Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
ลักษณะทั่วไปของการของความรับผิดของบุคคลในการกระทำของตนเอง
การกระทำโดยผิดกฎหมาย
โดยผิดกฎหมาย นั้น ถ้ามีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง กรณีที่เห็นได้ชัดคือ กฎหมายอาญาบัญญัติว่าการกระทำอันใดเป็นความผิด ดังนี้ก็ย่อมเป็นการกระทำผิดกฎหมายอย่างไม่มีปัญหา เช่น ปอ.มาตรา 295 “ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน2ปี ”
ฉะนั้น การที่บุคคลใดกระทำการดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
เมื่อมีสิทธิแล้วมิได้หมายความว่าจะใช้อย่างไรก็ได้ตามใจชอบ การใช้สิทธิอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายได้
ตัวอย่าง
ฎีกา 1069/2509 รถพิพาทเป็นรถที่โจทก์จำเลยร่วมกันซื้อไว้ให้เป็นรถหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลย การที่จำเลยเอารถพิพาทออกวิ่งรับจ้างหาผลประโยชน์ทำให้รถเสื่อมคุณภาพสึกหรอ ทำให้โจทก์เสียหายนั้นเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิซึ่งมีจะสร้างความเสียหายแก่โจทก์
ความยินยอมไม่ทำให้เป็นละเมิด
หลักเกณฑ์การให้ความยินยอม
1.ผู้ให้ความยินยอมต้องเป็นผู้ถูกกระทำ หรือผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทน
2.การให้ความยินยอมจะต้องให้ก่อนหรือขณะกระทำผิด การให้ก่อนกระทำผิดไม่ว่าล่วงหน้านานเท่าใด ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนการให้ความยินยอมก็ย่อมถือว่ายังมีความยินยอมอยู่ แต่ผู้ให้ความยินยอมจะถอนเสียเมื่อใดก็ได้
3.การให้ความยินยอมต้องให้แก่ผู้กระทำโดยตรง ยกเว้นบางกรณีอาจให้โดยเจาะจงหรือไม่ก็ได้
4.การให้ความยินยอมต้องโดยสมัครใจปราศจากการทำการช่อชนหลอกลวง ข่มขู่หรือสำคัญผิด
5.การให้ความยินยอมเมื่อผู้กระทำเข้าใจในผลแห่งความยินยอมแล้ว แม้จะขัดต่อสำนึกในสีลทำอันดีก็ไม่เป็นละเมิดในทางแพ่ง เว้นแต่เป็นการกระทำผิดอาญาบางประเภทซึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะได้รับความยินยอมของผู้ถูกกระทำหรือไม่ก็เป็นความผิด
6.การให้ความยินยอมมีขอบเขตจำกัด ถ้าผู้กระทำทำนอกเหนือความยินยอมหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อย่อมต้องรับผิดฐานละเมิด
7.การให้ความยินยอมอาจให้โดยตรงหรือโดยปริยายก็ได้ การให้ความยินยอมจากกระทำโดยกิริยาอาการอย่างใดก็ได้เพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้
8.ความยินยอมอาจถอนความได้ก่อนมีการกระทำ
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมาย
มาตรา 422 บัญญัติว่าถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนเช่นนั้นท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด
ตัวอย่าง
ฎีกา 1169-1170 / 2509 การที่รถยนต์จำเลยเล่นเข้าไปชนรถยนต์โจทก์ทางด้านขวาของถนน เบื้องต้นศาลสันนิษฐานตามกฏหมายว่ารถยนต์จำเลยเป็นผู้ผิด จำเลยมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างว่าจำเลยมิใช่เป็นผู้ผิด
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ
ความเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน ย่อมหมายถึงความเสียหายแก่สิทธิของบุคคลทั้งสิ้นเพราะทุกคนย่อมมีสิทธิในชีวิตร่างกาย อนามัย เสรีภาพ และทรัพย์สิน
ที่ว่า “ทำต่อบุคคล” หมายความว่าทำต่อสิทธิของบุคคล
ลักษณะแห่งสิทธิ
สิทธิ คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
ฎีกา 124 / 2487 วินิจฉัยได้ว่า สิทธิได้แก่ประโยชน์อันบุคคลมีอยู่แต่ประโยชน์เป็นสิทธิหรือไม่ก็ต้องแล้วแต่ว่าบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพหรือไม่ ถ้าบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ ประโยชน์นั้นก็เป็นสิทธิ
ตัวอย่าง สิทธิของผู้เช่าซื้อ แม้จะชำระค่าเช่าซื้อยังไม่ครบถ้วน หากมีผู้ใดมากระทำละเมิดในซับเช่าซื้อมาก็มีอำนาจฟ้องฐานละเมิดได้
ความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
ความเสียหายอันเป็นมูลความรับผิดทางละเมิดนั้นอาจเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หรือไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้ก็ได้ แต่ที่ว่าเป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หรือไม่ อาจคำนวณเป็นอาจคำนวณเป็นเงินได้ดังกล่าวมานี้ ไม่ใช่กรณีที่มีการชดใช้ค่าสินใหม่ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเยียวยาในความเสียหายกันภายหลัง
ตัวอย่าง แมวน้ำทำร้ายร่างกายเป็ด เป็ดต้องเสียค่าพาหนะในการไปโรงพยาบาลตลอดจนค่ารักษาพยาบาลหรือการที่เป็ดทำงานไม่ได้ เป็นการสูญเสียความสามารถประกอบการงานในภายหน้า (มาตรา 444) ดังนี้
เป็นความเสียหายที่คำนวณเป็นตัวเงินได้ แต่เมื่อบาดแผลหายแล้วมีรอยแผลเป็นอยู่ ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
(มาตรา 446)
การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
จงใจ
หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียหาย ที่จะเกิดจากกระทำของตน เป็นคนละเรื่องกับรู้สำนึกในความเคลื่อนไหวอันเป็นหลักเกณฑ์ของการกระทำ
จงใจ ไม่เพียงแต่รู้สำนึกถึงความเคลื่อนไหวของตนเท่านั้น ต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนอีกด้วย
ตัวอย่าง
ฎีกา 1053/2521 จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าร้านค้าของโจทก์เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงยืนยันให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ในร้าน โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเจ้าหนี้จงใจให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นละเมิด
ประมาทเลินเล่อ
หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู้มีความระมัดระวังจะไม่กระทำด้วย
ตัวอย่าง
ฎีกา 608/2521 จำเลยครอบครองใช้ประโยชน์ท่าเรือ คนกรูกันจะลงเรือสะพานไม้ที่ทอดลงไปสู่โป๊ะหัก ทำให้โป๊ะคว่ำ จึงถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ไม่ระมัดระวังดูแลให้สะพานท่าเทียบเรืออยู่ในสภาพแข็งแรงมั่นคง ปล่อยให้สะพานไม้ที่ทอดสู่โป๊ะหัก จำเลยต้องรับผิดในผลโดยตรงที่คนตกน้ำตาย เพียงแค่ร้องห้ามมิให้คนกรูกันไปลงเรือไม่เป็นการใช้ความระมัดระวังอันเพียงพอ
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
การใช้สิทธินั้นอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายได้ เพราะสิทธิต่างๆได้ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายบางอย่างบางประการโดยเฉพาะ และสิทธิหนึ่งย่อมจะสิ้นสภาพจากการเป็นสิทธิทันที ถ้าหากใช้เพื่อความมุ่งหมายให้แตกต่างไปจากความมุ่งหมายที่ก่อตั้งสิทธินั้น
ตัวอย่าง
ฎีกา 1257/2546 การที่จำเลยนำเสาปักไว้สองข้างทางของถนนพิพาทของจำเลยใช้ลวดสลิงขึงด้านบนและติดป้ายห้ามรถสูงเกิน2.5เมตร ผ่านเข้าออกก่อนได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำเพื่อป้องกันมิให้ถนนพิพาทเกิดความเสียหายเพิ่มมากขึ้น จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
มาตรา 421 บัญญัติว่า “การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย”
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้กระทำความเสียหาย
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถือว่าหากปรากฎว่าถ้าไม่มีการกระทำดังที่ถูกกล่าวหาแล้ว ผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้นจะไม่มีความเสียหายดังที่กล่าวอ้าง ผลที่เกิดขึ้นนั้นผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลอันเกิดจากการกระทำที่ถูกกล่าวหา ผลอันใดอันหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุหลายประการ ถ้าเหตุอันนึงคือการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ผู้นั้นก็ต้องรับผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่ายังมีเหตุอื่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วยเหมือนกัน ถือว่าเหตุทุกทุกเหตุมีน้ำหนักเท่ากัน ว่าจะถือว่าเป็นเหตุบางประการเท่านั้นที่ก่อให้เกิดผลนั้นขึ้นหาได้ไม่ ถ้าเพราะถ้าไม่มีเหตุทุกทุกประการเหล่านั้นรวมเข้าด้วยกันแล้วผลก็ย่อมไม่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
น้ำหวานทำลายร่างกายกิ๊ฟโดย แต่ที่ท้องเบาๆแต่ปรากฏว่า กิ๊ฟมีโรคหลายประจำตัว ซึ่งถ้าหากถูกกระทบกระเทือนอย่างแรง กิ๊ฟอาจตายได้แต่น้ำหวานไม่ทราบมาก่อน กิ๊ฟถึงแก่ความตาย ดังนี้ ความตายของกิ๊ฟเป็นผลมาจากการกระทำของน้ำหวาน น้ำหวานจะไม่รู้ว่ากิ๊กเป็นโรคดังว่านั้นคิดแต่เพียงว่ากิ๊กอาจได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยเท่านั้น แต่น้ำหวานก็ต้องรับผิดในความตายของกิ๊ก
ทฤษฎีเหตุเหมาะสม
ถือว่าในบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้น ในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดๆแล้ว เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ตัวอย่าง
ฎีกา 1431 / 2494 จำเลยขับรถยนต์โดยประมาทชนกับ รถยนต์ของโจทก์ก็ไปกระแทกกับเสาไฟฟ้าได้รับความเสียหาย ดังนี้ การที่รถของโจทก์ไปกระแทกกับเสาไฟฟ้าเป็นผลโดยตรงจากการกำลังแรงของการที่ถูกรถชนของจำเลยชน ไม่ใช่รถของโจทก์ไปชนเอง จำเลยต้องรับผิด
ความหมายของการกระทำ
‘ผู้ใด’ มีความหมายเป็นเบื้องแรกว่าที่ถือเป็นการกระทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์ รวมไปถึงบุคคลทุกชนิด ไม่ว่าบุคคลทีบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต
การกระทำ หมายถึง ความเลื่อนไหวในอิริยาบทโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว
กล่าวคือ เพียงแต่มีความเลื่อนไหวในอิริยาบทย่อมไม่เป็นการเพียงพอที่จะถือว่าเป็นการกระทำ บุคคลที่เคลื่อนไหวดังว่านี้ จะต้องรู้สึกในความเคลื่อนไหวของตนเองด้วย ดังนี้ จึงเรียกว่าการกระทำ
การงดเว้นการไม่กระทำ
1.หน้าที่ตามกฎหมาย
สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน(มาตรา1461)
บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (มาตรา1563)
ถ้าไม่อุปการะเลี้ยงดูจนผู้มีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูได้รับความเสียหายย่อมเป็นการละเมิดซึ่งเกิดจากการงดเว้นการกระทำของผู้มีหน้าที่
พึงสังเกตว่าการงดเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายมิได้บัญญัติให้กระทำหรือตนไม่มีหน้าที่หาเป็นละเมิดไม่
ตัวอย่าง
ฎีกา 857 / 2512 การที่จำเลยไม่จัดคนเฝ้าบ้านของบุคคลที่ยกให้จำเลยหรือไม่หรือถอนอาคารดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยมีหน้าที่ต้องทำ การที่คนร้ายเข้าไปในบริเวณบ้านดังกล่าว แล้ววางเพลิงเผาบ้านและทรัพย์สินของโจทก์จะถือว่าจำเลยประมาทเลอรเลอร์ไม่ได้
2.หน้าที่ตามสัญญา
ความจริงหน้าที่ตามสัญญา คือหน้าที่ตามกฎหมาย เพราะสัญญาที่ใช้บังคับกันได้ย่อมเป็นกฎหมายระหว่างคู่สัญญา
3.หน้าที่ที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางข้อเท็จจริงที่มีอยู่ระหว่างผู้งดเว้นกับผู้เสียหาย หรือเป็นผลมาจากฐานะทางข้อเท็จจริงซึ่งผู้งดเว้นได้ก่อขึ้น
กรณีบุคคลที่อยู่ในฐานะอันสามารถควบคุมสิ่งของหรือบุคลใดเพื่อความปลอดภัยของบุคคลอื่นย่อมมีหน้าที่ต้องทำการตามสมควรเพื่อความปลอดภัยของบุคคลอื่น
ตัวอย่าง
มีสัญญาจ้างแพทย์รักษาโลกแต่แพทย์ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่อันเกิดจากสัญญาคือไม่ยอมรักสาเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ตัวเขาย่อมเป็นการงดเว้นจึงเป็นทั้งผิดสัญญาและละเมิด
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท การพิพากษาคดี และการร่วมกันทำละเมิด
ละเมิดโดยการหมิ่นประมาท
มาตรา 423 บัญญัติว่าผู้ใดกล่าวหรือขายข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใดๆอันเกิดแก่การนั้นแม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริงแต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้วท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
บทบัญญัติบทบัญญัติมาตรานี้อาจเรียกได้ว่าหมิ่นประมาททางแพ่ง ต่างกับทางอาญา เพราะข้อความที่กล่าวหรือไขข่าวต้องเป็นข้อความที่ฝ่าฝืนความจริง ส่วนทางอาญา แม้เป็นความจริงก็อาจเป็นหมิ่นประมาทได้การใช้คำหยาบซื้อคำด่า เช่น คำว่า ไอสัตว์ ไอ้ระยำ ดังนี้ ไม่เป็นการทำให้เสียหายต่อชื่อเสียง แต่การด่าซึ่งเป็นดูหมิ่นซึ่งหน้าเป็นการละเมิดต่อเขาตามมาตรา 420 อันเป็นหลักทั่วไป
ตัวอย่าง
ฎีกฎีกา 939-940 / 2478 ห้างหุ้นส่วนยังไม่เลิกกันจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งประกาศทางหนังสือพิมพ์ว่าเลิกกันแล้วทำให้โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งเสียหายจำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 423
การพิพากษาคดี
มาตรา 424 บัญญัติว่าในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด…และกำหนดค่าสินใหม่ทดแทนและไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำผิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่
มาตรานี้รับกันกับ ปวอ. มาตรา47 ซึ่งมีความว่า “คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดหรือไม่”
ตามมาตรา 424 นี้หมายความว่าบุคคลถูกฟ้องทั้งคดีส่วนแพ่งและคดีส่วนอาญาในเรื่องเดียวกันการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนั้นศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา (ปวอ. มาตรา46)และคู่ความที่จะผูกพันโดยข้อเท็จจริงที่วินิจฉัยแล้วนั้นต้องเป็นคู่ความในคดีอาญาด้วย
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นยุติตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแล้วการวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่ง ต้องเป็นไปตามกฏหมายส่วนแพ่ง จำเลยจะมีความผิดทางอาญาหรือไม่ จะต้องรับโทษทางอาญาหรือไม่ ไม่ต้องคำนึงถึง เพราะหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาและทางแพ่งอาจต่างกัน เช่นเจตนาในทางอาญาไม่ตรงกับจงใจทางแพ่ง ดังที่ได้ศึกษามาแล้ว เป็นต้น
ตัวอย่าง
ฎีกา 256 / 2490 คดีอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยไม่ได้ฉ้อโกงโจทก์โดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยบังคับให้โจทก์ขายผ้าให้จำเลยโดยอำนาจตามประกาศควบคุมการขายผ้า แต่จำเลยไม่รู้ว่าได้มีประกาศยกเลิกการควบคุมแล้วจึงยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ โจทก์ยังมีสิทธิ์เรียกค่าเสียหายฐานละเมิดได้เพราะการกระทำเช่นนั้นถือได้ว่าจำเลยจงใจทำให้โจทก์เสียหาย
การร่วมกันทำละเมิด
มาตรา 432 บัญญัติว่า “ถ้าบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยร่วมกันทำละเมิดท่านว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินใหม่ทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบรู้ตัวได้แน่ว่าในจำพวกที่ทำละเมิดร่วมกันนั้น คนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นด้วย
อนึ่ง บุคคลผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการทำละเมิดท่านก็ให้ถือว่าเป็นผู้ทำละเมิดร่วมกันด้วย
ในระหว่างบุคคลทั้งหลายซึ่งต้องรับผิดร่วมกันใช้ค่าสินใหม่ทดแทนนั้น ท่านว่าต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆกัน เว้นแต่โดยพฤติการณ์ ศาลจะวินิจฉัยเป็นประการอื่น”
ลักษณะการร่วมกันทำละเมิด
การร่วมกันทำละเมิดต้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกัน และจะต้องมีการกระทำร่วมกันเพื่อความมุ่งหมายร่วมกันด้วย กล่าวคือ ต้องมีทั้งเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกันและการกระทำร่วมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างมีเจตนาหรือความมุ่งหมายของตนเองหรือต่างคนต่างกระทำเท่านั้นและโดยเหตุที่วิสัยและพฤติการณ์ บุคคลอาจใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอได้เช่นเดียวกับทางอาญา จึงอาจมีการกระทำละเมิดร่วมกันได้เช่นเดียวกับทางอาญา ตาม ปอ. มาตรา 83 ในความลับผิดทางแพ่งจึงต้องปรับด้วยมาตรา 432
ตัวอย่าง
โอมชกต่อยป๊อบ ป๊อบบาดเจ็บเล็กน้อย น้ำหวานมาพบเข้าโดยบังเอิญ จึงถือโอกาสที่ป๊อบกำลังบาดเจ็บไม่มีแรงสู้จึงเข้าชกต่อยป๊อบบาดเจ็บ แม้จะเป็นบาดแผลแห่งเดียวกันหรือคนละที่กับที่โอมทำร้าย โอมและน้ำหวานก็มิได้ร่วมกันทำละเมิดต่อป๊อบ เพราะมิได้มีเจตนาหรือความมุ่งหมายร่วมกัน และกระทำร่วมกันเป็นเรื่องต่างคนต่างมีเจตนามุ่งหมายและความและต่างคนต่างกระทำต่อป๊อบเท่านั้น
ตัวอย่าง อุทาหรณ์ที่ถือว่าเป็นการร่วมกันทำละเมิด
ฎีกา 767 / 2478 ผู้ที่ยักยอกซับของโจทก์ไปขายกับผู้ที่รับซื้อซับของโจทก์ไว้ต้องร่วมกันรับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์
ฎีกา 730 / 2493 ขายเรือนของผู้อื่นโดยไม่มีอำนาจผู้ซื้อรู้แล้วก็ยังคืนซื้อไว้พูดที่ช่วยหรือเรือนไปก็รู้ความจริงอยู่ด้วยทั้งสามคนต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมกัน
ตัวอย่าง อุทาหรณ์ที่ถือว่าไม่เป็นการร่วมกันทำละเมิด
ฎีกา 905 / 2480 หลายคนต่างเรียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เป็นการร่วมกันทำละเมิด
ฎีกฎีกา 1041 / 2497 ผู้ที่รับซื้อเนื้อกระบือที่มีผู้ลักมาขายไม่ได้สมคบในการได้กระบือมาจึงไม่เป็นการร่วมกันทำละเมิด
ความรับผิดระหว่างผู้ร่วมกันทำละเมิด
กรณีที่บุคคลหลายคนได้ร่วมกันทำละเมิด กฏหมายมุ่งหมายถึงการกระทำไม่ได้ดูผลแห่งความเสียหายว่าแยกกันได้หรือไม่ แม้หากจะไม่รู้ว่าในระหว่างผู้ที่ร่วมกันทำละเมิดนั้น ผู้ใดทำอะไรลงไปบ้าง หรือผู้ใดคือผู้ทำให้เสียหายมากน้อยเพียงใดทุกๆคนก็ต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งละเมิดนั้นเต็มจำนวนความเสียหาย
กรณีที่บุคคลหลายคนหรือหลายฝ่ายกอความเสียหายโดยประมาทเลินเล่อ
โดยเหตุที่วิสัยและพฤติการณ์ บุคคลอาจใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอได้เช่นเดียวกับทางอาญาจึงอาจมีการกระทำละเมิดร่วมกันโดยประมาทเลอรเลอร์ได้เช่นเดียวกับทางอาญา ตาม ปอ.มาตรา83 ในความลับผิดทางแพ่งจึงต้องปรับด้วยมาตรา 432 เช่นเดียวกัน
ตัวอย่าง
ฎีกา 145 / 2539 (ตามบันทึกท้ายคำพิพากษาศาลฎีกา) ดำและแดงเป็นเพื่อนกัน แดงขับรถโดยดำนั่งไปด้วย เห็นแดงขับรถช้าไม่ทันใจ จึงถามแดงว่าขับเร็วกว่านี้ได้ไหมแดงขานรับคำว่า”ได้คงไม่มีอะไร” จึงเร่งความเร็วสูงขึ้นอีกมาก ทั้งที่ท้องถนนมีคนพุ่งพล่าน ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังของบุคคล ในภาวะเช่นนั้นจำต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ จึงเกิดชนคนได้รับบาดเจ็บการที่แดงรับคำดำบอกว่า “ได้ คงไม่มีอะไร” นั้นถือว่าเป็นการร่วมกัน แล้วดังนี้คงถือว่าดำและแดงร่วมกัน โดยกระทำความผิดโดยประมาทแม้ไม่ถึงขนาดมีเจตนา