Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง - Coggle Diagram
ความรับผิดกระทำละเมิดด้วยตนเอง
มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดีแต่ แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดีเสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
“จงใจ”
รู้สำนึกถึงผลเสียหาย
เช่น แดง เท่น้ำราดใส่ดำ ดังนี้ ย่อมเป็นการที่ แดงกระทำไปโดยรู้สำนึกถึงผลเสียหายที่เกิดเเก่ดำ
“ประมาทเลินเล่อ”
ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
เช่น ก ขับรถด้วยความเร็วสูงโดยขับผิดทาง
ความหมายของการกระทำ
“ผู้ใด”
จะถือเป็นการทำละเมิดได้นั้นต้องเป็นการกระทำของมนุษย์
“การกระทำ”
เคลื่อนไหวโดยรู้สึกนึกในการเคลื่อนไหว
ไม่เป็นการกระทำ เช่น ก นอนหลับอยู่พลิกตัวมือพลาดไปถูกเเก้วน้ำตกเเตก
เป็นการกระทำ เช่น ก ยกเเก้วน้ำขึ้นดื่ม
อาการที่เเสร้งทำย่อมถือได้ว่ารู้สำนึกในความเคลื่อนไหว
เช่น ก เสเเสร้งทำเป็นหาวนอนเพื่อไล่เเขกที่มามาตนกลับไป
คำว่า “ทำต่อบุคคลอื่น” มิได้หมายความเพียงการกระทำเคลื่อนไหวการงดเว้นหรือละเว้นที่มีหน้าที่ต้องกระทำหน้าที่อาจเกิดจากกฎหมายหรือสัญญา
หน้าที่ตามกฎหมาย เช่น สามีภริยามีหน้าที่ต้องช่วยเหลืออุปการะกัน
หน้าที่ตามสัญญา เช่น รับจ้างคอยช่วยเหลือผู้ที่หัดว่ายน้ำเเต่ไม่ช่วยตามหน้าที่จนผู้จ้างจมน้ำ
การกระทำโดยผิดกฎหมายหมาย
มีความหมายว่า มิชอบด้วยกฎหมายหมาย
ถ้าทำโดยไม่มีสิทธิเป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายเเต่ถ้าทำโดยมีสิทธิตามกฎหมายเเม้จะเกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่นก็ไม่ผิดกฎหมาย
เช่น ก ยืนรถยนต์จาก ข มาใช้ ก ย่อมมีสิทธิใช้รถยนต์นั้นได้ตามสัญญายืม
บิดาทำโทษบุตรตามสมควร(ม.1567(2))
การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายเเก่บุคคลอื่น
มีความเสียหายต่อสิทธิ
จะถือว่าเป็นความเสียหายต้องอาศัยการวินิจฉัยของคนธรรมดาที่คิดเห็นโดยชอบ
เช่น ก จับมือถือเเขนนางสาว ข ตามความเห็นของคนธรรมดาถือว่า ข ได้รับความเสียหาย
ลักษณะเเห่งสิทธิ
สิทธิ คือ ประโยชน์ที่บุคคลมีอยู่และบุคคลอื่นมีหน้าที่ต้องเคารพ
เช่น ก ด่า ข จึงเป็นการทำให้เสียหายต่อสิทธิของ ข เป็นการละเมิดสิทธิของ ข ตามมาตรา 420
มาตรา 420 ไม่ได้หมายความเฉพาะสิ่งที่มีตัวตนเเต่หมายถึงสิ่งที่ไม่มีตัวตนไม่สามารถแตะต้องได้ เช่น ชื่อเสียง
ความเสียหายนั้นเป็นผลมาจากการกระทำของผู้เสียหาย
1.ทฤษฎีความเท่ากันเเห่งเหตุ
ถือว่าเหตุทุกๆเหตุมีนำ้หนักเท่ากันเพราะถ้าไม่มีเหตุทุกๆประการนั้นรวมเข้าด้วยกันผลก็ย่อมไม่เกินขึ้น
ก ทำร้าย ข โดยเตะที่ท้องเบาๆปรากฎว่า ข มีโรคประจำตัวถ้าหากถูกกระทบกระเทือน ข ตายได้ เเต่ ก ไม่รู่มาก่อน ข ตาย กต้องรับผิดในความตายของ ข
2.ทฤษฎีมูลเหตุเหมาะสม
ถือว่าเหตุทั้งหลายที่ก่อให้เกิดผลขึ้นนั้นเฉพาะเหตุที่ปกติย่อมก่อให้เกิดผล
ตามตัวอย่างข้างต้น เช่น คนธรรมดาอย่าง ก ย่อมไม่ทราบว่า ข มีโรคประจำตัว ถ้าทำร้ายเช่นนั้น ข อาจได้รับอันตรายถึงตายได้ ก ต้องรับผิดเฉพาะในกรณีที่ ข ได้รับบาดเจ็บธรรมดาเท่านั้น
มาตรา 421 วางหลักว่า การใช้สิทธิซึ่งมีเเต่จะให้เกิดเสียหายเเก่บุคคลอื่น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 421 เป็นตัวขยายคำว่า โดยผิดกฎหมาย ในมาตรา 420 คือคำว่า มิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 หมายถึง โดยผิดกฎหมาย ในมาตรา 420 นั่นเอง
คำว่า ใช้สิทธิ ในมาตรานี้ผู้ทำความเสียหายต้องมีสิทธิตามกฎหมายก่อน
เช่น เจ้าหนี้เตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ทั้งๆที่ลูกหนี้กำลังจะเข้าพิธีบวชเป็นพระ
เมื่อเข้าตามหลักดังกล่าวผู้กระทำย่อมรับผิดในการทำละเมิด