Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดของบุคคลในการกระทำ - Coggle Diagram
ความรับผิดของบุคคลในการกระทำ
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
1.การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เช่น เจ้าหนี้มีสิทธิ์ทวงหนี้แต่ แต่แกล้งทวงหนี้ขณะที่ลูกหนี้กำลังเข้าพิธีสมรสอยู่ต่อหน้าบุคคลอื่นๆ ทำให้ลูกหนี้เกิดความเสียหายเป็นละเมิด
2.การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
คือ ฝ่าฝืนกฎหมายเพื่อป้องกันความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ความหมายของการกระทำ
การกระทำหมายถึงความเคลื่อนไหวของบุคคลโดยรู้สำนึกในการเคลื่อนไหวของตน และ หมายถึงการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำตามหน้าที่ที่ต้องกระทำ
ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
แม้บุคคลใดไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด ถ้ารู้สำนึกในความเคลื่อนไหว
ถ้าผู้เยาหรือบุคคลวิกลจริตที่ไม่รู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนเองก็ย่อมไม่ถือว่ามีการกระทำเมื่อเป็นเช่นนี้ก็ไม่ถือว่าได้กระทำละเมิดอันจะต้องรับผิดตามมาตรา 420 และ 429
การงดเว้นไม่กระทำ
1.หน้าที่ตามกฏหมาย
เช่น บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร ถ้าไม่อุปการะเลี้ยงดูจนผู้มีสิทธิ์ที่ได้รับอุปการะเลี้ยงดูได้รับความเสียหาย ย่อมเป็นละเมิดซึ่งเกิดจากการ
งดเว้น
การกระทำของผู้มีหน้าที่
2.หน้าที่ตามสัญญา
หน้าที่ตามสัญญาก็คือหน้าที่ตามกฏหมาย เพราะสัญญาที่ใช้บังคับย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา ตัวอย่างเช่น แพทย์แพทย์มีสัญญาจ้างรักษาโรคแต่ถ้าแพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันเกิดจากสัญญา คือไม่ยอมรักษา ย่อมเป็นการงดเว้นจึงเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด
3.หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือ
เป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย เช่น เพื่อนกำลังจะจมน้ำเราต้องหาทางช่วยเหลือเพื่อนที่กำลังจะจมมถ้าไม่ช่วยก็ย่อมเป็นการงดเว้น
ผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น เช่น แพทย์ ระหว่างทางเดินกลับบ้าน เห็นผู้เจ็บป่วยก็เค้าช่วยเหลือรักษาพยาบาลอัน อันมิใช่หน้าที่ตามกฏหมายหรือตามสัญญา
หากงดเว้นไม่ทำหน้าที่ต่อไปให้ตลอดก็ย่อมเป็นการงดเว้น
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
1.มีความเสียหายต่อสิทธิ
เช่น ขว้างปาก้อนหินถูกกระเบื้องมุงหลังคาของคนอื่น แต่ไม่แตก ถึงไม่แตกแต่ในสายตาของกฎหมายย่อมถือว่าคือความเสียหาย
2.ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ์คือประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
3.ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณตัวเงินได้
ไม่ใช่ค่าสินใหม่ทดแทน
ตัวอย่างเช่น
1.ก ทำร้ายร่างกาย ข ข ต้องเสียค่าพาหนะในการไปโรงพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาล หรือ การที่ทำงานไม่ได้เป็นการสูญเสียความสามารถในการประกอบงานในภายหน้า ดังนี้เป็น
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้
2.ก.ชกต่อย ข ไม่บาดเจ็บไม่มีบาดแผลไม่จำเป็นต้องรักษา เป็น
ความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ หมายถึงรู้สำนึกถึงผลเสียหาย ที่เกิดจากการกระทำของตน
ฉะนั้นการเข้าใจโดยสุจริตหรือเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นการจงใจ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึงไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ตามหลักเรียกว่าความสัมพันธุ์ระหว่างเหตุกับผล หรือระหว่างความผิดเกิดความเสียหาย ทฤษฎีที่ถือว่าสำคัญมีอยู่2ทฤษฎีคือ
1.ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
คือ ถ้าไม่มีการกระทำดังกล่าวผลจะไม่เกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น ก. ทำร้ายร่างกาย ข. โดยเตะที่ท้องเบา ๆ แต่ปรากฏว่า ข. มีโรคร้ายประจำ ตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง ข. อาจตายได้ แต่ ก. ไม่ทราบมาก่อน ข. ถึงแก่ ความตาย ดังนี้ความตายของ ข. เป็นผลมาจากการกระทำของ ก. แม้ ก. จะไม่รู้ว่า ข. เป็น โรคดังว่านั้น คิดแต่เพียงว่า ข. อาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น แต่ ก. ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
คือ ก็ก่อให้เกิดผลนั้นผู้กระทำก็ต้องรับผิดในผลนั้น
เช่น ปกติชนอย่าง ก. ย่อมไม่ทราบว่า ข. มีโรคร้ายประจำตัว ถ้า ทำร้ายเช่นนั้น ข. อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ ก. จึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ ข. ได้รับบาดเจ็บ อย่างธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในความตายของ ข