้างอันเป็นไปตามหลักทั่วไปดังกล่าว เพระาเป็นผลมาจากการกระทำของผู้รับจ้าง ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลภายนอกแล้วก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจ้างเองทำผิดหน้าที่ต่อบุคคลภายนอกนั้น ไม่ใช่การกระทำของผู้ว่าจ้าง
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดไว้มี 3กรณี
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
เช่น จ้างให้ทำถนนเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นเพื่อผ่านไปถึงที่ของตนอันเป็นละเมิด เป็นต้น
อุทาหรณ์
ฎ. 457/2514 ไม่ปรากฎว่าผู้ว่าจ้างเป็นผู้สั่งให้ผู้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วยเครื่องจักรอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การตอกเสาเข็มจึงเป็นการกระทำของผู้รับจ้างเอง ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิด
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
สั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหาย เป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น เช่น แนะนำให้ช่างทำรางน้ำชายคาของบ้านใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินข้างเคียงของผู้อื่น เวลาฝนตกน้ำไหลตกลงในที่ดินข้างเคียง
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง
จ้างคนที่รู้ว่าไม่ใช่ผู้ที่มีความสามารถหรือระมัดระวังอันควรแก่สภาพของการงานที่จ้างให้ทำ จึงเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยละเมิด เช่น จ้างสร้างบ้านทำด้วยไม้ ไปจ้างผู้ที่เข้าตัวไม้ไม่แน่นหนา ทำให้บ้านทรุดพังมาถูกทรัพย์สินของบุคคลข้างเคียงเสียหาย
ความรับผิดของมารดาบิดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต และความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ
“ผู้ใด” ตามมาตรา 420 หมายถึง บุคคลทุกชนิดซึ่งรวมทั้งผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
มาตรา 429 บัญญัติว่า “บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นว่านี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น”
**ต้องมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อที่จะถือว่าเป็นการกระทำจะต้องมีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึก ถ้าเป็นเด็แบเบาะหรือบุคคลวิกลจริตไม่รู้สำนึกในการกระทำของตนหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สภาพการกระทำของตน ถือว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ได้
อุทาหรณ์เกี่ยวกับความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
ฎ. 847/2498 บุตรผู้เยาว์มีนิสัยชอบเล่นปืนมาก เพียงแต่บิดาเก็บปืนไว้บนหลังตู้ซึ่งผู้เยาว์หยิบไม่ถึง แล้วสั่ง ก. ให้เก็บปืนไว้เฉยๆ มิได้กำชับว่าอย่าให้บุตรผู้เยาว์เอาไป บุตรผู้เยาว์หลอกเอาปืนไปจาก ก. แล้วยิงบุตรโจทก์ตาย เรียกไม่ได้ว่าบิดาใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลตามมาตรา 429
ความรับผิดของครูบาอาจารย์ หรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิด
มาตรา 430 บัญญัติว่า “ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิจก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้รับกระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆ มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร”
เช่น จ้างครูพิเศษไปสอนเด็กที่บ้านที่เด็กอยู่กับบิดามารดา เห็นได้ว่าการดูแลเด็กย่อมอยู่กับบิดามารดา หาได้อยู่ครูพิเศษนั้นไม่ หลานอายุ 13 ปี มาพักเรียนหนังสืออยู่กับตายาย ตายายก็เป็นผู้ดูแล (ฎ. 2076/2518)
ความระมัดระวังสมควรแก่หน้าที่ดูแล
ตามมาตรา 430 เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่ดูแลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลที่ได้รับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถ
อุทาหรณ์
ฎ. 1315/2520 บิดาเคยใช้บุตรขับขี่รถจักรยานยนต์ไปซื้อของและทำเป็นธุระ ดังนี้ นอกจากบิดาจะไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำนั้นแล้ว บิดากลับสนับสนุนให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์อีกด้วย จึงต้องร่วมรับผิดร่วมกับบุตรตามมาตรา 429