Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น" - Coggle Diagram
"ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น"
1. ความรับผิดของนายจ้างในผลแห่งการละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง
1.1 ความรับผิดของนายจ้าง ม.425 ลูกจ้างเป็นคนทำละเมิด นายจ้างไม่ทำแต่ต้องรับผิด
นายจ้าง และลูกจ้าง มีความสัมพันธ์กันตามตามลักษณะสัญญาจ้างแรงงาน ม.575
นายจ้างต้องรับผิดในกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำละเมิดเข้าองค์ประกอบมาตรา420 ไม่ว่าจะทำละเมิดด้วยจงใจหรือประมาทเลินเล่อก็ตาม
คำว่า “ทางการที่จ้างนั้น”ตามมาตรา425 หมายความถึง งานที่จ้างหรืองานที่เป็นของนายจ้าง ถ้าลูกจ้างทำการนอกเหนือที่นายจ้างสั่งแล้วก่อให้เกิดความเสียหายเป็นละเมิด เช่นนี้นายจ้างก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แต่หากการกระทำละเมิดของลูกจ้างเกิดจากการที่นายจ้างสั่งให้ทำงาน เช่นนี้นายจ้างก็ต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกับลูกจ้างด้วย
หลัก
1. การที่ทำให้งานสำเร็จ 2. นายจ้างควบคุมได้ 3. ลักษณะขอบเขตของงานตามที่ได้รับจ้างมา 4. เกิดความเสียหายระหว่างทำงานที่จ้าง
EX. แดงนายจ้างสั่งให้ดำลูกจ้างขับรถไปส่งของ แต่นายดำขับรถด้วยความเร็วสูง จนทำให้รถชนเข้ากับนายเหลืองได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้ แดงนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับดำลูกจ้างด้วยตาม ม.425 เนื่องด้วยดำลูกจ้างกระทำละเมิดขณะทำการไปในทางการที่จ้าง
EX. จากตัวอย่างข้างต้น หากข้อเท็จจริงปรากฏว่าวันนั้นดำลูกจ้างขับรถไปเที่ยว ไม่ได้ไปส่งของตามที่แดงนายจ้างสั่ง แล้วเกิดชนกับนายเหลืองได้รับบาดเจ็บ เช่นนี้แดงนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดกับนายดำลูกจ้าง เนื่องจากขณะที่นายดำทำละเมิดนั้นไม่ได้ทำไปในทางการที่จ้างตาม ม.425
1.2 ลูกจ้างทำละเมิดในทางการที่จ้าง = เช่นนี้นายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วยตาม ม.425
EX. ฎ.1089/2519 ลูกจ้างขนปิ๊บหน่อไม้จากฉางของนายจ้างบรรทุกรถยนต์ตามคำสั่งของนายจ้างโดยประมาทเลินเล่อ จุดบุหรี่สูบหัวไม้ขีดไฟที่กำลังติดไฟกระเด็นไปถูกปุยนุ่นและปอในฉาง ทำให้เกิดเพลิงไหม้ฉางและลุกลามไปไหม้บ้านโจทก์ ต้องถือว่าการละเมิดเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง นายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดด้วย
1.3 สิทธิไล่เบี้ย ม.426 =สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้าง
สิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างเกิดขึ้นเมื่อนายจ้างได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายแล้ว
ลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกโดยลำพัง+นายจางต้องร่วมรับผิดด้วย คือความรับผิดต่อผู้เสียหาย เมื่อนายจ้างใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหายไปแล้ว =นายจ้างย่อมใช้สิทธิของผู้เสียหายไล่เบี้ยเรียกให้ลูกจ้างชดใช้แก่ตนได้
EX. ดำลูกจ้างกระทำละเมิดจนแดงนายจ้างถูกฟ้อง ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เหลืองผู้เสียหายไปตามคำพิพากษาของศาล แดงนายจ้างสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเรียกเอาค่าเสียหายจากดำลูกจ้างได้ตาม ม.426
1.4 ตัวการรับผิดในการกระทำละเมิดของตัวแทน = ม.427 ให้นำ ม.425, ม.426 มาใช้บังคับแทนโดยอนุโลม
ลักษณะของตัวการตัวแทน ม.797 =ตัวแทนไม่ใช่ลูกจ้าง หากตัวแทนทำละเมิด =ตัวแทนต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียว
EX. แดงนำรถไปซ่อมที่อู่ของดำ แล้วแดงานให้ดำขับรถคันนี้ไปส่งที่อื่น เมื่อส่งเสร็จแล้ว ดำขับรถกลับอู่ไปชนกับรถของนายเหลืองระหว่างทาง ดังนี้ดำเจ้าของอู่ไม่ได้เป็นตัวแทนหรือลูกจ้างของแดง แดงจึงไม่ร่วมรับผิดในการกระทำละเมิดนั้นตาม ม.427
ความรับผิดของตัวการ = ตัวการรับผิดเฉพาะเหตุที่เกิดขึ้นในขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่เพื่อตัวการหรือในฐานะทีตัวแทนได้ทำการเป็นตัวแทน
ขอบเขต
1. ตัวแทนรับมอบอำนาจเฉพาะการ =ต้องดูขอบเขตว่าตัวการใช้ให้ไปทำอะไร 2. ตัวการรับมอบอำนาจทั่วไป = ทำได้ทุกอย่าง นากจากจะเป็นข้อยกเว้นตาม ม.801
EX. แดงเป็นตัวแทนขายรถของบริษัทขาว ในฐานะตัวแทนแดงได้ตกลงขายรถให้แก่ดำ โดยตกลงกันว่าอะไหล่ทุกชิ้นต้องเป็นของแท้ กรรมสิทธิ์ในรถโอนมาเป็นของดำแล้ว แต่ก่อนที่แดงจะส่งมอบรถแก่ดำ แดงได้ถอดเปลี่ยนอะไหล่รถให้เป็นชองเทียมแทน แล้วจึงนำรถส่งมอบแก่ดำ โดยที่ดำลูกค้าไม่ทราบเลย การที่แดงถอดอะไหล่แท้ออกแล้วเอาอะไหล่เทียมใส่แทนถือเป็นเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นในขอบเขตของการปฏิบัติหน้าที่ที่ด้ำการแทนบริษัทขาว เช่นนี้ขาวจึงต้องร่วมรับผิดต่อดำด้วยตาม ม.427
2. ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ม.428
2.1 ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของไม่เป็นความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น
เป็นความรับผิดของผู้ว่าจ้างในการกระทำของตนเอง
ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจมิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ผู้รับจ้างไม่ต้องรับผิดทางละเมิด แต่ผู้ว่าจ้างก็ยังคงต้องรับผิดเพราะได้มีส่วนผิด
ไม่มีบทบัญญัติให้ผู้ว่าจ้างทำของไล่เบี้ยเรียกชดใช้เอาจากผู้รับจ้าง
EX. แดงจ้างดำสร้างบ้าน ตกลงกันว่าจะส่งมอบบ้านกันวันที่ 31ธันวาคม 2565 ขณะที่ดำสร้างบ้านเกิดอุบัติเหตุจนทำให้นายเขียวหัวแตกจ่ายค่ารักษาพยาบาล 5,000 บาท นายดำผู้รับจ้างเป็นผู้ทำละเมิดต่อนายเขียว นายดำผู้รับจ้างจึงต้องรับผิดแต่เพียงผู้เดียวตาม ม.428
2.2 หลักความรับของผู้ว่าจ้างทำของ = โดยหลักตาม ม.428 ผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดในความเสียหายที่ผู้รับจ้างก่อให้เกิดแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่จ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะได้ทำความผิดทาละเมิดขึ้นเองในการว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างจึงจะต้องรับผิดในผลที่เกิดขึ้น
ความผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ =เป็นเรื่องสั่งให้ทำตามสัญญาที่มีต่อกัน
EX. แดงจ้างดำผู้รับเหมาตอกสาเข็มในการปลูกสร้างโรงงานในที่ดินของแดง โดยดำใช้เครื่องมือกดลงไปแล้วใช้ตุ้มเหล็กตอก เป็นผลให้บ้านของเหลืองที่อยู่ในที่ดินติดต่อกันร้าวเสียหาย ดังนี้แดงผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ
ความผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ =แม้การงานที่สั่งให้ทำจะไม่เป็นละเมิดในตัวเอง แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างทำโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นผลให้ผู้อื่นเสียหายก็ได้ /เป็นเพียงคำแนะนำ
EX. แดงผู้ว่าจ้างแนะนำให้ดำผุ้รับจ้างทำรางน้ำชายคาของบ้านให้ชิดกับบ้านของเขียว เวลาฝนตกน้ำไหลลงไปในพื้นที่ของเขียว เช่นนี้แดงผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้
ความผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง –จ้างคนที่ตนรู้อยู่แล้วว่าไม่มีความสามารถที่จะทำงานที่จ้างให้ได้
3.ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการกระทำละเมิดของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตและความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นในการกระทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
3.1 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในการทำละเมิดของคนไร้ความสามารถ ม.429 =ใช้กับผู้เยาว์+คนวิกลจริตเท่านั้น
ผู้ที่จะต้องรับผิดในการกระทำละเมิดของบุคคลไร้ความสามารถ = บิดามารดาหรือผู้อนุบาล =ผู้อนุบาลของคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ บิดามารดา =ผู้มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์
บิดามารดาหรือผู้อนุบาลจะต้องพิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ซึ่งกะทำอยู่แล้ว หากพิสูจน์ได้ก็ไม่ต้องรับผิด ส่วนผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตย่อมไม่พ้นความรับผิด
EX. A บิดารู้ดีว่า B บุตรชายวัย 15 ชอบขับรถเที่ยวเล่นเสมอ ครั้งเกิดเหตุนี้ B ก็ได้ขับรถออกไปเที่ยวโดยที่ A บิดาก็เห็นแต่ไม่ห้ามเลย เช่นนี้ A บิดาไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ผู้ปกครองบุตรโดยปกติ A จึงต้องร่วมรับผิดกับ B บุตรผู้เยาว์ตาม ม.429
สิทธิไล่เบี้ยของบิดามารดาหรือผู้อนุบาล =เมื่อบิดามารดาหรือผู้อนุบาลได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเก่บุคคลภายนอกไปแล้วก็ย่อมจะเรียกเอาค่าชดใช้จากผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริต+ไล่เบี้ยเอาจนครบจำนวนที่ได้ชดใช้ตาม ม.431+426
3.2 ความรับผิดของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
บุคคลต้องรับผิดตาม ม.430 = ครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูและบุคคลดังกล่าว จะดูแลเป็นนิจหรือชั่วคราวก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกัน
เป็นหน้าที่ของผู้เสียหายนำสืบให้ได้ความว่าผู้มีหน้าที่แลมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ที่ต้องดูแล ถ้าไม่นำสืบหรือนำสืบให้ฟังไม่ได้ บุคคลตาม ม.430 ก็ไม่ต้องรับผิด
สิทธิไล่เบี้ยของครูบาอาจารย์ นายจ้างหรือบุคคลอื่นในการทำละเมิดของผู้ไร้ความสามารถ
=สามารถเรียกเอาค่าชดใช้และไล่เบี้ยได้เช่นเดียวกับ ม.429
นางสาวศิริพร หงษ์ศรี รหัส 64012310381 ลำดับที่ 82