Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วัตถุแห่งหนี้, หน้าที่ในการชำระหนี้, วัตถุแห่งหนี้
หมายถึง…
วัตถุแห่งหนี้
1. หนี้กระทำการ
หนี้กระทำการเป็นหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน เป็นหนี้ที่ลูกหนี้ต้องไปทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างแก่เจ้าหนี้
-
หนี้ที่เกิดแต่มูลละเมิดก็อาจมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการกระทำได้ มิใช่ว่าจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินแต่เพียงอย่างเดียว
-
ตัวอย่างเช่น
สมนึกรับจ้างทำรั้วบ้านให้แก่นายสมปอง สมนึกจึงเป็นลูกหนี้ ต้องทำการตัดผมให้แก่นายสมปอง
วัตถุแห่งหนี้ คือ การตัดผม ซึ่งเป็นหนี้กระทำการ
2. หนี้งดเว้นกระทำการ
หนี้งดเว้นกระทำการเป็นหนี้ซึ่งลูกหนี้มีความผูกพันว่าจะไม่กระทำการบางอย่าง ตามที่ตกลงกันไว้ ในมาตรา 213 วรรค3 ที่บัญญัติว่า "ส่วนหนี้ซึ่งมีวัตถุเป็นอันจะให้งดเว้นการอันใด เจ้าหนี้จะเรียกร้องให้รื้อถอนการที่ได้กระทำลงแล้วนั้นโดยให้ลูกหนี้เสียค่าใช้จ่าย และให้จัดการอันควรเพื่อกาลภายหน้าด้วยก็ได้"
เช่น ผู้ขายกิจการค้าอาจให้สัญญาแก่ผู้ซื้อว่าจะไม่ประกอบกิจการค้านั้นในท้องถิ่นเดียวกันภายในระยะเวลาหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
สมหญิงทำสัญญากับนายสมนึกว่าจะไม่เปิดร้านอาหารแข่งขันกันกับนายสมนึก เพราะนายสมนึกเคยสอนทำร้านอาหารให้ ดังนั้นสมหญิงเป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ไม่ต้องมาเปิดร้านอาหารแข่งขันกับนายสมนึก
วัตถุแห่งหนี้ คือ การงดเว้นกระทำการเปิดร้านอาหาร
-
3. หนี้ส่งมอบทรัพย์สิน
ตัวอย่างเช่น
อำนาจทำสัญญาขายเครื่องสูบน้ำให้นายสมยศ อำนาจเป็นลูกหนี้จะต้องส่งมอบเครื่องสูบน้ำให้แก่นายสมยศ วัตถุแห่งหนี้ คือการส่งมอบเครื่องสูบน้ำ
วัตถุแห่งหนี้ เป็นการส่งมอบทรัพย์สินนั้น หมายถึง หนี้ที่ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องส่งมอบทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ เช่น สัญญาซื้อขายข้าว ผู้ซื้อมีหน้าที่ส่งมอบทรัพย์สินคือราคาข้าวแก่ผู้ขาย ในขณะที่ผู็ขายก็ต้องส่งมอบทรัพย์สินคือ ข้าวให้แก่ผู้ซื้อ
-
วัตถุแห่งหนี้ที่เป็นการส่งมอบทรัพย์สิน ก็มีทรัพย์สินที่ลูกหนี้ต้องส่งมอบทรัพย์จะต้องเป็นทรัพย์ที่มีรูปร่าง และทรัพย์นี้จะเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น รถยนต์คันใดคันหนึ่งโดยเฉพาะ
หรือจะเป็นทรัพย์ทั่วๆไป ที่ไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง เช่น ข้าวสาร น้ำตาล ทรัพย์สินที่ลูกหนี้จะต้องส่งมอบนี้ เรียกว่า "ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้"
-
-
วัตถุแห่งหนี้
หมายถึง สิ่งที่ลูกหนี้ต้องทำหรือปฏิบัติชำระหนี้โดยตรงแก่เจ้าหนี้ และตัวเจ้าหนี้นั้นก็สามารถเรียกร้องสิทธิการชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ ถ้าลูกหนี้ไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ให้เสร็จสมบูรณ์
เมื่อพิจารณาจากมาตรา 194 บัญญัติว่า "ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียก ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ อนึ่งการชำระด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้" แสดงว่าวัตถุแห่งหนี้เป็น"การงดเว้นอันใดอันหนึ่ง" ก็มีได้ และในมาตรา 213 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "...ถ้าวัตถุแห่งหนี้เป็นอันให้กระทำการอันหนึ่งอันใด" และมาตรา 195 ก็บัญญัติถึงการส่งมอบทรัพย์
-
-