Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
เเบ่งเป็น
หมิ่นประมาททางเเพ่ง ( ม.423 )
วางหลักไว้ว่า
วรรคหนึ่ง ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืน ต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ก็ดีหรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้ หรือทางเจริญของเขาโดย ประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อ ความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อ ความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
วรรคสอง ผู้ใดส่งข่าวสาส์นอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเอง หรือผู้รับข่าวสาส์นนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่า เพียงที่ส่งข่าวสาส์นเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
กล่าวหรือไขข่าว คือ การเเสดงข้อความให้บุคคลที่สามทราบ
กล่าว คือ พูดเอง
ไขข่าว คือ ฟังจากคนอื่นเเล้วไปเเพร่ต่อจะเป็นด้วยคำพูด คำที่เขียนด้วยกิริอาการหรือวิธีอื่น หรือ โดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ละคร ฯลฯ ที่ทำให้ปรากฏด้วยเเผ่นเสียง การป่าวประกาศด้วยวิธีอื่นใดก็ได้ โดยกล่าวด้วยคำถามก็ได้
ข้อยกเว้นที่ทำให้ไม่ต้องรับผิดฐานหมิ่นประมาทในทางเเพ่ง
1.มีทางได้เสียในการส่งข่าวสาร
2.เอกสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ
3.เอกสิทธิ์ตามปอ. ม.329 หรือ ม.331
ความยินยอมไม่เป็นละเมิด
การหมิ่นประมาทต้องเป็นที่เสียหาย คือทำให้บุคคลที่สามที่ได้ยินข้อความรู้สึกดูหมิ่น เสื่อมคลายความนับถือ เสื่อมความนิยม ขาดความเคารพ
เเยกเป็น
เสียหายเเก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น หรือเรียกว่า หมิ่นประมาทในทางชื่อเสียง
เสียหายเเก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประกาศอื่น หรือเรียกว่า หมิ่นประมาทในทางทรัพย์สิน ไม่เกี่ยวกับชื่อเสียงของตัวบุคคล
ตัวอย่าง
มีการเเจกเเผ่นพับโฆษณาของโรงพยาบาลเเห่งหนึ่งกับเปรียบกับอีกโรงพยาบาลว่าเท็จถึงศักยภาพ ซึ่งความจริงในใบเเผ่นพับไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นเป็นารฝ่าฝืนต่อความจริงโดยใช้ข้อความเป็นเท็จเป็นความผิดต่อ พรบ.สถานพยาบาลฯ ม.38 เเละเป็นการละเมิดต่อสิทธิเเละหมิ่นประมาท
การพิพากษาคดีละเมิดอันเนื่องมาจากความผิดทางอาญา ( ม.424 )
ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ท่านว่าศาลไม่จำต้องดำเนินตามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
หมายความว่า เมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติตามพิพากษาคดีส่วนอาญาเเล้ว การวินิจฉัยความรับผิดทางเเพ่งต้องเป็นไปตามกม.ส่วนเเพ่ง จำเลยจะมีความผิดทางกม.อาญาหรือไม่ไม่ต้องคำนึกถึง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาเเละทางเเพ่งอาจต่างกัน เช่นเจตนา จงใจ ประมาทเลินเล่อของกม.อาญาเเละกม.เเพ่งนั้นเเตกต่างกัน
ลักษณะทั่วไปของการทำละเมิด ( ม.420-ม.422 )
มาตรา 420 (ละเมิด) วางหลักไว้ว่า ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายเเละมีผลคือก่อให้เกิดความเสียหาย
ผู้ใด คือ บุคคลธรรมดาเเละนิติบุคคลสามารถกระทำละเมิดได้โดยผ่านทางตัวเเทนหรือผู้เเทน
อาจจะเเต่งตั้งโดยนิติกรรมสัญญาหรือเป็นตัวเเทนโดยปริยายหรือตัวเเทนเชิด
การกระทำ คือ ต้องเป็นการกระทำที่ผู้กระทำรู้สึกตัว เป็นการเคลื่อนไหวโดยรู้สึกนึก หากเป็นการเคลื่อนไหวโดยไม่รู้สำนึกก็ไม่เป็นการกระทำ เช่น เด็กทารก ละเมอ อาการลมบ้าหมู การกระทำนั้นรวมถึงงดเว้นหรือละเว้นด้วย
งดเว้นหรือละเว้น ซึ่งโดยปกติการงดเว้นการกระทำไม่ถือว่าเป็นการกระทำละเมิด เว้นเเต่เป็นการงดเว้นหรือละเว้นกระทำในเมื่อบุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องกระทำเพื่อป้องกันผลจึงจะถือว่าเป็นการกระทำ หน้าที่ที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันนั้นเกิดจาก หน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติ หน้าที่เกิดจากสัญญา หน้าที่ที่เกิดจากการกระทำครั้งก่อนๆของตน หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์พิเศษ หรือหน้าที่ที่อื่นๆ เช่นหน้าที่ที่เกิดจากระเบียบ
ตัวอย่าง
ตัวอย่าง หน้าที่ที่จะเกิดความสัมพันธ์พิเศษ เช่นนายเเดงเห็นคนตาบอดเเล้วจึงเข้าไปจูงคนตาบอดข้ามถนนพอไปถึงกลางถนนเเต่เกิดเปลี่ยนใจปล่อยคนตาบอดไว้กลางถนน ปรากฏว่าคนตาบอดเกิดถูกรถชน กรณีอย่างนี้ถือว่าเกิดความสัมพันธ์พิเศษเพราะว่านายเเดงไปเริ่มสร้างความสัมพันธ์เเล้วไปทิ้งไว้กลางถนน นายเเดงจึงต้องรับผิดชอบจากการทำละเมิด
ตัวอย่าง การละเว้นหน้าที่ตามสัญญาถือเป็นละเมิดได้ เช่น สัญญาฝากทรัพย์ สัญญารับเหมาก่อสร้าง ถ้าคู่สัญญาผิดสัญญาเเล้วเกิดความเสียหาย โดยความเสียหายตามสัญญาสามารถเรียกค่าเสียหายที่เกินกว่าที่ข้อสัญญาเขียนตกลงกันไว้ไม่ได้ เว้นเเต่ข้อสัญญาจะเขียนไว้ว่าให้คิดค่าเสียหายที่ในกรณีพฤติการณ์พิเศษ หรือเป็นความเสียหายที่ไม่ได้เขียนไว้เเต่สามารถคาดเห็นได้ล่วงหน้าหรรือจะคาดเห็นได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดความเสียหายเกิดขึ้น เเต่ถ้ากรณีเป็นละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายตาม ม.438 เรียนได้หมดโดยไม่มีข้อจะกัด
ประมาทเลินเล่อ คือ การกระทำโดยไม่จงใจ เหมือนกับทางอาญาที่เรียกว่าไม่เจตนา เป็นการกระทำที่ขาดความระมันระวังตามสมควร โดยพิจารณาจากบุคคล อย่างเดียวกับผู้กระทำภาวะ วิสัย พฤติการณ์
บุคคล หมายถึง เพศ อายุ ฐานะ อาชีพ
ตัวอย่าง
นางสวย อายุ26ปี ได้หยุดรถรอไฟสัญญาณ ได้มีคนร้ายเปิดประตูรถเข้าไปนั่งคู่เเละใช้ปืนขู่ให้ขับรถไป นางสวยตกใจจึงขับรถฝ่าสัญญาณไฟออกไปชนรถที่เเล่นสวนมาโดยไม่ได้เจตนา พฤติการณ์นี้ไม่ใช่เกิดจากความประมาทของนางสวย เพราะบุคคลที่เป็นผญ.อยู่ในภาวะตกตะลึงกลัว จะให้มีความระมัระวังเช่นบุคคลปกติไม่ได้ ดังนั้นนางสวยไม่ได้ประมาท ไม่ต้องรับผิด
เเก้วมาตรวจครรภ์พบว่าเด็กตายในท้อง จึงยินยอมให้เเพทย์ทำการขูดมดลูกเเละทำเเท้งให้ เเต่เเพทย์ได้ใช้อุปกรณ์เเพทย์ขูดมดลูกจนทะลุ ทำให้ลำไส้ทะลุออกมาทางช่องคลอดยาว 5 เมตร ดังนั้นถือว่าเเพทย์ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยของผู้มีความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพ ถือว่าเเพทย์ประมาทเลินเล่อ
ภาวะ หมายถึง สถานการณ์เช่นนั้นจะกระทำเหมือนผู้กระทำหรือไม่
วิสัย หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่เป็นผู้กระทำ
พฤติการณ์ หมายถึง เหตุการณ์ภายนอกประกอบการกระทำ
จงใจ คือ การกระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนกรณีกระทำโดยพลาดตามปอ. ถือว่าเจตนา เเต่ทางเเพ่งไม่ถือว่าจงใจ ส่วนจะเป็นประมาทเลินเล่อหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ส่วนกรณีเจตนาย่อมเล็งผลในทางเเพ่งถือว่าไม่จงใจ
ตัวอย่าง
นายขาวได้นำมีดไปเเทงนายดำจนนายดำถึงเเก่ชีวิต เเม้ศาลพิพากษาลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา ตามปอ. ม.290 เเต่ถือว่านายขาวได้ทำละเมิดต่อนายดำเเล้ว เพราะการที่นายขาวนำมีดเเทงนายดำก็เป็นการกระทำโดยจงใจทำร้ายนายดำโดยผิดกม. เเม้จะไม่มีเจตนาฆ่าก็ได้ชื่อว่ากระทำละเมิด
มาตรา 421( การใช้สิทธิมิชอบด้วยกฎหมาย ) วางหลักไว้ว่า การใช้สิทธิซึ่งให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ตัวอย่าง
นาย ก.เเละ นาย ข. มีตึกติดกันเเละมีท่อระบายน้ำเสียฝังอยู่ด้านหลังของตึกเพื่อนระบายน้ำร่วมกันไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ ต่อมานาย ก.ได้ได้อยู่ตึกตนเองเเต่นำเเผ่นเหล็กเจาะรูเล็กๆ ไปปิดกั้นทางระบายน้ำที่จะระบายมาจากตึกนาย ข. จนเกิดเหตุทำให้น้ำท่วมขังตึกนาย ข. ดังนั้นการกระทำของนาย ก.เป็นการกระทำที่จงใจจะให้เกิดความเสียหายเเก่นาย ข.เเม้ว่าจะกระทำการที่พื้นที่ของตนเองก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีเเต่จะให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่น จึงเป็นการทำโดยละเมิด ตาม ม.421
มาตรา 422 วางหลักไว้ว่า ความเสียหายเกิดจากการฝ่าฝืนบทบังคับกฎหมายใดอันมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันบุคคลอื่น ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนนั้นให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้ผิด
ให้สันนิษฐานว่าทำละเมิด หน่วยงานรัฐ หรือองค์กร เทศบาล กรมทางหลวง การรถไฟ มีกฎหมายกำหนดหน้าที่ไว้ว่าจะต้องดูเเลความปลอดภัยของถนน ทางหลวง หรือที่กั้นทางรถไฟระหว่างจุดตัดทางรถไฟกับถนน ถ้ามีหน้าที่ตามกฎหมายเเละไม่ปฏิบัติตามก็ย่อมเป็นการทำผิดละเมิดโดยชัดเจน