Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
11. ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
11. ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
11.1ความหมายของการกระทำ
ผู้ใด หมายถึง ผู้กระทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นมนุษย์ รวมไปถึงบุคคลทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วหรือผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต
ดังจะเห็นโดยนัยแห่งมาตรา 429 บัญญัติว่า
''บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริตก็ต้องรับผิดในผลที่ตนทำละเมิด''
คำว่า ผู้ใด นี้อาจเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ตามมาตรา 420 ผู้ที่จะต้องรับผิดจะต้องเป็นมนุษย์อันอยู่ภายในความหมายที่ว่า ผู้ใด ดังกล่าวมาก็ต้องมีการกระทำของบุคคลผู้ต้องรับผิดชอบ
การกระทำ หมายถึง ความเคลื่อนไหวในอิริยาบถโดยรู้สำนึกในความเคลื่อนไหว ดังนั้น จึงจะเรียกว่าการกระทำ หรือบุคคลที่เคลื่อนไหวโดยมีความรู้สำนึกนั้นได้กระทำ
ตัวอย่างเช่น
ก. ก้มหยิบปากกาที่ตกพื้น ดังนั้น ย่อมเป็นการกระทำของ ก. เพราะ ก. รู้สำนึกในความเคลื่อนไหวของตนเองที่ ก. ก้มหยิบปากกา
11.2การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
(หลักเกณฑ์ตามมาตรา 420 อีกข้อหนึ่งคือ "โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ" ซึ่งจะแยกเป็น 2 กรณี)
จงใจ หมายถึง รู้สำนึกถึงผลเสียหาย จงใจนั้นไม่เพียงแต่รู้สำนึกถึงความเคลื่อนไหวของตนเท่านั้น แต่ยังต้องรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดจากการกระทำของตนอีกด้วย
ตัวอย่างเช่น
ก. ถือขวดน้ำยกดื่มย่อมเป็นการกระทำที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้ามีข้อเท็จจริงต่อไปอีกว่า ก. แกล้ง ข. โดยการเทน้ำในขวดใส่รองเท้า ข. ดังนั้น ย่อมเป็นการที่ ก. กระทำไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ ข. จากการกระทำของตน
โดยเหตุ "จงใจ" หมายถึง รู้สึกสำนึกว่าจะเกิดผลเสียหายแก่บุคคลอื่นจากการกระทำของตนเอง การกระทำโดยผิดหลงหรือพลั้งพลาดหรือการเข้าใจโดยสุจริต คือการเข้าใจผิดในข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นจงใจ
ตัวอย่างเช่น
ก. รีบไปยกของช่วยอาจารย์ได้วางปากกาใว้โต๊ะของ ข. ซึ่ง ข. ไปทำธุระในห้องน้ำมาจึงมาเก็บอุปกรณ์การเรียนใส่กระเป๋าตอนเองเพราะกำลังจะเลิกเรียน แต่เผลอหยิบปากกาของ ก. ไปเป็นของตน ดังนั้น ข. จึงกระทำโดยมิได้จงใจ
ประมาทเลินเล่อ หมายถึง ไม่จงใจ แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะใช้ รวมถึงในลักษณะที่บุคคลผู็มีความระมัดดระวังจะไม่กระทำด้วย
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น การใช้สิทธินั้นอาจถือว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 421 บัญญัติว่า "การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย" มาตรา 421 นี้ เป็นบทบัญญัติถึงผลอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 5 อันเป็นหลักทั่วไป ซึ่งบัญญัติว่าในการใช้สิทธิบุคคลต้องทำการโดยสุจริต
11.3 การกระทำโดยผิดกฎหมาย
การใช้สิทธิซึ่งมีแตจะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคล มาตรา 421
ตัวอย่างเช่น ก. หยิบหนังสือ ข. ไปโดยไม่ได้รับอนุญาติ หรือ ก. ไปกระชากคอเสื้อ ข. โดยที่ ข. ไม่ยินยอม
แล้วแต่กรณีไม่มีสิทธิกระทำจึงไม่อาจพิจรณาตามมาตรา 421 นี้ได้ จึงต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ความรับผิดทางละเมิดตามมาตรา 420
การกระทำฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหทาย
มาตรา 422 บัญญัติว่า
"ถ้าความเสียหายเกิดแต่การฝ่าฝืนบทบังคับแห่งกฎหมายใดอันมีที่ประสงค์เพื่อปกป้องบุคคลอื่นๆ ผู้ใดทำการฝ่าฝืนเช่นนั้น ท่านให้สันนิษฐานใว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นผู้ผิด"
11.4 การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ อย่างไรจะถือว่าเป็นความเสียหายนั้นคงต้องอาศัยการวินิจฉัยของบุคคลธรรมดาหรือปกติชนที่คิดเห็นโดยชอบในสังคมเป็นมาตรฐาน
ตัวอย่างเช่นเช่น ก. เอามือไปล้วงหน้าอก ข. ความคิดเห็นตามบุคคลธรรมดาย่อมถือว่านางสาว ข. ได้รับความเสียหาย กฎหมายอาญาก็ได้บัญญัติรับรองว่าเป็นการที่ ก. กระทำอนาจารต่อนางสาว ข.
ลักณะแห่งสิทธิ คือประโยชน์ที่บุคคลที่มีอยู่และบุคคลอื่นที่มีหน้าที่ต้องเคารพ
กฎหมายเรารับรองว่าบุคคลมีสิทธิที่จะไม่ให้ใครด่า และให้ความคุ้มครองใว้สำหรับการนั้น ฉะนั้น การที่จำเลยด่าโจทย์จึงเป็นการทำให้เสียหายต่อสิทธิของโจทย์เป็นการละเมิดสิทธิของโจทย์ตามมาตรา 420
ความเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ค่าสินไหมทนแทนนั้นย่อมรวมทั้งการคืนทรัพย์สินหรือใช้ราคารวมทั้งค่าเสียหายอันพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหาย
เช่น ก. ด่าหมิ่นประมาท ข. ย่อมเป็นความเสียหายอันคำนวณเป็นตัวเงินไม่ได้
11.5 ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้ทำความเสียหาย มี 2 ทฤษฎีสำคัญ
ทฤษฎีความเท่ากันแห่งเหตุหรือทฤษฎีเงื่อนไข
ถ้าไม่มีการกระทำดังที่ถูกกว่าหาแล้ว ผลจะไม่เกิดขึ้นเช่นนั้นจะไม่มีความเสียหายดังที่กล่าวอ้าง ผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลอันเกิดจากการกระทำที่ถูกกล่าวหา
ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าบรรดาเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้น ในแง่ความรับผิดของผู้กระทำการใดๆ แล้ว เฉพาะแต่เหตุที่ตามปกติย่อมก่อให้เกิดผลเช่นว่านั้นที่ผู้กระทำจะต้องรับผิด
ถ้าผลนั้นผู้กระทำละเมิดตั้งใจจะก่อให้เกิดแก่ผู้เสียหายแล้วผู้กระทำก็ต้องรับผิดไม่ว่าจะเป็นเช่นไร จะถือว่าไกลกว่าเหตุไม่ได้
ตัวอย่างเช่น ก. รู้ว่า ข. ป่วยแต่ดันชกต่อยและกระทืบ ข. จนตาย ก.ต้องรับผิดในความตายของ ข.