Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของตนเอง
1.ความหมายของการกระทำ
มาตรา 420
ผู้ใดตามมาตรานี้อาจเป็นได้ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา
เมื่อมีผู้ใดแล้วก็ต้องมีการกระทำของบุคคลโดยความหมายของการกระทำคือ ความเคลื่อนไหวในอริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อไหว เช่น ก.ยกแก้วน้ำดื่ม
ย่อมเป็นการกระทำของก.เพราะ ก. รู้สำนึกในการเคลื่อนไหวของตนเองที่ยกแก้วน้ำขึ้นดื่ม
มาตรา 429 ผู้เยาว์และบุคคลวิกลจริต
เป็นไปตามหลักการที่จะถือว่ามีการกระทำหรือไม่ให้ดูว่ามีความเคลื่อนไหวโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวหรือไม่ ถ้าบุคคลวิกลจริตหรือผู้เยาว์ไม่รู้สำนึกในความเคลื่อนไหวก็ไม่ถือว่ามีการกระทำ
การงดเว้นไม่กระทำการ
การกระทำตามมาตรา 420
มิได้หมายความถึงเพียงการกระทำในการเคลื่อนไหวแต่ยังรวมถึง การงดเว้นไม่กระทำ แต่ต้องเป็นการงดเว้นหรือละเว้นไม่กระทำการที่มีหน้าที่ต้องทำ
หน้าที่ตามกฎหมาย เช่น สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปะการะเลี้ยงดูกัน หากไม่กระทำย่อมเป็นการละเมิดซึ่งเกิดจากการงดเว้นการกระทำของผู้มีหน้าที่ (พึ่งสังเกตว่าการงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ให้กระทำไม่ถือว่าเป็นการละเมิด)
หน้าที่ตามสัญญา เป็นหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู้สัญญา เช่น สัญญาจ้างแพทย์รักษาโรคแต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันเกิดจากการไม่ยอมรักษา เป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขา ย่อมเป็นการงดเว้น จึงถือว่าผิดทั้งสัญญาและละเมิด
หน้าที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
3.การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การกระทำโดยผิดกฎหมาย คือ ถ้าได้กระทำโดยไม่มีสิทธิหรือข้อแก้ตัวตามกฎหมายให้ทำได้แล้วก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
ตามมาตรา 421 คำว่า ใช้สิทธิ หมายถึงกรณีที่ผู้ทำความเสียหายมีสิทธิตามกฎหมายเสียก่อน ถ้าเป็นการกระทำโดยไม่มีสิทธิหรือทำเกินไปกว่าสิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายแล้วต้องพิจารณาตามมาตรา 420 เช่น ก. ชกต่อย ข. เพื่อนกัน โดยที่ ข. ไม่ยินยอม
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
เช่น แดงยินยอมให้ดำเปิดคันดินกั้นน้ำในคลองซึ่งเป็นทางน้ำสาธารณะหรือทำให้คันดินไม่อยู่ในสภาพกักน้ำและระบายน้ำเข้านาแดงได้ แม่ทำให้ข้าวในนาแดงเสียหายก็ไม่เป็นละเมิดต่อโจกท์
ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม บัญญัติเกี่ยวกับความยินยอมของผู้เสียหายในกรณีละเมิดไว้ใน
มาตรา 9 มาตรานี้ไม่ได้ยกเลิกหลักการที่ว่าการกระทำโดยได้รับความยินยอมของผู้เสียหายไม่เป็นละเมิด แต่จำกัดเพียงว่าความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งจะอ้างเป็นเหตุยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไม่ได้
แม้ผู้เสียหายอาจให้ความยินยอมโดยไม่ต้องห้ามตามมาตรา 9 แต่อาจเข้าตามลักษณะของมาตรา 8 เป็นข้อตกลงที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดตามมาตรา 8 ข้อตกลงที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดสำหรับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัยที่เกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อย่อมจะอ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ได้ตาม วรรค 1 แต่ถ้ายกเว้นหรือจำกัดความรับผิดในกรณีอื่นที่ไม่เป็นโมฆะย่อมมีผลใช้บังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมตาม ววรค 2
ความยินยอมไม่จำกัดว่าต้องทำเป็นหนังสืออาจเป็นความยินยอมด้วยวาจาก็ได้ นอกจากนี้ ผู้ให้ความยินยอมอาจยกเลิกเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ไม่ผูกมัดว่าจะต้องให้ความยินยอมอยู่เช่นนั้นตลอดไป
หลักเกณฑ์การให้ความยินยอม
1.ผู้ให้ความยินยอมต้องเป็นผู้ถูกกระทำ
2.การให้ความยินยอมจะต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำความผิด
3.การให้ความยินยอมต้องให้แก่ผู้กระทำโดยตรง
4.ต้องสมัครใจปราศจากการทำการฉ้อฉล ข่มขู่หรือสำคัญผิด
5.การให้ความยินยอมเมื่อผู้กระทำเข้าใจในผลแห่งความยินยอมแล้วแม้จะขัดต่อสำนึกก็ไม่เป็นการละเมิดในทางแพ่ง
6.มีขอบเขตจำกัด
7.การให้ความยินยอมอาจให้โดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้
8.ความยินยอมอาจถอนได้ก่อนมีการกระทำ
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 กฎหมายที่มีการฝ่าฝืนนั้นจะต้องมีที่ประสงค์จะป้องกันความเสียหายแก่บุคคลอื่น เช่น กฎหมายจราจร
4.การกระทำที่ก่อให้เกิดความหายแก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ
มาตรา 420 มีความว่า ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ซึ่งที่กล่าวมานี้ย่อมหมายถึงความเสียหายแก่สิทธิของบุคคล ดังนั้น บุคคลใดก่อความเสียหายแก่ผู้อื่น ย่อมเป็นการกระทำต่อสิทธิของผู้อื่น เช่น ก.ใช้มือตบศรีษะ ข.
ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ สิทธิต้องได้รับการรับรองและคุ้มครองของกฎหมาย เช่น สิทธิที่จะใช้ที่หรือทางสาธารณะ ผู้ใดมากีดขวางย่อมเป็นการละเมิด
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียอันเป็นมูลความรับผิดทางละเมิดนั้นอาจเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หรือไม่ได้ก็ได้ แต่ต้องเป็นความเสียหายที่แน่นอน เช่น ก.ขว้างหินใส่หลังคากระเบื้องของ ค. แตกเสียหาย เป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ แต่ถ้าหลังคาไม่แตก ไม่มีรอยชำรุด เป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
5.ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสีย
ทฤษฎีความเท่าเทียมกันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถือว่าหากปรากฏว่าถ้าไม่มีการกระทำดังกล่าวแล้ว ผลจะไม่เกิดขึ้นจะไม่มีความเสีย ผลอาจเกิดได้จากเหตุหลายประการถ้าเหตุอันหนึ่งคือการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ผู้นั้นต้องรับผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงเหตุอื่น ให้ถือว่าเหตุทุกๆเหตุมน้ำหนักเท่ากัน เช่น ก. ทำร้ายร่างกาย ค.โดยเตะที่ท้องเบาๆแต่ปรากฎว่า ค.มีโรคร้ายประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง ค.อาจตายได้ แต่ก.ไม่ทราบมาก่อน ค.ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ความตายของ ค.เป็นผลมาจากการกระทำของ ก.แม้ ก.จะไม่รู้ว่า ค. เป็นโรค แต่ ก.ก็ต้องรับผิดในความตายของ ค.
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้น ในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดๆ แล้ว เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำต้องรับผิด เช่น ตามตัวอย่างข้างต้น ก.ไม่ทราบว่า ค.มีโรคประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้นอาจทำให้ ค.ได้รับอันตรายถึงตายได้ ก.จึงต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ ค.ได้รับบาดเจ็บธรรมดาเท่านั้น ไม่ต้องรับผิดในความตายของ ค.
2.การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ
หมายถึง รู้ถึงสำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตน จงใจนั้นไม่เพียงแต่รู้สำนึกถึงความเคลื่อนไหวของตน แต่ยังต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของตนอีกด้วย ฉะนั้น การกระทำโดยหลงผิดหรือพลั้งพลาดหรือการเข้าใจโดยสุจริต คือ การเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นการจงใจ (*พึงสังเกตว่า การที่รู้สำนึกในผลเสียหายจากการกระทำของตนเท่านั้นก็เป็นการจงใจแล้ว จึงไม่ต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด) เช่น ก.ชกต่อย ง.โดยคิดจะให้ ง.ปากแตก บังเอิญ ง.ล้มหัวฟาดกับพื้นถนนหัวแตกสลบไป ดังนี้เป็นการที่ ก.ทำร้ายร่างกาย ง.โดยจงใจ
ประมาทเลินเล่อ
หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช่ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย เช่น การขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ หยุด บอกไว้ แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างหน้าแสดงไว้ ซึ่งควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าได้ปฏิบัติดังกล่าว เมื่อรถยนต์ที่จำเลยขับชนกับรถไฟจึงเป็นความประมาทของจำเลย
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท การพิพากษาคดี และการร่วมกันทำละเมิด
มาตรา 423 ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท
มาตรานี้เป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในการกระทำของตนเองต่อบุคคลอื่นให้เขาเสียหายในสิทธิ คือ สิทธิในชื่อเสียงหรือเกียรติคุณ
การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย หมายถึง การแสดงข้อความใดๆให้บุุคคลที่สามได้ทราบ กล่าว คือ พูดเอง ไขข่าว คือ พูดข่าวจากคนอื่น จะเป็นด้วยคำพูด คำที่เขียน ด้วยกิริยาอาการหรือวิธีอื่นๆก็ได้ การไขข่าวนี้ไม่จำกัดว่าต้องทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ความเสียหายต้องเกิดจากการกล่าวหรือไขข่าวตลอดจนการทราบข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวอันฝ่าฝืนความจริงนั้น ต้องมีผู้เข้าใจว่าหมายถึงผู้เสียหาย
ในกรณี ววรคสอง เป็นข้อยกเว้นความรับผิดในกรณีที่ผู้กล่าวหรือไขข่าวข้อความหรือผู้รับข้อความมีทางได้เสียโดยชอบในการกล่าวหรือรับนั้น
การพิพากษาคดี มาตรา 424
ตามมาตรานี้ บุคคลถูกฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีส่วนอาญาในเรื่องเดียวกัน การพิพากษาคดีต้องเป็นไปตามกฎหมายส่วนแพ่ง จำเลยจะมีความผิดทางอาญารึไม่ ไม่ต้องคำนึงถึง
การร่วมกันทำละเมิด มาตรา 432
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
เป็นการกระทำโดยมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและจะต้องมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกัน (*พึงสังเกตว่า การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งล่วงรู้ว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะกระทำการละเมิดต่อบุคคลอื่นนั้น มิได้หมายความว่าได้มีเจตนามุ่งหมายร่วมกับฝ่ายที่จะกระทำละเมิดนั้นไปด้วยแต่ประการใด)
ในกรณีตาม วรรคสอง ของงมาตรา 432 กล่าวถึงการยุยงส่งเสริมเพื่อช่วยเหลือในการกระทำผิด กฎหมายถือว่าเป็นการร่วมกันทำละเมิด
ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันทำละเมิด
กรณีบุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิด กฎหมายได้มุ่งหมายถึงการกระทำไม่ได้ดูที่ผลแห่งความเสียหาย แม้จะไม่รู้ว่าผู้ใดทำอะไรลงไปบ้าง หรือ ใครเสียหายมากน้อยเพียงใด ทุกๆคนก็ต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย
กรณีความรับผิดของผู้ร่วมกันทำละเมิดเป็นหนี้ร่วมต่อผู้เสียหายตาม ปพพ. มาตรา 291 เป็นสิทธิของผู้เสียหายที่จะเรียกชำระค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำละเมิดแต่คนใดคนหนึ่งก็ได้
กรณีตาม วรรคสาม มาตรา 432 ว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องระหว่างผู้ต้องรับผิดร่วมกัน โดย วรรคสามนี้มีหลัเช่นเดียวกันกับมาตรา 296 ว่าให้บุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันต่างต้องรับผิดเป็ฯส่วนเท่าๆกัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น