Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง
ลักษณทั่วไปของความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
ความหมายของการกระทำ
การกระทำ หมายถึง ความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว กล่าวคือ เพียงแต่มีความเคลื่อนไหวในอิริยาบถย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือว่าเป็นการกระทำบุคคลที่เคลื่อนไหวดังว่านี้จะต้องรู้สึกในความเคลี่อนไหวของตนด้วย
Ex.นายโบ๊ตยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม ดังนี้ ย่อมเป็นการกระทำของนายโบ๊ตเพราะนายโบ๊ตรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนเองที่ยกแก้วน้ำขึ้นเดิม
การงดเว้นไม่กระทำถือว่าเป็นการกระทำ
รวมถึง เรื่องการงดเว้นไม่กระทำแต่บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องกระทกเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เรื่องนั้นๆ “หน้าที่” เป็นผลมาจากกฎหมายกาหนดไว้ (บิดามารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตร/สามีภริยามีหน้าที่ต้องอุปการะ เลี้ยง ดูกันและกัน) หรือ หน้าที่ตามสัญญา (กรณีพี่เลี้ยงข้างต้นเป็นหน้าที่ตามสัญญา) หรือ หน้าที่ที่เกิด จากการกระทำที่ตนต้องผูกพันรับผิดชอบ
การกระทำโดยจงใจ
จงใจ หมายถึง กระทำโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
Ex.นายโบ๊ตยกแก้วน้ำขึ้นราดบนศีษะของนางออม ย่อมเป็นการที่นายโบ๊ตกระทำไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นางออมจากการกระทำของตน
การกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือการเข้าใจโดยสุจริต คือการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นจงใจ
Ex.หนังสือของ ก และของ ข วางอยู่ใกล้ชิดกัน ก จึงเผลอหยิบเอาหนังสือของ ข ไปเป็นของตน ดังนี้ ก มิได้กระทำโดยจงใจ
Ex.ก.ชกต่อย ข โดยคิดจะให้ ข.เพียงแากแตกโลหิตไหล บังเอิญ ข.ล้มลงศีรษะฟาดกับพื้นถนนศีรษะแตกสลบไป ดังนี้ก็เป็นการที่ ก. ทำร้ายร่างกาย ข.โดยจงใจ
ประมาทเลินเล่อ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึง การกระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจำต้องมีโดยต้องเปรียนเทียบกับบุคคลที่ต้องมีความระมัดระวังตามพฤติการณ์และตามฐานะในสังคมเช่นเดียวกับผู้กระทำความเสียหาย
Ex.ฎ. 427/2521 รถยนต์ของจำเลยขับเข้าไปเดินในทางรถของโจทก์เพราะมีกองหินลูกรังอยู่ในรถของจำเลย ถนนมีฝุ่นลูกรังไม่เห็นรถของโจทก์ที่สวนมา จำเลยขับรถเร็วจึงชนรถโจทก์ จำเลยเป็นฝ่ายประมาทจะอ้างว่ารถจำเลยบรรทุกลูกรังหนัก รถโจทก์เป็นรถเบา ตามมรรยาทควรจะหลีกให้รถหนัก โดยไม่คำนึกถึงกฎจราจรหาได้ไม่
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
ม.295 วางหลักไว้ว่า ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย
ฉะนั้น การที่บุคคลใดกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
แต่ความรับผิดฐานละเมิดไม่จำต้องมีกฎหมายบัญญัติโดยชัดเเจ้งว่าการกระทำอันใดถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย กล่าวโดยสรุป ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้วก็ถือว่าเป็นการกระทำผิดกฎหมาย
Ex.สิทธิของบิดามารดาที่จะทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อกล่าวว่าสั่งสอน
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
Ex.ฎ.714/2512 โจทก์ยินยอมให้ตำเลยกับพวกเปิดคันดินกั้นน้พในครองซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะหรือทำให้คันดินไม่อยู่ในสภาพกักเก็บน้ำและระบายน้ำเข้านาโจทก์ แม้ทำให้ข้าวในนาโจทก์เสียหายก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ
Ex.นาย ก.ใช้มือที่สะอาดตบศีรษะของนางสาว ข.ไม่มีอะไรปนเปรอะเปื้อนนางสาว ข. ในความคิดเหห็นของบุคคลทำธรรมดาทั่วไปอาจมองว่าไม่เกิดความเสียหายแก่นางสาวขอ แต่ในทางกฎหมายย่อมถือว่าเกิดความเสียหายแก่นางสาว ข.
ลักษณะเเห่งสิทธิ
สิทธ คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ ฉะนั้น การที่บุคคลใดกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
Ex.ผู้ให้เช่าปิดกั้นมิให้คนเข้าร้านที่โจทก์เช่าสถานที่ทำเป็นร้านค้าทำให้โจทก์เสียหายเป็นละเมิด (ฎ.194/2518)
ความเสียหายที่คำนวนเป็นตัวเงินได้และไม่อาจได้คำนวนเป็นตัวเงินได้
Ex.ก.ชกต่อย ข.แต่ ข .ไม่บาดเจ็บ ไม่จำเป็นต้องรักษา เป็นความเสียหายอันคำนวนเป็นตัวเงิรไม่ได้
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย
ทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
Ex. ก ทำร้ายร่างกาย ข โดยเตะที่ท้องเบาๆ แต่ปรากฏว่า ข มีโรคประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างเเรง ข อาจตายได้ แต่ ก ไม่ทราบมาก่อน ข ถึงแก่ความตาย ดันนี้ ความตายของ ข เป็นผลมาจากการกระทำของ ก แม้ ก จะไม่รู้ว่า ข เป็นโรคดังว่านี้ ก็ต้องรับผิดในความตายของ ข
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาสม
Ex.ฎ. 1431/3494 จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนกับรถยนต์ของโจทก์รถของโจทก์ไปกระแทกกับเสาไฟฟ้าได้รับความเสียหาย ดังนี้การที่รถของโจทก์ไปกระแทกกับเสาไฟฟ้าเป็นผลโดยจากกำลังแรงของการที่ถูกรถของตำเลยชน มิใช่รถของโจทก์ไปชนเอง จำเลยต้องรับผิด
ละเมิดโดยการหมินประมาท การพิพากษา และการร่วมกันทำละเมิด
ละเมิดโดยโดยหมิ่นประมาท
ม.423 วางหลักไว้ว่า ผู้ใดไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันแก่การนั้น
Ex.ฎ.939-940/2478 ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกัน จำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งประกาศตามหนังสือพิมพ์ว่าเลิกกันแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเสียหาย จำเลยต้องรับผิดตาม ม. 423
การกล่าว หมายถึง การเปล่งเสียงอออกมาเป็นคำพูด อันทำให้ผู้อื่นเข้าใจข้อความนั้น
การไขข่าว หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆอันทำให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ เล่นภาพวาด ภาพถ่าย ตัวอักษร เป็นต้น
การพิพากษา
ม.424 วางหลักไว้ว่า ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิดและกำหนดค่าสินไหมทดแทน….และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
หมายความว่า บุคคลถูกฟ้องทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาในเรื่องเดียวกันการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนั้น ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแบะคู่ความที่ผูกพันโดยข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยแล้วนั้นต้องเป็นคู่ความในคดีอาญา
Ex.ฎ 1229/22498 ศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญาเพราะจำเลยไม่มีเจตนาบุกรุกที่ดิน ไม่ได้ชั้ว่าเป็นที่ดินของใคร โจทก์ก็ฟ้องคดีแพ่งให้ศาลวินิจฉัยแสดงกรรมสิทธิ์ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องได้
การร่วมกันทำละเมิด
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
การร่วทกันทำละเมิดต้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและจะต้องมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกันด้วย
Ex. ก และ ข คบคิดกันจะฆ่า ค โดยตกลงกันว่าจะใช้ปืนยิง ค ย่อมถือว่า ก และ ข มีเจตนาหรือความมุ่งหมาร่วมกันแต่ก็ยังถือไม่ได้ว่ามีการกระทำร่วมกัน
ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันทำละเมิด
กรณีที่บุคคลหลายคนได้ร่วมกันกระทำละเมิด กฎหมายมุ่งหมายถึงการกระทำมิได้ดูผลแห่งความเสียหายว่าแยกกันไเ้หรือไม่ แม้หากจะไม่รู้ใ่าในระหว่างผู้ร่วมกันกระทำละเมิดนั้น ผู้ใดทำอะไรลงไปบ้างหรือใครคือผู้ทำให้เสียหายมากน้อยเพียงใด ทุกๆคนก็ต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย
ตัวอย่าง
ฎ. 145/2539 (ตามบันทึกท้ายดำพิพากษาศาลฎีกา) ก. และ ข. เป็นเพื่อนกัน ข. ขับรถโดย ก. นั่งไปด้วย เห็น ข. ขับรถช้าไม่ทันใจจึงถาม ข. ว่า ขับเร็วกว่านี้ได้ไหม ข. รับคำว่า "ได้ คงไม่มีอะไร" จึง เร่งความเร็วสูงขึ้นอีกมาก ทั้ง ๆ ที่ท้องถนนมีคนพลุกพล่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทำโดยปราศจากความ ระมัดระวังและบุคคลในภาวะเช่นนั้นจำต้องมีดามวิสัยและพฤติการณ์จึงเกิดชนคนได้รับบาดเจ็บ การที่ ข. รับคำ ก. บอกว่า "ได้ คงไม่มีอะไรนั้น" ถือว่าเป็นการร่วมกันแล้ว ดังนี้คงต้องถือว่า ก. และ ข. ร่วมกัน กระทำความผิดโดยประมาท แม้ไม่ถึงขนาดมีเจตนา