Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดในการกระทำของผู้อื่น, นายจ้างและลูกจ้าง หมายถึง บุคคล…
-
- นายจ้างและลูกจ้าง หมายถึง บุคคล 2 ฝ่ายมีความสัมพันธ์ต่อกันตามมาตรา 575
- ข้าราชการ ไม่เป็นนายจ้างลูกจ้าง (ยกเว้นลูกจ้างในส่วนราชการ)
- นายจ้างจะต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างกระทำละเมิดขณะปฏิบัติตามหน้าที่ (มาตรา 425)
- นายจ้างต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างกระทำละเมิดในขณะที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับที่จ้าง
- วิธีการปฏิบัติ หากนายจ้างไม่ได้บอกวิธีการปฏิบัติ ลูกจ้างสามารถใช้วิธีได้ตามสมควร แต่หากเกิดความเสียหาย นายจ้างยังคงต้องรับผิด
- ลูกจ้างกระทำกิจส่วนตัวในขณะเดียวกัน ลูกจ้างได้กระทำกิจส่วนตัวขณะปฏิบัติงานจนเกิดการละเมิด ก็ถือว่าเกิดขึ้นในทางการที่จ้าง เพราะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการประมาทเลินเล่อ
- การละเมิดโดยจงใจ เป็นการกระทำที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน แต่นายจ้างจะรับผิด เมื่อการกระทำนั้นทำเพื่อประโยชน์แก่นายจ้าง
ตามมาตรา 426 หมายความว่า เมื่อลูกจ้างไปทำละเมิดต่อบุคคลอื่น ซึ่งนายจ้างต้องรับผิด เมื่อนายจ้างได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะให้ลูกจ้างใช้ค่าสินไหมแก่ตนได้
- ตัวแทนตามมาตรา 797 หมายถึง บุคคลที่มีอำนาจทำการแทนบุคคลหนึ่งที่เรียกว่าตัวการ
- การใช้หรือวาน ไม่ใช่การตั้งตัวแทน เพราะผู้รับใช้ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการนั้น
- ความรับผิดของตัวการ ต้องเป็นเหตุที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติหน้าที่ตัวการ
- สิทธิไล่เบี้ย เมื่อตัวการได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ย่อมมีสิทธิให้ตัวแทนชดใช้แก่ตนได้
ความรับผิดของผู้ว่าจ้างตามมาตรา 428 ไม่ใช่ความรับผิดในการกระทำของบุคคลอื่น แต่เป็นความผิดในการกระทำของตนเอง
มีหลักทั่วไป คือ ความรับผิดของผู้ว่าจ้างทำของ ไม่เป็นความผิดต่อบุคคลอื่น เพราะผู้ว่าจ้าง ควบคุม หรือสั่งการผู้รับจ้างไม่ได้ แต่หากผู้รับจ้างกระทำผิด ก็เป็นการกระทำของผู้รับจ้างเอง
ความผิดของผู้ว่าจ้างมี 3 กรณี
- ความรับผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ เป็นเรื่องที่สั่งให้ทำตามสัญญา เช่น จ้างให้สร้างถนนรุกล้ำที่คนอื่น
- ความรับผิดในคำสั่งที่ตนให้ไว้ แม้งานที่ทำจะไม่ละเมิด แต่อาจสั่งให้ผู้รับจ้างกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้
- ความรับผิดในการเลือกหาผู้รับจ้าง คือ การจ้างคนที่รู้ว่าไม่มีความสามารถ หรือชำนาญในด้านนั้นๆ เช่น นาย ก จ้างนาย ข ให้ไปส่งของ โดยที่นาย ก รู้ว่านาย ข ขับรถไม่เป็นทำให้เกิดอุบัติเหตุ
- บุคคลไร้ความสามารถ ยังคงต้องรับผิด หากเป็นการกระทำตามมาตรา 420
- บิดามารดา ในที่นี้คือผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้เยาว์ซึ่งมีอำนาจปกครองตามมาตรา 1566 และ 1567
- ความรับผิด เป็นการบกพร่องในการดูแล โดยจะต้องอยู่ในการควบคุมดูแล จึงจะต้องรับผิด แต่หากไม่อยู่ในการดูแล ผู้ดูแลไม่ต้องรับผิด แต่ผู้ไร้ความสามารถยังต้องรับผิดตาม 420
- สิทธิไล่เบี้ย เมื่อใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ย่อมมีสิทธิเรียกให้ผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตใช้ค่าสินไหมแก่ตนได้
- บุคคลที่ต้องรับผิดได้แก่ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง บุคคลอื่น หากเป็นการดูแลชั่วคราวก็ยังคงต้องรับผิด โดยการละเมิดนั้นต้องเกิดขึ้นขณะที่อยู่ในความดูแล
- ความระมัดระวังตามสมควร ในกรณีนี้หากผู้ดูแลไม่ใช้ความระมัดระวังในการดูแล แต่ไม่สามารถนำสืบในศาลได้ ผู้ดูแลก็ไม่ต้องรับผิด
- สิทธิไล่เบี้ย ในกรณีนี้จะเป็นเช่นเดียวกับข้อ 3.1