Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน้าที่ในการชำระหนี้ - Coggle Diagram
หน้าที่ในการชำระหนี้
หน้าที่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง
1.วัตถุแห่งหนี้
คือการที่ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้เเก่เจ้าหนี้ และเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้อง ตามมาตรา208
หนี้งดเว้นกระทำการ
คือลูกหนี้จะต้องปฏิบัติการชำระหนี้โดยการนิ่งเฉยไม่กระทำการอันเนื่องมาจากสัญญาที่จะไม่ทำ
ตัวอย่างเช่น ก ขอยืมเงินจาก ข 10000บาท และนัดชำระในอีก 1 เดือน เเต่ ข ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงบอกกล่าวกับ ก ว่า จะให้ ก ยืมเงิน 10000บาท โดยมีเงื่อนไขว่า ก ต้องไม่ผ่านหน้าบ้านตน 1 อาทิตย์ ก ตกลง ฉะนั้นใน 1 อาทิตย์ ก ผู้เป็นลูกหนี้ต้องงดเว้นกระทำการคือ ต้องไม่เดินผ่านหน้าบ้าน ข ผู้เป็นเจ้าหนี้ 1 อาทิตย์
หนี้ในการโอนทรัพย์สิน
คือหนี้ในการโอนกรรมสิทธิหรือการส่งมอบทรัพย์
ทรัพย์ทั่วไป
ในการส่งมอบทรัพย์ทั่วไปต้องทำให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งก่อน
ตัวอย่าง นาย ก ได้ขอซื้อข้าวสารจาก นาย ข จำนวน 1 กระสอบ โดยนาย ข จะต้องคัดเลือกข้าวสารจากเล้าให้กับนาย ก หลังจากที่นาย ข เลือกคัดข้าวเเล้ว1กระสอบ ข้าวสารจึงเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง
ทรัพย์ที่เป็นเงินตรา
-หมายเหตุเงินตรามีลักษณะพิเศษกว่าทรัพย์อื่นๆเนื่องจากเป็นตัววัดราคามูลค่าของทรัพย์สิน
หนี้กระทำการ
คือการที่ลูกหนี้ได้ตลงกับเจ้าหนี้ว่าจะกระทำการชำระหนี้โดยการลงมือทำ
-การทำสวน -ทำความสะอาด
หนี้ที่ลูกหนี้ต้องการทำการด้วยตนเอง
ลูกหนี้ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ด้วยตนเองไม่สามารถให้ผู้อื่นทำแทนได้
ตัวอย่าง นายดำเป็นหนี้นายขาวอยู่ 1000 บาท โดยในการปฏิบัติการชำระหนี้ นายดำได้ตกลงกับนายขายผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าตนจะทำความสะอาดบ้านแทนการชำระหนี้ นายขาวผู้เป็นเจ้าหนี้รับทราบและตกลง หลังจากที่นายดำทำความสะอาดบ้านนายขาวเสร็จเป็นที่เรียบร้อยถื่อว่านายดำปฏิบัติการชำระหนี้เป็นอันเสร็จสิ้น
หนี้ที่ลูกหนี้สามารถให้ผู้อื่นปฏิบัติการชำระหนี้แทนได้
คือผู้อื่นมีหน้าที่เข้ามากระทำการปฏิบัติการชำระหนี้เเทนลูกหนี้ได้
ตัวอย่าง นาย ก ได้ว่าจ้างนาย ข ซึ่งเป็นผู้รับเหมาสร้างบ้านให้มาสร้างบ้านของตน หลังจากที่ทำสัญญาว่าจ้างเสร็จสิ้น นาย ข ผู้เป็นหัวหน้าหรือผู้รับเหมาก็นำลูกน้องมาสร้างบ้าน เนื่องจากในข้อเท็จจริงนาย ข ไม่สามารถสร้างบ้านคนเดียวได้เป็นต้น
2.วัตถุแห่งหนี้กับวัตถุประสงค์แห่งนิติกรรม
ความหมายวัตถุแห่งหนี้เเละวัตถุแห่งนิติกรรม
-มีความคลายกัน
ตัวอย่างเช่น การซื้อขายรถ ในวัตถุแห่งนิติกรรมคือการที่กรรมสิทธิของรถยนต์โอนไปยังผู้ขายเเต่วัตถุแห่งหนี้คือการที่ผู้ขายส่งมอบรถให้แก่ผู้ซื้อเเละผู้ซื้อมีหน้าที่ที่จะต้องชำระราคาเป็นต้น
ความแตกต่างของวัตถุแห่งหนี้และวัตถุแห่งนิติกรรม
ในความหมายทั้งสองอย่างอาจจะคล้ายกันแต่มีบางอย่างที่เเตกต่างกัน
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมก็มีแต่นิติกรรมเท่านั้นแต่วัตถุของหนี้คือละเมิด การจัดการงานนอกสั่งเเละลาภมิควรได้
วัตถุประสงค์ของนิติกรรมมีไม่จำกัดซึ่งต่างจากหนี้คือสามารถแบ่งได้ 3 อย่างคือ หนี้กระทำการ หนี้งดเว้นการทำการ เเละหนี้ส่งมอบทรัพย์
วัตถุประสงค์แห่งนิติกรรมคือเหตุของวัตุถแห่งหนี้หรือเรียกง่ายๆคือวัตถุแห่งหนี้คือผล
3.ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้
ทรัพย์อันเป็นวัตถุในการกระทำการชำระหนี้
ทรัพย์ที่จะส่งมอบเป็นทรัพย์สินทั่วไป
คือทรัพย์ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นอสังหาหรือสังหาริมทรัพย์ หรือรวมกระทั่งทรัพย์เฉพาะสิ่ง ทรัพย์ที่ไม่เฉพาะสิ่ง เเละรวมกับทรัพย์ในอนาคตด้วย
ทรัพย์ที่จะเป็นวัตถุแห่งหนี้
มาตรา195วรรค2จะเห็นได้ว่าทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ได้แบ่งได้2อย่าง
ลูกหนี้ได้กระทำการอันตนจะพึงต้องทำเพื่อส่งมอบเเล้วนั้นทุกประการ
การที่ลูกหนี้ได้กระทำการเพื่อเอาทรัพย์ไปชำระซึ่งทรัพย์ในที่นี้คือสิ่งที่จะส่งมอบ
เช่น ลูกค้ามาซื้อปุ๋ย5สอบอันมีมายมาย ผู้ขายจึงยกสอบปุ๋ยขึ้นรถให้ผู้ซื้อ ปุ๋ยก็เป็นทรัพย์อันเป็นวัตถุในการชำระหนี้แล้ว
ลูกหนี้ได้เลือกกำหนดทรพย์ด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้
-ลูกหนี้ต้องเป็นผู้เลือกทรัพย์ที่จะส่งมอบ
เช่น ผู้ซื้อมาขอซื้อไก่จากฟร์าม10 ตัว ผู้ขายจึงได้เลือกไก่ให้ผู้ซื้อ และผู้ซื้อก็ได้ตกลงในการเลือกไก่ของผู้ขาย
กรณีทรัพย์ที่จะส่งมอบได้ระบุไว้เป็นเพียงประเภท
เป็นกรณีที่ทรัพย์ระบุไว้เป็นกว้างๆหรือระบุไว้แต่ประเภท
มาตรา195วรรค1 ได้ระบุไว้ว่า กรณีกำหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแค่ประเภทแต่ไม่ระบุรายละเอียด ให้ลูกหนี้ส่งทรัพย์ชนิดปานกลางให้ แต่ถ้าลูกหนี้รู้ถึงวัตถุประสงค์ของเจ้าหนี้ก็ให้ส่งมอบตามวัตถุประสงค์
เช่น ก ซื้อ ข้าวกับ ข แต่ไทชม่ได้ระบุว่าจะเอาข้าวหอมมะลิหรือข้าวชนิดไหน แต่ ถ้า ข ทราบถึงเจตนาว่า ก จะเอาข้าวไปประกวดการแข่งขันงานข้าวประจำปี ข ก็ต้องส่งมอบข้าวพันธุ์ที่ดีที่สุดให้แก่ ก แต่ถ้า ข ไม่ทราบวัตถุประสงค์ของ ก ข ก็ต้องส่งข้าวหอมมะลิคุณภาพปานกลางให้ ก
ทรัพย์ที่จะส่งมอบที่เป็นเงินตรา
เงินตราเป็นทรัพย์ที่มีความเเตกต่างจากทรัพย์ทั้วไปเนื่องจาก เงินตราเป็นเครื่องวัดราคาของทรัพย์
กรณีหนี้เงินได้เเสดงไว้เป็นเงินต่างประเทศ มาตรา196
บทบัญญัติมาตรานี้ให้สิทธิแก่ลูกหนี้ว่าจะชำระหนี้ด้วยเงินบาทหรือเงินต่างประเทศ โดยถ้าชำระเงินต่างประเทศต้องมีอัตราแลกเปลี่ยนซึ่งต้องขึ้นอยู่กับธนาคาร ในการคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งในการชำระหนี้ของลูกหนี้จะขึ้นอยู่กับข้อตกลง
ตัวอย่างเช่น ก เป็นสกุลดอน จาก ข เเละได้ตกลงกันว่าจะต้องชำระหนี้ด้วย เงินบาท เป็นต้น
กรณีเงินตราที่จะพึ่งส่งใช้เป็นอันยกเลิกไม่ใช้เเล้ว มาตรา197
เป็นกรณีที่ลูกหนี้กับเจ้าหนี้ตกลงกันชำระหนี้ด้วยเงินสกุลต่างๆและหลังจากนี้เขายกเลิกใช้สกุลนั้นเเล้ว ให้ถือว่าไม่เคยมีการตกลงกันเเละให้นำมาตรา196มาใช้บังคับ
ตัวอย่าง ก ยืมเงินจาก ข โดยตุกลงกันคือเงินมาร์เยอร์มัน เเต่ปรากฏว่าหลังจากนั้นเขายกเลิกใช้สกลุเงินมาร์เยอรมัน ให้ถือว่าทั้งสองมิได้ตกลงกันเเละให้ ก นำมาตรา196 มาใช้คือสามารถชำระเป็นเงินไทยก็ได้เป็นต้น
กรณีวัตถุแห่งหนี้ซึ่งเลือกที่จะชำระได้
-หนี้เดี่ยว คือหนี้ที่มีวัตถุประสงค์ในการชำระหนี้มีเพียงอย่างเดียว
-หนี้ผสมคือ หนี้ที่มีวัตถุประสงค์ในการชำระหนี้หลายอย่าง หรือเลือกชำระอย่างใดอย่างหนึ่ง
สิทธิในการเลือก
มาตรา198และมาตรา201
กรณีที่มีการตกลงกันไว้ว่าใครเป็นผู้เลือก
ซึ่งผู้ที่เลือกคือ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ บุคคลภายนอกตามมาตรา198และมาตรา201
ตัวอย่างเช่น ในสัญญาซื้อขายเป็ด 2 ตัว ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ ถ้าได้มีการตกลงกันว่าให้ลูกหนี้เป็นผู้เลือกเป็ด 2 ตัว ก็ให้ลูกหนี้ปฏิบัติการเลือกและนำลูกเป็ดไปส่งมอบตามสัญญาเลย
กรณีที่ไม่มีการตกลงกันไว้ว่าใครจะเป็นผู้เลือก
ซึ่งมาตรา198ก็จะให้สิทธิแก่ลูกหนี้เป็นผู้เลือก
ตัวอย่างเช่น ในสัญญาซื้อขายเป็ดนี้ไม่ได้มีการตกลงกันว่าให้ใครเป็นผู้เลือก ก็ถือให้ลูกหนี้เป็นคนเลือกเป็ดเพื่อกระทำการส่งมอบให้แก่เจ้าหนี้เลยตามาตรา198
กรณีที่ลูกหนี้และเจ้าหนี้ตกลงที่จะให้บุคคลภายนอกเลือก แต่บุคคลภายนอกไม่เต็มใจเลือก
ซึ่งมาตรา201วรรคสอง สิทธิที่เลือกตกเป็นของลูกหนี้
ตัวอย่างเช่น ในการทำสัญญาซื้อขายเป็ดนั้น เจ้าหนี้ตกลงกับลูกหนี้ว่าจะให้ลูกของเจ้าหนี้เป็นผู้เลือก แต่ลูกเจ้าหนี้ไม่ได้ต้องการเป็ดลูกเจ้าหนี้เลยไม่เลือก กรณีนี้ให้สิทธิในการเลือกตกเป็นของ ตัวลูกหนี้ให้ลูกหนี้เลือกตามาตรา201วรรคสอง เเละนำเป็ดที่ลูกหนี้เลือกนำส่งมอบแก่เจ้าหนี้
กรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกไม่เลือกตามเวลาที่กำหนด
ซึ่งมาตรา200 ให้สิทธิเลือกตกเป็นของอีกฝ่ายหนึ่ง
ตัวอย่างเช้นในการทำสัญญาซื้อขายเป็ดนั้น เจ้าหนี้ตกลงกับลูกหนี้ว่าจะให้ลูกของเจ้าหนี้เป็นผู้เลือก และพอถึงเวลาเลือก ตัวลูกของเจ้าหนี้ไม่มาเลือกเป็ดและ,ุกหนี้ได้ไปบอกกล่าวให้ตัว,ุกของเจ้าหนี้รับทราบแล้วแต่ผู้เลือกไม่ได้เต็มใจมาเลือกเลยไม่มา กรณีนี้ให้สิทธิผู้เลือกตกเป็นของ ลูกหนี้ตามาตรา 200
วิธีการเลือก
-กฎหมายกำหนดวิธีการเลือกไว้ 2 กรณี
กรณีฝ่ายลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นผู้เลือก ตามมาตรา199วรรคแรก
-ต้องมีการเเสดงเจตนาในการเลือกต่ออีกฝ่าย (เจตนาโดยชัดเเจ้ง-เจตนาโดยปริยาย)
ตัวอย่าง นายดำซื้อลูกหมาต่อนายแดง โดยลูกหมามีอยู่สองสีคือขาวกับสีน้ำตาล ในการเลือกได้ตกลงกันว่าให้นายดำเป็นผู้เลือก ในการเลือกนายดำเลือกหมายตัวสีขาวนายดำต้องไปบอกให้นายขาวรับรู้หรือรับทราบด้วยว่าตนนั้นเลือกหมาตัวสีขาว
กรณีที่ให้บุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก ตามมาตรา201วรรคแรก
-บุคคลภายนอกต้องเเสดงเจตนาต่อลูกหนี้และลูกหนี้ต้องไปบอกการแสดงเจตนาแก่เจ้าหนี้อีกที
ตัวอย่าง นาย ก ซื้อกระเป๋าให้นาย ข โดยไปซื้อที่ร้านของนาย แดง โดยนาย ก บอกนายแดงว่าให้นาย ข เป็นผู้เลือกว่าจะเอากระเป๋าแบบไหน สมมติว่านาย ข ได้เลือกเป็นกระเป๋าสีดำเเบบสะพาย ซึ่งในการเลือกนั้นนาย แดงผู้เป็นคนขายได้ตกลงรับทรายในการเลือก นายแดงจึงต้องไปบอกกล่าวแก่นาย ก ผู้เป็นเจ้าหนี้ให้รับทราบว่านาย ข เลือกกระเป๋าสะพายสีดำ เป็นต้น
ระยะเวลาในการเลือก
-มีในมาตรา200 แยกเป็น 2 กรณี
มิได้มีกำหนดระยะเวลาที่เลือก
เมื่อถึงเวลาชำระหนี้แต่ฝ่ายที่มีสิทธิเลือกยังไม่ได้เลือก ผู้ที่ไม่มีสิทธิในการเลือกต้องไปบอกกล่าวเเละได้กำหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ
ตัวอย่าง ก ซื่อวัว ต่อ ข ได้กำหนดให้ ก เป็นผู้เลือก เเต่มิได้กำหนดเวลาเลือก กำหนดแค่เวลาในการปฏิบัติการชำระหนี้้ พอถึงกำหนดในการชำระหนี้ ก ก็ยังไม่มาเลือก ข จึงได้ไปบอกกล่าวให้ ก มาเลือกวัวเเละได้กำหนดเวลา 10 วัน กต้องมาเลือกวัวภายใน 10 วัน ถ้าไม่มาลิทธิก็จะตกเป็นของ ข ลูกหนี้
มีกำหนดระยะเวลาให้เลือก
เป็นการกำหนดระยะเวลาว่าฝ่ายผู้มีสิทธิเลือกต้องปฏิบัติการเลือกในระยะเวลาที่กำหนด
ตัวอย่าง ก ทำสัญญาซื้อลูกหมาจาก ข โดย ตกลงที่จะส่งมอบหมาในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 โดยตกลงว่า ก เป็นผู้เลือกหมา ต้องเลือกภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2565 เท่านั้น ฉะนั้นภายในเวลาที่กำหนด ก ต้องเลือกลูกหมา เพื่อที่จะให้ ข นำลูกหมาไปปฏิบัติการชำระหนี้
ผลการเลือก
ตามมาตรา199 ให้ถือว่าในการเลือกนั้นมีผลย้อนหลังคือ ได้กำหนดมาไว้ตั้งแต่แรก
ตัวอย่างเช่น ก ซื้อลูกหมากับ ข ข ตกลงว่าจะส่งลูกหมาตัวสีแดงให้ ก ในอีก1 อาทิตย์ ข ไม่สามารถส่งลูกหมาตัวสีดำให้ ก ได้ เนื่องจากเป็นการตกลงกันมาตั้งแต่ทำสัญญา
กรณีการชำระหนี้ตกเป็นอันพ้นวิสัย
คือการชำระหนี้ม่สามารถชำระหนี้ได้
กรณีต้องทำเพื่อชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัย
เป็นการพ้นวิสัยหลังทำสัญญา
กรณีนีการชำระหนี้บางอย่างเป็นการพ้นวิสัยที่ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิเลือกไม่ต้องรับผิด
เช่น ก ซื้อหมากับ ข โดย ก ต้องเลือกหมาก่อนส่งมอบ 2 วัน ก่อนที่ ก จะเลือก ปรากฏว่าหมาตัวสีขาวโดนรถชนตาย ฉะนั้น ก เหลือลูกสุนัขเลือกแค่ 2 ตัว จะเลือกตัวที่จะไม่ได้
กรณีนีการชำระหนี้บางอย่างเป็นการพ้นวิสัยที่ฝ่ายไม่มีสิทธิเลือกต้องรับผิด
เช่น ก ซื้อหมากับ ข โดย ก ต้องเลือกหมาก่อนส่งมอบ 2 วัน ก่อนที่ ก จะเลือก ปรากฏว่าหมาตัวสีขาวโดน ข ทับตาย กรณีนี้ ก ยังสามารถเลือกได้ทั้ง3 ตัวเเละถ้า ก เลือกตัวสีขาวที่ตาย ข ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ กตามมาตรา218
กรณีการชำระหนี้ตกเป็นการพ้นวิสัยมาตั้งแต่ต้น
เป็นการพ้อวิสัยก่อนทำสัญญาแล้ว
ก ทราบว่า ข มีวัวตัวสี ขาว ดำ เผือก กจึงขอซื้อวัวเผือกต่อ ข ในขณะนั้น วัวเผือกตัวนั้นตายสัญญาตกเป็นโมฆะตาม150เเละ ฉะนั้น ก ก็ต้องเลือกแค่ตัวที่เหลือคือ ขาวเเละดำเท่านั้นตามมาตรา202
กำหนดเวลาชำระหนี้
การกำหนดเวลาชำระหนี้ที่เป็นที่สงสัย
มาตรา203วรรคสอง
กรณีที่มีการสงสัยกำหนดในการชำระหนี้นี้ ลูกหนี้จะชำระก่อนถึงวันชำระหนี้ก็ได้เเละเจ้าหนี้ไม่อาจปัดการรับชำระหนี้ได้ เเละเจ้าหนี้ไม่อาจเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนถึงวันชำระหนี้ได้
ตัวอย่าง ก ยืมเงินจาก ข โดย ข ตกลงให้ กชำระหนี้ในสิบห้าค่ำเดือนแปด ปรากฏว่าในปีนั้นมีสิบห้าค่ำเดือนแปดสองหน จึงเกิดเป็นกำหนดเวลาชำระหนี้อันเป็นที่สงสัยว่าแปโหน้าหรือแดปหลังกรณีนี้ ให้ถือเอาแปดหลัง เเต่ ก ลูกหนี้จะชำระหนี้แปดหน้าก็ได้แต่หรือแปดหลังก็ได้แต่เจ้าหน๊้ไม่สามารถเรียกให้ ก ชำระหนี้ แปดหน้าได้เป็นต้น
การกำหนดการชำระหนี้ที่ไม่ตกเป็นอันสงสัย
เป็นการที่ลูกหนี้เเละเจ้าหนี้ไม่สงสัยในวันชำระหนี้
กำหนดชำระหนี้ตามปฏิทิน ตามาตรา204วรรคสอง
เป็นการบอกกว่าเวลาที่นับตามปฏทินหรือมีในปฏิทิน
ตัวอย่างเช่น ก ยืม เงิน ข และตกลงชำระหนี้ในวันวาเลนไทน์ปี66 ก็คือวันที่ 14 กุภา 2565 เป็นต้น
กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฎิทิน ตามมาตรา204วรรคแรก
เป็นการบอกกล่าวว่าจะชำระหนี้หลังเหตุการต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในปฏิทิน
เช่น ก ยืมกล้องถ่ายรูปจาก ข บอกว่าจะคือหลังจากที่งานรับปริญญาพี่สาวตรเสร็จ หรือ แดงยืมเงินดำและบอกว่าจะคืนหลังจากที่ขายรถได้เป็นต้น
การผิดนัดชำระหนี้
การผิดนัดลูกหนี้
เป็นการที่ลูกไม่ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้
ลูกหนี้ผิดนัดโดยต้องเดือนก่อน
เป็นกรณีที่ลูกหนี้ต้องได้รับการเตือนจากเจ้าหนี้ก่อนถึงจะผิดนัด
หนี้ที่กำหนดเวลาชำระหนี้มิใช่ตามวันแห่งปฏิทินในมาตรา204วรรคแรก
-ไม่มีการกำหนดชำระหนี้ แต่ต้องอนุมานจากพฤติการณ์ เป็นการที่เจ้าหนี้จะต้องเตือนลูกหนี้ก่อนถึงจะถือว่าลูกหนี้ได้ผิดนัด
ตัวอย่าง ก ยืมมืด ข เเละบอกว่าจะคือหลังจากสิ้นหน้าร้อน ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าการชำระหนี้ ข จะได้รับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อสิ้นสุดหน้าร้อน หลังจากที่ถึงวันที่สิ้นสุดหน้าร้อน ก ยังไม่ได้คืนมีดให้ ข ขมีหน้าที่ต้องเตือน ก ให้นำมีดมาคืน ถ้า ก เงียบไม่คืนมีดหลังจากที่ ข เจ้าหนี้เตือน ถือว่า ก เป็นลูกหนี้ผิดนัด
ลูกหนี้ผิดนัดโดยเจ้าหนี้มิไม่ต้องเตือน
หนี้ที่มีกำหนดชำระหนี้ตามปฏิทินหรือหนี้ที่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนการชำระหนี้ซึ่งสามารถคำนวณตามปฏิทินได้
หนี้ที่มีกำหนดชำระตามปฏิทินตามาตรา204 วรรคสอง
เป็นหนี้ที่ไม้ต้องเตือน เนื่องจากมีการกำหนดเวลาที่ชัดเจน -วันที่ 10 สิงหาคม 2565 (ตามปฏิทิน) วันปีใหม่
ตัวอย่าง นาย ดำยืมเงินนาย ขาว 3000 บาท ตกลงจะชำระวันที่ 14 ตุลาคม 2565 พอครบกำหนดวันชำระหนี้ นาย ดำ ไม่นำเงินมาชำระ ถือได้ว่านาย ดำ ผิดนัดโดนมิพักต้องเตือน
หนี้ละเมิดตามาตรา206
เป็นหนี้ที่เกิดจากการล่วงสิทธิเเละไม่ได้กินจากนิติกรรม สามารถประนีประนอมกันได้ ผู้อื่นสามารถชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ เช่นนายจ้าง บิดามารดา เป็นต้น
เช่น ก ขับรถชน ข ก ทำละเมิดต่อ ข ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ข แต่ กทำสัญญาประนีประนอมกันหนี้ที่เกิดจากละเมิดระงับไปด้วยการแปลงหนี้ หาย ก ไม่จ่ายหรือผิดสัญญาก็ให้นำสัญญามาบังคับใช้ ไม่ถือเป็นการผิดเพราะละเมิด
กำหนดชำระหนี้ กับการผิดนัด
การไม่ชำระหนี้เป็นข้อเท็จจริง การผิดนัดเป็นข้อกฎหมาย
ความต่างและความเหมือน
-กำหนดเวลาชำระหนี้คือลูกหนี้จะต้องชำระหนี้ แต่การผิดนัดคือผลจากที่หนี้ไม่ชำระหนี้ตามกำหนด
-กำหนดชำระหนี้ เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้และเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ลูกหนี้ผิดนัด
-การผิดนัดแม้จะถึงเวลาชำระหนี้แต่ลูกหนี้ก็ยังไม่ถือว่าผิดนัดเนื่องจาก คำกล่าวอ้างหรือเหตุผลลูกหนี้กฎหมายรับรอง
กรณีไม่ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดตามาตรา205
ในการผิดนัดอาจจะไม่ใช่ความผิดลูกหนี้
เป็นเหตุที่เกิดจากเจ้าหนี้เอง
เจ้าหนี้ผิดนัด ม 207 -เจ้าหนี้เป็นคนไม่รับการชำระหนี้โดยปราศจากเหตุอันควร
ตัวอย่างเจ้าหนี้ผิดนัด เช่น ก ลูกหนี้ได้ยืมเงินจาก ข 20000 บาท ในวันที่ 15ตุลาคม2565 ก ลูกหนี้ได้นำเงินมาใช้หนี้ตามสัญญา แต่ ข ปฏิเสธการชำระหนี้เนื่องจากเสื้อที่ ก ใส่มา เป็นสีที่ตนไม่ชอบ เป็นต้น
เป็นเหตุที่เกิดจากบุคลลภายนอก
การผิดนัดเนื่องจากบุคลลภายนอกไม่ใช่เจ้าหนี้เเต่ลูกหนี้มีส่วนผิด
ตัวอย่าง เอ ซื้อน้ำมะพร้าวจากพ่อค้าคนกลาง จำนวน1000 ลูก ซื้อพ่อค้าคนกลางมีฐานะเป็นลูกหนี้จะต้องส่งมอบมะพร้าวให้เอ ในวันที่ 10 มีนาคม2565 แต่ลูกหนี้จะต้องไปเอามะพร้าวจากชาวสวนอีกที ลูกหนี้ได้ขอซื้อในราคาที่ตำจากชาวสวนจึงทำให้ต้องรอออกไปเป็นเวลานานเเละทำให้ส่งมะพร้าวให้ เอ ไม่ทัน กรณีนีชี้เป็นเพราะบุคคลภายนอก แต่ พ่อค้าคนกลางหรือลูกหนี้ก็มีส่วนผิดเนื่องจากถ้าไม่ขอซื้อในราคาที่ต่ำก็จะสามารถส่งมะพร้าวให้เอได้ทันตามเวลา
เกิดจากภัยธรรมชาติ
สาเหตุอันนึ่งที่ทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติการขำระหนี้ได้ตามเวลาที่กำหนดคือเกิดจากภัยธรรมชาติ ซึ่งลูกหนี้มิอาจป้องกันได้
ตัวอย่างเช่น นางเอ ลูกหนี้ ตกลงจะไปชำระหนี้กับนาย ดำ เเต่ปรากฏว่าวันที่นัดชำระเกิดพายุเข้าอย่างหนักถนนขาดทุกสายทำให้นางเอ ไม่สามารถไปปฏิบัติการชำระหนี้ได้ เป็นต้น
ผลของการผิดนักลูกหนี้ ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามมาตรา 203 204
เจ้าหนี้ไม่อาจรับชำระหนี้ตามมาตรา216
เป็นการที่เจ้าหนี้สามารถบอกปัดการรับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ เนื่องจากการชำระหนี้ตกเป็นอันไร้ประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ซึ่งเวลาชำระหนี้ต้องเป็นสาระสำคัญด้วยเจ้าหนี้จึงไม่ต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้
กรณีที่เวลาเป็นสาระสำคัญ
ตัวอย่างเช่น เจ้าหนี้เช่าหอพักเนื่องจากจะรับปริญญาในวันที่ 20 ลูกหนี้จะต้องส่งมอบห้องมห้เจ้าหนี้ในวีนที่ 20 ถ้าเลยวันที่20 ส่งมอบไป เจ้าหนี้สามารถไม่รับการสางมอบได้เนื่องจากรับปริญญาเสร็จเรียบร้อยเเล้วเป็นต้น
กรณีที่ต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้ในการปัดการรับชำระหนี้
ตัวอย่างเช่น นายแดงซื้อโต๊ะกินข้าวจากนายขาว โดยให้นายขาวนำโต๊ะส่งภายในห้าวันหลังจากตกลงกัน พอครบห้าวันเเล้ว นายขาวยังไม่ได้เอาโต๊ะมาส่ง นายแดงไม่สามารถปัดการรับชำระได้ทันที่ต้องไปบอกกว่านายขาวก่อนว่า ให้เวลาอีกสามวัน ถ้าภายในเวลาสามวันนายขาวไม่ได้เอาโต๊ะมาส่งนายแดงสามารถปัดการรับชำระหนี้ได้เป็นต้น
ลูกหนี้จะต้องรับผิดใรความเสียหายอันเกิดระหว่างผิดนัดเพิ่นขึ้นตามมาตรา217
เป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างผิดนัดเป็นเพราะลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ในหน้าที่ของตน
เกิดจากความประมาทเลินเล่อ
คำว่าประมาทเลินเล่นคือการไม่ใช้ความระมัดระวังพอสมควร แต่ในการวัดว่าลูกหนี้ใช้ความระมัดระวังต้องทำขนาดไหนคือต้องดูว่าบุคคลทั่วไปใช้ความระมัดระวังกันอย่างไร
กรณีที่ลูกหนี้ประมาทเลินเล่อ
เช่น เพื่อน ก จะไปต่างประเทศ 1 เดือน จึงนำรถ มาฝากไว้ที่บ้าน ก ก ได้จอดรถเพื่อนไว้นอกบ้านตลอด ซึ่งตามปกติแล้ว ก จะเก็บรถเข้าไว้ในบ้านตลอด เนื่องจากตอนกลางชอบมีขโมยออกล่า แต่ ก ก็ไม่เอารถเข้าไปไว้ในบ้านจนรถของเพื่อนโดนงัด ในกรณีนี้ ถือว่า ก ประมาทเลินเล่อ แต่ถ้าตามพฤติการเเล้ว ก ไม่เอารถตัวเองเข้ามาในบ้านสักครั้ง ก็จะโทษ ก มิได้ว่าประมาทเลินเล่อเป็นต้น
เกิดจากอุบัติเหตุ
คือสิ่งที่ไม่อาจป้องกันได้แต่สามารถใช้ความระมัดระวังได้
ตัวอย่างเช่น น้องฝากรถไว้กับ ดี ดีจอดรถของน้องไว้หน้าบ้านและได้ป้องกันคือ น้ำกรวจไปวางไว้เพื่อให้รถคันที่สันจรผ่านไปไม่ชน แต่ปรากฏว่า มีรถมาชน จะโทษดี,ุกหนี้ไม่ได้ว่าประมาทหรือไม่ป้องกันเนื่องจาก ดี ได้นำกรวยไปวางไว้เเล้ว แต่ในทางกลับกันคือ ถ้าดีจอดรถไว้กลางถนนเเละทำให้รถสันจรมองไม่เห็นเนื่องจากความมือถือได้ว่า ดี ประมาท
ลูกหนี้ต้องรับผลในความเสียหายอันเกิดแต่การผิดนัดมาตรา215
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้หรือลูกหนี้ผิดนัดทำให้เจ้าหนี้เกิดผลเสียลูกหนี้ต้องรับผิดในผลเสียที่เกิดกับตัวเจ้าหนี้
-เป็นค่าสินไหมที่เกิดจากการผิดนัด
-เป็นค่าสนไหมที่เกิดขึ้นจากการผิดนัด
ตัวอย่าง ก จ้าง ข สร้างบ้าน โดยกำหนดให้ส่งมอบบ้านในอีก1ปีข้างหน้า พอครบเวลาส่งมอบปรากฏว่าบ้านยังไม่เสร็จ เเล้วไม่สามารถส่งมอบบ้านให้ ก ได้ กจึงได้ไปเช่าคอนดอนอยู่ชั่วคราว ฉะนั้น ข ลูกหนี้ต้องรับผิดในค่าเสียหายเช่าของ ก ผู้เป็นเจ้าหนี้เเละต้องจ่ายค่าผิดนัดให้เจ้าหนี้ด้วย